[RE: เด็กเอ๋ย เด็กดี ต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน]
babyboom พิมพ์ว่า:
ผมยังเป็นแบบนี้ทั้ง 10 ข้อ และคิดว่าเป็นกรอบความคิดที่ดีที่ควรมี
ที่สงสัยข้อแรกเรื่องศาสนา นี่เป็นกรอบสำคัญที่สุดสำหรับจิตวิญญาน การนับถือศาสนาจะศาสนาอะไรก็ได้เพราะทุกศาสนาสอนให้เป็นคนดี มีจิตใจดี มีความเชื่อถูกตรง เป็นกรอบที่จะพาจิตวิญญานของเราให้ฝ่ากระแสกรรมไปสู่ความหลุดพ้นที่แต่ละศาสนาอาจจะเรียกไม่เหมือนกัน นิพพาน สันติ โมกษะ ฯลฯ
ทุกวันนี้คนจำนวนมากติเตียนศาสนา บอกว่างมงาย ศาสนามีแต่คนไม่ดี นักบวชไม่ดี ถ้าดูดีๆ จะเห็นคำตอบในคำติเตียนนั้น คือ คนไม่ดี นักบวชไม่ดี จริงๆ แล้วศาสนายังดีอยู่เสมอแบบอกาลิโก คือดีแบบไม่ได้เกี่ยวข้องกับกาลเวลา แต่เพราะศาสนามีคนไม่ดีเกี่ยวข้องมากมาย คนไม่ดีส่วนหนึ่งก็พวกเราเองที่ปากบอกว่านับถือศาสนาแต่พยายามดัดแปลงธรรมะในศาสนาให้กลายเป็นอะไรไม่รู้ตามใจตน ส่วนหนึ่งก็คือนักบวชอลัชชีที่อาศัยศาสนาทำมาหากินเลี้ยงชีวิตไม่ได้รู้เลยว่าศาสนาสอนอะไร
ยกตัวอย่างช่วงหนึ่งที่ 2 พษ ดังมาก คนส่วนใหญ่ในประเทศนี้บอกว่าทั้งสองคนสอนธรรมะดีมาก เข้าใจง่าย แต่ผมบอกว่าไอ้สองตัวนี้ไม่เคยสอนธรรมะเลย ที่พูดอยู่ทุกวันนั้นเป็นเรื่องทางโลกทั้งนั้น นี่ขนาดคนที่ได้รับคำยกย่องชื่นชมยังเข้าไม่ใกล้คำสอนของศาสนา แล้วพวกอลัชชีอื่นๆ ล่ะจะขั้นไหน
ศาสนาลึกซึ้งมาก ต้องศึกษาจริงๆ แล้วทำความเข้าใจให้ดีๆ ไม่ใช่ตีความไปตามความเข้าใจของตัวเอง โดยเฉพาะศาสนาพุทธมีใครสักกี่คนที่เคยอ่านพระไตรปิฎกว่าจริงๆ แล้วพระพุทธเจ้าสอนอะไร ไม่ต้องมากหรอก ขอแค่อ่านเล่มเดียวจาก 45 เล่มยังหายากมาก แม้แต่คนที่ถวายพระไตรปิฎกลองถามดูสิว่ามีกี่คนที่เคยอ่านเอง ถึงเทศกาลงานบุญเข้าวัดสวดมนต์กัน พระท่านนำสวดธัมจักกัปวัตนสูตร ถามว่ามีกี่คนที่เคยอ่านเคยศึกษา และมีกี่คนที่เข้าใจความหมาย ผมว่าไม่มีนะ
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ยังแปลกันว่าทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ แปลกันสนุกสนานว่าเป็นเรื่องของการทำงานและการใช้ชีวิตทางโลก ทำไมไม่สงสัยกันเหรอว่าพระพุทธเจ้าสอนปัญจวัคคีย์ที่เป็นนักบวชทิ้งชีวิตทางโลกกันมาหลายปีแล้ว พระองค์จะสอนเรื่องการทำงานทำไม ก็เพราะเราแปลตามใจตัวเองกันนี่ไง พระพุทธเจ้าสอนเรื่องจิต แต่เราดันไปแปลให้กลายเป็นเรื่องทางโลกไปเสียได้
ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่มีความคิดก้าวไกล มีหัวก้าวหน้า หัวพัฒนา ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ไม่ควรลืมหลักยึดทางจิตวิญญานไว้ด้วย พัฒนาการทางโลกจะอยู่กับเราแค่โลกนี้ แต่พัฒนาการทางจิตวิญญานจะติดตัวติดตามเราตลอดไป ไม่ว่าจะพัฒนาไปทางสูงขึ้นหรือต่ำลง
เหมือนได้หน้าลืมหลัง รู้จักของใหม่ก็ลืมเก่า น่าจะยังไม่ตรง ต้องเรียกว่าไม่ได้เข้าใจแก่นของคำว่าศาสนามากกว่า
เห็นข้อด้อยบางส่วนในสิ่งเก่าที่มันเป็นแก่นมันหรือเปล่าก็ไม่รู้ ก็ตีเหมาว่ามันเอ้าท์ แต่ก็ไม่ได้รู้ว่าแก่นแท้จริง ๆ มันคืออะไร มันไม่ได้ต่างกันมากจากพวกปรัชญา อภิปรัชญา ต่าง ๆ ที่ไม่นับเป็นศาสนากรอก แล้วไอคำว่าไม่เบียดเบียน กรอบมันอยู่ที่ไหน ? มันมาจากไหน ? มันก็ต้องมีที่มาก่อนทั้งนั้น
เหมือนครูบอกให้นั่งท่องสูตรคูณ ก็ไปบอกว่ามันเอ้าท์ใช้เครืองคิดเลขดีกว่า แต่ถามว่าถ้าไม่มีการท่องมาก่อนจะมีเครื่องคิดเลขไหม ? ไม่มีกรอบสร้างมาก่อนมันจะต่อยอดยังไง ?