ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ค.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 21 Jan 2011
ตอบ: 1071
ที่อยู่: As children we love the hero, as adults we understand the villain.
โพสเมื่อ: Sat May 04, 2019 15:28
“ขุนยวม” ขุนแขาแห่งมิตรภาพและความเข้าใจ


อำเภอขุนยวม เป็นเมืองเล็กๆตั้งอยู่ทางทิศใต้ของ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 66 กิโลเมตรโอบล้อมไปด้วยขุนเขาทุกด้านพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนบรรยากาศเงียบสงบมีจุดเด่นในเรื่องของธรรมชาติวิวภูเขาทุ่งดอกบัวตองนาข้าวขั้นบันไดและวัดโบราณสวยๆ แต่ทว่าในภาพถ่ายจากดาวเทียมกลับปรากฏร่องรอยของสนามบินเก่าอยู่กลางตัวอำเภอ เรื่องราวของขุนยวมกับที่มาของสนามบินแห่งนี้จะเป็นอย่างไร ไปติดตามกัน



ที่มาของชื่อ “ขุนยวม”
ขุนยวมเคยเป็นชุมชนในวัฒนธรรมล้านนามาก่อน ต่อมาถูกทิ้งร้างไหเหลือเพียงซากปรักหักพังของซากอาคาร ต่อมาในช่วงเวลาใดไม่แน่ชัดมีกลุ่มชาวกะเหรี่ยงยางแดงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้ ราว พ.ศ.2410 ชานกะเลและภรรยาคือนางเมียะ ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บริเวณห้วยน้ำยวม โดยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณวัดขุ่ม เป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนที่นี่ โดยมีวัฒนธรรมไทใหญ่เป็นวัฒนธรรมหลัก

“ขุนยวม” สำเนียงท้องถิ่นออกเสียงเป็น “กุ๋นยม” กุ๋น คือ ขุน หมายถึงภูเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำ ส่วน ยม เป็นชื่อของไม้ยมตามภาษาไทใหญ่ซึ่งขึ้นอยู่ตามภูเขาแถบนี้มาก จึงเรียกแถบนี้ว่า กุ๋นยม ส่วนแม่น้ำที่ไหลผ่านบริเวณแถบนี้ก็เรียกว่า แม่น้ำยม (แม่น้ำยวม) เพราะมีต้นน้ำเกิดจากภูเขาที่มีไม้ยมมาก อาจจะเรียกว่าแม่น้ำแห่งต้นไม้ยมก็ได้



แม่น้ำยวมมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาดอยประตูเวียงและดอยน้ำพอง ในเขตอำเภอขุนยวม ทิศทางไหลจากเหนือลงใต้ ไหลผ่านอำเภอขุนยวม แม่ลาน้อย และแม่สะเรียง เมื่อบรรจบกับน้ำแม่เงา ที่บ้านสบเงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน แล้วไหลไปทางตะวันตกเป็นแนวเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดตาม และก็ลงสู่แม่น้ำเมย ที่บ้านสบเมย อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอนเช่นกัน ก่อนที่จะไหลลงแม่น้ำสาละวินต่อไป



สงครามโลกครั้งที่ 2
ในปี พ.ศ.2484 กองทัพญี่ปุ่นได้บุกเอเชียอาคเนย์หรือประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยได้เข้าสู่มหาาสงครามนี้เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 เมื่อกองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกตลอดแนวอ่าวไทยตั้งแต่ภาคใต้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา และบริเวณชายเแดนตะวันออก (เขมร) เพื่อหวังที่จะรุกต่อไปยังมลายู พม่า และอินเดีย




