[RE: ต้องให้ครูไทยตายเพราะการเป็นเจ้าหน้าที่การเงินอีกกี่คน?]
Nobody But You พิมพ์ว่า:
bossa26 พิมพ์ว่า:
Nobody But You พิมพ์ว่า:
mabataki พิมพ์ว่า:
งงว่าทำไมหน่วยงานราชการไม่จ้าง outsource มาทำในส่วนนี้ ออกระเบียบมาเลยสิ ตำแหน่งนี้แทบไม่มีครูคนไหนอยากทำหรอก
ไม่คุ้มครับ
สถานการณ์ตอนนี้คือ
จ้างคนอื่นมาก็เปลืองเกินไป โรงเรียนใหญ่ทำได้ แต่โรงเรียนเล็กไม่ได้
เอาครูมาทำด้วยก็กลายเป็นครูมีภาระมากไป หาตรงกลางไม่ได้
พ่อแม่ผมเป็นครู ผ่านจุดนี้มาหมดแล้ว มันเลยมีบางโรงเรียนที่เจียดเงินเดือนครูด้วยกันเองหรือเปิดรับบริจาคแล้วไปจ้างคนอื่นมาทำ
โรงเรียนเล็กแทบจะทุกที่มีปัญหาพวกนี้ ยุบโรงเรียนก็ไม่ได้เดี๋ยวดราม่าอีก
อยากรู้สัดส่วนข้าราชการกระทรวงศึกษามากเลยครับ
เป็นครูกี่คน
ส่วนตัวไม่ค่อยรู้เรื่องนะ แต่คิดว่าแม่งมีส่วนกลางที่ไม่ได้เป็นครู/ไม่มีงานสอนเนี่ยน่าจะเยอะ เอาไปบริหารอะไรหมดก็ไม่รู้
ปัญหาหลักๆ มันคือจำนวนนักเรียนต่อบุคลากรครับ
โรงเรียนเล็กๆ บางที่ไม่ถึง 100 คนด้วยซ้ำ มันไม่สามารถเอา Specialist ไปลงได้หมดครับ เปลืองเงิน
นึกภาพว่านักเรียน 100 คนแต่ต้องจ้างครูทุกวิชาไปสอน จะต้องใช้ครูกี่คน สมมุติสอน 5 วิชาก็ต้องใช้ครู 5 คน ถ้ามีตำแหน่งอื่นด้วยเช่นธุรการ ภารโรง บัญชี ก็ต้องไปจ้างมาอีก 3 คน
แปลว่า 100 คนมีบุคลากร 8 คน ตีหยาบๆ เลย คือ 1 คนต่อเด็ก 12.5 คน ซึ่งไม่คุ้มครับ
แต่ถ้าโรงเรียนมีจำนวนนักเรียนเยอะหน่อยเช่น 400 คน
ถ้าจ้างบุคลากร 20 คน แต่ 20 คนนั้นมีหน้าที่ชัดเจน ไม่ต้องแบกรับงานอื่นเลยมันก็พอได้ครับ
1 คนต่อเด็ก 20 คน คุ้มกว่า ประสิทธิภาพสูงกว่าด้วย
1. ยุบโรงเรียนคนน้อย ให้นักเรียนมาเรียนในโรงเรียนที่สามารถเอา Specialist มาลงได้แบบคุ้มค่า = ประชาชนด่า
2. เอา Specialist ไปลงกับทุกโรงเรียนแม้ว่านักเรียนจะน้อยแค่ไหนก็ตาม = คนเสียภาษีด่า
3. ไม่ทำอะไรเลย = ครูที่รับภาระพวกนี้ด่า
เห็นด้วยกับท่านครับ
หน่วยงานราชการบ้านเราไม่รู้เป็นอะไร ตั้งแล้วยุบยากมาก ทั้งๆที่บางหน่วยงานมันสามารถยุบรวมกันได้จะได้ใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า
โรงเรียนก็เช่นกัน ในอดีตบ้านเราเล่นตั้งโรงเรียนแทบจะทุกหมู่บ้าน บางหมู่บ้านห่างกันไม่กี่กิโล ก็ตั้งโรงเรียนของใครของมัน แค่เพราะอยากมีโรงเรียนประจำหมู่บ้าน(ตอนนั้นมันอาจจะได้เพราะคนนิยมมีลูกเยอะ โรงเรียนประจำหมู่บ้านมันเลยมีเด็กไปเรียนหลัก 100+) ดูเผินๆ เหมือนจะดีเพราะเรากระจายการศึกษาอย่างทั่วถึง แต่พอไปเจาะดูจริง ๆ มันไม่ใช่เลย โรงเรียนขนาดเล็กในประเทศเราเยอะมาก เล็กแบบนักเรียนแค่หลักสิบ (10-99) ครูไม่ครบชั้น ไม่ครบวิชา บางโรงเรียนครบชั้นแต่ไม่ครบวิชา
การกระจายงบประมาณลงโรงเรียนก็กระจายตามจำนวนนักเรียน เมื่อจำนวนนักเรียนน้อยก็แปลว่าได้งบน้อย บางโรงเรียนทั้งปีมีงบพัฒนาแค่หลักหมื่น ถามจริงจะพัฒนาได้ยังไง โรงเรียนก็แก้ปัญหาไปเป็นวัน ๆ โดยการทำผ้าป่าหาเงินมาพัฒนาโรงเรียน มันก็ฟังดูเหมือนจะดี แต่เอาจริง ๆ มันคือการที่หน่วยงานรัฐ ขอทานจากชาวบ้าน!!!
การบรรจุบุคลากรมาทำงานในโรงเรียนก็อิงจากจำนวนนักเรียนเหมือนกับงบประมาณนั่นแหละ ยิ่งนักเรียนน้อยครูก็น้อยไปด้วย ไม่ต้องพูดถึงภารโรง กับ Specialist ด้านอื่นนะ ไม่มีมาให้หรอก ฝันเฟื่อง สุดท้ายก็ครูนี่แหละ ทำทุกอย่าง
พอกระทรวงมีนโยบายจะควบรวมโรงเรียน (หรือยุบ) โดยจะทำโรงเรียนประจำตำบล หรือประจำอำเภอ แล้วจัดรถรับส่งให้ เพื่อให้เกิดการกระจายงบประมาณ และบุคลากรอย่างคุ้มค่า นักเรียนจะได้เรียนครบวิชา และได้รับการจัดประสบการณ์อย่างเต็มประสิทธิภาพ แล้วก็จะได้บรรจุ Specialist มาลงได้อย่างคุ้มค่า ก็ดันมี ผอ ครู ชาวบ้าน ที่อยู่โรงเรียนเล็ก ไปดราม่า ไม่ให้ยุบ คุณภาพจะเป็นยังไงก็ช่างมัน แต่โรงเรียนของหมู่บ้านต้องอยู่ต่อไป (จริง ๆ คือไม่อยากเสียตำแหน่ง ผอ) แล้วพอมันเกิดปัญหางานล้นก็ดันมาโวยวาย ว่าทำไม กระทรวงไม่จ้าง Specialist มาให้ทุกโรงเรียนเลย (ใครมันจะไปทำได้ โรงเรียนมี 29,000 โรง บรรจุให้ครบ ใช้เงิน 1000 ล้าน+)
ถ้าไม่แก้ที่โครงสร้างจำนวนโรงเรียน หรือโอนโรงเรียนให้ท้องถิ่นบริหาร การศึกษาบ้านเราแม่งไม่เจริญหรอกครับ