[RE: "เมอร์ฟี่" เสียใจ 'หงส์' ทำวิตถาร สั่งพักงานลูกจ้างให้รัฐช่วยอุ้มค่าแรง]
เนื่องจากผมไม่ได้เป็นนักบัญชี เพียงแค่มีความสนใจเรื่องการลงทุนอยู่บ้าง ขอแชร์เรื่องนี้จากมุมมองส่วนตัวหน่อยนะครับ สามารถแก้ไขกันได้
ในสถานการณ์เช่นนี้ ผมคิดว่าเรื่องที่สำคัญที่สุดของบริษัทคือ เงินสดที่จะมาหล่อเลี้ยงต้นทุนคงที่และการปรับลดต้นทุนผันแปร
สโมสรได้มีการแสดง
งบการเงินไว้ในเว็บไซต์ของสโมสร เมื่อวันที่ 31 พฤษภา ปีที่แล้ว
ที่ลิงค์นี้นะครับ ผมขอคัดตัวเลขมา 2-3 ตัว
1.หน้า 15: เงินสดหรือเทียบเท่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 37,525 พันปอนด์
2.หน้า 23:
จำนวนเจ้าหน้าที่
- ธุรการ, พาณิชย์และอื่นๆ 610
- ผู้เล่น, ผู้จัดการและโค้ช 178
- เจ้าหน้าที่ในส่วนของสนาม 65
รวม 853 คน
- ค่าจ้างและเงินเดือนสำหรับพนักงานและผู้อำนวยการ 276,197 พันปอนด์
- สมทบเข้าประกันสังคม 32,576 พันปอนด์
- เงินบำนาญ 1,144 พันปอนด์
รวม 309,917 พันปอนด์
เฉลี่ยค่าใช้จ่ายต่อเดือน = 309,917 / 12 = 25,826.41 พันปอนด์
จากข้อมูลตรงนี้จะเห็นว่า เงินสดที่มีของสโมสร สามารถจ่ายค่าจ้างพนักงานได้แค่เดือนกว่าๆ เท่านั้น
ได้มีการใช้โมเดลทางสถิติมาประเมินสถานการณ์ ในประเทศอังกฤษ โดยคาดการณ์ว่าภัยพิบัติครั้งนี้ อาจจะสงบลงราวๆ เดือนสิงหาคม
รูป A หน้า 7 นั่นหมายความว่าสโมสรต้องมีความสามารถในการจ่ายค่าจ้างไปอีกราวๆ 4 เดือน
โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับการเลิกจ้าง เท่าที่เข้าใจมาตรการที่สโมสรใช้คือ leave without pay ซึ่งก็ยังร้ายแรงอยู่ดี และควรเป็นมาตรการท้ายๆ เมื่อไม่มีทางออกอื่นแล้วเท่านั้น การจะใช้เงินของ "เจ้าของ" มาจ่ายตรงนี้ ก็อาจทำให้เกิดปัญหา FFP ด้วย มาตรการที่ทำได้คือ ต้องขอให้ผู้มีรายได้เยอะเลื่อนหรือลดการรับเงินไปก่อนเพื่อเอาไปใช้ support พนักงานงานส่วนที่ลำบากกว่า
แต่เนื่องจากตัวเลขตรงนี้ เป็นตัวเลขเมื่อพฤษภา ปีที่แล้ว สภาพกระแสเงินสดของสโมสรอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมาก ด้วยความมั่นคงของสโมสรการกู้เงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในส่วนนี้น่าจะอยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ แต่ตรงนี้คงต้องดูนโยบายทางการเงินด้วย
ผมขอยกตัวอย่าง บริษัทขนาดใหญ่ของประเทศไทย เช่น เครือไมเนอร์กรุ๊ป มาเปรียบเทียบกันหน่อยนะครับ
MINT มีการทำ stress test และมีการสำรองกระแสเงินสดไว้ระดับหนึ่ง ส่วนหนึ่งเพื่อใช้ลงทุนซื้อกิจการด้วย สิ่งที่เค้าทำ คือ
รักษาสภาพคล่อง-ระงับแผนซื้อสินทรัพย์ชั่วคราว นอกจากนี้ มีการพิจารณา
งดจ่ายปันผลด้วย
นอกจากนี้ บริษัทยัง
มีการทบทวนการจัดตารางการทํางานของพนักงานประจําและลูกจ้างชั่วคราว การเพิ่มประสิทธิภาพของการทํางาน และดําเนินนโยบายการลางานโดยไม่จ่ายเงินเดือน
จะเห็นว่า บริษัทอย่างไมเนอร์ ที่มีการเตรียมตัวดีกว่า ทั้ง stress test ทั้งได้รับผลกระทบก่อน จากนักท่องเที่ยวชาวจีน ยังมีการดำเนินการ leave without pay เลย ในส่วนของสโมสรจากยุโรปที่มองว่าเป็นเหตุการณ์ไกลตัว (เพราะ นายกฯ ก็ติด และ uefa ก็ประเมินผิดที่จัดให้เล่นแชมเปี้ยนลีก) ย่อมมีการเตรียมตัวน้อยกว่าและอาจมีทางเลือกไม่มากเท่า
Just my 2 cents :-)