[RE: จากใจครูคนหนึ่ง ปัญหาเด็กมากระจุกที่โรงเรียนเดียว สุดท้ายจะตายทั้งระบบ]
เด็กเอ๋ยเด็กน้อย พิมพ์ว่า:
Noel Wong พิมพ์ว่า:
ไม่ใช่บุคลากรทางการศึกษา แต่ผมแอบงงคำว่า"ไม่มีสิทธิ์ปฏิเสธ..."ที่ท่านว่าครับ
คือยังไงนะ...คนแห่กระจุกมาในโรงเรียนที่ท่านสอน ตั้งห้องละ 30-40 คน(??????) ทำไมไม่กระจายไปโรงเรียนข้างเคียง ผมเข้าใจถูกมั๊ย?
ไม่เห็นสภาพ แต่อนุมานได้ว่าโรงเรียนที่ท่านสอน มีสภาพแวดล้อมและขนาด รวมถึงคุณภาพและงบประมาณ ดีกว่าโรงเรียนในพื้นที่
ทีนี้คำถามผมมีแค่
- ท่านพร้อมมั๊ย ที่โรงเรียนจะถูกยุบ/ลดเกรดให้เป็นมาตรฐาน/งบประมาณ รวมถึงการบริหารจัดการต่างๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกับโรงเรียนห่างไกล/บนดอย แล้วบุคลากรจากโรงเรียนใหญ่ต่างๆกลับเข้าสู่พื้นที่ กระจายกันออกไป?
สพฐ.เป็นจุดใหญ่ที่จำเป็นจะต้องกระจายให้ครอบคลุมและเท่าเทียมนี่ ผมไม่เถียงนะ แต่นั่นคือโจทย์แรกคงต้องเลิกระดับ/ขนาดโรงเรียนก่อน...บุคลากรทางการศึกษาเราพร้อมมั๊ย?
แอบแซะว่า เหมือนว่าบุคลากรทางการศึกษาเอง ยังไม่เลือกกระจายไปโรงเรียนเล็กเลยนะครับ หรือเลือกลงได้ ก็ย้ายออกเพื่อความเจริญก้าวหน้า
ส่วนตัวมองว่า มันคู่ขนานกันครับ ความพร้อมก็ใช่ แต่จิตสำนึกที่จะเข้าสู่พื้นที่ของบุคลากรก็ใช่เช่นกัน จะโยนไปฝั่งใดฝั่งนึง ผมก็ยิ้มอ่อนนะ 555
ปล. ห้องเรียนผมสมัยเรียน มีเพื่อนร่วมชั้น 54 คนครับ และไม่มี"บุคลากรทางการศึกษา"มานั่งตัดพ้ออ้างบุญคุณ"ทุ่มเทแรงกาย"อะไรแบบนี้เหมือนกัน...ยอมรับว่าอคติเลยกับการแสดงออกแบบนี้ นั่นอาจจะเป็นปัญหาที่ทัศนคติของท่านด้วยเช่นกัน
ดูเหมือนคุณจะไม่เข้าใจในสิ่งที่ผมสื่อ
แต่อนุมานได้ว่าโรงเรียนที่ท่านสอน มีสภาพแวดล้อมและขนาด รวมถึงคุณภาพและงบประมาณ ดีกว่าโรงเรียนในพื้นที่
รร.ผม มิใช่ รร.ในเมือง คุณภาพที่เกิดขึ้นมาจากผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน การสอนของครูเป็นหลัก เรื่องงบประมาณเป็นปัจจัยรองลงมา ซึ่งรัฐจัดสรรตามรายหัวของนักเรียนอยู่แล้ว
รร.ละแวกใกล้เคียง จำนวนนักเรียน 4-5 ปีก่อน ใกล้เคียงกันกับผม แต่ปัจจุบันลดลงเรื่อย ๆ เพราะ ผปค. ไม่เชื่อมั่นในผลสัมฤทธิ์ ไม่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพการสอน ซึง่มีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุมาก โดยเฉพาะตัวผู้บริหารสถานศึกษา
ผมถามว่า เป็นหน้าที่ของ สพฐ. // เขตพื้นที่ไหม ที่ต้องกำกับดูแล รร. ในสังกัดให้มีคุณภาพทัดเทียมกัน ไม่ใช่ปล่อยให้มากระจุกในโรงเดียว
เรื่องงบประมาณ เขาจัดสรรมาให้ตามรายหัวนักเรียนที่มีตัวตนอยู่แล้ว อุปกรณ์การเรียน สื่อการสอน ก็เช่นกัน รัฐจัดสรรงบมาให้ทุกโรงเรียน มันไปเกี่ยวกับอะไรกับการที่เด็กลดลง แล้วโรงเรียนต้องถูกลดเกรด ลดมาตรฐาน
นี่แสดงถึงความไม่เข้าใจ และดักดานของท่าน
ความเชื่อมั่นของผู้ปกครอง ไม่ได้มาจากขนาดของโรงเรียน
โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ สักวันหนึ่งเด็กก็ลดลงได้ เหมือนในพื้นที่ของผม
ผู้ปกครองเขาดูผลสัมฤทธิ์ ผลการสอบเข้าศึกษาต่อ
โรงเรียนผม 10 ปีก่อน เด็กทั้งโรงเรียนแค่ร้อยคน
ปัจจุบันเพิ่มมาหลายร้อยคน
ท่านจะบอกว่า โรงเรียนเล็ก ๆ ไม่มีมาตรฐาน ครูไม่อยากสอน ถูกลดเกรด ไม่มีคุณภาพ
แล้วโรงเรียนผม มันโตมาได้อย่างไร ?