เส้นทางประวัติศาสตร์และตำนาน : ถนนสายยุทธศาสตร์ ตองอู–เชียงใหม่
เมื่อ พ.ศ.2485 กองทัพญี่ปุ่นเริ่มสำรวจเส้นทางต่างๆ สำหรับสร้างทางรถไฟและทางรถยนต์จากประเทศไทยเข้าพม่าเพิ่มเติม จากเดิมที่ใช้เส้นทางจากประจวบคีรีขันธ์เข้าสู่ทวาย มะริด ตะนาวศรี และเส้นทางตาก–แม่สอด เข้าสู่ย่างกุ้ง เมาะละแหม่ง ตองยี เพื่อส่งกำลังบำรุงไปยังยุทธภูมิพม่า และลำเลียงทรัพยากรจากพม่ากระจายไปยังประเทศญี่ปุ่นและดินแดนในอิทธิพลญี่ปุ่น ซึ่งกองทัพญี่ปุ่นได้เลือกเส้นทางกาญจนบุรี–ทานบูซายัตในการสร้างทางรถไฟ ซึ่งสะพานข้ามแม่น้ำแควจึงได้เริ่มสร้างในปีพ.ศ. 2486 (พ.ศ. 2488 สะพานโดนทิ้งระเบิดทำลาย โดยเครื่องบินทิ้งระเบิดฝั่งสัมพันธมิตร)

ในปีเดียวกัน กองทัพญี่ปุ่นเลือกเส้นทางเชียงใหม่–ตองอู ซึ่งจะต้องสร้างเส้นทางจากแยกแม่มาลัย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอำเภอปาย แม่ฮ่องสอน (ที่มาของ 4,088 โค้งอันเลื่องชื่อ) เข้าสู่ อ.ขุนยวม มุ่งหน้าออกไปทางบ้านต่อแพ บ้านห้วยปลามุง ห้วยต้นนุ่น เข้าสู่พม่าบริเวณบ้านต่อเขตบ้านดอยน้ำพอง เพื่อบรรจบเส้นทาง ลอยก่อ–ตองอูจากตองอูสามารถติดต่อกับภาคเหนือของพม่าอินเดียและจีนอันเป็นยุทธภูมิที่รบยืดเยื้อและสามารถติดต่อกับหัวเมืองสำคัญในแนวหลังเช่นเชียงใหม่ได้

สำหรับจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีการสร้างเส้นทางเดินทัพในจังหวัดเพื่อผ่านไปพม่ามี 2 เส้นทางคือเส้นทางแม่มาลัย-ปาย-แม่ฮ่องสอน-ขุนยวม และเส้นทางแม่แจ่มขุนยวม-ต่อแพ-ห้วยต้นนุ่น โดยเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-ญี่ปุ่น เมื่อพ. ศ. 2485 เพื่อที่จะใช้เป็นเส้นทางเคลื่อนกำลังพลเข้าโจมตีทหารอังกฤษบริเวณจุดยุทธศาสตร์เทือกเขาอิมฟาล-โกฮิมา (Imphal-Kohima) ประเทศอินเดีย

ระหว่างปีพ. ศ. 2485-พ. ศ. 2486 กองทัพญี่ปุ่นถูกกองทัพพันธมิตรดี ทำให้ต้องถอยร่นเข้ามาในบริเวณห้วยต้นนุ่น อำเภอขุนยวม ช่วงเวลาดังกล่าวกองทัพญี่ปุ่นได้สร้างถนนสายเชียงใหม่ แม่มาลัย ปาย แม่ฮ่องสอน ขุนยวม ต่อแพห้วยต้นนุ่น เพื่อลำเลียงทหารที่บาดเจ็บมารักษาพยาบาล (เชิดชายชมธวัช2555ก)

สมัยนั้นการเดินทางจากเชียงใหม่มายังแม่ฮ่องสอนและขุนยวมมีเพียวถนนดินและเส้นทางวัวต่าง กองทัพญี่ปุ่นจึงจ้างเกณฑ์คนไทยในจังหวัดแม่ฮ่องสอนและใกล้เคียงเป็นแรงงาน จ่ายค่าจ้างเป็นเงินบาทด้วยธนบัตรที่ผลิตขึ้นเองตามที่ตั้งหน่วยทหารต่างๆ ถนนที่ทหารญี่ปุ่นสร้างขึ้นนี้ ปัจจุบันคือบางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095 และ 108 (แม่ฮ่องสอน–ขุนยวม)



