Byford Dolphin โศกนาฏกรรมที่ตรงข้ามกับเรือไททัน
ของไททันโดนแรงดันบีบอัด แต่อันนี้ขยายตัวออก
Cr catdump-สำนักข่าวแมวเหมียว
ปล. ทาง catdump บอกมีภาพจริงที่ไม่สามารถนำมาลงได้+ บอกว่าใจไม่แข็งอย่าหาดู ผมเองก็อยากหาดูนะแต่กลัวภาพติดตาเห็นคนดูแล้วบอกว่าโหดจริง ใครคิดว่าใจแข็งก็ลองหาดูครับ
(คีย์เวิร์ด Pictures From The Byford Dolphin Diving Bell Accident // อันนี้เป็นลิ้งค์จากคนมนเพจแปะไว้นะครับ
https://zero.sci-hub.se/5268/7dda7cee52d7eb3ec606a82d0f1b9a61/giertsen1988.pdf
เรื่องราวนี้เกิดขึ้นในปี 1983 ที่แท่นขุดเจาะน้ำมัน Byford Dolphin ซึ่งเช่นเดียวกับแท่นขุดเจาะหลายๆ ที่ ต้องมีการทำงานกับอุปกรณ์ใต้น้ำลึกในความดันสูงอยู่เสมอ นั่นทำให้พวกเขาต้องว่าจ้างนักดำน้ำเพื่องานอย่างการซ่อมท่อหรือหัวขุดเจาะ แต่ด้วยความที่นักดำน้ำทั่วไปอาจต้องใช้เวลานานถึง 6 ชั่วโมงต่อวันในการปรับความดันให้กลับเป็นปกติหลังทำงาน (ซึ่งไม่คุ้มที่จะทำทุกวัน)
แท่นขุดเจาะน้ำมันเหล่านี้จึงจ้าง "นักดำน้ำต่อเนื่อง" (Saturation Diver) ซึ่งอาศัยอยู่ในห้องปรับความดันให้เหมือนอยู่ใต้ทะเลตลอดเวลามาทำงานแทน (จะได้ปรับความดันให้กลับเป็นครั้งเดียวตอนจบงานหลายๆ วันไปเลย) แต่ก็เป็นการอาศัยในห้องปรับความดันนี่เอง ซึ่งนำมาสู่โศกนาฏกรรมในครั้งนี้ เพราะในแทบทุกวันนักดำน้ำจะต้องขี่ระฆังดำน้ำ (ให้นึกเสียว่าเป็นลิฟต์ที่ถอดได้) ขึ้นจากใต้ทะเลกลับมาสู่ห้องปรับความดันที่อยู่บนบก
ในขั้นตอนนี้จะต้องมีการปลดระฆังดำน้ำออกจากห้องปรับความดัน ซึ่งต้องดำเนินการอย่างรอบคอบตามขั้นตอน 5 ขั้นดังนี้
1. ปิดประตูระฆังดำน้ำ
2. เพิ่มความดันระฆังดำน้ำเพื่อล็อกประตูให้แน่น
3. ปิดประตูจากภายในห้องเบอร์ 1
4. ลดความดันส่วนที่เชื่อมระหว่างห้องเบอร์ 1 กับระฆังดำน้ำกลับเป็นความดันปกติ (เพื่อให้ถอดระฆังดำน้ำออกได้)
5. ปลดตัวยึดและนำระฆังดำน้ำออก
ปัญหาคือในวันที่ 5 พฤศจิกายน 1983 ระหว่างขั้นตอนที่ 2 กับ 3 หนึ่งในผู้ดูแลนักดำน้ำ (T1) ปลดตัวยึดระฆังดำน้ำออกก่อนที่นักดำน้ำ (D4) จะทันได้ปิดประตู (และลดความดันส่วนเชื่อมห้อง)นั่นทำให้ความดันภายในห้องปรับความดันซึ่งหนักเท่าชั้นบรรยากาศ 9 ชั้น กลับเป็นปกติทันที ส่งผลให้อากาศภายในทุกอย่างในห้องปรับความดัน (รวมถึงคนด้วย) "ขยายตัวจนระเบิดออก" (Explosive decompression) สังหารนักดำน้ำทั้ง 4 ในพริบตา ในขณะที่ผู้ดูแลนักดำน้ำรายหนึ่งเสียชีวิต (คนที่ปลดตัวยึด) และอีกรายบาดเจ็บสาหัสจากแรงกระแทก
นี่นับว่าเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ในวงการนักดำน้ำต่อเนื่องให้มีความปลอดภัยขึ้นเลย
ส่วนญาติๆ ของผู้เสียชีวิตนั้น หลังจากการฟ้องร้องหาคนผิดอยู่ 25 ปี ศาลก็พบว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเพราะห้องมีอุปกรณ์ที่ผิดพลาดนำไปสู่อุบัติเหตุ (บอกเป็นนัยว่าครอบครัวผู้ดูแลที่ปลดตัวยึดไม่ต้องรับผิดชอบ)ทำให้พวกเขาได้รับเงินชดเชยจากรัฐบาลซึ่งในเวลานั้น ระบุมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปรับความดันเอาไว้ "ต่ำกว่าที่ควรเป็น"