เทียบ JAS 39 Gripen E/F และ F-16 Block 70
กองทัพอากาศไทยได้เลือกแล้วว่าจะซื้อเครื่องบินขับไล่ JAS 39 Gripen E/F ของสวีเดน มาแทนที่ เครื่องบิน F-16 Block 15 ในฝูงบิน 102 และ 103 ที่ใช้งานมาเป็นเวลากว่า 40 ปี และกำลังจะปลดประจำการ
เครื่องบินขับไล่แบบ JAS 39 Gripen E
เริ่มจากระบบอาวุธและระบบป้องกันตัวเครื่องบินขับไล่ JAS 39 Gripen E สามารถบรรทุกอาวุธที่หลากหลายและล้ำสมัย รวมถึงจรวดนำวิถีและระบบขีปนาวุธต่อต้านอากาศยาน มีระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยและสามารถตรวจจับและป้องกันการโจมตีจากข้าศึกได้ดีขึ้น
ในด้านของเครื่องยนต์ JAS 39 Gripen E ได้ใช้เครื่องยนต์ใหม่ General Electric F414 ที่มีแรงขับสูงกว่าเดิม ช่วยให้เครื่องบินมีความเร็วและความคล่องตัวที่ดีกว่า ทำความเร็วสูงสุด 2 มัค สามารถบินไกลขึ้นและมีความสามารถในการปฏิบัติภารกิจหลากหลายรูปแบบ
ระบบอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารถือเป็นจุดเด่นของเครื่องบินขับไล่ JAS 39 Gripen E โดยใช้ระบบเรดาร์ AESA (Active Electronically Scanned Array) ที่มีความสามารถสูงในการตรวจจับเป้าหมาย มีระบบการสื่อสารที่ทันสมัยและสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องบินและหน่วยควบคุมภาคพื้นดินได้ดีขึ้น
และสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่ JAS 39 Gripen E ถูกออกแบบให้สามารถปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและสามารถทำงานในสภาพอากาศที่เลวร้ายได้ดี ต้นทุนการบินต่อชั่วโมงประมาณ 168,429 บาท
เครื่องบินขับไล่แบบ F-16 Block 70
เครื่องบินขับไล่แบบ F-16 Block 70 นับเป็นเครื่องรุ่นปรับปรุงจากเครื่องบินขับไล่ F-16 Fighting Falcon ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Lockheed Martin ประเทศสหรัฐอเมริกา F-16 Block 70 มีการปรับปรุงในหลายด้านเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการปฏิบัติการ รองรับนักบินได้ 1-2 คน ขึ้นอยู่กับรุ่น ราคาจำหน่ายลำละประมาณ 5,800 ล้านบาท
ระบบอิเล็กทรอนิกส์และเรดาร์ ติดตั้งระบบเรดาร์ AESA (Active Electronically Scanned Array) รุ่น AN/APG-83 ที่มีความสามารถในการตรวจจับเป้าหมายได้ดีกว่า มีความแม่นยำสูงขึ้น และสามารถทำงานได้ในทุกสภาพอากาศ
ตัวเครื่องสามารถบรรทุกอาวุธที่หลากหลายและล้ำสมัย ทั้งจรวดนำวิถีแบบอากาศสู่อากาศ จรวดนำวิถีแบบอากาศสู่พื้น และอาวุธปล่อยอื่น ๆ มีระบบป้องกันตัวและระบบอาวุธที่ทันสมัย ในด้านของเครื่องยนต์ได้ใช้เครื่องยนต์ใหม่ General Electric F110 ทำความเร็วสูงสุด 2 มัค มีขีดความสามารถบินในการบินในพื้นที่สู้รบเป็นเวลานาน และเคลื่อนที่ด้วยความรวดเร็ว พิสัยการบินมากถึง 4,222 กิโลเมตร หากมีติดตั้งถังเชื้อเพลิง
ระบบการสื่อสารและการเชื่อมต่อระหว่างฝูงบินที่ทันสมัยสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องบินและระบบภาคพื้นดินอื่น ๆ ได้ดี มีระบบลิงก์ข้อมูลแบบ Link 16 ช่วยให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องบิน และหน่วยควบคุมเป็นไปอย่างราบรื่น นอกจากนี้ยังมีประสิทธิภาพในการทำภารกิจที่ยอดเยี่ยม แต่ต้องแลกมากับต้นทุนการบินต่อชั่วโมงประมาณ 250,852 บาท
รู้หรือไม่ ? เครื่องบิน JAS 39 Gripen E มีจุดเด่น ตรงที่สามารถบินขึ้นโดยใช้ทางวิ่งสั้นแค่ 500 เมตร รองรับการบินขึ้นและลงจอดบนถนนที่ได้มาตรฐาน
Cr.TNN