ทำไมเพศที่ 3 ไม่ควรเปลี่ยนคำนำหน้าชื่อ?
ช่วงนี้ผมไม่ค่อยว่าง ทำให้ไม่สามารถตอบกระทู้ที่อยากตอบได้ในเวลาที่เหมาะสม ต้องมาตั้งกระทู้เพิ่มเติมตามหลัง ขออภัยสมาชิกท่านอื่นด้วยหากเป็นการแตกกระทู้มากเกินไป
ก่อนอื่นเลย คำนำหน้าชื่อคืออะไร มีไว้เพื่ออะไร?
คำนำหน้านาม หรือ title name มีไว้เพื่อ
บ่งบอกสถานะหรือยศถาบรรดาศักดิ์ จะเห็นได้ว่าคำนำหน้านามนั้นไม่ได้มีเพียง นาย นาง หรือนางสาว แต่ยังมีการใช้ยศต่าง ๆ เช่น ผู้สำเร็จการศึกษา รด. ปี 5 สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามจาก นาย เป็น ว่าที่ร้อยตรี ได้
ประวัติการใช้คำนำหน้านามในไทยเริ่มสมัย ร.4 โดยใช้เพื่อบอกยศฐานบรรดาศักดิ์ของบุคคลในสังคม เช่น เจ้าจอม(สนมของพระมหากษัตริย์), ท้าว (ข้าราชการฝ่ายใน), นาย (สามัญชนชาย), อำแดง (สามัญชนหญิง), อ้าย/อี (ทาสชาย/หญิง) โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้บ่งบอกชนชั้นและกำหนดธรรมเนียมปฏิบัติทางชนชั้นในสังคม
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 จึงเปลี่ยนคำนำหน้านามหญิงจากอำแดงเป็น นางสาวและนาง ตามสถานะการสมรส โดยอ้างอิงมาจากธรรมเนียมของชาติตะวันตกที่ใช้ Miss/Mrs และใช้ตามนั้นมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีแก้ไขอีกครั้งใน พรบ.คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 ให้หญิงที่สมรสสามารถเลือกใช้นางหรือนางสาวได้ตามความสมัครใจ
แล้วทำไมเพศที่ 3 จึงไม่ควรเปลี่ยนคำหน้านาม?
เป็นคำถามที่ดี มีเหตุผลอะไรที่เราจะสงวนสิทธิ์ในการขอเปลี่ยนคำหน้าของเพศที่ 3 ให้ตรงตามเพศสภาพหรือความต้องการ
เหตุผลที่เห็นถกเถียงกันในกระทู้ก่อนอย่าง ป้องกันการถูกหลอกว่าเป็นผู้ชาย/ผู้หญิง ฟังดูไม่สมเหตุสมผล
มี case study ใดบ้างที่ การ
บังเอิญเห็นคำนำหน้านามบนเห็นบัตรประชาชนช่วยให้ไม่ถูกล่อลวงเรื่องเพศได้ การบังคับให้คำนำหน้านามตรงกับเพศกำเนิด
เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากพอในการป้องกันกรณีการล่อลวงแบบนี้จน
คุ้มค่าที่สังคมจะ
ใช้อำนาจรัฐบังคับให้กลุ่มเพศทางเลือกถูกผูกมัดด้วยคำนำหน้านามตามเพศกำเนิดไหม?
จะเห็นว่าคำนำหน้านามไม่ได้มีผลผูกมัดกับเรื่องเพศสภาพมากจนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ อย่างกรณีการขอเปลี่ยนจาก นาย/นางสาว/นาง เป็นว่าที่ร้อยตรีก็สามารถทำได้หากจบ รด. ปี 5 แบบนี้เราต้องกังวลด้วยไหมว่าอาจถูกว่าที่ร้อยตรีที่เป็นเพศทางเลือกล่อลวงได้?
หรืออย่างกรณีศึกษาปี 2550 บุคคลที่มีเพศสภาพกำกวมแต่กำเนิด แล้วถูกเลือกให้เป็นเพศชายโดยบิดา ใช้คำนำหน้านามว่านายมาจนอายุ 25 ก็ได้รับอนุญาตผ่านหลักฐานและคำรับรองจากแพทย์ให้สามารถเปลี่ยนจากนายเป็นนางสาวได้
มีเหตุผลอะไรที่เราจะต้องจำกัดการอนุญาตการเปลี่ยนคำนำหน้านามให้เฉพาะกรณีความผิดปกติทางร่างกายแต่กำเนิดเช่นนี้ แต่ไม่อนุญาตให้กับผู้ที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนเพศตามความต้องการทางเพศสภาพ?
การเปลี่ยนคำนำหน้านามนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องทำเรื่องทางราชการในการเปลี่ยนคำนำหน้านาม ต้องมีเอกสารประกอบคำขอ ต้องยื่นเรื่องเปลี่ยนแปลงเอกสารราชการอีกจำนวนมาก ดังนั้นถ้ามีเพศทางเลือกที่ยอมเสียเวลาและทรัพยากรทำเรื่องต่าง ๆ เหล่านี้ ก็ย่อมแปลว่าการถูกผูกมัดด้วยคำนำหน้านามจากเพศกำเนิดนั้นสร้างปัญหาบางอย่างต่อการดำรงชีวิตของกลุ่มคนเหล่านี้มากพอ
ดังนั้นย้อนกลับมาที่คำถามอีกครั้ง มีเหตุผลที่เข้าท่าอะไรบ้างที่รัฐไม่ควรอนุญาตให้เพศทางเลือกเปลี่ยนคำนำหน้านามได้? หรือเป็นเพียงทิฐิทางเพศ หรือเป็นความหวาดกลัวการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะส่งผลกระทบต่ออำนาจนำของเพศชาย-หญิงในสังคม
กฏหมายไม่ใช่เพียงเครื่องมือในการวางกฏเกณฑ์ในสังคม แต่ยังเป็นตัวชี้วัดสิทธิและเสรีภาพของทุกกลุ่มคนในสังคม กฏหมายควรที่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ free and fair มากขึ้นเสมอ ไม่ใช่ถูกใช้เป็นเครื่องมือเหนี่ยวรั้งสังคมเพื่อปกป้องสวัสดิภาพของคนหมู่มากเพียงอย่างเดียว มิเช่นนั้นผู้หญิงก็คงไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งเพียงเพราะไม่ได้รับการศึกษาที่ดีพอ คนดำก็คงไม่สามารถนั้งรถเมล์หรือกินอาหารในร้านเดียวกันคนขาวได้เพราะสกปรกและจน
ทิ้งท้ายด้วยข้อมูลการอนุญาตการเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฏหมายของเพศทางเลือกในต่างประเทศ