ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status: ขอแฮงจงสิงอยู่กับข่อย
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 23 Sep 2010
ตอบ: 18465
ที่อยู่: The Mistletoe
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 21:45
หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?


ผู้เขียน พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (เรื่อง) | บุญกิจ สุทธิญาณานนท์ (ภาพ)
ที่มา มติชนรายวัน
เผยแพร่ 5 ก.พ. 59

“เถียงกับทีมงานอยู่นาน เพราะต้องเป็นอาเซียนคอมมูนิตี้ คือประชาคมอาเซียน ไม่ใช่เออีซีซึ่งหมายถึงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน แต่เขาบอก ใช้คำนี้เพื่อความแมสในการตั้งชื่องาน (หัวเราะ)” สุเจน กรรพฤทธิ์ ผู้เขียนหนังสือ “จากเวียงจันทน์สู่เวียงแหง ตามรอยนเรศวรมหาราช นอกกรอบประวัติศาสตร์ชาตินิยม” ชิงออกตัวตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของงานเสวนา “อ่านพระนเรศวร (ใหม่) ก่อนไปเออีซี” ที่ร้านหนังสือริมขอบฟ้า มุมอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อไม่นานมานี้ ถึงชื่องานที่ถูกจงใจ “บิด” เล็กน้อย


ก็คงเหมือนกับความเข้าใจของคนไทยที่มีต่อเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวร รวมถึงประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา ซึ่งหลายเรื่องอาจไม่ตรงกับข้อเท็จจริงทางวิชาการไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม


งานเสวนา “อ่านพระนเรศวร (ใหม่) ก่อนไป เออีซี” จากซ้าย สุเจน กรรพฤทธิ์, สุเนตร ชุตินธรานนท์ และศรัณย์ ทองปาน

“นเรศวร” ไม่มี
มีแต่ “พระนเรศ”


เริ่มตั้งแต่พระนามที่คนไทยติดปากว่า พระนเรศวร ก็อาจคลาดเคลื่อน เพราะพงศาวดารไทยมากมายซึ่งถูกชำระในยุคต้นรัตนโกสินทร์ออกพระนามว่า “พระนเรศวร” แต่หลักฐานร่วมสมัยในยุคนั้นล้วนออกพระนามว่า “พระนเรศ” สอดคล้องกันกับหลักฐานพม่า

ปัญหาข้อนี้ สุเจนมองว่า ผู้ชำระพงศาวดาร น่าจะเข้าใจผิด โดยเอาสร้อยคำที่ว่า วรราชาธิราช เข้ามารวม กล่าวคือ นำคำว่า วร มาอ่านรวมกับ นเรศ จากที่ควรอ่านว่า พระนเรศ-วร-ราชาธิราช จึงกลายเป็น พระนเรศวรสืบมาจนทุกวันนี้

ถ้อยคำชวนสงสัย
และแบบเรียนไทยที่ไม่ยอมเปลี่ยน?


มาถึงการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่เด็กไทยทุกคนได้ร่ำเรียนตั้งแต่เยาว์วัย ซึ่งสุเจนบอกว่า เต็มไปด้วย “ถ้อยคำ” ที่ชวนตั้งคำถามถึง ดังเช่น แบบเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 บทที่ 7 และ 8 ซึ่งมีข้อความระบุว่า “คนไทย (สมัยอยุธยา) ไม่ชอบพม่า” จึงทำให้สงสัยว่าทราบได้อย่างไร? มีหลักฐานเอกสารใดที่บอกเช่นนั้น นอกจากนี้ ยังปรากฏคำที่ชวนให้ตั้งคำถาม อาทิ “อิสรภาพ” ซึ่งอาจต้องทบทวนความหมายของคำว่า อิสรภาพในสมัยอยุธยา ว่าตรงกับ อิสรภาพหลังเกิดรัฐชาติไทยในคริสต์ศตวรรษที่ 20 หรือไม่

“คนเขียนแบบเรียนไทย ไม่ได้สนใจคำถามพวกนี้เท่าไหร่ ไม่ได้สนใจการนิยามความหมาย จึงใช้มาอย่างนี้ 20-30 ปี หรือส่วนที่บอกว่า ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับพม่า อยู่ในลักษณะแข่งอำนาจกัน เพื่อครองดินแดนสุโขทัย ล้านนาและหัวเมืองมอญ เมื่อใดที่พม่าเข้มแข็งจะเป็นฝ่ายมารุกรานอยุธยา ถามว่าเราไม่เคยไปรุกรานเขาเลยหรือ?” สุเจนตั้งคำถาม พร้อมยังเล่าว่า หนังสือของตนเคยได้รับรางวัลหนังสือดีเด่น “เซเว่นบุ๊ก อวอร์ด ครั้งที่ 6 ประเภทสารคดี เมื่อ พ.ศ.2552 ผ่านไป 8 ปี นอกจาก “ขายไม่ดี” แล้ว แบบเรียนไทยก็ยังเหมือนเดิม ไม่มีการเพิ่มเติม ปรับเปลี่ยนตามหลักฐานและข้อพิสูจน์ใหม่ๆ ทุกอย่างยังหยุดนิ่ง

“เพิ่งเข้าไปในศึกษาภัณฑ์ ไล่ดูแบบเรียนกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่ประถมถึงมัธยม ก็ยังเหมือนเดิม และเด็กไทยยังต้องแสร้งตอบคำถามเพื่อให้เอ็นท์ติดทัศนคติประเภท ไม่ชอบพม่า คำเรียกกบฏอังวะ และอิสรภาพของอยุธยา ยังมีอยู่ตลอด รวมถึงคำสำคัญที่ใช้กันบ่อยๆ อย่างคำว่า ประกาศเอกราช ซึ่งไม่เคยปรากฏในพระราชพงศาวดารฯ ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ เช่นเดียวกับกฤษดาภินิหารอย่างการยิงปืนข้ามแม่น้ำสะโตง ซึ่งไม่มีการบันทึกไว้เลยทั้งหลักฐานฝั่งไทยและพม่า จากการได้เห็นสถานที่จริง พบว่าเป็นแม่น้ำที่กว้างใหญ่มาก ส่วนที่แคบที่สุดของแม่น้ำสายนี้ ยังกว้างกว่าแม่น้ำเจ้าพระยาราวๆ 5-6 เท่า คำถามคือ พระแสงปืนต้นในยุคนั้นสามารถยิงข้ามแม่น้ำได้แม่น ขนาดนั้นจริงหรือ?”


สะพานข้ามแม่น้ำสะโตงที่กว้างใหญ่กว่าแม่น้ำเจ้าพระยาหลายเท่า

หลากปริศนาพระนเรศวร

นอกจากประเด็นข้างต้น ปริศนาที่หลายคนพยายามหาคำตอบก็คือวีรกรรมอันยิ่งใหญ่อย่างยุทธหัตถี ซึ่งปัจจุบันนี้ยังไม่มีข้อยุติว่าอยู่ที่ใด ระหว่างดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี, อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี และทุ่งภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นปริศนาดำมืดให้นักประวัติศาสตร์ค้นคว้ากันต่อไป

เช่นเดียวกับข้อสงสัยที่ว่า พระมหาอุปราชาทรงถูกฟันคาคอช้างจริงหรือไม่ เพราะหลักฐานพม่ากล่าวว่ามีเสียงปืนดังขึ้นก่อนที่พระองค์จะสิ้นพระชนม์บนหลังช้าง

รวมถึงฉากตรึงใจในภาพยนตร์ อย่างการชนไก่เอาบ้านเอาเมืองระหว่างพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชานั้น ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่า ซึ่งถูกเขียนขึ้นในยุคหลังเหตุการณ์นับร้อยปี ส่วนหลักฐานร่วมสมัย ไม่มีการบันทึกเรื่องนี้แต่อย่างใด ทั้งยังน่าสงสัยว่า การชนไก่ไม่น่าใช่กีฬาของพระราชวงศ์

ตบท้ายด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่สวรรคต ว่าอยู่ในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ หรือที่เมืองหาง ในรัฐฉานของพม่ากันแน่ ซึ่งสุเจนไม่ได้นั่งโต๊ะในห้องแอร์ศึกษาเฉพาะเอกสารเท่านั้น แต่ลงพื้นที่ด้วยตนเอง


สถานที่สวรรคตของพระนเรศวรยังเป็นปริศนาว่าอยู่ในอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ หรือเมืองหาง ในรัฐฉานของพม่ากันแน่

ยกเครื่องความรู้ อยู่อย่างเข้าใจ

จากนักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ มาถึงคิวรุ่นใหญ่อย่าง รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่า และผู้ช่วยผู้กำกับภาพยนตร์อันลือลั่น “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ที่สร้าง “ภาพจำ” หลายประการเกี่ยวกับพระนเรศวร

พระนเรศวรในความรับรู้ของคนไทย น่าสนใจมาก เพราะมีภาพค่อนข้างหลากหลาย และมีที่มาที่ไปแตกต่างกันหลายชุด

ไม่ว่าจะเป็นภาพพระเจ้าจักพรรดิราช คู่กับพระเจ้าหงสาวดี, ภาพของวีรกษัตริย์กู้เอกราช, ภาพของจอมทัพผู้เป็นสัญลักษณ์กองทัพไทย, ภาพกฤษดาภินิหาร เป็นผู้มีบุญญาบารมีเหนือภพชาติ คนจึงชอบเข้าทรงพระนเรศวรกันมาก และภาพอันเกิดจากวรรณกรรมตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน ซึ่งยังมีเรื่องของพระนเรศวรอยู่เสมอ เช่น ตะเลงพ่าย ขุนศึก ตำนานสมเด็จพระนเรศวร ฯลฯ เป็นกษัตริย์ที่คนไทยกล่าวถึงเป็นลำดับต้นๆ

แต่ภาพชุดที่โดดเด่นที่สุดนั้น สุเนตรบอกว่า เป็นภาพในกรอบประวัติศาสตร์ชาตินิยมซึ่งถูกตอกย้ำโดยรัฐ

นอกจากนี้ ยังมีประเด็น “คาใจ” อย่างเรื่องราวของพระสุพรรณกัลยาและการที่พระนเรศวรต้องตกเป็น “องค์ประกัน”

“หลักฐานฝั่งไทยไม่ได้กล่าวถึงพระสุพรรณกัลยาเลย จะมีก็แต่ในพงศาวดารฝ่ายสงฆ์ คือสังคีตยวงศ์ และพงศาวดารพม่า เช่นเดียวกับการที่พระนเรศวรตกเป็นองค์ประกัน ก็ไม่มีหลักฐานในเอกสารของพม่าแม้แต่ชิ้นเดียว หากแต่ปรากฏเพียงในคำให้การของเชลยศึกพม่าที่รู้จักกันในนาม คำให้การขุนหลวงหาวัด ซึ่งเพิ่งแปลในสมัยรัชกาลที่ 4 เรื่องพระสุพรรณกัลยาไปพม่า เป็นการตีความของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพล้วนๆ” สุเนตรเล่า

พร้อมทิ้งท้ายว่า ภาครัฐควรตื่นตัว ควรยกเครื่องการจัดการความรู้ทางสังคมให้สมกับที่สังคมเปลี่ยนไป สมัยก่อนยังไม่มีทางเลือก คนต้องเชื่อตามตำราเรียนที่ถูกสอนกันต่อๆ มา เพราะไม่รู้จะไปหาอ่านที่ไหน แต่ปัจจุบันเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร แม้รัฐพยายามเหลือเกินที่จะผูกขาดประวัติศาสตร์ แต่ในความเป็นจริง ทำไม่ได้แล้ว เราจะจัดการอย่างไรให้อดีตกับปัจจุบันอยู่ร่วมกันอย่างเข้าใจ


พม่า ผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ไทยที่นักวิชาการมองว่าควรปรับทัศนคติใหม่ให้สมานฉันท์ ลดละเลิกความเกลียดชังเพื่อนบ้านผ่านประวัติศาสตร์ที่ล่วงไปแล้ว

“รักกันแล้วเกลียดคนอื่น”
ความขมขื่นในประวัติศาสตร์อาเซียน


ศรัณย์ ทองปาน กองบรรณาธิการนิตยสารสารคดี ให้แง่คิดเพิ่มเติมว่า ประวัติศาสตร์ไม่มีข้อยุติ แต่ “โยนระเบิด” ให้ไม่ละเลยหลักฐานหลากหลาย ที่สำคัญ ควรก้าวข้ามพ้นภาพประวัติศาสตร์ชาตินิยม ซึ่งหลายครั้งถูกใช้ในความหมายว่า “เรารักกัน แล้วเกลียดคนอื่น”

“จะเข้าใจโลกในอดีตไปพร้อมๆ กับการจับมือกันก้าวเข้าสู่อนาคตได้อย่างไร ถ้ามองรอบข้างเป็นคนเลวไปหมด”

การรับรู้เรื่องทัพกรุงเก่ายุคพระเจ้าเอกทัศน์ว่าอ่อนแอ ทั้งที่หลักฐานบ่งชี้ว่ามีการวางแผนเตรียมการอย่างดี ภาพจำเกี่ยวกับกองทัพพม่าที่มาแบบ “กองโจร” จึงอาจต้องทบทวนใหม่อีกครั้ง

