เกิดการสูญเสียในการรบอย่างหนัก จะยื่นเจรจา
เพื่อให้ ทางไทยชะลอการรุก และทำการเสริมกำลังของฝ่ายลาว และปรับปรุงการตั้งรับ)
๑๖ ธันวาคม ๒๕๓๐ กระทรวงการต่างประเทศลาวเชิญอุปทูตไทยเข้ารับบันทึกช่วยจำ มีเนื้อความว่า เครื่องบินไทยละเมิดน่านฟ้าลาว
และทำการทิ้งระเบิด พื้นที่แขวงไทรบุรีของลาว รวมทั้งมีการยิงปืนใหญ่ใส่บริเวณต่างๆของลาวอีกด้วย
สำหรับในกรณี นี้นั้นจากการวิเคราะหของหลายฝ่ายกล่าวว่า เนื่องจากเนิน ๑๔๒๘ เป็นที่ตั้งที่ดี การเข้าตีต้องเข้าตีจากด้านหน้า
ทางลาวตั้งฐานปืนใหญ่ ด้านหลัง ซึ่งเป็นแนวเขาซับซ้อน ยากต่อการค้นหา และยิงตอบกลับ ในช่วงนั้นมีข่าวว่า
กองทัพไทยประกาศว่าหากจะทำการบุกข้ามแม่น้ำโขงเข้า ไปก็ต้องทำหากสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ซึ่งมีผู้ใหญ่หลายฝ่ายออกมามาปราม
ใน เรื่องนี้ เพราะไม่อยากให้สถานการณ์รุนแรงจนกลายเป็นสงครามเต็มขั้นระหว่างไทยกับลาว
และ จากการรบในช่วงแรกที่ทางไทยเข้าตีตามกรอบคือเข้าทางด้านหน้าได้รับการต้าน ทานอย่างหนัก และยากต่อการเคลื่อนกำลัง
จึงมีการใช้เครื่องบินรบ เอฟ ๕ เข้าไปทิ้งระเบิดบนเนิน ๑๔๒๘ และที่ตั้งทางยุทธศาสตร์ในเขตลาว จนเสียหายยับเยิน เช่น
สนามบินบ้านน้ำทาของลาว จากภาพถ่ายทางอากาศเนิน ๑๔๒๘ ราบเป็นหน้ากลองไม่มีต้นไม่เหลืออยู่เลย เพราะถูกระดมยิงจากปืนใหญ่
และ การทิ้งระเบิดจากเอฟ ๕ แต่ทางลาวมีที่ตั้งแข็งแรง และเตรียมการตั้งรับอย่างดี บางรายงานกล่าวว่าเมื่อไม่สามารถเข้าไปตรง ๆ ได้
กองทัพไทย ได้ส่งหน่วยสงครามพิเศษ แทรกซึมเข้าไปในพื้นที่ของลาว เพื่อทำการโจมตีระบบส่งกำลังบำรุง และค้นหาที่ตั้งปืนใหญ่
ทำให้การ ปฏิบัติการของลาวถูกกดดันมากยิ่งขึ้น ( ซึ่งทางการไทยได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการรบใหม่เนื่องจากมีการสูญเสีย กำลังพล
และไม่สามารถรุกคืบหน้าได้ )
๒๑ มกราคม ๒๕๓๑ มีการปรับยุทธวิธีการสู้รบครั้งใหญ่ต่อยุทธการภูสอยดาว เพราะไทยเริ่มมีการสูญเสียมากขึ้น และเพื่อลดความสูญเสียดังกล่าว จึงมีการปรับปรุงยุทธการรบให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อยุทธภูมิที่เป็นอยู่ ( ทางไทยเริ่มมีการใช้การรบนอกแบบ และได้ผล สร้างความกดดันต่อการปฏิบัติการของฝ่ายลาวเป็นอย่างมาก)
๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๑ นายไกรสอน พรมวิหาร นายกรัฐมนตรีลาวได้ส่งสาสน์ถึงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย เสนอให้ทหารทั้งสองฝ่ายพบแก้ไขปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้โดยเร็ว ลาวพร้อมที่จะส่งคณะผู้แทนทหารมากรุงเทพมหานคร และยินดีที่จะต้อนรับคณะผู้แทนทหารของประเทศไทย ที่จะเดินทางไปนครเวียงจันทน์เพื่อปรึกษาหารือ
๑๒ ก.พ. ๓๑ ชุดรบผสมที่ ๑ ลาดตระเวนเฝ้าตรวจเส้นทาง ระหว่าง บ้าน นาหินใต้ ไปยังบ้านนาดง หลังจากนั้น ลาดตระเวนต่อไปพบ รถบรรทุกทหารลาว ประมาณ ๑๐๐ นาย พร้อม รถคุ้มกัน ๑ คัน
ชุดปฏิบัติการ ที่ ๒ วางระเบิดดักรถถังที่ เส้นทาง บ.กุ่มบ้าน , หนองหลวง , บ้านน้ำพุ ซึ่งคาดว่าเป็นเส้นทางการส่งกำลังบำรุง
๑๓ ก.พ. ระเบิดดักรถถังที่วางไว้ได้ผล รถส่งกำลังฝ่ายลาว เสียงระเบิดดังขึ้น เวลา ๑๔ ๐๐ น.
