[RE: ชี้แจง งบประมาณสถาบันพระมหากษัตริย์ 33,712 หมื่นล้าน เรียนเชิญ น้อง Chal2lotte และกองเชียร์ด้วยฮะ]
Vyse พิมพ์ว่า:
ต่อให้ตัดข้อ 3 ออกก็เหลืออีก 25,000ล้าน
มีไอ้โง่ตัวไหนบอกว่าเงินจำนวนนี้ไม่เยอะมั้ยนะ
งบโครงการหลวงต่าง 15,000 ล้าน นี่เกิดประโยชน์กี่อย่างกัน
กังหันน้ำที่บำบัดน้ำเสียไม่ได้ ช่างหัวมันที่ช่างจริงๆ ไปมากี่ทีก็ไม่มีอะไรเปลี่ยน โคกหนองในที่ทำไม่ได้จริง ลงทุนมหาศาล
4000 โครงการ ใช้จริงได้กี่โครง ? ตัวเลข 4000 มีไว้ให้ราชการเบิกงบไปกินเล่นกันอ่ะดิ
ถ้าเอาแค่ที่เกิดประโยชน์จริงๆ 2-3พันล้านก็พอแล้วมั้ง
ผมจะขอนำข้อมูลจาก สำนักงาน กปร คือสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โดยมีอำนาจหน้าที่ พิจารณาและเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริตั้งแต่ปี 2495-2566 (มีจำนวน 5,176 โครงการ /กิจกรรม ข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2566)
รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
สามารถจัดแบ่งออกเป็นประเภทของการโครงการได้ ๘ ประเภท คือ
ประเภทโครงการ จำนวนโครงการ / กิจกรรม
1. โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ 3,650 โครงการ / กิจกรรม
2. โครงการพัฒนาด้านการเกษตร 133 โครงการ / กิจกรรม
3. โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม 199 โครงการ / กิจกรรม
4. โครงการพัฒนาด้านส่งเสริมอาชีพ 344 โครงการ / กิจกรรม
5. โครงการพัฒนาด้านสาธารณสุข 47 โครงการ / กิจกรรม
6. โครงการพัฒนาด้านคมนาคม/สื่อสาร 90 โครงการ / กิจกรรม
7. สวัสดิการสังคม/การศึกษา 438 โครงการ / กิจกรรม
8. โครงการพัฒนาแบบบูรณาการ/อื่นๆ 275 โครงการ / กิจกรรม
ภาค จำนวนโครงการ / กิจกรรม
กลาง 862 โครงการ / กิจกรรม
ตะวันออกเฉียงเหนือ 1,316 โครงการ / กิจกรรม
เหนือ 1,972 โครงการ / กิจกรรม
ใต้ 989 โครงการ / กิจกรรม
ไม่ระบุภาค 37 โครงการ / กิจกรรม
รวม 5,176 โครงการ / กิจกรรม
ผมจะขอยกตัวอย่างสัก 2 โครงการใหญ่ๆ คือ โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ โครงการพัฒนาด้านการสวัสดิการสังคม การศึกษาแล้วกัน
โครงการพัฒนาด้านแหล่งน้ำ
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน เพื่อช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร ร 9 มีพระราชดำริเพื่อช่วยเกษตรกรชาวไทย
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาจแบ่งออกได้เป็น ๕ ประเภทดังต่อไปนี้
๑. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก และอุปโภคบริโภคได้แก่ อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ
๒. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร
๓. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
๔. โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
๕. โครงการบรรเทาอุทกภัย
คือถ้าจะสารยายมันจะยาวไปมากๆๆๆๆๆ ผมคงไม่มีเวลามานั่งอธิบายขนาดนั้นนะ ยกตัวอย่างโครงการ เช่น
1. โครงการแก้มลิง
โครงการแก้มลิงเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลโดยการขุดลอกคลองชายฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นคลองพักน้ำขนาดใหญ่หรือ “แก้มลิง” แล้วระบายน้ำออกสู่ทะเลโดยใช้หลักทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก หรือน้ำขึ้นน้ำลงตามธรรมชาติ ซึ่งปัจจุบันโครงการแก้มลิงยังได้ขยายการดำเนินงานไปที่โครงการบรรเทาอุทกภัยตามพระราชดำริ (แก้มลิงหนองใหญ่) จังหวัดชุมพร และโครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำคลองอู่ตะเภา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอีกด้วย
2เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
สร้างขึ้นเพื่อให้มีน้ำไว้ใช้ในการเกษตรในฤดูแล้ง และเป็นการป้องกันบรรเทาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูน้ำหลากและบรรเทาปัญหาน้ำเน่าเสียในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ในภาคกลาง อีกทั้งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งด้วย
3.โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครนายก
โครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นการช่วยเหลือและบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนจากอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำนครนายก ซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำ รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภคบริโภคโดยไม่ขาดแคลน ที่สำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวที่เป็นอุปสรรคสำคัญในการเพาะปลูกอีกด้วย
สวัสดิการสังคม/การศึกษา
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสวัสดิการสังคม เป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีที่อยู่อาศัย ที่ทำกิน และได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ทั้งนี้เป็นการส่งเสริมให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยจัดหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินให้แก่ราษฎร ตลอดจนสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงจะได้รับ เช่น แหล่งน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค เพื่อให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของราษฎรดีขึ้น พออยู่ พอกิน ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความผาสุก ตัวอย่างของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสวัสดิการสังคม อาทิ
โครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดกาญจนบุรี
การบริหารและจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่” โดยการจัดที่อยู่อาศัยให้ราษฎรได้อยู่อาศัย และทำกินร่วมกับการคงอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติอย่างเกื้อหนุนกัน ไม่ทำลายซึ่งกันและกัน ตามหลักการฟื้นฟูและสร้างสมดุลในระบบนิเวศ พร้อมกับการจัดสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนน ไฟฟ้า โรงเรียน โรงพยาบาล ตลอดจนการฝึกอบรมอาชีพให้กับราษฎร ทำให้ทุกชีวิตมีความผาสุกและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งยังผลให้ราษฎรสามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ การทำมาหากินควบคู่ไปกับการพัฒนาและฟื้นฟูสภาพป่าไม้ให้กลับคืนสู่สภาพสมบูรณ์อีกครั้ง เป็นต้น
เหนื่อยครับ เห้อ
คำถามคือ ใครได้ประโยชน์ ? ประองค์ท่าน หรอ ?? หรือ ประชาชนคนไทยได้ประโยชน์
หากคุณจะลดงบประมาณการดูแลโครงการต่างๆ 15,000 ล้านทั้งที่ผมอธิบายไปแล้วว่า มีผลประโยชน์กับประชาชนแล้วใครกระทบ? ประชาชน หรือ พระมหากษัตริย์ ? ทั้งที่งบเหล่านี้90 กว่าเปอร์เซ็นต์ คืองบที่ใช้จ่าย บุคลากร การดูแล การบำรุงรักษา ในหลายๆโครงการ...ใครกระทบครับ?
ฝากให้คิด
การใส่ร้ายป้ายสีสถาบัน ด้วยการรวมงบจากหลายร้อยหลายพันหน่วยงาน ที่เป็นโครงการพระราชดำริ มาเป็นงบประมาณที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ จึงเป็นการกระทำที่ไม่น่าจะประสงค์ดีใดๆ ต่อสถาบัน แต่ต้องการใส่ร้ายว่าสถาบันใช้เงินงบประมาณแผ่นดินจากภาษีกูทำงานของตัวเอง ทั้ง ๆ ที่เป็นงานของหน่วยราชการต่างๆ และเป็นงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน จึงเป็นเรื่องของคนที่ไม่หวังต่อสถาบัน และไม่หวังดีต่อชาติบ้านเมือง