Xavi Alonsoและ Erik ten Hag สำนักคิดเดียวกับ Ancelotti ไม่ใช่ Pep
สไตล์การเล่นของเลเวอร์คูเซ่นภายใต้การคุมทีมของชาบี มีลักษณะเป็น relationism หรือ functional play ที่มีเจ้าสำนักตอนนี้คือ อันเช่
Relationism /functional play คืออะไร มันคือการที่ให้ความสำคัญกับเคมีระหว่างผู้เล่นหรือความเข้าขากันของนักเตะ มากกว่า จะให้ความสำคัญเรื่องการยืนตำแหน่ง หรือการยึดครองพื้นที่ มีความเป็นบอลไดเร็ค มักจะเล่นบอลตามจังหวะ ตามสถานการณ์ ไม่ได้มองว่าครองบอล=ครองเกม หลายครั้งอาศัยจินตนาการ(ซึ่งคาดเดายาก)ของตัวรุกในทำลายแนวรับ แนวคิดนี้มักจะถูกมองว่า บอลอาศัยความเฉพาะตัว ซึ่งก็ไม่ผิดซะทีเดียว เพราะมันอยู่กับนักเตะจริงๆ คือ ถ้านักเตะไม่เข้าขากันหรือเซนส์ไม่ทันกัน มันจะกลายเป็นบอลไม่มีทรงได้ ตัวอย่างชัดๆ คือ เวลามาดริดเจอทีมใหญ่ด้วยกัน มักจะครองบอลน้อยกว่าหรือบางครั้งรูปเกมดูเป็นรองด้วยซ้ำ แต่อาศัยการเล่นรวมกันอย่างเข้าขาหรือเซนส์บอลที่ทันกันในจังหวะสวนกลับจนเอาตัวรอดได้
การเล่นลักษณะนี้ นักเตะจะมีอิสระในการเคลื่อนที่ เราจะเห็นนักเตะขยับเข้าหากันเพื่อเล่นชิ่ง 1-2 เราจะเห็นปีกซ้ายวิ่งจากริมเส้นฝั่งซ้ายไปทำชิ่งกับปีกขวาที่ริมเส้นฝั่งขวา เราจะเห็นกองหน้าลงต่ำไปชิ่ง1-2กับกองกลาง/ปีก ภาษาอังกฤษคือ collective play สำนักคิดนี้บอกว่าคุณลืมเรื่อง formation ไปเลย แผนบนหน้าสื่ออย่างหนึ่ง เล่นจริงคือสรุปไม่ได้เพราะนักเตะจะเคลื่อนที่ไปมาด้วยเซนส์บอล
โค้ชที่อยู่สำนักคิดนี้ อันเช่ คล็อป อลอนโซ่ เทนฮาก ซีดาน ฟุตบอลอเมริกาใต้โดยส่วนใหญ่
ในคลิปเราจะเห็นนักเตะมาดริดวิ่งขยับเข้าหากันเป็นกลุ่ม (ซึ่งจะทำให้เกิดพื้นที่ว่าง(space) ที่นักเตะไม่ได้ไปยืน)คล้ายๆกับยืนการเล่นลิงเพื่อชิ่ง1-2 ใช้เซนส์บอลในการชิ่งเร็ว ไม่ได้รักษาตำแหน่งมาก ตามแนวคิด “relational -ism” (relations=ความสัมพันธ์)
Positional play สำนักคิดนี้มีเจ้าสำนักคือ Pep ให้ความสำคัญกับการยึดครองพื้นที่คล้ายๆการทำสงคราม ดังนั้นนักเตะจะต้องรักษาตำแหน่งในการยึดครองพื้นที่ กองหน้าก็ค้ำหน้า ปีกก็ยืดชิดเส้น ไม่หุบเข้าในโดยไม่จำเป็น แบ็ค inverted 3-2-4-1/3-2-2-3 ปรัชญานี้จะแกะแผนง่าย เพราะนักเตะจะรักษาตำแหน่งอย่างเคร่งครัด อิสระในการเล่นน้อยกว่า
แนวคิดนี้เน้นครองบอลเยอะ หรือจะเรียกว่า‘บอลขึง’ ก็ได้เพราะเน้นให้นักเตะรักษาตำแหน่งแบบยืนขึงเต็มสนามด้วยformation 3-2-5/3-2-4-1/3-2-2-3 เพื่อยึดครองพื้นที่ฝั่งตรงข้าม ถ้ามีนักเตะคนไหนออกจากพื้นที่เข้าไปพื้นที่คนอื่น ก็จะมีคนวิ่งไปรับผิดชอบแทน แต่ละ area จะมีรับผิดชอบชัดเจน 1 คน ซึ่งต่างจาก functional play ที่ในหนึ่งๆ Area อาจจะมีนักเตะวิ่งเข้ามาเล่นร่วมกันถึง3-4คน
หลายครั้งถูกเรียกว่าบอลหุ่นยนต์ เพราะนักเตะจะไม่ได้มีอิสระในการตัดสินใจแบบ Relationism แต่ใช่ว่าบอลแบบนี้จะไม่ต้องอาศัยความสามารถเฉพาะตัวเลย ถ้านักเตะคุณภาพไม่ถึง ก็จะเป็นแบบทีมชาติสเปนในฟุตบอล2022 ที่ครองบอลโคตรเยอะ ส่งบอลครบ 1,000 ครั้ง แต่บางเกมคือได้แต่ส่งไปส่งมา หาช่องไม่ได้เพราะไม่มีลูกพลิกแพลง ขาดจินตนาการ
ที่อยู่สำนักคิดคือ เป๊ป ชาบี(บาร์ซ่า) อาร์เตต้า พอช โค้ชสเปน 90%
**แม้จะสำนักคิดเดียวกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเล่นเหมือนกันเป๊ะ เพราะมีอีกหลายปัจจัย เช่น คุณภาพนักเตะ รายละเอียดเชิงปลีกย่อย
อีกประเด็นคือ แฟนแมนยูไม่น้อยมองว่า เทนฮากทำแมนยูเล่นแบบAjax ไม่ได้เพราะที่Ajaxต่อบอลสวยๆนั่นเพราะเป็นวางรากฐานมาตั้งแต่เยาวชน *อันนี้เป็นความเข้าใจผิด* เพราะถ้าความคิดนี้ถูก Ajax ต้องรักษาสไตล์การเล่นของทีมได้แม้เทนฮากออกไป แต่ในความจริงก็คือไม่ใช่ Ajaxหลังเทนฮากไม่ได้เล่นแบบตอนเทนฮากอยู่ แม้จะครองบอลเหมือนกัน แต่คนละวิธี
สาเหตุหลักๆที่ทำให้แมนยูเล่นต่อบอลสวยๆไม่ได้ เพราะ ทักษะการเล่นกับบอลในพื้นที่แคบๆของนักเตะแมนยูมันห่วยจริงๆ (หลายคนคือครองบอลในพื้นที่แคบและเล่นชิ่ง1-2ไม่เป็นแน่ๆ)
บรูโน่ แรชฟอร์ด คาเซมิโร่ แม็คไกวร์ เกิดมาเพื่อเล่นบอลไดเร็ค ไม่ใช่มาคลึงบอล ชิ่ง1-2 อย่างตอนคาเซอยู่มาดริด อันเช่ให้โครสลงต่ำมาขึ้นบอลแทน คาเซคอยตัดเกมอย่างเดียว เมื่อแกนหลักของทีมเป็นแบบนี้ แล้วมันจะเล่นแบบAjaxได้ไง มันไม่สามารถสร้าง relation ระหว่างนักเตะได้ เคมีนักเตะมันไม่ได้!
กรณีชาบี อลองโซ่ เหตุผลที่ผมนับว่าเป็นลูกศิษย์อันเช่ เพราะ ฟริมปงเคยออกมาบอกว่า เขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทีมเล่นแผนอะไรเพราะนักเตะเคลื่อนที่อย่างอิสระ ซึ่งตรงกับคุณลักษณะของ functional play
อ้างอิง
https://decoding-soccer.medium.com/understanding-functional-play-7f02cd80900e#:~:text=In%20Functional%20Play%20it%20is,Toco%20y%20me%20voy
รูปบน positional play vs รูปล่าง functional play จะเห็นว่า positional play จะไม่มีพื้นที่ว่างสีขาวอยู่เลย แต่นักเตะก็จะยืนห่างกว่าเช่นกัน