26 พ.ค วันที่คนไทยทุกคนเสียชายคนที่ชื่อ เปรม ติณสูลานนท์
ความเข้าใจผิด 4 ประการ เกี่ยวกับรัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ หรือ ระบอบเปรมาธิปไตย (2523-2531)
.............................
1.รัฐบาลพล.อ.เปรม เป็นรัฐบาลที่ประหยัด อดออม
ในความเป็นจริง.รัฐบาลพล.อ.เปรม มิได้เป็นรัฐบาลที่ประหยัด ตรงกันข้ามรัฐบาลพล.อ.เปรม ขึ้นชื่อเรื่องการใช้จายเงินซื้ออาวุธ (เพื่อซื้อใจกองทัพ้ให้มาสนับสนุน หรือติดสินบนกองทัพไม่ให้รัฐประหารนั่นเอง)
ค่าใช้จ่ายเรื่องอาวุธเป็นอัตราส่วนที่สูง เมื่อเทียบกับรายจ่ายอื่น
ดูการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎร
ญัตติ : เรื่อง การจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ไอพ่นเอฟ 16 เอ 100
ของนายแคล้ว นรปติ; ถามพล.อ. ประจวบ สุนทรางกูร
http://dl.parliament.go.th/handle/lirt/54913
และหนังสือ สุรชาติ บำรุงสุข เอฟ-16 กับการเมืองไทย (กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า, 2528)
http://library.car.chula.ac.th/search?/Y{u0E40}{u0E2D}{u0E1F}+16+{u0E01}{u0E31}{u0E1A}{u0E01}{u0E32}{u0E23}{u0E40}{u0E21}{u0E37}{u0E2D}{u0E07}{u0E44}{u0E17}{u0E22}&SORT=D/Y{u0E40}{u0E2D}{u0E1F}+16+{u0E01}{u0E31}{u0E1A}{u0E01}{u0E32}{u0E23}{u0E40}{u0E21}{u0E37}{u0E2D}{u0E07}{u0E44}{u0E17}{u0E22}&SORT=D&search={u0E40}{u0E2D}{u0E1F}+16+{u0E01}{u0E31}{u0E1A}{u0E01}{u0E32}{u0E23}{u0E40}{u0E21}{u0E37}{u0E2D}{u0E07}{u0E44}{u0E17}{u0E22}&SUBKEY=%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%9F+16+%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/1%2C5%2C5%2CB/frameset&FF=Y{u0E40}{u0E2D}{u0E1F}+16+{u0E01}{u0E31}{u0E1A}{u0E01}{u0E32}{u0E23}{u0E40}{u0E21}{u0E37}{u0E2D}{u0E07}{u0E44}{u0E17}{u0E22}&SORT=D&4%2C4%2C
2. พรรคการเมืองพร้อมใจกันสนับสนุนพล.อ.เปรม เป็นนายกรัฐมนตรีคนนอก
ในความเป็นจริง พรรคการเมืองมิได้สนับสนุน พล.อ.เปรม โดยสมัครใจ แต่มีกองทัพ บงการ/กดดัน อยู่ข้างหลัง
เปรม ร่วมมือกับกองทัพในการกดดันนักการเมือง โดยการจับขั้ว เล่นเก้าอี้ดนตรีให้พรรคการเมืองต่าง ๆ เข้ามาร่วมรัฐบาล และถ้าพรรคการเมืองไหนเริ่่มหือ ก็จะใช้วิธีการดึงพรรคการเมืองอื่นเข้ามาเสียบแทน
การเลือตตั้ง 2529 แม้พรรคประชาธิปัตย์จะชนะการเลือกตั้งมาเป็นอันดับ 1 แต่เปรมและกองทัพก็เล่นเกมนี้ อีกครั้ง คือการไปจับขั้วพรรคการเมืองที่เหลือเพื่อโดดเดี่ยวประชาธิปัตย์ให้เป็นฝ่ายค้าน ถ้าไม่สนับสนุนเปรมเป็นนายกรัฐมนตรี
ที่ร้ายกว่านั้น เมื่อมีนักการเมืองจะซักฟอกเปรม กองทัพก็ใช้อิทธิพลไปกดดันให้ถอนชื่ออก ดังกรณี 15 ส.ส. ที่นำโดยชัย ชิดขอบ ถอนชื่ออกจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจเปรม
3. พลังของเทคโนแครตสร้างระบอบเปรมาธิปไตยและวางรากฐานให้เศรษฐกิจไทยได้เติบโต
เป็นความเข้าใจผิด อย่างยิ่งที่ว่าพลังเทคโนแครตที่สนับสนุนเปรม เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในยุคนี้ เทคโนแครตมิได้มีความสามารถในการวางรากฐานเศรษฐกิจเพียงฝ่ายเดียว การเติบโตของภาคเอกชนได้มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในทศวรรษ 1980 บทบาทของเอกชนไทยหาอ่านได้จาก
เอนก เหล่าธรรมทัศน์, เขียน ; สายทิพย์ สุคติพันธ์, เรียบเรียงเป็นไทย
มองเศรษฐกิจการเมืองไทยผ่านการเคลื่อนไหวของสมาคมธุรกิจ
(กรุงเทพฯ : คบไฟ, 2539)
http://library.car.chula.ac.th/search…|cde0b9a1+cbe0c5e8d2/1%2C1%2C58%2CB/frameset&FF=a|cde0b9a1+cbe0c5e8d2b8c3c3c1b7d1c8b9ec&35%2C%2C58/indexsort=-
และที่ขาดไม่ได้คือข้อตกลงพลาซ่า แอคคอร์ดในปี 1985 ทำให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ เนื่องจากค่าเงิยเยนแข็งขึ้นจนแข่งขันไม่ได้ และย้ายฐานการผลิดมาประเทศไทย
ดังนั้นการให้เครดิตกับบรรดาเทคโนแครตไทยแต่ฝ่ายเดียวในการสร้างเศรษฐกิจไทยในยุคเปรมนั้นเป็นการมองเกินจริง
นอกจากนั้น ประเทศเพื่อนบ้านยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันกับประเทศไทยก็เป็นส่วนสำคัญ 3 ประเทศอินโดจีน เวียดนาม กัมพูชา และลาว ทางทิศตะวันออก และ พม่า ทางทิศตะวันออกยังปิดประเทศ ขณะที่จีนเพิ่งเปิดประเทศ เปลี่ยนแนวทางเศรษฐกิจ ในยุคเดิ้ง เสี่ยวผิง ทั้งหมดยังไม่พร้อมที่จะเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจของไทยที่จะรองรับการย้่ายฐานการผลิตจากกลุ่มทุนเอเชียตะวันออกญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ นี่คือข้อได้เปรียบในยุคเปรม
4. พล.อ.เปรม "พอแล้ว" ถึงลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พล.อ.เปรม มิได้ "พอ" ถึงลงจากเก้าอี้ แต่อยู่ต่อไปไม่ได้ต่างหาก วลี "ผมพอแล้ว" ของพล.อ.เปรม ถูกนำมาผลิตซ้ำถึงการไม่ยึดติดกับอำนาจ (ไม่ยึดติดอำนาจอะไรอยู่มานานถึง 8 ปี 5 เดือน )
แต่การลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของเปรมนั้นเพราะระบอบ "ประชาธิปไตยครึ่งใบ" มันหมดน้ำยาแล้ว พร้อม ๆ กับการเติบโตของพรรคการเมือง เนื่องจากมีการเลือกตั้งต่อเนื่อง ไม่มีรัฐประหาร ่ เปรมถูกไล่รายวัน จากทุกกลุ่มการเมือง และที่สำคัญเทคโนแครตส่วนหนึ่งที่มีส่วนสร้างระบอบประชาธิปไคยครึ่งใบก็ยังทนไม่ได้ ออกมาไล่ใน "ฎีกา 99" ที่มีชัยอนันต์ สมุทวณิช เป็นหัวหอกด้วย
credit ธนพล อิ๋วสกุล