หน่วยทหารญี่ปุ่นในขุนยวม
ช่วงต้นปี 2485 มีทหารญี่ปุ่นประมาณ 5,000 – 6,000 นาย เข้ามาในอำเภอขุนยวม กองกำลังส่วนแรกเป็นหน่วยพลาธิการ (ส่นสูทกรรมหรือเสบียงอาหาร) และหน่วยสำรวจทางกอง กำลังส่วนที่สอง เป็นหน่วยสร้างเส้นทาง อนุมานได้ว่ากองทหารญี่ปุ่นที่รบในพม่าในปี พ.ศ.2485-2488 และที่ถอนทัพจากพม่าเข้ามาประเทศไทย รวมจำนวนประมาณ 270,000 นาย ส่วนมากต้องเดินทัพผ่านขุนยวมแทบทั้งสิ้น โดยที่ตั้งของกองทหารญี่ปุ่นในขุนยวมได้กระจายออกไปตามสถานที่ต่างๆดังนี้

วัดม่วยต่อและวัดหัวเวียง ซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือของวัดม่วยต่อ (ปัจจุบันวัดทั้งสองเป็นวัดเดียวกัน) ในครั้งนั้นวัดหัวเวียงถูกใช้เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการกองพลที่ 56 และโรงพยาบาลใหญ่ของค่ายส่วนผู้เสียชีวิตจะถูกนำไปฝังบริเวณด้านตะวันตกของวัตหลุมฝังศพส่วนใหญ่นั้นได้ถูกขุดไปทำพิธีแล้วในราวพ. ศ. 2510

วัดขุ่มหรือวัดคำใน เป็นกองบัญชาการอีกแห่งหนึ่งของกองพลที่ 56 และเป็นที่ตั้งกองทหารสื่อสาร

วัดโพธาราม เป็นทหารกองเสบียง ที่เก็บเสบียงสำหรับกองทัพ

ศาลากลางบ้าน เป็นที่ตั้งกองสารวัตรทหาร (เคมเปไต-Kermpetel) และเป็นจุดตรวจตราคนเข้าออกเยื้องกับศาลากลางบ้านเป็นที่ตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน

โรงไฟฟ้าเก่า เป็นที่ตั้งหลุมหลบภัยทางอากาศวัดต่อมาเป็นที่ตั้งของทหารอังกฤษและอินเดียที่มาปลดอาวุธของทหารญี่ปุ่น

วัดต่อแพ หมู่ ๑ ตำบลแม่เงาเป็นที่ตั้งของกองกำลังทหารญี่ปุ่นที่เคลื่อนพลมาจากประเทศพม่าโดยพื้นที่ไต้ถุนศาลาวัดใช้เป็นสถานพยาบาล บริเวณวิหารเล็กที่ตั้งอยู่ด้านหน้าเจดีย์ใช้เป็นสถานที่พิมพ์ธนบัตร ด้านตะวันออกและด้านใต้ของวัดรวมทั้งบริเวณที่ราบเชิงดอยด้านทิศใต้ของวัดต่อแพถูกใช้เป็นที่ฝังศพทหารผู้เสียชีวิต

บ้านห้วยต้นนุ่น เป็นค่ายทหารใหญ่อีกแห่งหนึ่งมีซากรถยนต์

บ้านประตูเมือง อยู่ในตำบลแม่เงาอำเภอขุนยวมเป็นจุดผ่านไปชายแดนพม่า

ค่ายหนองป่าก่อ อยู่ห่างจากอำเภอขุนยวมไปทางทิศเหนือ ๒ กิโลเมตรริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๑๐๘ เป็นค่ายขนาดใหญ่มีรถบรรทุกจอดจำนวนมากและเป็นที่ตั้งของสถานพยาบาลและโรงเรือนพัก สองฝั่งลำน้ำด้านหลังค่ายถูกใช้เป็นสถานที่ฝังศพทหารผู้เสียชีวิต โดยมีทั้งฝังรวมกันเป็นหลุมใหญ่และฝังเป็นหลุมขนาดเล็กหลุมละ 2-3 คน

บ้านแม่สุรินทร์ ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอขุนยวมไปทางเหนือ 17 กิโลเมตรกองทหารญี่ปุ่นส่วนหนึ่ง (หน่วยสร้างเส้นทาง) ได้เข้ามาตั้งค่ายพักอยู่ที่บ้านแม่สุรินทร์โดยกระจายกำลังเข้าอาศัยตามบ้านเรือนราษฎร โรงเรียนและวัด โดยนำศพผู้เสียชีวิตฝังไว้บริเวณที่ราบสองฝั่งน้ำห้วยยาวและตั้งกองบัญชาการที่วัดแม่สุรินทร์

ค่ายบ้านปางเกี๊ยะ ตั้งอยู่บนเส้นทางจากขุนยวมไปอำเภอแม่แจ่มจังหวัดเชียงใหม่ มีสุสานทหารญี่ปุ่น

ค่ายห้วยปลามุง อยู่ใกล้ตำบลบ้านเมืองปอน มีค่ายทหารขนาดใหญ่ 3 ค่ายและค่ายเล็ก 1 ค่าย

สนามบิน เดิมเป็นพื้นที่ว่างรกร้าง เมื่อกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาในขุนยวมจึงได้สร้างสนามบินนี้ขึ้น เพื่อการส่งกำลังบำรุง และการป้องกันทางอากาศ เมื่อสงครามสงบกองทัพอังกฤษได้ใช้สนามบินนี้ในการขนส่งนายทหารญี่ปุ่นที่เป็นเชลยศึก




ภาพศาลากลางบ้านในอดีต (อนุสรณ์สถานมิตรภาพ ไทย-ญี่ปุ่น ขุนยวม)



มิตรแท้ในยามยาก

มิตรภาพระหว่างทหารญี่ปุ่นกับชาวบ้านในอำเภอขุนยวมเริ่มขึ้นเมื่อมีการการเตรียมการก่อสร้างถนนเพื่อเป็นเส้นทางเดินทับเข้าสู่ประเทศพม่าโดยได้มีการสร้างค่ายพักช่วงก่อสร้างและชาวบ้านได้ทำการค้าขายกับทหารญี่ปุ่นและในขณะนั้นทหารญี่ปุ่นระดับนายทหารได้พำนักอยู่บ้านของชาวบ้านและวัดในหมู่บ้านเมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็ได้อาศัยทหารญี่ปุ่นที่เป็นหมอช่วยดูแลรักษาพยาบาลซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทหารญี่ปุ่นกับชาวบ้านพึ่งพาอาศัยร่วมทุกข์กันทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทหารญี่ปุ่นและชาวอำเภอขุนยวมเป็นดั่งพี่น้องและญาติมิตรสนิทกัน


ภาพทหารญี่ปุ่นกับหญิงสาวชาวขุนยวม เครดิตภาพ : old technician (Pantip.com)




ภาพทหารญี่ปุ่นกำลังเล่นกันเด็กๆที่ขุนยวม



อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างทาง  (อนุสรณ์สถานมิตรภาพ ไทย-ญี่ปุ่น ขุนยวม)


ถอยทัพกลับมาไทย

หลังจากกองทัพญี่ปุ่นเข้าโจมตีชายแดนอินเดีย–พม่า ตั้งแต่ช่วงต้นปลายปี พ.ศ.2486 โดยกองทัพอังกฤษได้ต่อต้านอย่างเข้มแข็ง บวกกับความสำเร็จของกองกำลังผสมอังกฤษและพม่า หรือกองโจร “ชินดิท” ในการก่อกวนกองทัพญี่ปุ่นในพม่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากองทัพอังกฤษจึงได้เริ่มขับไล่กองทัพญี่ปุ่นจากพื้นที่ชายแดนอินเดีย–พม่า

ครึ่งหลังของปี 2487 กองทัพผสมจีน–สหรัฐจากแคว้นจากแคว้นยูนนานของจีน เข้ายึดแคว้นคะฉิ่นทางตอนเหนือของพม่า ปีถัดมารุกต่อไปยังแม่น้ำอิระวดีจนสามารถยึดนครมัณฑะเลย์และย่างกุ้ง รวมทั้งเข้าควบคุมพื้นที่ชายฝั่งรัฐยะไข่ เมืองบามอ สีป้อ และเมืองลาเฉียวทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า รวมทั้งเปิดเส้นทางถนนพม่า–จีน ด้วยความร่วมมือของกองโจรกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ได้ปฎิบัติการก่อกวนกองทัพญี่ปุ่นในพม่า จนกองทัพญี่ปุ่นส่วนที่เหลือต้องถอยลงมาผนึกกำลังทางตอนใต้ของพม่าและในประเทศไทย จนกระทั่งสงครามยุติในเดือนสิงหาคม 2488

กองกำลังของฝ่ายญี่ปุ่นหน่วยสุดท้าย คือกองพลที่ 56 มีกำลัง 11,000 นาย ได้ถอนทัพจากพม่ามาตั้งกองบัญชาการกองพลที่ 56 ที่อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ภารกิจหลักคือการป้องกันรักษาเส้นทางตองอู–เชียงใหม่ เพื่อป้องกันรักษานครเชียงใหม่ และจะใช้พื้นที่ขุนยวมเป็นฐานเพื่อรุกเข้าพม่าหากญี่ปุ่นกลับเป็นฝ่ายรุกได้อีก

การสู้รบในพม่าและอินเดียมักจะเป็นการสู้รบในป่า ทหารญี่ปุ่นจำนวนมากไม่เพียงแต่จะบาดเจ็บเท่านั้น ยังต้องเผชิญกับไข้ป่า โรคมาลาเรียอันร้ายแรง บางนายต้องเดินทัพจากพม่าโดยไม่มียานพาหานะ โรงพยาบาลสนามของกองทหารญี่ปุ่นที่วัดม่วยต่อกลายเป็นแหล่งรวมทหารเจ็บป่วยที่แพ้สงครามแล้วถอนกำลังจากพม่ามารวมกันในประเทศไทยลายหมื่นนาย มีนายทหารไม่น้อยที่เสียชีวิตตามเส้นทางหรือตามที่ตั้งค่าย ชายบ้านเล่าสภาพของกองทหารญี่ปุ่นในเวลานั้นไว้ว่า “รู้สึกสงสารตอนเขาแพ้มา ทุกข์มาก น่าเห็นใจ ข้าว ขิง เกลือกินเป็นอาหาร ไม่มีตังค์ และจน” บางก็บอกต่อว่า “ทหารญี่ปุ่นบางพวกบาดเจ็บ มีแขนข้างเดียว ขาข้างเดียว ใช้ไม้เท้า ตอนไปไม่รู้ไปทางไหน แต่ขากลับมากันเยอะมาก” จนในที่สุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลงในวันที่ 16 สิงหาคม 2488


หมวกของทหารญี่ปุ่น (อนุสรณ์สถานมิตรภาพ ไทย-ญี่ปุ่น ขุนยวม)



ภาชนะใส่น้ำของทหารญี่ปุ่น (อนุสรณ์สถานมิตรภาพ ไทย-ญี่ปุ่น ขุนยวม)



ซากปีนเก่า (อนุสรณ์สถานมิตรภาพ ไทย-ญี่ปุ่น ขุนยวม)


แต่สิ่งที่สงครามไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ คือ ความสูญเสียและความเจ็บปวด ตามเส้นทางจากพม่าผ่านบ้านห้วยต้นนุ่นมาจนถึงขุนยวมอันเป็นเส้นทางที่คนขุนยวมได้เคยใช้ติดต่อค้าขายกับโลกภายนอกมาก่อนนั้น ได้กลายเป็นแหล่งรองรับทหารที่บาดเจ็บสาหัส เจ็บป่วยที่ถอยร่นจากสมรภูมิในพม่ารวมทั้งเป็นที่พักพิงแห่งสุดท้ายในโลกนี้ของทหารญี่ปุ่นจำนวน 7,000 นาย จนเส้นทางนี้ได้ถูกขนานนามอีกอย่างหนึ่งว่า “เส้นทางกระดูกทหารญี่ปุ่น”


ประสบการณ์ของผู้คนที่อยู่ในเหตุการณ์สมัยสงครามโลกครั้ง 2

อาจารย์สุรพล เทพบุญ

สมัยสงครามโลกครั้ง 2 มีทหารญี่ปุ่นเดินกองทัพเข้ามาในเขตเมืองแม่ฮ่องสอน โดยมาตั้งกองบัญชาการที่บริเวณหอเจ้าฟ้าหรือที่บ้านของนายประพิน จันทรประยูร และตั้งกองบัญชาการที่บ้านเลขที่ 61 ถนนสิงหนาทบำรุง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอนหรือบ้านของขุนอาทรศึกษาการ และในสมัยนั้นอาจารย์สุรพล เทพบุญ มีอายุประมาณ 5-6 ปี ได้เคยเข้าหลบภัยกับชาวบ้านในหลุมหลบภัยที่ปัจจุบันคือบริเวณหน้าสถานีตำรวจ ภูธรเมืองแม่ฮ่องสอน ( ชาวบ้านเรียกกันว่ากองเมือง ) หลุมหลบภัยนี้บรรจุคนได้ 15-20 คนผู้คนจะหลบลงหลุมเมื่อได้ยินสัญญาณหวอที่สถานีตำรวจและเสียงตีระฆังที่วัด พระธาตุดอยกองมู ลักษณะของหลุมหลบภัยมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 10 เมตร และสูงประมาณ 1.20 เมตร


นายประสาน สิทธิเวช

ในสมัยสงครามโลกครั้ง ที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาทางอำเภอปาย เข้ามาเป็นกลุ่มๆ ซึ่งได้เกณฑ์แรงงานชาวเชียงใหม่มาทำถนนจากเชียงใหม่เข้าสู่เมืองแม่ฮ่องสอน ด้วย โดยขุดทำถนนเป็นทางรถยนต์จากเชียงใหม่มาถึงอำเภอแม่มาลัย ใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะถึงเมืองแม่ฮ่องสอน ระหว่างการสร้างถนนนั้นมีคนเสียชีวิตจาการสร้งถนนหลายคน ในที่สุดสามารถสร้างถนนมาถึงอำเภอปาย จึงหยุดตั้งค่ายพักอยู่ที่อำเภอปายหลายเดือน ต่อมาได้สร้างต่อมาจนถึงเมืองแม่ฮ่องสอนใช้เวลาสร้างนานเป็นปีๆ หลังจากนั้นกองทัพญี่ปุ่นก็เดินทางจากเมืองแม่ฮ่องสอนถึงขุนยวม จากขุนยวมถึงห้วยต้นนุ่น จากห้วยต้นนุ่นถึงแม่น้ำสาละวิน และมีการตั้งกองบัญชาการจากเชียงใหม่มาถึงอำเภอปายจากอำเภอปายมายังแม่ฮ่องสอนถึงทางเข้าห้วยต้นนุ่น และเดินทางจากห้วยต้นนุ่นถึงแม่น้ำสาละวิน จากแม่น้ำสาละวินไปยังประเทศพม่า และเมื่อแพ้สงครามก็ถอยทัพกลับตามเส้นทางเดิม ส่วนที่ตั้งบัญชาการในอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนตั้งอยู่ที่วัดจองคำและส่วนรถยนต์นำไปไว้ที่วัดผาอ่าง ในสมัยก่อนทหารญี่ปุ่นจะใช้เส้นทางลำห้วยในการเดินทาง คือ ด้านหลังโรงแรมรุกส์ฮอลิเดย์และตามวัดต่างๆจะเป็นที่พักพิงของทหารญี่ปุ่น ทั้งหมด (ประสาน สิทธิเวช : 25/01/2551)


นายหาญ เพียรดี

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเดินทางจากเชียงใหม่ผ่านเข้าไปในเขตประเทศพม่าและเดินทางเข้าไป ยังดอยก่อเพื่อไปรบกับทหารพม่าที่ดอยก่อ จากนั้นเดินทางเข้าไปยังเมืองย่างกุ้งประเทศพม่า ซึ่งทหารญี่ปุ่นได้ตั้งฐานทัพอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยสร้างถนนจากอำเภอแม่ริมจังหวัดเชียงใหม่มาจนถึงบ้านปางหมู จังหวัดแม่ฮ่องสอน ทหารญี่ปุ่นนำรถมาจอดไว้ที่วัดผาอ่าง ประมาณ 200-300 คัน กองกำลังทหารญี่ปุ่นเข้ามาตั้งอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนได้ 3 เดือนเศษ ในขณะนั้น นายหาญ เพียรดี มีอายุ 17 ปี ได้เข้าไปขายหน่อไม้และกล้วยน้ำว้าให้กับทหารญี่ปุ่นที่บ้านผาบ่อง พบเห็นศพทหารญี่ปุ่นนอนตายเรียงรายกันหลายศพ บางศพก็กำลังนำทิ้งลงหลุมที่ป่าช้าวัดผาบ่อง บางส่วนได้รับบาดเจ็บ จากนั้นทหารญี่ปุ่นก็จ้างชาวแม่ฮ่องสอนให้หาไม้แปก(ไม้เกี๊ยะ) เพื่อว่าหากญี่ปุ่นแพ้สงครามก็จะนำไม้เกี๊ยะมาจุดไฟเผาแม่ฮ่องสอนเสีย หลังจากนั้นไม่นานเมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ญี่ปุ่นยอมแพ้สงคราม และหัวหน้าทหารญี่ปุ่นได้ฆ่าตัวตายที่ถ้ำหมากแกง( ถ้ำมะขาม ) และถอยทัพกลับประเทศไปโดยที่ไม่ทันได้เผาเมืองแม่ฮ่องสอน (หาญ เพียรดี : 25/01/2551)

นายวิเชษฐ ใจดี

สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งกองบัญชาการที่เมืองแม่ฮ่องสอนและได้กระจายอยู่ตาม อำเภอต่างๆในจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่สะเรียง อำเภอขุนยวม อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน และอำเภอปาย ส่วนอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนนั้นที่ตั้งกองบัญชาการทหารญี่ปุ่นตั้งอยู่ที่หอ เจ้าฟ้าในปัจจุบัน และที่นั้นเป็นสำนักงานใหญ่ของทหารญี่ปุ่น และที่ตั้งสถานีวิทยุสื่อสารของทหารญี่ปุ่นอยู่ที่กรมป่าไม้จังหวัด ส่วนรถและอุปกรณ์ อาวุธหนัก อาวุธเบาตั้งอยู่ที่วัดผาอ่าง ส่วนที่อำเภอขุนยวมจะพักอยู่ตามวัดวาอาราม ซึ่งได้พักอยู่ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนเป็นเวลา 1 ปี แต่หลังจากพ่ายแพ้สงครามแล้วจึงถอยทัพกลับไป บางคนก็ยังอาศัยอยู่ในแม่ฮ่องสอนต่อ บางคนก็ตายระหว่างทางที่กลับ และบ้างก็อยู่ในประเทศพม่าบางส่วน ตอนที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยทหารญี่ปุ่นเดินทางมาจากจังหวัดกาญจนบุรีไปทาง เจดีย์ 3 องค์ ซึ่งเส้นทางดังกล่าวเป็นทางรถไฟสายมรณะในปัจจุบัน ตอนที่เดินทางกลับทหารญี่ปุ่นกลับไปทางบ้านต่อแพ อำเภอขุนยวม (วิเชษฐ ใจดี : 25/01/2551)









บทสรุปการเดินทาง
เรื่องราวที่เกิดขึ้น ณ ขุนยวม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นับได้ว่าเป็นตำนานแห่งมิตรภาพและนำ้ใจท่ามกลางขุนเขา ที่คนขุนยวมและทหารญี่ปุ่นมอบให้กันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ร่วมโลก จนกลายมาเป็นเรื่องราวในความทรงจำสู่คนยุคปัจจุบันให้มีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆในอดีต แต่สิ่งสำคัญที่สุดความเข้าใจในแต่ละเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ หลักฐานแต่ละชิ้นที่หลงเเหลืออยู่ ทุกๆสถานที่ที่เกิดเหตุ จะสามารถช่วยทำให้เราเชื่อมโยงหาเหตุผลของการมีอยู่ในปัจจุบันและคุณค่าในตัวเราได้ “หากไม่มีเขาในอดีต ก็อาจจะไม่มีเราในปัจจุบัน”









Credit:
ภาพที่ 1: https://travel.kapook.com/view200093.html
ภาพที่ 2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14,15,16,17,18: http://kaojaithailand.com/2019/01/06/khun-yuam/
ภาพที่ 19,20,21,22,23 :https://maehongsonloop.wordpress.com

ข้อมูล: http://www.taiyai.org/2011/index.php?page=4c2378500328311c7354592d47cc700d&r=3&id=40
ข้อมูล: http://kaojaithailand.com/2019/01/06/khun-yuam/
ข้อมูล: อนุสรณ์สถานมิตรภาพ ไทย-ญี่ปุ่น ขุนยวม อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน
ข้อมูล: สารคดีงานวิจัย เรื่อง เงา อดีตจากป่า คนแปลกหน้าที่ขุนยวม, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย > https://www.youtube.com/embed/pGEdGpmItzI
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ

As children we love the hero, as adults we understand the villain.
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ก.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Nov 2006
ตอบ: 4046
ที่อยู่: Universe
โพสเมื่อ: Sat May 04, 2019 16:20
[RE: “ขุนยวม” ขุนแขาแห่งมิตรภาพและความเข้าใจ]
กระทู้ดีดี
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
อะไรแผล่บ อะไรเรื้อน
ออฟไลน์
นักเตะเทศบาล
Status: Meawchester United Only
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 06 Jul 2008
ตอบ: 3811
ที่อยู่: CNX
โพสเมื่อ: Sat May 04, 2019 16:20
[RE: “ขุนยวม” ขุนแขาแห่งมิตรภาพและความเข้าใจ]
ไม่แน่ใจว่าช่วงนี้ แถวนั้นมีแต่หมอกควันจากการเผารึป่าวนะครับ

ก่อนหน้าผมไปนอนโฮมสเตย์บ้านม้งมา ขาวไปหมด ตอนเช้าไม่รู้ว่าหมอกหนาว หรือควันไฟ 555
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ค.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 21 Jan 2011
ตอบ: 1071
ที่อยู่: As children we love the hero, as adults we understand the villain.
โพสเมื่อ: Sat May 04, 2019 16:32
[RE: “ขุนยวม” ขุนแขาแห่งมิตรภาพและความเข้าใจ]
nOnsEnsIcAL พิมพ์ว่า:
ไม่แน่ใจว่าช่วงนี้ แถวนั้นมีแต่หมอกควันจากการเผารึป่าวนะครับ

ก่อนหน้าผมไปนอนโฮมสเตย์บ้านม้งมา ขาวไปหมด ตอนเช้าไม่รู้ว่าหมอกหนาว หรือควันไฟ 555  


ตอนนี้หมอกควันเริ่มหมดแล้วครับ แต่อากาศจะร้อนจัด
ป่าไม้เริ่มแตกใบสีเขียวแล้วนะครับ น่ามาพักผ่อนมาก
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

As children we love the hero, as adults we understand the villain.
ออฟไลน์
นักเตะหมู่บ้าน
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Jan 2009
ตอบ: 548
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat May 04, 2019 16:43
[RE]“ขุนยวม” ขุนแขาแห่งมิตรภาพและความเข้าใจ
คนเคยเดินทางเส้นทางสายนี้คงาราบดีนะครับ ถนนเส้นนี้ไม่ง่ายเลย ยอมรับถ้าไม่โดน ปรมาณูลูกนั้นไป ญี่ปุ่นมีส่วนสำคัญในการพัฒนาภูมิภาคนี้จากผลพวงของสงครามจริงๆ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
แขวนสตั๊ด
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Oct 2009
ตอบ: 65510
ที่อยู่: Juventus Stadium
โพสเมื่อ: Sat May 04, 2019 17:44
[RE: “ขุนยวม” ขุนแขาแห่งมิตรภาพและความเข้าใจ]
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะกลางซอย
Status: ท้องฟ้าสีเทา กับไดโนเสาร์กินแมว
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 1280
ที่อยู่: มุมมืด ปล.มืดจริงๆนะ
โพสเมื่อ: Sat May 04, 2019 21:13
[RE]“ขุนยวม” ขุนแขาแห่งมิตรภาพและความเข้าใจ
เพิ่งไปนอนที่หนองเขียวมาเมื่อเดือนก่อน นอนยังต้องห่มผ้าห่ม นั่งผิงไฟอยู่เลย บรรยากาศได้
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel