[RE: ผมเองก็ยังไม่เห็นก้าวไกลลงพื้นที่หมู่บ้านเลยนะมีแต่ม่วงศิริ]
bossa26 พิมพ์ว่า:
Pemberton พิมพ์ว่า:
bossa26 พิมพ์ว่า:
Pemberton พิมพ์ว่า:
bossa26 พิมพ์ว่า:
แยกก่อนว่าหมายถึง สก สข หรือ สส
ถ้า สส ลงพื้นที่นี่โคตรผิดอ่ะ
หน้าที่อยู่ในสภา หน้าที่คือใล้อำนาจผ่านกฎหมาย
ใครคิดว่า สส ตรงมาดูทุกข์ชาวบ้านแบบนี้
ไปเรียนวิชาสังคมใหม่
หรือต้องไปปฏิรูปวิชาสังคมใหม่แล้ว
เคยดูหนังหรือดูข่าวหาเสียงอเมริกามั้ย
ที่เค้าจะมีว่าวุฒิสมาชิกคนนี้มีนโยบายยังไง
เก็บภาษีมาก/น้อย ภาษีกระทบคนรวยคนจน
ออกกฎหมายเกี่ยวกับโรคร้อน นโยบายรับ/ไม่รับผู้อพยพ
นโยบายทำแทงค์/ไม่ทำ
นี่คือแบบเดียวกับหน้าที่ สส. บ้านเรา
ไม่ต้องเรียนใหม่ ไม่ต้องปฏิรูปหรอก โครงสร้างคนละแบบกัน
บ้านเราคนที่ทำงานท้องถิ่นมี 2 หน่วยคือตัวท้องถิ่นเองกับรัฐบาลกลางทำร่วมกัน แต่นโยบายหลักมาจากส่วนกลาง แต่อเมริกาเป็นมลรัฐเลยแยกส่วนชัดเจนกว่า เลือกตั้งยังเลือกตั้งแยกกัน
สส ไทยเลยต้องทำ 2 หน้าที่คือนิติบัญญัติและบริหารถูกต้องแล้วเพราะเป็นคนที่อยู่ทั้งท้องถิ่นและส่วนกลาง
ผิดเเล้ว
ดูจากนี้เลยก็ได้ มีคนสรุปไว้เเล้ว
จะมีหน้าที่บริหารก็ต่อเมื่อได้ตำแหน่งบริหาร
ในนี้บอกถูกก็ไม่ใช่ถูก งั้นผมอ้าง อ.ปิยบุตรไหมแกเคยบอกว่า สส มีทั้งหน้าที่นิติบัญญัติและบริหาร
ความจริงคือไม่ต้องฟังใคร แต่ศึกษาโครงสร้างปกครองของประเทศนั้นๆ ไม่ใช่ไปหยิบเอาโครงสร้างของประเทศหนึ่งมาอธิบายบทบาทหน้าที่ตำแหน่งของอีกประเทศ
อเมริกามีรัฐบาลท้องถิ่นและส่วนกลาง ดังนั้น สส ก็ทำหน้าที่นิติบัญญัติระดับประเทศอย่างเดียวถูกแล้ว แต่ประเทศไทยเลือกแค่รัฐบาลกลาง ไม่มีท้องถิ่นยกเว้นบางจังหวัด บริหารจากบนลงล่าง ดังนั้น สส จึงมีหน้าที่ทั้งกับส่วนกลางและท้องถิ่น ไม่น่าเข้าใจยาก
ของต่างประเทศผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เพราะเค้าทำถูกงาน
ของไทยทำไมจะไม่มี
อบต. อบจ. เทศบาล สจ. สก. สข.
ผมไม่ได้แม่นกฎหมายปกครอง รัฐธรรมนูญ แต่บอกว่า สส.ต้องมาลงพื้นที่ไม่ใช่แน่ๆ
อย่าไปตัดท่อนยกคำพูดคนอื่นมาผิดๆ
ถ้าบอกว่ามีอำนาจส่วนกลางและท้องถิ่น มีตรงไหนยังไง เวลามีอำนาจไม่ใช่มีลอยๆ อำนาจนิติบัญญัติ มีก็ต้องใช้ในสภา หน้าที่ก็ต้องมีประชุม มีการใช้อำนาจ มีการตรวจสอบ
สส.ไปมีอำนาจมีบทบาทส่วนท้องถิ่นตรงไหนยังไง งง ใต่ไปลงพื้นที่ก็ได้ไม่ลงก็ได้งั้นเหรอ มีกฎหมายระบบตรงนี้ยังไง ไม่ลงพื้นที่แล้วยังไงไปโดยอภิปรายตอนไหนว่าไม่ดูแลพื้นที่
ที่บอกของไทยไม่มีท้องถิ่นยกเว้นบางจังหวัด ผิดแล้ว แล้วเอา อบต. อบจ.ไปไว้ไหน
อย่างพวกเสาไฟแพงชิบหายเนี่ย สส.ไปอยู่ตรงไหน มันงานของปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งนั้น
ที่บางจังหวัดมีไม่มีคือตรงตำแหน่งผู้ว่า ไอ้ตรงที่ต่างต้องยกไปเปรียบเทียบตรงนั้น แต่ถึง ตจว ไม่ได้เลือกตั้งตรงนี้ผู้ว่า รูปแบบมันก็คือเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าที่รัฐบาลแต่งตั้งไปไง ไม่ใชหน้าที่ สส
ไม่ได้ตัดทอนมาผิดๆ คุณไม่เข้าใจเองแหละ แค่ไปยกตัวอย่างอเมริกามาเทียบก็ผิดแล้วไม่ใช่ทำถูกงาน ต้องแยกก่อนนะ อย่างแรกเลยอเมริกามีรัฐบาลท้องถิ่นกับส่วนกลาง และแยกนิติบัญญัติกับบริหารออกขาดกว่าไทย ส่วนของไทยมีแค่รัฐบาลกลาง แถมยังไม่ได้แยกนิติบัญญาติกับบริหารออกจากกันแบบเด็ดขาดขนาดนั้น สส ไทยจึงต้องทำหน้าที่ทั้งทั้งนิติบัญญัติและอื่นๆร่วมกันไป เช่นถ้าเป็น สส รัฐบาลก็ทำหน้าที่ทั้งนิติบัญญัติและบริหาร เป็นฝ่ายค้านก็ตรวจสอบ องค์การบริหารท้องถิ่นทั้งหลายมีอำนาจแค่บางเรื่อง เหมือนที่ชอบพูดกันว่าฟุตบาทเป็นของ กทม ถนนเป็นของรัฐบาลนั่นแหละ ดังนั้นไอเสาไฟอะไรที่คุณยกตัวอย่างมาก็ไม่ได้แปลว่าปัญหาท้องถิ่นทุกเรื่องจะไปจบที่เทศบาลหรือ อบ ทั้งหลาย มีปัญหาขยะแจ้งเทศบาลได้ มีปัญหาเรื่องถนนอาจจะเกินขอบเขตเหมือนกัน
ทีนี้ส่วนกลางก็มีผู้ว่าลงมาดูแลถูกต้อง แต่ผู้ว่ากับ สส มาจากส่วนเดียวกันคือส่วนกลาง อำนาจแยกกันแต่หน้าที่จะมีบางส่วนที่ต้องทำร่วมกัน กทม เอง สก ยังบอกว่าต้องทำงานร่วมกับ สส เพราะปัญหาหลายอย่างแก้จากท้องถิ่นไม่ได้ แต่จังหวัดที่เขาไม่มีก็ต้องไปที่ สส โดยตรง คุณอาจจะบอกว่าก็มีผู้ว่าอยู่แล้วไง แต่ถ้าผู้ว่าทำงานล่าช้า ทำงานผิดพลาดจะไปแจ้งที่ไหน ก็ต้องแจ้งส่วนกลาง คิดว่าเป็นหน้าที่ใครที่จะต้องเอาเรื่องไปแจ้งส่วนกลาง ทางตรงที่สุดก็คือ สส อยู่ดี
ส่วนที่คุณสงสัยว่าเอาอำนาจมาจากไหน คำตอบคือไม่มีอำนาจสั่งการ สส จึงต้องทำหน้าที่คอยประสานปัญหาจากท้องถิ่นขึ้นไปส่วนกลาง ให้ส่วนกลางสั่งกลับมาลงอีกทอดหนึ่ง อำนาจที่ สส มีนอกจากอำนาจนิติบัญญัติคือการยื่นญัตติขออภิปราย ผมไม่รู้ว่าคุณฟังอภิปรายสามัญบ้างไหม นั่นแหละคือการที่ สส เอาปัญหาท้องถิ่นเข้าไปส่วนกลางเพื่อให้ส่วนกลางสั่งการแก้ลงมาตามลำดับ ถามว่าดังนั้น สส จึงจำเป็นต้องลงพื้นที่ไหม ไม่ต้องลงก็ได้ แต่ก็ต้องไปหาทางรับทราบปัญหาท้องถิ่นเพื่อเอาไปอภิปรายในสภาให้ได้จากทางอื่น
ผมถึงบอกว่าคุณไปยกตัวอย่างอเมริกามาเทียบมันทำไม่ได้ โครงสร้างคนละแบบกันเลย ตอนก้าวไกลพูดเรื่องกระจายอำนาจก็เพราะต้องการแก้ pain point ตรงนี้ผมก็นึกว่าเข้าใจกันหมดแล้วซะอีก อยากให้ สส ไทยทำหน้าที่เหมือนอเมริกาก็ต้องไปแก้โครงสร้างให้เหมือนเขาก่อน ไม่งั้นผมยกตัวอย่างประเทศสวิตที่สลับประธานาธิบดีทุก 1 ปีแล้วบอกว่าวาระดำรงตำแหน่งที่ถูกต้องควรเป็นแบบนี้ นายกประเทศไทยทำผิดได้ไหมคงไม่ได้ หรือผมยกตัวอย่างคณะรัฐมนตรีอังกฤษที่บริหารแบบ first among equal แล้วบอกว่าประเทศไทยไม่เหมือน แปลว่าทำผิดบทบาทได้ไหม ก็คงไม่ได้เหมือนกัน ถ้าคุณบอกว่า สส จริงๆแล้วควรทำหน้าที่แค่นิติบัญญัติ ก็ต้องไปวิจารณ์ว่าโครงสร้างปัจจุบันมันไม่เอื้อให้ทำแบบนั้น ต้องไปแก้ให้มันเอื้อ ไม่ใช่อยู่ดีๆมาบอกต้องไปปฏิรูปวิชาสังคมหรือให้ใครไปเรียนสังคมใหม่