ก้าวสู่ปีที่ 30 ของเจลีก ตอนที่ 1 การมาถึงลีกฟุตบอลอาชีพของญีปุ่น
#เจลีก #J30 ก้าวสู่ปีที่ 30 ของเจลีก
ตอนที่ 1 การมาถึงของลีกฟุตบอลอาชีพของญีปุ่น
-----------
วันที่ 15 พฤษภาคม ปี 1992 ถือเป็นวันที่ปฐมบทของฟุตบอลแห่งชาติญี่ปุ่นได้จารึกไว้ว่า เจลีก ลีกฟุตบอลอาชีพแห่งชาติญี่ปุ่นได้เริ่มต้นขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก
.
แต่ก่อนการมาถึงของฟุตบอลอาชีพของลีกญี่ปุ่นนั้น ในช่วงแรกของการแข่งขันสโมสรจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ทีมองค์กรและทีมจากมหาวิทยาลัยโดยภายหลังในช่วงปี 1960 เริ่มมีการพัฒนาแนวคิดในการจ้างนักฟุตบอลฝีเท้าดีเข้าสู่ทีมในฐานะนักฟุตบอลพร้อมกับการเป็นพนักงานของบริษัท
.
สำหรับรูปแบบการทำงานของ นักฟุตบอลระดับกึ่งอาชีพของญี่ปุ่น ช่วงครึ่งเช้าจะทำงานและช่วงบ่ายค่อยมาฝีกซ้อมฟุตบอล ซึ่งสำหรับทีมฟุตบอลองค์กรนั้นมีไว้ในเชิงของภาพลักษณ์ขององค์กรและเป็นการออกกำลังกายของพนักงาน
.
แต่ในขณะเดียวกันในช่วงปี 1960-1970 ถือว่าเป็นช่วงปีที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ทั้งในมิติของทางสังคมของประเทศและวงการฟุตบอลประเทศญี่ปุ่น
.
ช่วงแรกของการแข่งขันฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นยังถือเป็นการแข่งขันในระดับกึ่งอาชีพในชื่อ
เจแปน ซอคเกอร์ ลีก (Japan Soccer League หรือ JSL) ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศในช่วงปี 1965 – 1992โดยกีฬาฟุตบอลนั้น จริงๆแล้วถือว่าเป็นกีฬาที่มีความนิยมเป็นอันดับที่สองของประเทศรองจากกีฬาอย่างเบสบอล
.

ในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งลีกฟุตบอลไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร เนื่องด้วยทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน เจแปน ซอคเกอร์ ลีก (JSL) ในยุคแรกประกอบด้วย 8 ทีมจาก 5 เมืองของประเทศญี่ปุ่น โดยมี 3 ทีมจากโตเกียว 2 ทีมจากนาโกย่า และ 1 ทีมจากโอซาก้า ฮิโรชิมา และคิตะคิวชู
.
ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน JSL ในช่วงก่อตั้งลีกในปี 1965 สโมสรเกือบทั้งหมด จะเป็นทีมตัวแทนของบริษัท เช่นเดียวกับรูปแบบของทีมเบสบอลในประเทศญี่ปุ่น โดยใช้ชื่อสโมสรจากชื่อบริษัทที่เป็นเจ้าของทีม
.
ชื่อ ณ ปี 1965 ในวงเล็บ คือ ชื่อทีมในปัจจุบัน
ฟุรุคาว่า อิเลคทริค (เจฟ ยูไนเต็ด ชิบะ)
ฮิตาชิ เอสซี (คาชิว่า เรย์โซล)
มิตซูบิชิ มอเตอร์ (อุราวะ เรด ไดมอนส์)
โตโยต้า อินดัสทรีส์ (โตโยต้า อินดัสทรีส์ เอสซี)
นาโกย่า มูชวล แบงค์ (นาโกย่า เวสต์ เอฟซี)
ยันม่าร์ ดีเซล (เซเรโซ โอซาก้า)
โตโย อินดัสทรีส์ หรือ มาสด้า (ซานเฟรซเซ่ ฮิโรชิม่า)
ยาวาตะ สตีล หรือ นิปปอน สตีล (นิปปอน สตีล ยาวาตะ เอสซี)
.
ในช่วงปลายปี 1980 ฟุตบอลลีกญี่ปุ่นยังไม่ได้รับความนิยม เนื่องด้วยฐานแฟนบอลที่จำกัดเฉพาะกลุ่ม ด้วยความที่ทีมเกือบทั้งหมด ล้วนแล้วแต่มาจากทีมในระดับองค์กร ไม่ได้มีความผูกพันธ์อะไรกับแฟนบอล คุณภาพของสนามและการแข่งขันยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
.
นอกจากนี้ ด้วยผลงานในระดับชาติของทีมชาติญี่ปุ่นในช่วงปลายปี 80 ไม่ได้มีผลงานอะไรที่จับต้องได้ในระดับนานาชาติ รวมถึง ความฝันและความหวังที่ต้องการจะไปฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายให้ได้ภายในปี 1998
.
ทำให้ในช่วงปลายปี 1987 ฝ่ายจัดการแข่งขันเจแปน ซอคเกอร์ ลีก มีการขานรับนโยบายการพัฒนาลีกของสมาคมฟุตบอล โดย โมริ เคนจิ ประธานของลีกฟุตบอลญี่ปุ่น (ขณะนั้นยังไม่ได้ใช้ชื่อ เจลีก) ที่เริ่มมีแนวคิดในการให้ผู้เล่นของแต่ละสโมสรลงทะเบียนในฐานะนักเตะอาชีพเพื่อให้ความเป็นระบบ ระเบียบมากขึ้นสำหรับการจัดการแข่งขันซึ่งส่งผลให้ต่อมา เริ่มมีแนวคิดในการวางระบบการแข่งขันให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น โดยในปี 1988 เจแปน ซอคเกอร์ ลีก (Japan Soccer League หรือ JSL) ได้จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินการเพื่อหารือเกี่ยวกับวิธีการฟื้นฟูกีฬาในประเทศญี่ปุ่น
.
ทั้งนี้หลังจากได้เริ่มดำเนินการวางแผนและค้นคว้า คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแข่งขัน จึงได้ข้อสรุปในการจัดตั้งลีกอาชีพสำหรับกีฬาฟุตบอลขึ้น หลังจากวางแผนมาเกือบสองปี
.
ในเดือนมกราคม ปี 1991 สมาคมฟุตบอลญี่ปุ่นจึงได้ประกาศโครงสร้างพื้นฐานของลีกอาชีพใหม่สำหรับกีฬาฟุตบอล พร้อมกับมีการประกาศรายชื่อทีมที่เข้าร่วมลีกอาชีพจำนวน 10 ทีม และในเดือนกรกฎาคม ปีเดียวกัน ได้มีการประกาศชื่อของการแข่งขันออกมาอย่างเป็นทางการในชื่อ Japan Professional Football League หรือเรียกสั้นๆ ว่า J. League

