จากกรณี จุฬา vs ราชภัฏ ล่าสุด
ครั้งที่แล้วผมพูดเรื่อง การเหยียดและ political correctness ไป
http://www.soccersuck.com/boards/topic/2169292
คิดว่ากรณีนี้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
คำถามแรกคือ ราชภัฏถูกเหยียดจริงไหม?
ก็จะมีข้อโต้แย้ง 2 มุม
1. จุฬา (หรือมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ) ไม่ได้อะไรกับราชภัฏด้วยซ้ำ ไม่เคยยกตัวเองไปเทียบหรือกดราชภัฏ มีแต่ราชภัฏที่พยายามเอาตัวเองมาเทียบกับจุฬา
2. การที่จุฬาไม่อะไรกับราชภัฏนั้นแหละคือการเหยียด เพราะไม่ได้มองในสถานะเท่ากันตั้งแต่แรก รวมถึงค่านิยมของสังคมเองก็เป็นไปในทิศทางที่มองว่าเด็กราชภัฏมีความสามารถโดยรวมด้อยกว่าเด็กจากมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ
มุมมองที่แตกต่างกันนี้เองที่ทำให้บรรทัดฐานของคำว่าเหยียดหรือดูถูกของแต่ละคนไม่เท่ากัน (นี้ยังแค่มุมมองหลัก ๆ ยังมีประเด็นยิบย่อยอีก)
ที่นี้มาดูเรื่องข้อมูลจากข้อเปรียบเทียบระหว่างมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะ อันดับมหาวิทยาลัย, จำนวนงานวิจัยตีพิมพ์, จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการรับรอง, จำนวนผู้ทรงคุณวุฒิในคณะ ราชภัฏล้วนเป็นรองมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ ทั้งสิ้น แต่การพูดว่าเด็กที่จบจากราชภัฏมีความเป็นไปได้สูงว่าจะมีคุณภาพการศึกษาด้อยกว่าเด็กที่จบจากจุฬาถือว่าเป็นการเหยียดและไม่ควรพูดเช่นนั้นหรือไม่? และการตีความว่าเด็กที่จบจากราชภัฎน่าจะมีความสามารถทางวิชาการด้อยกว่าเด็กที่จบจากจุฬาเป็นการดูถูกหรือไม่?
นี้คือความขัดแย้งกันระหว่างมุมมองของคนที่สนับสนุนการใช้ political correctness และคนที่มองว่าการ over-political correctness มันคุกคาม freedom of speech
พูดในฐานะคนที่ anti-pc และมีน้องชายกำลังเรียนอยู่วิศวกรรม-ราชภัฏ มันไม่แปลกที่คนจะคิดว่าเด็กราชภัฏจะด้อยกว่าเด็กจุฬา(และมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆ) ซึ่งมันไม่ใช่ความผิดเด็ก ปัญหามันคือความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาซึ่งไล่เรียงมาตั้งแต่ระดับอุดมศึกษา
ลองนึกดูว่าเด็ก 2 คนที่มีความสามารถทางวิชาการเท่ากัน มีวินัยเหมือนกัน แต่คนหนึ่งมีโอกาสเข้าถึงแหล่งความรู้ที่ดีและมีคุณภาพกว่า ในขณะที่อีกคนได้รับการศึกษาแค่ระดับที่รัฐจัดหาให้ มีโอกาสมากแค่ไหนที่เด็กทั้ง 2 คนจะพัฒนาความสามารถตัวเองออกมาได้ใกล้เคียงกัน ซึ่งจริง ๆ นี้เป็นผลพ่วงจากปัญหาความเหลื่อล้ำในระบบทุนนิยมที่เป็นกันทั่วโลก
คำถามคือ ในประเทศไทย รัฐไทยสามารถแก้ปัญหานี้ได้ดีพอหรือไม่? เราสามารถพูดได้ไหมว่าเด็ก 2 คนที่มีความสามารถทางวิชาการพอกัน มีวินัยเหมือนกัน จะได้รับการศึกษาจากรัฐหรือเอกชนก็มีโอกาสแข่งขันในการเลือกมหาวิทยาลัยได้พอ ๆ กัน
(นี้คือวิธีการมองปัญหาความเหลื่อมล้ำ ไม่ใช่มองว่าราชภัฏเป็นที่รองรับสำหรับเด็กที่ไม่ตั้งใจเรียนในระดับอุดมศึกษา)
แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่มองแบบผม หลายคน(หรืออาจะส่วนใหญ่) ก็มองแค่ค่านิยมสังคมตื้น ๆ ว่าเด็กราชภัฏห่วยกว่าเด็กจุฬา ประเด็นคือไม่ว่าจะมองแบบตื้นหรือแบบลึก ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ การพูดแบบนี้ก็ทำให้คนที่จบราชภัฏบางคน(หรืออาจจะส่วนใหญ่) ไม่สบายใจอยู่ดี หลายคนอาจจะบอกการให้เหตุผลของผมมากพอคนที่ไม่สบายใจก็ควรรับให้ได้ แต่ก็จะมีคำถามตามมาอีกว่าแล้วแค่ไหนถึงจะเรียกว่าให้เหตุผลมากพอ อะไรคือบรรทัดฐานว่าต้องมีเหตุผลแค่ไหนถึงจะพูดในแบบที่ไม่มี political correctness ได้
และสิ่งสำคัญคือส่วนใหญ่ทุกคน "ดูเหมือน" จะโอเคกับการไม่ political correctness จนกระทั่งเรื่องนั้นมันทำให้คุณไม่สบายใจ