นี่คือเรื่องราวเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ผู้ทำให้สิ่งที่เคยยึดว่าเป็นความจริงถูกตั้งคำถาม ทั้งยังชวนให้เดินก้าวข้ามผ่านกรอบแนวคิดเดิมๆ แล้วค้นหาคำตอบใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง

Cr. http://www.matichon.co.th/news/26239
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
ดาวเตะพรีเมียร์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 11 Jan 2014
ตอบ: 8871
ที่อยู่: Anfield
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 22:22
Top Comment [RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
ถ้าอ่านบทความทั้งหมดแล้วยังสรุปออกมาว่าประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะเสมอก็ควรอ่านใหม่ เพราะบทความมันข้อหักล้างกับประโยคนั้นทุกบรรทัด อย่าใช้แค่เพราะว่ามันเท่ห์ดีเลย ไอ้ประโยคแบบนั้นมันตกยุคไปนานแล้ว

ผมเห็นด้วยและคิดว่าแทบทุกคนคงเห็นด้วยเรื่องเปลี่ยนแบบเรียนประวัติศาสตร์ของไทย เพราะเห็นพูดกันมานานแล้ว แต่ถ้าจะให้เปลี่ยนจากข้อเท็จจริงหนึ่งไปเป็นอีกข้อเท็จจริงหนึ่งเลยคงยาก เพราะนักประวัติศาสตร์เองก็แค่มีหลักฐานที่ 'ขัดแย้ง'กับหลักฐานเดิม ไม่ได้พิสูจน์ชัดว่าข้อเท็จจริงเป็นยังไงกันแน่ ถ้าจะให้เปลี่ยนเป็นการเรียนด้วยการอภิปรายกันทางประวัติศาสตร์ ในระดับ ม.2 ผมมองว่าอภิปรายกันจนครบ 10 คาบความรู้ก็ไม่ขยับไปไหน การจะถกกันเรื่องประวัติศาสตร์สิ่งแรกที่ต้องมีคือความรู้พื้นฐาน หรือก็คือข้อเท็จจริงผิดๆที่หลายคนเรียนกันมาก่อนนั่นแหละ ถ้าไม่มีพื้นฐานเรื่องนี้ อภิปรายกันไปจนจบเทอมก็ไม่รู้เรื่อง

ย่อหน้าสุดท้ายขอย้ำอีกที ในฐานะคนที่ชอบอ่านประวัติศาสตร์มาก เลิกเถอะไอคำว่าผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์อะไรนั่น คำนั้นมันใช้ได้สมัยหลายร้อยปีก่อน เห็นบ่อยมากมาโปรยประโยคนี้ลอยๆแล้วจากไป





ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Aug 2014
ตอบ: 25992
ที่อยู่: รับบูชาพระเครื่อง วัตถุโบราณ ของแปลก PM
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 22:41
Top Comment [RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
เรื่องแม่น้ำสะโตง ผมว่ามันแต่งเสริมเข้าไปจนน่าเกลียด

จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้

1.สะพานข้ามแม่น้ำน่าจะมีการเตรียมการไว้ก่อนแล้ว
2.ขณะถอยทัพ ต้องมีการถ่วงเวลาแน่นอน
3.เมื่ออพยพคนข้าแม่น้ำหมด ทำลายสะพาน

เหตุการณ์น่าจบเท่านี้

แต่เรื่องที่แต่งเสริมไป

4.พม่าสร้างสะพานเพื่อตามล่าต่อ
-ถ้า แม่น้ำที่กว้างขนาดนั้น สะพานมันสร้างไม่ได้ง่ายๆ เอาแพไม้ไผ่มาต่อแบบในหนังแน่ แค่ข้ามคูเมืองยังยาก นี่กว้างกว่า เจ้าพระยา 5 เท่า ขนาดใช้เทคโนโลยีทางทหารสมัยใหม่ สะพานสำเร็จยังลำบากเลย
5.ยิงสวนข้ามแม่น้ำ



เทคโนโลยี สไนเปอร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ระยะประมาณนี้