ก็คงตอบท่านได้แค่ว่า เป็นความ"ดักดาน"ของผมเองล่ะ ที่โคตรเห็นความย้อนแย้งของความคิดครับ
ตอบว่าใช่นะ นั่นคือโจทย์"โคตรๆๆๆ"ของ สพฐ.ที่ต้องกระจายความน่าเชื่อถือให้ทั่วถึง โดยใช้พื้นฐานและตัวชี้วัดเดียวกัน แต่นั่นก็ต้องรวมถึงกระแส/คำบอกเล่าปากต่อปากในวงสังคม โดยเฉพาะสังคมชนบทด้วยเช่นกัน
ปัญหาของท่าน ท่านกำลังชี้ว่า สิ่งที่ท่านทำ คือคนละแบบคนละมาตรฐานกับตัวชี้วัดที่เป็นพื้นฐานที่กำหนด ถูกมั๊ยครับ ผลสัมฤทธิ์ถึงต่างจากโรงเรียนอื่น
วิธีการมันไม่ได้ยาก แค่กระจายพื้นฐานเดียวกันออกไปในพื้นที่ ซึ่งเป็นกลุ่มโรงเรียนตามสังกัดเดียวกัน เพื่อกระจายความน่าเชื่อถือ กระจายคนออกได้...แต่อ้อ ทำไม่ได้ เราคือราชการ เราทำแค่ในโรงเรียนในพื้นที่จำกัดก็พอ ที่เหลือรอฟ้าประทานเอา เราเด่นแล้วฟ้าไม่ประทานก็ตีโพยตีพาย บ่นทำเยอะเหนื่อยจัง ได้แค่นั้น
ถามจริงๆว่า ท่านและบุคลากรในโรงเรียน รวมถึงบุคลากรในพื้นที่การศึกษาเดียวกัน ทำได้แค่นั้นจริงๆเหรอ การพบปะแบ่งปันข้อมูลกันระดับพื้นที่ โดยไม่รอส่วนกลาง"สั่ง" เป็นอะไรที่...ขนาดนั้นเลยเหรอ ในฐานะเอกชนที่ทำเสมอๆ แปลกใจมากครับ
นี่ยังไม่รวมในภาคสังคม ที่ผม"ดักดาน"ว่าการได้สร้างบุคลากรที่มีคุณภาพเข้าสู่สังคม เป็นสิ่งที่ต้องตีโพยตีพายขนาดนี้
"โรงเรียนเล็ก ๆ ไม่มีมาตรฐาน ครูไม่อยากสอน" ตามที่ผมหมายถึง ท่านหันซ้ายหันขวารอบๆโรงเรียน ตัวอย่างก็มีเห็นมั๊งครับ ตรงนี้แนะนำให้ท่านกระทุ้งยุบโรงเรียนพวกนี้ ควบรวมอัตราบุคลากรมานะครับ เนื่องจากท่านเองก็บอกว่า อัตราการเจริญเติบโตของโรงเรียนท่าน มองได้ว่าการเดินทางไม่ค่อยเป็นอุปสรรคมากต่อพื้นที่นัก ซึ่งก็อาจมองได้เช่นกันว่า เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณเกินความจำเป็นครับ