[RE: ชี้แจง งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์ 33,712 หมื่นล้าน เรียนเชิญ น้อง Chal2lotte และกองเชียร์ด้วยฮะ]
Maticmaleawja พิมพ์ว่า:
Vyse พิมพ์ว่า:
ต่อให้ตัดข้อ 3 ออกก็เหลืออีก 25,000ล้าน
มีไอ้โง่ตัวไหนบอกว่าเงินจำนวนนี้ไม่เยอะมั้ยนะ
งบโครงการหลวงต่าง 15,000 ล้าน นี่เกิดประโยชน์กี่อย่างกัน
กังหันน้ำที่บำบัดน้ำเสียไม่ได้ ช่างหัวมันที่ช่างจริงๆ ไปมากี่ทีก็ไม่มีอะไรเปลี่ยน โคกหนองในที่ทำไม่ได้จริง ลงทุนมหาศาล
4000 โครงการ ใช้จริงได้กี่โครง ? ตัวเลข 4000 มีไว้ให้ราชการเบิกงบไปกินเล่นกันอ่ะดิ
ถ้าเอาแค่ที่เกิดประโยชน์จริงๆ 2-3พันล้านก็พอแล้วมั้ง
ผมจะขอนำข้อมูลจาก สำนักงาน กปร คือสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โดยมีอำนาจหน้าที่ พิจารณาและเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี 2495-2566 (มีจำนวน 5,176 โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2566)
รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
สามารถจัดแบ่งออกเป็นประเภทของการโครงการได้ ๘ ประเภท คือ
ประเภทโครงการ จำนวนโครงการ / กิจกรรม
1. โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ 3,650 โครงการ / กิจกรรม
2. โครงการพัฒนาด้านการเกษตร 133 โครงการ / กิจกรรม
3. โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม 199 โครงการ / กิจกรรม
4. โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ 344 โครงการ / กิจกรรม
5. โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข 47 โครงการ / กิจกรรม
6. โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร 90 โครงการ / กิจกรรม
7. สวัสดิการสังคม/การศึกษา 438 โครงการ / กิจกรรม
8. โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ/อื่นๆ 275 โครงการ / กิจกรรม
ภาค จำนวนโครงการ / กิจกรรม
กลาง 862 โครงการ / กิจกรรม
ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,316 โครงการ / กิจกรรม
เหนือ 1,972 โครงการ / กิจกรรม
ใต้ 989 โครงการ / กิจกรรม
ไม่ระบุภาค 37 โครงการ / กิจกรรม
รวม 5,176 โครงการ / กิจกรรม
ผมจะขอยกตัวอย่างสัก 2 โครงการใหญ่ๆ คือ โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ โครงการพัฒนาด้านการสวัสดิการสังคม การศึกษาแล้วกัน
โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน เพื่อช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร ร 9 มีพระราชดำริเพื่อช่วยเกษตรกรชาวไทย
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาจแบ่งออกได้เป็น ๕ ประเภทดังต่อไปนี้
๑. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก และอุปโภคบริโภคได้แก่ อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ
๒. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร
๓. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
๔. โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
๕. โครงการบรรเทาอุทกภัย
คือถ้าจะสารยายมันจะยาวไปมากๆๆๆๆๆ ผมคงไม่มีเวลามานั่งอธิบายขนาดนั้นนะ ยกตัวอย่างโครงการ เช่น
1. โครงการแก้มลิง
โครงการแก้มลิงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยการขุดลอกคลองชายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นคลองพักน้ำขนาดใหญ่หรือ “แก้มลิง” แล้วระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก หรือน้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันโครงการแก้มลิงยังได้ขยายการดำเนินงานไปที่โครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอีกด้วย
2เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
สร้างขึ้นเพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง และเป็นการป้องกันบรรเทาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลากและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ในภาคกลาง อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย
3.โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภคโดยไม่ขาดแคลน ที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเพาะปลูกอีกด้วย
สวัสดิการสังคม/การศึกษา
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสวัสดิการสังคม เป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจัดหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้แก่ราษฎร ตลอดจนสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงจะได้รับ เช่น แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค เพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น พออยู่ พอกิน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความผาสุก ตัวอย่างของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสวัสดิการสังคม อาทิ
โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาญจนบุรี
การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่” โดยการจัดที่อยู่อาศัยให้ราษฎรได้อยู่อาศัย และทำกินร่วมกับการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อหนุนกัน ไม่ทำลายซึ่งกันและกัน ตามหลักการฟื้นฟูและสร้างสมดุลในระบบนิเวศ พร้อมกับการจัดสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า โรงเรียน โรงพยาบาล ตลอดจนการฝึกอบรมอาชีพให้กับราษฎร ทำให้ทุกชีวิตมีความผาสุกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งยังผลให้ราษฎรสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ การทำมาหากินควบคู่ไปกับการพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์อีกครั้ง เป็นต้น
เหนื่อยครับ เห้อ
คำถามคือ ใครได้ประโยชน์ ? ประองค์ท่าน หรอ ?? หรือ ประชาชนคนไทยได้ประโยชน์
หากคุณจะลดงบประมาณการดูแลโครงการต่างๆ 15,000 ล้านทั้งที่ผมอธิบายไปแล้วว่า มีผลประโยชน์กับประชาชนแล้วใครกระทบ? ประชาชน หรือ พระมหากษัตริย์ ? ทั้งที่งบเหล่านี้90 กว่าเปอร์เซ็นต์ คืองบที่ใช้จ่าย บุคลากร การดูแล การบำรุงรักษา ในหลายๆโครงการ...ใครกระทบครับ?
ฝากให้คิด
การใส่ร้ายป้ายสีสถาบัน ด้วยการรวมงบจากหลายร้อยหลายพันหน่วยงาน ที่เป็นโครงการพระราชดำริ มาเป็นงบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่น่าจะประสงค์ดีใดๆ ต่อสถาบัน แต่ต้องการใส่ร้ายว่าสถาบันใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีกูทำงานของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่เป็นงานของหน่วยราชการต่างๆ และเป็นงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน จึงเป็นเรื่องของคนที่ไม่หวังต่อสถาบัน และไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง
ตอบแบบนี้ผมก็ตอบได้ครับ ผมเข้าเว็บไซต์โครงการพระราชดำริมาแล้วด้วย
บางคนดู อ่านผ่านๆก็รู้สึกว้าวกับจำนวนโครงการ
ผมเปิดเข้าไปดูรายละเอียดของโครงการในไฟล์ครับ
พอเข้าไปดูผมก็เอ๊ะ วางท่อไม่กี่เมตร ก็นับเป็น 1 โครงการการด้วยหรอวะ
คำว่าโครงการมันควรเป็นรูปเป็นร่างกว่านี้สิ
โห ถ้าแบบนี้ ผมทำงาน 70 ปี ด้วยงบขนาดนี้ ผมทำได้มากกว่า 10,000 โครงการอีกนะ
แล้วทำไมต้องเป็นรัฐฯซ้อนรัฐฯ ทั้งๆที่หน้าที่บริหารประเทศเป็นของรัฐบาล แล้วทำไมต้องเอางบภาษีไปทำเองแล้วกลายเป็นบุญคุณ
งั้นถ้ารัฐบาลทำ ผมก็ต้องติดบุญคุณรัฐบาลหรือไม่ เงินก้อนเดียวกัน แต่แค่เปลี่ยนมือคนทำ ทำไมต้องเป็นแบบนี้
อย่าบอกว่าไม่มีอำนาจ ไม่แทรกแซง แทรกแซงรัฐบาลไม่ได้ แล้วตอนรับตำแหน่งเข้าไปหาทำไม
รัฐบาลก้มกราบทำไม ขนาดที่ว่าก้มกราบได้ ทำไมจะสั่งอะไรไม่ได้
จริงๆจะใช้เท่าไหร่ ไม่ติดหรอก ติดที่ว่าตรวจสอบได้มั้ย แย้งได้มั้ย ค้านได้มั้ย แนะนำได้มั้ย นี่ทำอะไรไม่ได้เลย กลายเป็นงบลับลวงไป
ถ้าผมเอาเงินหมื่นล้านไปช่วยเหลือประชาชน คิดว่าประชาชนจะรักผมมั้ยล่ะ ที่แหละครับ ที่เรียกว่าผลประโยชน์
พูดถึงเรื่องเขื่อน เอาจริงๆ ประเทศที่เจริญแล้วเค้าจะไม่สร้างเขื่อนกันนะ เพราะต้องสูญเสียระบบนิเวศขนาดใหญ่เพื่อสร้างที่เก็บน้ำ มันไม่คุ้ม
แล้วทุกวันนี้ก็แก้ปัญหาน้ำท่วมไม่ได้ ทั้งๆที่เป็นถึงบิดาแห่งน้ำ
ถ้ามี 5 พันกว่าโครงการ ผมขอซัก 50 รายการ คิดเป็น 1% เอารายละเอียดของโครงการมานำเสนอหน่อยครับ
ไม่เยอะนะครับ 1% เอง