ยิงถึง ยิงได้ แต่หวังผลไม่ได้

คือเข้าใจนะครับว่า ตอนนั้นมีการเสริมเติมแต่งเพื่อให้เกิดความรักชาติ และ ต่อต้ามลัทธิคอมมิวนิสต์ ตอนนี้ถึงเวลาชำระประวัติศาสตร์ใหม่แล้ว
แก้ไขล่าสุดโดย Sigmund•VI เมื่อ Mon Feb 15, 2016 22:42, ทั้งหมด 1 ครั้ง






ออฟไลน์
คอมเมนเตเตอร์
Status: Dumb leaders. We'll all die.
: 0 ใบ : 1 ใบ
เข้าร่วม: 12 Oct 2009
ตอบ: 11937
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 21:48
ถูกแบนแล้ว
Top Comment [RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
"ประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะเสมอ"
ออฟไลน์
คอมเมนเตเตอร์
Status: Dumb leaders. We'll all die.
: 0 ใบ : 1 ใบ
เข้าร่วม: 12 Oct 2009
ตอบ: 11937
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 21:48
ถูกแบนแล้ว
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
"ประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะเสมอ"
ออฟไลน์
ซุปตาร์โอลิมปิก
Status: อย่าหลงระเริงกับชัยชนะ จนลืมเยาะเย้ยผู้พ่ายแพ้
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 31 Oct 2014
ตอบ: 10474
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 21:55
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
น่าจะเอาปริศนาเรื่องลูกชายพระนเรศวรมาถกด้วย มีเอกสารบันทึกอยู่หลายฉบับว่ามี
ถ้ามีลูกชายจริงทำไมไม่ได้ขึ้น หรือขึ้นต่อจากพระเอกา แต่ดันบันทึกว่าเป็นลูกพระเอกา
หรือว่าเป็นลูกพระเอกาขึ้นก่อน แล้วลูกพระนเรศวรมาชิงคืน อันนี้ผมว่าน่าสนใจมากนะ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลไทยพรีเมียร์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 2976
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 21:56
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
ลองหาอ่านหนังสือ ของ อ สุเนตร ชุติธรานนท์ มาอ่านเพิ่มเติมความรู้ดูนะครับ เช่น ชาตินิยมในแบบเรียนไทย,พม่ารบไทย, พม่าอ่านไทย ฯลฯ

1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status: Once a Foal, always a Foal ❤
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Jul 2014
ตอบ: 9868
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 22:20
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
จริงๆ พอรู้มาก่อนว่าบันทึกของไทยกับพม่าไม่ตรงกัน แต่เพิ่งรู้ว่ามันคลาดเคลื่อนมากขนาดที่เรื่องชนช้างอาจจะกลายเป็นเรื่องไม่มีจริงเลย? ฟังดูแปลกดีเหมือนกันแฮะ

ปกติพงศาวดารมันจะบันทึกโดยคนที่อยู่ในเหตุการณ์นี่นะ แล้วของไทยตกลงบันทึกโดยใครกันแน่?

เราว่าคนที่คิดเป็นศัตรูกับพม่าน่าจะมีแต่คนรุ่นเก่าๆ นะ อย่างพ่อเรายังเคยพูดถึงผู้ชนะสิบทิศประมาณว่า เรื่องพวกพม่าอ่านมันไปทำไม (อ้าว ก็หนังสือเรียนนอกเวลาตรู ตรูก็ต้องอ่านดิ ไม่งั้นจะเอาที่ไหนไปสอบ - -") แต่เอาจริงๆ คือพ่อก็เพิ่งไปเที่ยวพม่ามา ซึ่งจะว่าไปก็ย้อนแย้งโคตรๆ 555

ส่วนคนรุ่นหลังน่าจะค่อนข้างๆ เฉยๆ นะ คิดว่าคนพม่าส่วนใหญ่น่าจะอยากรู้จักคนไทยด้วย เพราะแบ็กแพ็คเกอร์ฝรั่งที่เราเจอในมีทอัพไปเที่ยวพม่า แล้วคนพม่าที่เค้าเจอตอนไปเที่ยวก็แอดเฟซบุ๊คเรามาเยอะมากๆ คืองงไปเลย ปกติเราก็ไม่ใช่คนเป็นมิตรอะไรขนาดนั้น คือก็รับแอดอะนะ ทำตัวเป็นคนไทยเฟรนด์ลี่ แต่ที่จริงโยนใส่ restrict หมด...

อ้อ อีกอย่าง คนพม่าหลายคนไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษเลย

บอกตรงๆ เจอกับตัวเองก็แปลกใจเหมือนกัน ใครบอกว่าคนพม่าเมพอังกฤษกว่าคนไทยเยอะฟระ
7
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวเตะพรีเมียร์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 11 Jan 2014
ตอบ: 8871
ที่อยู่: Anfield
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 22:22
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
ถ้าอ่านบทความทั้งหมดแล้วยังสรุปออกมาว่าประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะเสมอก็ควรอ่านใหม่ เพราะบทความมันข้อหักล้างกับประโยคนั้นทุกบรรทัด อย่าใช้แค่เพราะว่ามันเท่ห์ดีเลย ไอ้ประโยคแบบนั้นมันตกยุคไปนานแล้ว

ผมเห็นด้วยและคิดว่าแทบทุกคนคงเห็นด้วยเรื่องเปลี่ยนแบบเรียนประวัติศาสตร์ของไทย เพราะเห็นพูดกันมานานแล้ว แต่ถ้าจะให้เปลี่ยนจากข้อเท็จจริงหนึ่งไปเป็นอีกข้อเท็จจริงหนึ่งเลยคงยาก เพราะนักประวัติศาสตร์เองก็แค่มีหลักฐานที่ 'ขัดแย้ง'กับหลักฐานเดิม ไม่ได้พิสูจน์ชัดว่าข้อเท็จจริงเป็นยังไงกันแน่ ถ้าจะให้เปลี่ยนเป็นการเรียนด้วยการอภิปรายกันทางประวัติศาสตร์ ในระดับ ม.2 ผมมองว่าอภิปรายกันจนครบ 10 คาบความรู้ก็ไม่ขยับไปไหน การจะถกกันเรื่องประวัติศาสตร์สิ่งแรกที่ต้องมีคือความรู้พื้นฐาน หรือก็คือข้อเท็จจริงผิดๆที่หลายคนเรียนกันมาก่อนนั่นแหละ ถ้าไม่มีพื้นฐานเรื่องนี้ อภิปรายกันไปจนจบเทอมก็ไม่รู้เรื่อง

ย่อหน้าสุดท้ายขอย้ำอีกที ในฐานะคนที่ชอบอ่านประวัติศาสตร์มาก เลิกเถอะไอคำว่าผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์อะไรนั่น คำนั้นมันใช้ได้สมัยหลายร้อยปีก่อน เห็นบ่อยมากมาโปรยประโยคนี้ลอยๆแล้วจากไป





ออฟไลน์
แข้งลีกเอิง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 23 Sep 2013
ตอบ: 5327
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 22:32
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
แก้ไขล่าสุดโดย bilsleepm เมื่อ Mon Feb 15, 2016 22:33, ทั้งหมด 1 ครั้ง
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
Liverpool FC
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: "ลิขิตฟ้าหรือจะสู้มานะตน"
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Aug 2014
ตอบ: 25992
ที่อยู่: รับบูชาพระเครื่อง วัตถุโบราณ ของแปลก PM
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 22:41
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
เรื่องแม่น้ำสะโตง ผมว่ามันแต่งเสริมเข้าไปจนน่าเกลียด

จากการวิเคราะห์ความเป็นไปได้

1.สะพานข้ามแม่น้ำน่าจะมีการเตรียมการไว้ก่อนแล้ว
2.ขณะถอยทัพ ต้องมีการถ่วงเวลาแน่นอน
3.เมื่ออพยพคนข้าแม่น้ำหมด ทำลายสะพาน

เหตุการณ์น่าจบเท่านี้

แต่เรื่องที่แต่งเสริมไป

4.พม่าสร้างสะพานเพื่อตามล่าต่อ
-ถ้า แม่น้ำที่กว้างขนาดนั้น สะพานมันสร้างไม่ได้ง่ายๆ เอาแพไม้ไผ่มาต่อแบบในหนังแน่ แค่ข้ามคูเมืองยังยาก นี่กว้างกว่า เจ้าพระยา 5 เท่า ขนาดใช้เทคโนโลยีทางทหารสมัยใหม่ สะพานสำเร็จยังลำบากเลย
5.ยิงสวนข้ามแม่น้ำ



เทคโนโลยี สไนเปอร์ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ระยะประมาณนี้

ยิงถึง ยิงได้ แต่หวังผลไม่ได้

คือเข้าใจนะครับว่า ตอนนั้นมีการเสริมเติมแต่งเพื่อให้เกิดความรักชาติ และ ต่อต้ามลัทธิคอมมิวนิสต์ ตอนนี้ถึงเวลาชำระประวัติศาสตร์ใหม่แล้ว
แก้ไขล่าสุดโดย Sigmund•VI เมื่อ Mon Feb 15, 2016 22:42, ทั้งหมด 1 ครั้ง






ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Sep 2008
ตอบ: 185
ที่อยู่: N/A
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 22:42
ถูกแบนแล้ว
หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?
Pemberton พิมพ์ว่า:
ถ้าอ่านบทความทั้งหมดแล้วยังสรุปออกมาว่าประวัติศาสตร์เขียนโดยผู้ชนะเสมอก็ควรอ่านใหม่ เพราะบทความมันข้อหักล้างกับประโยคนั้นทุกบรรทัด อย่าใช้แค่เพราะว่ามันเท่ห์ดีเลย ไอ้ประโยคแบบนั้นมันตกยุคไปนานแล้ว

ผมเห็นด้วยและคิดว่าแทบทุกคนคงเห็นด้วยเรื่องเปลี่ยนแบบเรียนประวัติศาสตร์ของไทย เพราะเห็นพูดกันมานานแล้ว แต่ถ้าจะให้เปลี่ยนจากข้อเท็จจริงหนึ่งไปเป็นอีกข้อเท็จจริงหนึ่งเลยคงยาก เพราะนักประวัติศาสตร์เองก็แค่มีหลักฐานที่ 'ขัดแย้ง'กับหลักฐานเดิม ไม่ได้พิสูจน์ชัดว่าข้อเท็จจริงเป็นยังไงกันแน่ ถ้าจะให้เปลี่ยนเป็นการเรียนด้วยการอภิปรายกันทางประวัติศาสตร์ ในระดับ ม.2 ผมมองว่าอภิปรายกันจนครบ 10 คาบความรู้ก็ไม่ขยับไปไหน การจะถกกันเรื่องประวัติศาสตร์สิ่งแรกที่ต้องมีคือความรู้พื้นฐาน หรือก็คือข้อเท็จจริงผิดๆที่หลายคนเรียนกันมาก่อนนั่นแหละ ถ้าไม่มีพื้นฐานเรื่องนี้ อภิปรายกันไปจนจบเทอมก็ไม่รู้เรื่อง

ย่อหน้าสุดท้ายขอย้ำอีกที ในฐานะคนที่ชอบอ่านประวัติศาสตร์มาก เลิกเถอะไอคำว่าผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์อะไรนั่น คำนั้นมันใช้ได้สมัยหลายร้อยปีก่อน เห็นบ่อยมากมาโปรยประโยคนี้ลอยๆแล้วจากไป





 


ใช่ครับ

มันเป็น cliché ที่ผมเห็นแล้วค่อนข้างขัดใจ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: ขายวิญญาณให้ยูไนเต็ด
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 20 Apr 2007
ตอบ: 11815
ที่อยู่: soccersuck.com
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 23:03
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
ผมเห็นด้วยกับ คำที่ว่า
เด็กสมัยนี้เเค่ท่องจำไปตอบตามตำรา
ผมคิดว่ามันไม่ใช่การศึกษา

มันคือการท่องเเลกเกรด
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะเทศบาล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Apr 2014
ตอบ: 5816
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 23:33
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
อยากให้ลูกหลานได้เรียนประวัติศาสตร์แท้จริง



แต่ผมก็เลือกที่จะจำแบบเดิม

สำหรับผมแล้ว เหตุการณ์ช่วงนั้น คือตำนานของบรรพบุรุษ

มันได้ฟีลลิ่ง ฮึกเหิม เมื่อนึกถึง





0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 03 Oct 2007
ตอบ: 43582
ที่อยู่: แขนของทางช้างเผือก
โพสเมื่อ: Mon Feb 15, 2016 23:51
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
คือ ประวัติศาสตร์มันก็คือวิทยาศาสตร์อย่างนึง สามารถแย้งและเปลี่ยนแปลงได้ถ้ามีข้อพิสูจน์ที่หักล้างได้ ซึ่ง ถึงจุดนี้มันก็ยังหาหลักฐานมายากจริงๆ(เพราะพื้นเพดั้งเดิมคนแถบนี้ไม่ค่อยบันทึกอะไรกัน ) เรื่องบันทึกมันจึงเป็นเรื่องของราชสำนักฝ่ายในซะมาก และก็หาหลักฐานอื่นมายากอีก ถ้าจะให้อภิปรายกันยืดยาว ก็ยากมากในการจะจบหรือสรุปอภิปรายแบบไม่มีจุดหมายก็กลายเป็นไม่ได้อะไรเลยเหมือนวนในอ่าง ครูหรืออาจารย์ที่จะสอนให้เข้าใจหลักการและตรงกลางได้ต้องเข้าใจเรื่องอย่างดีจริงๆถึงจะให้เด็กเข้าใจแบบนี้ได้ในคาบเรียน ซึ่งยากเกินไป

ทางออกคือ ยังไง ค่อยๆปรับบางส่วนนั่นแหละครับบางอย่างก็ทิ้งปมไว้บ้าง อย่างอ่ะแน่ๆแหละมีพระนเรศ จริง มีการรบกับพระมหาอุปราชา จริง มีคนตายจริง ทีนี้ในเรื่องรายระเอียดก็ต้องมาพิจารณากันอีกที ไม่เกี่บวกับผู้แพ้ผู้ชนะเขียนประวัติศาสตร์เลยอันนี้ พม่าแพ้ยังมีเอกสารเลย ไม่มีใครเป็นผู้ร้ายผู้ดีทั้งนั้นแหละอยู่ที่ว่าเราเลือกรับทางไหนทางที่ดีควรบาลานซ์ ให้ได้ สรุปเริ่มงงเองเมาก็งี้ สาระ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลลีกภูมิภาค
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Jul 2007
ตอบ: 2641
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Feb 16, 2016 01:54
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
ย้อนแย้งไม่เห็นด้วย หลักฐานมีอ้างอิงไหม คือยังไง อยากรู้ ไม่ใช่ว่าโอกาสแทบเป็นไปไม่ได้=เป็นไปไม่ได้

แม้เพียง0.000001%ก้คือความเป็นไปได้
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ออฟไลน์
นักเตะหมู่บ้าน
Status: ...........
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Jan 2006
ตอบ: 936
ที่อยู่: Manshester Lamlukka
โพสเมื่อ: Tue Feb 16, 2016 05:55
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
ประวัติศาสตร์ไทยเขียนขึ้นมาใหม่ช่วงรัตนโกสินทร์นี่เองครับ โดยเอาพงศาวดาจากที่เรามีแค่ส่วนหนึ่งส่วนเล็กๆ แล้วมาเขียนเข้าข้างตัวเอง มองตัวเองเป็นศูนย์กลางโลก แล้วจริงๆคือ เขียนเพื่อให้เกิดการรักชาติขึ้นมา เขียนเพื่อให้ประชาชนสำนึกและรักสถาบัน โดนไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง ผมว่าคนสมัยก่อนเค้าไม่คิดว่า สมัยนี้จะติดต่อกันได้ทุกประเทศ เลยเขียนให้คนในประเทศเกลียดชาวบ้านเค้าตัวเองดี และอาจเพราะ เรากำลังรวมประเทศจริงๆก็ได้นะช่วงนั้น ประเทศไทยเพิ่งเกิดตอน ร.4 หรือ ร. ไรไม่รู้จำไม่ได้ แต่สมัยก่อนไม่มีนะประเทศไทย เรามั่วซั่วไปหมดแหละ
4
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะอบจ.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 09 Dec 2007
ตอบ: 7489
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Feb 16, 2016 07:35
[RE: หลากปริศนา’พระนเรศวร’ คำถามคาใจและแบบเรียนไทยที่ (ยัง) ไม่ยอมเปลี่ยน?]
เอ่ ของท่านมุ้ย ท่านก็อ่านจากประวัติศาสตร์ หลายๆที่นะ บางส่วนท่านก็ว่าผิด ก็แก้ ส่วนเป็น ภาพยนต์ ท่านก็ทำ (ไม่รู้ว่าใส่รส ภาพยนต์ ไปเท่าไหร่นะ)

การบันทึกประวัติศาสตร์ ไทยน่าเชื่อถือน้อยมาก จนลามไปถึงการแบ่งเขตแดน ต้องใช้ของต่างชาติหมดเลยนะ ของไทยใช้บ้าง (เช่นเขตแดน กัมพูชา ใช้ของ ฝรั่งเศษ ลาว อีก)


ชาติอื่น เช่น พม่า จีน ในอดีต เกรงกลัวคนเขียนประวัติศาสตร์ มาก เพราะว่า เค้าจะบันทึก ตามที่เค้ารู้สึก แต่เหตุการณ์ จริง ถ้าเป็นประเทศ ไทย คงประหารยก ครัว ประวัติมันเลยเพี้ยนไปมาก
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel