ไหนๆพี่โล้นก็กล้าบอกให้สโมสรควักเงินค่าอัพเกรดผู้รักษาประตูเป็นจำนวน 47.2 ล้านปอนด์ เดี๋ยวเราดูกันว่าการลงทุนครั้งนี้จะคุ้มค่าแค่ไหน
หลายคนพูดเรื่องเด เกียฟอร์มตก ยังไงก็ต้องไป ดังนั้นที่ผมจะเปรียบเทียบต่อไปนี้คือ
1. อังเดร โอนาน่าในซีซั่น 2023-24 จนถึงปัจจุบัน
2. อังเดร โอนาน่าในซีซั่น 2022-23 ที่ทำให้ทีมยอมจ่ายเงินดึงตัวมา
3. ดาบิด เดเกียในซีซั่น 2017-18 ที่ถือว่าเป็นช่วงท็อปฟอร์มที่สุด
4. ดาบิด เดเกียในซีซั่น 2022-23 ในซีซั่นก่อนที่ถูกมองว่าฟอร์มตกมากแล้ว
Disclaimer
เรื่องแรก แน่นอนว่าผมไม่ชอบคาแรกเตอร์ของอังเดร โอนาน่า และไม่เชียร์ให้ทีมซื้อตั้งแต่แรก แต่อย่างไรก็ตามผมจะไม่มี Bias ใดๆต่อการเปรียบเทียบนี้ ไม่มีการเลือกสถิติแบบ Cherring picking
เรื่องต่อมา ข้อมูลต่างๆผมเอามาจาก Fbref แต่จัดเรียง และคัดกรองให้ดูง่าย ยกเว้นเพียงข้อมูล Error leading to goal ที่เอามาจากเว็บ Premier league เพราะ Fbref นั้นไม่มีข้อมูลนี้
ประเด็นแรกเรื่องการเซฟประตู

เรื่องนี้เข้าใจไม่ยาก แต่จะเห็นได้ชัดว่าปีนี้โอนาน่าเจองานเยอะกว่าที่ตัวเองเคยเจอและถูกทดสอบมากกว่าที่เด เกียเจอ เพราะโดนยิงเฉลี่ยนัดละ 5.0 ครั้ง
ดังนั้นประเด็นที่พูดกันว่าถ้าผู้รักษาประตูออกบอลแม่น แล้วทีมจะโดนยิงน้อยลง ถึงเวลานี้คงยังไม่จริงอ่ะครับ (แน่นอนว่ามันเพิ่งเล่นไป 10 นัดเท่านั้น อาจจะดีขึ้น หรือบรรลัยกว่านี้ก็ได้)
ส่วนการเซฟ สถิติ PSxG ต่อการยิงตรงกรอบที่บ่งบอกว่าผู้นรักษาประตูช่วยเซฟไปกี่ลูกต่อเกมส์
ซึ่งผมสงสัยตลอดว่ามันบ่งบอกคุณภาพจริงๆมากแค่ไหน เพราะมันมีโอกาสที่จะ Bias ได้จากการตัดสินว่าลูกนี้ยากหรือง่าย ประตูควรเซฟได้หรือไม่ได้
แล้วยังมีเรื่องที่ volume การของโดนยิงส่งผลสูงมาก เพราะยิงโดนยิงเยอะ แต่ไม่ได้อันตรายเลย ก็ทำให้ค่าตรงนี้สูงขึ้นได้อีกด้วย
เมื่อลองดูสถิติเปรียบเทียบจะเห็นได้ชัดเลยว่า PSxG มีโอกาสที่หลอกตาได้ เพราะปีนี้โอนาน่ามีค่า PSxG สูงสุดทั้งๆที่ผลงานค่อนข้างชัดเจนว่าไม่ดี แต่ที่มีค่านี้สูงเป็นเพราะโอนาน่านั้นโดนยิงเยอะกว่าปกติ
สรุปเรื่องการเซฟ
โอนาน่าในปีนี้ถือว่าเข้าขั้นแย่ ไม่ต้องไปเทียบกับเด เกียในช่วงพีคเลย แย่กว่าเด เกียซีซั่นก่อนอีก
แต่ตัวของเด เกียเองก็ถือว่าฟอร์มตกลงจากช่วงพีคของตัวเองชัดเจนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นการหาผู้รักษาประตูใหม่ก็คงไม่ได้เป็นการตัดสินใจที่ผิด
พาร์ทต่อมาที่คนพูดกันเยอะเรื่องทีมเปลี่ยน เกมรับแย่ลง โอนาน่าเลยเสียประตูมากขึ้น
ผมจึงนำสถิติมาพูดคุยต่อคือ การ Over performance และ Under performance ของทีม
โดยจะตัดสินจากจำนวนการโดนยิงในแต่ละเกมส์
Over performance ผมใช้ตัวตัดสินที่โดนยิงน้อยกว่า 2 ครั้ง เพราะถือว่าโดนทดสอบน้อยกว่าค่าเฉลี่ย
Under performance ผมใช้ตัวตัดสินที่โดนยิงตั้งแต่ 7 ครั้งขึ้นไป เพราะถือว่าโดนทดสอบมากกว่าค่าเฉลี่ย 2 เท่า
จะพบว่าปีก่อนในวันที่แนวรับอินเตอร์ทำหน้าที่ได้ดี โอนาน่าก็ป้องกันประตูได้ดีไม่แพ้กัน
โดยในจำนวน 14 เกมส์นั้นโดนยิง 20 ครั้ง โอนาน่าเซฟได้ถึง 19 ครั้ง เรียกได้ว่าวันไหนทีมดี โอนาน่าก็ดีไปด้วย
ในทางตรงกันข้ามวันที่เจองานหนัก ตอนอยู่ที่อิตาลี่ โอนาน่าช่วยเซฟถือว่าใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของตัวมากๆ ที่ 77-78%
แต่พอมาปีนี้โอนาน่าโดนงานหนักไปแล้ว 2 นัด เสียทั้งหมด 7 ประตูในสองนัดดังกล่าว แทบไม่ต่างกันกับเด เกียในปีก่อนเลย
ไม่ต้องไปเทียบกับเด เกียเลยในตอนพีคเลย จะเห็นชัดเจนว่าตอนปี 2017-18 ในวันทีเกมรับหมาไม่แดก แมนฯยูไนเต็ดโชคดีแค่ไหนที่มีโกลแบบเด เกียอยู่ อย่างน้อย 6 เกมส์นั้น ถ้าเป็นโกลคนอื่น แต้มอาจหายไปมากสุดถึง 18 แต้ม ประโยคที่พูดกันว่า Dave could save titanic ไม่เกินจริงเลย
มาต่อกันที่เรื่องการออกมาตัดบอลกลางอากาศ

เรื่องจำนวนการโดนทดสอบไม่ค่อยแตกต่างกัน รวมไปถึงการตัดสินใจออกมาตัดบอลของโอนาน่า นั้นอ่อนเรื่องนี้ไม่ต่างกับเดเกียเลย
ต่อมาที่สถิติเกี่ยวกับการออกมาเล่นสวีปเปอร์ของทั้งคู่

จะพบว่าในปีก่อนเด เกียออกมาตัดบอลบ่อยมากกว่าเดิม รวมไปถึงระยะที่วิ่งออกมาจากพื้นที่ของตัวเองก็กว้างขึ้นด้วย
ส่วนโอนาน่าช่วงที่อยู่อินเตอร์ ผมค่อนข้างประหลาดใจอยู่ที่จำนวนการออกมาตัดเกมส์ของโอนาน่ามีน้อยมาก น้อยกว่าของเด เกียในยุคมูรินโญ่อีก
ส่วนเรื่องการเซฟจุดโทษ ที่หลายคนติว่าเด เกียอ่อนเรื่องนี้

ซึ่งข้อมูลจริงๆอาจไม่ได้เป็น issue สำคัญขนาดนั้น เพราะในพรีเมียร์ ลีค เด เกียมีสถิติเซฟจุดโทษอยู่ที่ 14% เทียบกับคนอื่นอย่างเอแดร์สัน 14%, อูโก้ โยริส 13%, อลิซอน เบ็คเกอร์ 15% อ้างอิงข้อมูลจาก BBC
สถิติของโอนาน่าแล้วลองไปย้อนดูประวัติในปีก่อน โอนาน่าก็ไม่เคยเซฟจุดโทษได้เลยเช่นกัน ต้องลุ้นให้คู่แข่งพลาดไปเอง คงไม่ได้เป็นจุดเด่นของเจ้าตัวอีกนั่นแหละ
สถิติสำคัญอีกเรื่องคือการมีส่วนร่วมกับเกมส์ที่เด เกียโดนตำหนิ รวมไปถึงการสร้างความผิดพลาดต่างๆ

ประเด็นนี้โอนาน่าดีกว่าชัดเจนทั้งในแง่สัมผัสบอลต่อเกมส์สูงเกิน 40 ครั้งต่อเกมส์ ถ้าสงสัยว่าเยอะขนาดไหน ก็พอๆกับเอแดร์สัน โมราเอสที่ได้บอลในเกมส์หนึ่งเยอะกว่าเออร์ลิ่ง ฮาร์ลันด์อีก
ส่วนเรื่องความผิดพลาดจะเห็นชัดเลยว่าเดเกียมีข้อตำหนิตรงนี้ ไม่เว้นแม้แต่ช่วง prime ของตัวเองที่ก่อความผิดพลาดขึ้นจนนำไปสู่โอกาสจบสกอร์ของอีกทีม เพียงแต่ไม่โดนเปลี่ยนเป็นประตูเท่านั้น ต่างกับซึ่งปีก่อน ที่ความผิดพลาดเป็นสกอร์เกิดขึ้น 2 ครั้ง
ต่อมาเรื่องสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ปัจจัยหลักที่ทำให้แมนฯยูไนเต็ดดึงตัวอังเดร โอนาน่ามาร่วมทีมก็คือทักษะการจ่ายบอล เดี๋ยวลองดูว่าโอนาน่ามีฝีมือคุ้มค่ามากแค่ไหน
จากสถิติ อย่างแรกที่เราจะเห็นเลยว่าตอนอยู่อินเตอร์โอนาน่าจ่ายบอลได้มากกว่าตอนอยู่แมนฯยูไนเต็ดเยอะ
และจ่ายบอลแม่นเกือบๆ 80% โดยที่ระยะการจ่ายบอลอยู่ที่ประมาณ 24 หลา
แต่นอกจากนั้นสถิตินี้ยังทำให้ผมสงสัยว่า ทีมต้องการโกลที่จ่ายบอลดีมากขนาดไหน เพราะปีก่อนเด เกียก็จ่ายบอลจำนวนครั้งแทบจะไม่ต่างกับยุคโชเซ่ มูรินโญ่ สิ่งที่ต่างออกไปคือระยะทางการจ่ายบอลที่สั้นลงจาก 35 หลาเหลือ 25 หลา แต่แม่นยำมากขึ้นเกือบสิบ 10%
แต่เดี๋ยวก่อน ลองแยกดูสถิติที่แย่งตามระยะการจ่ายบอล
ในระยะสั้นไม่เกินเกิน 15 หลา ทั้งคู่แม่นยำ 100%
การส่งบอลระยะกลาง 15-30 หลา เด เกียจ่ายแม่นกว่าเล็กน้อยที่ประมาณ 1.6%
การเตะระยะไกลมากกว่า 30 หลา เด เกียจ่ายแม่นกว่าเล็กน้อยที่ 0.4%
จะเห็นว่ามันอาจไม่ได้มีอะไร significant เลยกับการเปลี่ยนผู้รักษาประตู
ดังนั้นปัญหาการเก็บบอลไม่ได้ จากการเตะเปิดเกมส์ของผู้รักษาประตู อาจะไม่ใช่เป็นเหตุผลหลักจากแค่ดาบิด เด เกียหรือไม่? เพราะตอนอยู่อินเตอร์ในการเตะไกล โอนาน่าจ่ายบอลแม่นกว่า 10%
โอเคสรุปแล้วสิ่งที่แมนฯยูไนเต็ดได้จากการจ่ายเงินซื้อโอนาน่ามาในเรื่องนี้คือ
- โดยรวมโกลจ่ายบอลแม่นขึ้น 4%
- จ่ายบอลต่อเกมส์มากขึ้น 3 ครั้ง
- ได้ระยะทางน้อยลง 1.6 หลา ต่อการจ่ายบอล 1 ครั้ง
คิดว่าน่าจะครบถ้วนเกือบทุกมุมมองแล้ว ใครคิดว่าคุ้มไม่คุ้มยังไง อาจต้องรอดูตอนจบฤดูกาลอีกที
แล้วค่อยดูว่าจะมีการเปลี่ยนผู้รักษาประตูอีกครั้งหรือไม่ ในฤดูกาลหน้า
ยาวชิบหายเลย ตอนแรกผมว่าจะเทียบกับคนอื่นอีก 4-5 คน ขี้เกียจทำละ รอขยันๆก่อนอาจจะทำต่อแล้วกัน