.
โดยมีวัตถุประสงค์ มุ่งเน้นไปที่การเสริมความแข็งแกร่งให้กับทีมชาติ รวมถึงเพื่อเป็นการขยายฐานแฟนบอลให้มีความสนใจฟุตบอลลีกภายในประเทศมากยิ่งขึ้น จึงก่อให้เกิด การแข่งขันเจลีกขึ้นครั้งแรก ในเดือน พฤษภาคม ปี 1993
.
10 ทีมที่เข้าร่วม มาจาก 8 ทีม ที่ส่งแข่งขันในลีกกึ่งอาชีพที่ชื่อ เจแปน ซอคเกอร์ ลีก บวกกับอีก 2 ทีมที่เป็นแชมป์ลีกรองลงมาและอีกหนึ่งทีมที่ก่อตั้งทีมขึ้นใหม่ โดยทั้งสิบทีมถูกเรียกว่า “Original 10” หรือ สิบทีมแรกที่อยู่ในช่วงก่อตั้งเจลีก ประกอบไปด้วย
.
นิสสัน เอฟซี (โยโกฮาม่า มารินอส)
ยามาฮ่า มอเตอร์ เอฟซี (จูบิโล่ อิวาตะ)
มัตสึชิตะ (กัมบะ โอซาก้า)
มาสด้า เอฟซี (ซานเฟรซเซ่ ฮิโรชิม่า)
เจอาร์ อีสต์ ฟุรุคาว่า (เจฟ ยูไนเต็ด อิชิฮาร่า)
ออล นิปปอน แอร์เวย์ (โยโกฮาม่า ฟลูเกลส์)
มิตซูบิชิ มอเตอร์ เอฟซี (อุราวะ เรด ไดมอนส์)
โตโยต้า เอฟซี (นาโกย่า แกรมปัส)
โยมิอุริ นิปปอน (เวอร์ดี้ คาวาซากิ)
สุมิโตโมะ เมทัล (คาชิม่า แอทเลอร์) แชมป์ลีกดิวิชั่นสอง
ชิมิสุ เอส พัลซ์ (ก่อตั้งใหม่)
.
หลังการประกาศเข้าร่วมลีกใหม่อย่างเจลีก สโมสรต่างๆ ต้องพากันปรับตัวและยกระดับของทีมไม่ว่าจะในแง่ของการตลาด หรือ ขีดความสามารถด้านฟุตบอล

.
สิ่่งที่เห็นได้ชัดอย่างที่หนึ่ง คือ การเปลี่ยนชื่อทีมจากทีมองค์กร ให้มีเอกลักษณ์ และก่อให้สสิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ของทีม ทั้งในการออกแบบสี ตราประจำสโมสร พร้อมกับตั้งชื่อทีมให้มีความผูกพันธ์กับท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ท้องถิ่นนิยม โดยมีประโยชน์ทางตรงที่ทีมฟุตบอลต้องการจะขยายฐานแฟนบอลผ่านการสร้างความผูกพันธ์ในแต่ละพื้นที่ของประเทศ
-----------
#ตอนต่อไป ระบบลีกที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
.
#เจลีกโดยสังเขป
#JLEAGUE
#J30
#บอลญี่ปุ่น