๑๕.ก.พ. ๓๑ ชุดรบผสมที่ ๒ ตรวจพบฐานปฏิบัติการของทหารลาว จึงได้ร้องของปืนใหญ่เพื่อทำลาย
๑๔. ก.พ. ๓๑ ชุดรบผสมที่ ๓ เฝ้าตรวจบริเวณ เนิน ๑๖๖๒ พื้นที่เป็นป่ารกทึบยากแก่การปฏิบัติการ ทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติการมากขึ้น
ชุด รบผสมที่ ๔ ได้ตรวจพบ คลังเก็บสิ่งอุปกรณ์ ฝ่ายตรงข้าม มีอาคาร ๓ หลัง โดยมีการระวังป้องกันที่ตัวอาคารเป็นอย่างดี
๑๕ ก.พ. ๓๑ เสียงปืนใหญ่ดังขึ้นใกล้ เนิน ที่ชุดรบผสม เฝ้าตรวจอยู่ ชุด รบผสมที่ ๓ ได้ตรวจพบ ที่ตั้งปืนใหญ่ ๒ จุด , จึงได้รายงานและร้องขอการยิงเพื่อทำลาย
ชุด รบผสมที่ ๔ ชุดรบผสมที่ ๔ ปฏิบัติการ ซุ่มโจมตี ๒ จุด ตามเส้นที่ เข้า ออกจากคลัง
๑๖ ก.พ. ๓๑ ชุดรบผสมที่ ๑ ได้ปะทะ กับ กองหลอนประจำหมู่บ้าน ๑๑ นาย สบทบด้วยทหารเวียดนาม ๒ นาย และทหารลาว ๘ นาย ผลจาการปะทะ ฝ่ายตรงข้าม เสียชีวิต ๒ นาย จับ กองหลอน ได้ ๒ นาย ฝ่ายเรา เสียชีวิต ๒ นาย โดยที่หลังจากนั้น ชป. ๒ ต้องเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ โดยที่ ได้ร้องขอ การยิงสนับสนุน ของปืนใหญ่ให้ลงยัง ฐานลอย ที่ ตั้งไว้ หลังจากออกจากฐาน ๓๐ นาที ซึงคาดเวลาเป็นเวลาที่ กำลังส่วนใหญ่ของ ลาวคงตามมาถึงพอดี
ชุดรบผสมที่ ๒ แทรกซึมกลับ
ชุดรบผสมที่ ๔ ตรวจพบอาคารอีก ๓ หลัง ซึง คาดว่าเป็นที่พักของทหารที่มาสับเปลี่ยนกำลังหรือพักผ่อน จึงได้รายงานให้หน่วยเหนือทราบ
๑๗ ก.พ. ๓๑ ชป. ๑ ถอนตัวกลับ
ชุดรบ ผสมที่ ๔ วางระเบิดสังหารตามเส้นทาง เข้า จากบ้าน ดงตาล ไปยัง คลังเก็บสิ่งอุปกรณ์ โดยที่ระหว่างการวางระเบิดสังหาร ได้มีข้าศึกจำนวนหนึ่ง เคลื่อนที่มายังที่ที่ชุดกำลังวางระเบิด เนื่องจากชุดได้มีการวาง เคลย์โมในการระวังป้องกันอยู่แล้ว จึงได้ กดจุดระเบิดเคลย์โมทันที ทำให้ข้าศึกเสียชีวิตทันที และทำให้ต้องถอนตัวไปยังเนิน และร้องขอ ปืนใหญ่เพื่อทำการยิง ทำลายเป้าหมายดังกล่าว กระสุนที่ใช้ในงานนั้นประมาณ ๕๐ นัด และมีคำสั่งให้จบภารกิจทันทีหลังจากทำลายที่หมายดังกล่าวเรียบร้อย
ใน การปฏิบัติการของแต่ละชุดรบผสม ซึ่งในแต่ละชุดรบผสม ก็ได้แยก ออกเป็นชุดย่อย ไปอีกไปปฏิบัติการลาดตระเวนค้นหาพิสูจน์ทราบ วางระเบิด ซุ่มโจมตี มีบางชุดที่ อาจจะไปพบอะไรมาก บางชุด ก็แทบเอาชีวิตไม่รอด บางชุด ก็ประสบความสำเร็จ บางชุดก็มีการสูญเสีย คงไม่สามารถที่จะนำมาเล่ารายละเอียดได้ทั้งหมด แต่จากการปฏิบัติการในร่มเกล้า นอกจากหน่วยรบพิเศษจะมีความภาคภูมิใจอยู่เงียบ แล้ว ได้ให้ข้อคิด บทเรียนหลายอย่าง และนำมาซึ่งการสร้างหน่วยกำลังรบเดินดินที่มีความพร้อมรบสูงสุดในประเทศไทย
จุด ที่น่าสังเกตของเหตุการณ์ครั้งนี้
หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่ากรณี พิพาทระหว่างไทยกับลาวครั้งนี้เป็นแรงผลักดันที่ลาวได้รับจากเวียดนามและ โซเวียต ซึ่งพยายามขัดขวางการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวมาตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ และเป็นหนึ่งในแผนตัดขาดและยึดภาคอีสานของไทยตามยุทธการตัว L (L Operation) และรวมภาคอีสานของไทย ลาว เขมร เวียดนาม เป็นสหพันธ์อินโดจีน โดยมีเวียดนามเป็นผู้นำ
ลักษณะภูมิประเทศรูปตัวแอลใหญ่คือพื้นที่ป่า ภูเขาบริเวณรอยต่อจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ทอดตัวยาวลงมาทางใต้ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ มาบรรจบกันบริเวณเขาใหญ่ บริเวณรอยต่อ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครนายก และจังหวัดสระบุรี ซึ่งทอดตัวยาวมาจากทิศตะวันตก ตั้งแต่จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดบุรีรัมย์ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก เขาบรรทัด เขากำแพง และบรรจบกันที่ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ใน ช่วงดังกล่าวบางรายงานแจ้งว่ามีทหารเวียดนามในลาวประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน และในเขมรประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งอาจจะต้องการเปิดศึก ๒ ด้าน ให้ไทยพะว้าพะวงทั้งการรุกที่บ้านร่มเกล้าตีเจาะมาทางเหนือ และตีรุกเข้ามาที่ช่องบกทางใต้ เพื่อตัดและยึดภาคอีสาน เลยหากรณีมาอ้าง เพื่อทำการรบ
จากการปะทะกันระหว่างทหารไทยและลาวนั้น มีรายงานจากบางหน่วยแจ้งว่าฝ่ายลาวมีทหารต่างชาติบัญชาการรบ อาจเป็นคนรัสเซีย และถูกทหารไทยยิงตายไปหลายคน (กองทัพไทยไม่ได้ให้ข้อมูลกับเรื่องนี้มากนัก) จากการปะทะหลายครั้งบางหน่วยรายงานว่า ทหารที่เข้าใจว่าเป็นทหารลาว บางคนพูดร้องสั่งการเป็นภาษาเวียดนาม คาดว่าเป็นกองกำลังผสมระหว่างเวียดนามและลาวที่รบกับไทย ในการรบที่บ้านร่มเกล้านี้จึงไม่ใช่กรณีพิพาทระหว่างไทยกับลาวธรรมดา
๒.๑.๖ ระบบอาวุธและการติดต่อสื่อสารในการรบที่ทางฝ่ายลาวใช้นั้น ทันสมัยมาก สามารถรู้พิกัดที่ตั้งปืนใหญ่ของไทย และยิงตอบกลับอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการรบกวนระบบการสื่อสารของทหารไทย ซึ่งกองทัพประชาชนลาวคงไม่มีระบบที่ทันสมัยอย่างนี้
ในกรณีการทิ้ง ระเบิดใส่ฝ่ายเดียวกันเองนี้ เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาก มีรายงานหลายกระแส เช่น
๑. เกิดจากความผิดพลาดในการประสานงานระหว่างกองกำลังภาคพื้น และเครื่องบินที่จะเข้าทิ้งระเบิด เช่น ทางภาคพื้นมีการแจ้งยกเลิกการโจมตี แต่กองทัพอากาศไม่ได้รับแจ้ง เมื่อมีการแจ้งยืนยันการทิ้งระเบิดที่เป้าหมาย มีการแจ้งกลับว่าให้ทำการโจมตีได้
๒. เกิดการรบติดพันรุนแรง และประชิด ไม่สามารถระบุเป้าหมายที่แน่นอนได้ (ในสงครามเวียดนามหรือกรณีอิรักครั้งล่าสุดยอดทหารสหรัฐที่เสียชีวิตจากการ ยิงหรือทิ้งระเบิดฝ่ายเดียวกันมีจำนวนมาก)
๓. ทหารไทยยึดฐานทหารลาวได้ก่อนกำหนดการณ์ และมีการเคลื่อนกำลังปะทะติดพัน ไม่สามารถแยกแนวรบที่ชัดเจนได้ ตอนที่นักบินทิ้งระเบิดลงไปโจมตี
๔. ทางลาวทำการรบกวนระบบการสื่อสารของไทย มีการดักฟัง ทำการถอดรหัส และรวมทั้งมีการเลียนเสียงการสั่งการ ซึ่งได้รับอุปกรณ์ที่ทันสมัยจากรัสเซีย
๕. เกิดการขัดแย้งกันในกองทัพ และสายทางการเมือง ที่ต้องการแย่งอำนาจการเมืองจากทางทหาร เลยทำการสร้างความแตกแยกในกองทัพ และมีการให้ข้อมูลแก่ฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับแผนการรบ ๆลๆ เนื่องจากในช่วงนั้น ส.ส. หลายคน อดีตเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยมาก่อนและมีความสัมพันธ์กับ ทหารบางกลุ่ม บางคนเคยเป็นสมาชิกของเขมรแดง หลังจากนโยบาย ๖๖/๒๓ จึงเข้ามาต่อสู้ทางการเมือง อีกทั้งฝ่ายทหารยังแตกแยกเรื่องการบังคับบัญชา
๖. การวางแผนการรบที่ผิดพลาด ขาดความยืดหยุ่นในการรบและการตั้งรับ และเรื่องยุทโธปกรณ์ที่ไม่พร้อม รวมทั้งการประเมินกำลังและขีดความสามารถของฝ่ายตรงข้ามต่ำไป
บทเรียนและ การเปลี่ยนแปลงที่ได้จากสงครามครั้งนี้
๑. หลังจากที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี มีการประกาศนโยบาย เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า มีการไปเยี่ยมเยียนกันของผู้นำทางทหารของไทย ที่ลาว และเวียดนาม เพื่อกระชับความสัมพันธ์ รวมทั้งลดความตึงเครียดทางการทหารระหว่างกัน ปัจจุบันไทยกับลาวมีการร่วมมือกันมากขึ้นในด้านต่าง ๆ และลาวยึดไทยเป็นแบบอย่างในการพัฒนาเศรษฐกิจ แทนการเดินตามเวียดนาม แต่ลาวก็ดำเนินนโยบายกับไทยอย่างระมัดระวัง เพราะกลัวไทยครอบงำและเข้าแทรกแซงทางสังคม และวัฒนธรรม เนื่องจากขนบธรรมเนียมและประเพณีที่ใกล้เคียงกัน
๒. กองทัพบกได้ทำการปรับปรุงกำลังรบให้มีความคล่องตัวในการเคลื่อนที่เข้าหา พื้นที่ที่เกิดปัญหา ปรับลดกำลังคนลงตามภัยคุกคามที่เปลี่ยนไป และเพิ่มระบบอาวุธให้มีความทันสมัยและคล่องตัวมากขึ้น ตามนโยบาย "จิ๋วแต่แจ๋ว" รวมทั้งมีการจัดตั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็ว
๓. แนวทางในการป้องกันประเทศเปลี่ยนไป มีการดำเนินการของฝ่ายทหารและการเมืองเป็นระบบมากขึ้น ประสานการทำงานกัน โดยฝ่ายทหารทำการรบและสร้างความได้เปรียบและอำนาจการต่อรอง ส่วนฝ่ายการเมืองคือกระทรวงการต่างประเทศจะทำการเจรจา เมื่อมีกรณีปัญหาตามแนวชายแดนกองทัพจะส่งทหารเข้าไปในพื้นที่อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นหน่วยที่มีความคล่องแคล่ว และมีอำนาจในการยิงสูง ตรวจหาและตอบโต้กลับทันที เข้าตีและยึดพื้นที่ชิงความได้เปรียบในยุทธศาสตร์ก่อน อย่างในกรณีกระเหรี่ยงก็อดอาร์มีที่โดนทางการไทยโจมตีและกดดันจนต้อง สลายกลุ่มและยอมมอบตัว หรือการปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารพม่าผสมว้า กรณีบ้านปางหนุน อ. แม่ฟ้าหลวง และพื้นที่ปัญหากู่เต็งนาโยง อ.แม่สาย จังหวัดเชียงราย ที่มีการประสานงานระหว่างกองทัพบกและกองทัพอากาศเป็นอย่างดี จากเหตุการณ์นี้มีการใช้เครื่องบินรบแบบ เอฟ ๑๖ เข้าปฏิบัติการด้วย ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน
๔. การจัดหาอาวุธและระบบป้องกันประเทศ เช่น
๔.๑ RTAD เฟส ๑ เฟส ๒
๔.๒ ระบบตรวจจับการยิงปืนใหญ่ ระบบปืนใหญ่แบบอัตตาจร
๔.๓ การพัฒนาและผลิตอาวุธขึ้นมาใช้เอง การพัฒนาระบบสื่อสารระหว่างหน่วยใหม่ที่เป็นความลับมากขึ้น
๔.๔ การจัดตั้งคลังอาวุธร่วมไทย-สหรัฐ ที่สามารถนำอาวุธมาใช้ได้กรณีฉุกเฉิน
๔.๕ การจัดหาเครื่องบินรบเอฟ ๑๖ รถถังหลัก รถสายพานลำเลียงพลจากสหรัฐและจีน เข้าประจำการจำนวนมาก การจัดหาระบบต่อสู้อากาศยานและต่อสู้รถถังที่ทันสมัยเข้าประจำการ
๔.๖ การจัดตั้งหน่วยนาวิกโยธิน
๔.๗ การฝึกร่วมกับกองทัพสหรัฐและต่างประเทศ เพื่อเรียนรู้ระบบการรบและพัฒนากองทัพอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการรบและการรักษาสันติภาพ
..................๔.๘ การซ้อมรบของหน่วยกำลังรบผสมของกองทัพไทย เพื่อสร้างความคุ้นเคยและเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับสถานการณ์รุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น (ครั้งล่าสุดมีการเคลื่อนย้ายกำลังพลหลายหมื่นคนและยุทโธปกรณ์จำนวนมากไปฝึก ในพื้นที่จริง จนประเทศเพื่อนบ้านขนลุกต้องปิดชายแดนไปก็มี)
นี้เป็นหลักฐานจากข้อมูลของไทยครับ
ฝ่ายไทย
-เสียชีวิต147นาย
-พิการ55นาย
-บาดเจ็บสาหัส167นาย
-บาดเจ็บเล็กน้อย550นาย
ฝ่าย สปปล.
-ทหาร สปปล.เสียชีวิต286นาย,บาดเจ็บ301นาย
-ทหารเวียดนาม เสียชีวิต157นาย,บาดเจ็บ112นาย
-ทหารโซเวียตเสียชีวิต2นาย,บาดเจ็บ2นาย
-ทหารคิวบา เสียชีวิต2นาย
**ตั้งแต่ ปี 1961-1962 และ ปี 1974-1991 โซเวียตส่งทหารเข้ามาในลาวทั้งหมด 1840 นาย เสียชีวิตในลาว 8 นาย ( อันนี้ได้จากการข่าวกรอง)
Reference :
http://www.gunsandgames.com/smf/index.php?PHPSESSID=4657c81b182a03b3da784901662c502f&topic=39733.msg947699
คัดลอกจาก
http://nirvanic.multiply.com/journal/item/4/4