บทความครอบครัว เด็กจุฬาฯ รวยกว่าคนทั้งประเทศจริงไหม? /เนติวิทย์
ใครเรียนที่จุฬาหรือมหาลัยtopอื่นๆ หรือมีคนใกล้ตัว รู้จักเรียน บทความจากเนติวิทย์อันนี้ใกล้เคียงความเป็นจริงไหมครับในปัจจุบัน แลกเปลี่ยนกัน ผมไม่แน่ใจว่าต่างประเทศ มหาลัยtopเป็นลักษณะนี้ไหม เรื่องความเลื่อมล้ำด้านการศึกษา การเข้าถึงโอกาส คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนโดยเฉลี่ย นึกถึงสมัยติวเข้ามหาลัย ของดีๆผมไปได้มาจากเรียนติวทั้งนั้น ขนาดผมเรียนโรงเรียนประจำจังหวัดใหญ่นะ ผมสอบได้แค่ม.รัฐหัวเมืองใหญ่เอง นึกภาพถ้าพ่อแม่ผมไม่มีทรัพยากรตรงนี้ให้ ผมก็ไม่รู้ว่าจะพาตัวเองไปได้ขนาดไหน ทุกวันนี้ผมชอบบริจาคทำกิจกรรมเพื่อเด็กด้อยโอกาสในด้านการศึกษาสะเยอะ เพราะเข้าใจว่าโอกาสทางการศึกษาดีๆมันเปลี่ยนชีวิตคนหรือพัฒนาประเทศในภาพรวมได้ แต่น่าเสียใจที่คนใหญ่คนโตในประเทศนี้ที่มีอำนาจมักจะมองข้ามตรงนี้ไป
รายได้ครัวเรือนเฉลี่ยของนิสิตจุฬาฯ อยู่ที่ 118,160 บาทต่อเดือน ถือว่าอยู่ในท็อป 14% ของประเทศ เทียบกับค่าเฉลี่ยทั้งประเทศคือ 27,352 บาทต่อเดือน โดยนิสิตจากคณะวิศวกรรมศาสตร์รวยที่สุด เฉลี่ย 212,974 บาทต่อเดือน
ควินไทล์ (quintile) ที่ 5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเท่ากับ 525,978 บาท/เดือน หรือท็อป 2% ของประเทศ ซึ่งมีจำนวนถึง 20% ของนิสิตจุฬาฯ หากตัดควินไทล์ที่ 5 ออก ค่าเฉลี่ยรายได้จะเหลือเพียง 58,061 บาท/เดือน หรือท็อป 35% เท่านั้น
71.5% ของนิสิตจุฬาฯ มาจากโรงเรียนรัฐบาล 10.8% มาจากโรงเรียนสาธิต และมาจากโรงเรียนเอกชนศาสนาเพียง 9.5%
นิสิตจุฬาฯ ครึ่งหนึ่งมีพื้นเพมาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดย 37% มีพื้นเพมาจาก กทม. 12.8% มาจากสมุทรปราการ นนทบุรี และปทุมธานี และส่วนมากมาจากหัวเมืองใหญ่
ครอบครัวนิสิตจุฬาฯ โดยเฉลี่ยถือครองที่ดินครอบครัวละ 7 ไร่ หากนับเฉพาะประชากรที่ถือครองที่ดิน ค่าเฉลี่ยนี้อยู่ในระหว่างควินไทล์ที่ 4 กับ 5 ที่ถือครองที่ดินมากที่สุดของประเทศ
ครอบครัวนิสิตจุฬาฯ มีรถยนต์เฉลี่ย 2.3 คัน มีเพียง 6% ที่ไม่มีรถยนต์เลย และส่วนมาก 37.7% ครอบครัวมีรถยนต์ 2 คัน
นิสิตจุฬาฯ 38.3% เรียนพิเศษก่อนเข้ามหาวิทยาลัยสัปดาห์ละ 10 ชั่วโมงขึ้นไป 49.5% เรียนสัปดาห์ละ 1 – 9 ชั่วโมง โดยคณะที่เรียนพิเศษก่อนเข้ามหาวิทยาลัยหนักที่สุดคือคณะทันตแพทยศาสตร์และแพทยศาสตร์ ค่าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษต่อเดือน 3,811 บาท นักเรียนเอกชนเรียนพิเศษมากกว่านักเรียนจากโรงเรียนรัฐบาล
นิสิตจุฬาฯ 10.2% เคยไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ แต่นิสิตในรุ่นที่เก็บข้อมูลอยู่ในช่วงโควิด สถานการณ์ปกติอาจสูงกว่านั้น ที่สำคัญคือนิสิตที่เคยไปแลกเปลี่ยนฯ มีรายได้ครัวเรือนสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 2 เท่า
มีเพียง 5.6% ของนิสิตจุฬาฯ ที่ไม่มีพ่อแม่หรือญาติจบมหาวิทยาลัย
ลิ้งเต็ม บทความ
https://www.the101.world/the-wealth-of-chula-students/?fbclid=IwAR2dWuwLn7_yn7tJniXZQyEUrExlXkjCpLj6gYiBAo2vZcAxUBepsmwaaTY