นักบอลถ้วย ง.
Status:

: 0 ใบ

: 0 ใบ
เข้าร่วม: 18 Oct 2008
ตอบ: 5015
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Jul 06, 2022 01:10
[RE: วิศวกรโยธา ไม่จำเป็นต้องเรียนแคลคูลัส ?]
ผมไม่ใช่โยธา แต่เชื่อว่าทุกอย่างมันมีรากฐานเดียวกัน สิ่งที่เป็นตัวตัดสินคือ การใช้ความรู้มีหลายระดับ อยู่ที่ว่าคุณเอามันไปใช้ในระดับไหน หรือพอใจแค่ระดับไหน
ถ้าใช้งานแค่ระดับ user คุณก็รู้แค่ว่าจะใช้งานอย่างไร เอา parameter ไปใส่ คอมคำนวณจบ หรือคุณเดินไปหาของที่มีตามร้านอุปกรณ์ก่อสร้างมาใช้ จบ งานคุณก็จบที่มูลค่าประมาณนึง เหมือนการเดินขึ้นเขาที่ใครก็เคยขึ้น อยากรู้ว่าข้างบนวิวเป็นยังไง ก็ถามคนที่เคยปีนมาก่อน
แต่ถ้าคุณจะใช้งานในระดับที่เป็น researcher การคิดสิ่งใหม่ หรือทำสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ต่อยอด คุณจำเป็นต้องรู้ลึกลงไปมากที่สุด (เท่าที่จะทำได้) แล้วลงไปรื้อตั้งแต่รากฐาน ซึ่งนั่นก็ต้องใช้พื้นฐานอย่างมากในระดับ fundamental ถ้าสิ่งที่ทำมันเกิด มูลค่ามันมหาศาล เริ่มตั้งแต่สังเคราะห์วัสดุเอง ทำตัวต้นแบบเอง ออกแบบคำนวณมือเอง เพราะสิ่งที่คุณกำลังทำมันไม่มีใครเคยทำมาก่อน เหมือนปีนเขาที่ไม่มีใครเคยขึ้น ถามใครก็ไม่ได้ ต้องปักหมุดปีน ขึงเชียกเอาเองหมดเพื่อให้คนอื่นตามขึ้นมาได้
ก็เหมือนกับการออกทะเลหาปลา คุณจะจับปลาทูทั้งชาติ หิวทีก็ออกทะเลที หรือปลาวาฬตัวเดียวอิ่มไปเป็นปี แน่นอนความเสี่ยงมันก็ต่างกันไปอีก
และแน่นอน มูลค่าของตัวคุณก็ขึ้นกับสิ่งที่คุณมี
นี่คือสิ่งที่แตกต่างระหว่างประเทศที่มีสิทธิบัตรมากๆ อย่างจีน เมกา ยุโรป ญี่ปุ่น กับประเทศโลกที่สามอื่นๆ ดังนั้นคำตอบที่ว่า ทำไมประเทศเราไม่สามารถตามเขาทัน ผมคงไม่ต้องตอบเองแล้ว มันก็อยู่ที่ทัศนคติของคนที่อยู่ในนั้น และทำไมประเทศที่เขามองไปไกลมากๆเขาถึงกล้าดึงคนเก่ง
สมัยนี้การแข่งขันมันสูงมาก มันไม่ได้จบแค่รู้ลึกแล้ว เดี๋ยวนี้ใครๆก็รู้ลึกกับหมดแล้ว บนโลกใบนี้ คนที่รู้ลึกและกว้างต่างหากที่หายากและมีมูลค่า
ปล.แล้วโยธานี่ทำงานไม่ต้องไปแตะกับสายอื่นบ้างรึ พวกไฟฟ้าเดินไฟโรงงาน คอนโทรล วางเครื่องจักร PID เกิดไอ้พวกสายอื่นมันวางยามา หรือมั่วมา ไม่กลัวชีวิตพังเรอะ ชีวิตไม่คิดจะเอาความรู้ด้านอื่นไว้เป็นเกราะกำบังบ้างเรอะ
แก้ไขล่าสุดโดย qazaqaz เมื่อ Wed Jul 06, 2022 01:22, ทั้งหมด 3 ครั้ง