การช่วยตัวเองในห้องน้ำที่ทำงานไม่ใช่เรื่องผิดปกติ แถมยังมีข้อดีมากกว่าที่คุณคิด
‘ช่วยตัวเองในที่ทำงาน’ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
และอาจส่งผลดีมากกว่าที่คิด
.
หากรู้ว่าใครสักคน ‘ช่วยตัวเองในห้องน้ำที่ทำงาน’ หลายคนคงรู้สึกประหลาดใจ และส่ายหน้าให้กับพฤติกรรมที่เหมือนไม่รู้จักกาลเทศะ แต่พฤติกรรมเช่นนี้อาจเป็นเรื่องปกติมากกว่าที่คิด เมื่อผลการสำรวจจาก Time Out นิวยอร์ก พบว่า ผู้คนกว่า 39% ล้วนเคยช่วยตัวเองในที่ทำงาน แถมไม่ใช่เฉพาะผู้ชายเท่านั้น แต่ผู้หญิงหรือเพศอื่นๆ ก็รวมอยู่ในจำนวนนี้ด้วย
.
พนักงานคนหนึ่งให้เหตุผลว่า “ถ้าฉันแฮงค์ระหว่างอยู่ในที่ทำงาน การช่วยตัวเองช่วยให้ฉันรู้สึกดีขึ้น” ขณะที่ผู้หญิงอีกคนยอมรับว่าเธอทำก็เพราะแค่มีอารมณ์ทางเพศ
.
นอกจากผลสำรวจของ Time Out ช่วงล็อกดาวน์จากสถานการณ์โควิด-19 ร้านค้าปลีกออนไลน์ Yellow Octopus ได้ทำการสำรวจผู้คน 1,000 คนจากสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และแคนาดา เกี่ยวกับพฤติกรรมการช่วยตัวเองขณะ Work From Home ซึ่งผู้ชาย 35 % และผู้หญิง 17% ยอมรับว่าพวกเขาช่วยตัวเอง และผู้ตอบแบบสำรวจคนหนึ่งให้เหตุผลด้วยว่า การ Work From Home เหมือนได้โบนัสในการช่วยตัวเอง
.
ประโยชน์ของการช่วยตัวเองนั้นเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า หากถึงจุดสุดยอด ร่างกายจะผลิตสารโดพามีน (Dopamine) และหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟีน (Endorphin) ออกมา ทำให้รู้สึกผ่อนคลายจากความเครียด และอารมณ์ดีขึ้น แต่เนื่องจากแทบไม่มีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการช่วยตัวเองในที่ทำงาน บรรดานักจิตวิทยาจึงสันนิษฐานว่าผลประโยชน์ข้างต้น น่าจะช่วยรับมือกับสภาพแวดล้อมที่มีความตึงเครียดสูงในที่ทำงานได้ และถ้าใครเคยดูภาพยนตร์เรื่อง ‘The Wolf of Wall Street’ มีฉากหนึ่ง มาร์ค ฮันนา (Mark Hanna) นายหน้าค้าหุ้นรุ่นพี่ แนะนำ จอร์แดน เบลฟอร์ท (Jordan Belfort) พนักงานใหม่ว่า กุญแจความสำเร็จอย่างหนึ่งในการเป็นนายหน้าค้าหุ้น คือ ช่วยตัวเองให้บ่อยเท่าที่จำเป็น อย่างน้อยต้อง 2 ครั้งต่อวัน เพื่อไม่ให้ตัวเองเป็นบ้าไปกับโลกการทำงานตรงหน้านี้
.
สอดคล้องกับคำตอบของผู้หญิงคนหนึ่ง เธอเล่าว่ามักช่วยตัวเองในห้องน้ำที่ทำงานอยู่บ่อยๆ หรือประมาณ 2-3 ครั้ง ต่อ 8 ชั่วโมง เพราะในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เลวร้าย นั่นเป็นช่วงเวลาเดียวที่ทำให้เธอรู้สึกสงบ และหลังจากช่วยตัวเองเสร็จ เธอก็มีทัศนคติดีขึ้นเมื่ออยู่ร่วมกับเพื่อนร่วมงาน หรือรู้สึกเครียดน้อยลงได้ชั่วขณะหนึ่ง
.
อีกทั้ง มาร์ค เซอร์เจียนต์ (Mark Sergeant) อาจารย์อาวุโสด้านจิตวิทยาที่มหาวิทยาลัยนอตทิงแฮมเทรนต์ ก็เคยกล่าวเอาไว้ว่า พนักงานจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเครียดน้อยลง หากพวกเขามีเวลาช่วยตัวเองในที่ทำงาน
.
แม้การช่วยตัวเองในที่ทำงานจะดูเป็นผลดี ทว่า ค่านิยมทางสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศ ยังคงทำให้การช่วยตัวเองเป็นเรื่องต้องห้าม หรือมองเป็นเรื่องอุจาด มิหนำซ้ำยังต้องระวังตัวด้วยว่า การกระทำของตัวเองจะเข้าข่ายล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานหรือไม่ เพราะหากมีการตีความไปในลักษณะนั้น อาจไม่จบเพียงแค่ถูกไล่ออก แต่อาจถูกดำเนินคดีทางกฎหมายเลยทีเดียว
.
https://www.facebook.com/share/p/JQVCrHxXY5YgUpZY/?mibextid=oFDknk

[/url]