F1: 2022 ฤดูกาลของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่
อีกแค่ไม่ถึงเดือน F1 ฤดูกาลใหม่ก็จะเปิดฉากขึ้นแล้ว ตอนนี้หลายๆทีมก็เริ่มทยอยเผยโฉมรถแข่งที่จะใช้สำหรับฤดูกาลใหม่ ซึ่งหลายๆคนน่าจะสังเกตได้ถึงความเปลี่ยนแปลงในรถแข่งระหว่างปีที่แล้วกับปีนี้ เพราะในฤดูกาล 2022 ที่จะมาถึงนี้ เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดตา่งๆจากทาง FIA อย่างมโหฬาร ตั้งแต่ระดับการบริหารทีมไปจนถึงรายละเอียดของตัวรถ เรียกว่าแทบจะพลิกหน้ามือเป็นหลังมือกันเลยทีเดียว วันนี้เลยจะพามาดูกันว่า การเปลี่ยนแปลงสำคัญๆในฤดูกาลนี้มีอะไรบ้าง
1. เพดานรายจ่าย
ที่จริงกฎนี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ฤดูกาลที่แล้ว ซึ่งกำหนดให้แต่ละทีมใช้งบทำทีมไ้ดปีละไม่เกิน 145 ล้านเหรียญ และในปีนี้เพดานรายจ่ายของทีม ถูกลดลงมาอีกอยู่ที่ 140 ล้านเหรียญ ซึ่งในแง่ดี คือมันช่วยลดช่องว่างระหว่างทีมเจ้าบุญทุ่มกับทีมอื่นๆ และช่วยให้การแข่งขันสนุกขึ้น เทียบตัวอย่างง่ายๆ อย่างในปีสุดท้ายก่อนจะมีการบังคับใช้กฎ ทีมที่ใช้งบมากที่สุดอย่าง Mercedes ใช้เงินทำทีมกว่า 400 ล้านเหรียญ มากกว่าทีมที่ใช้งบน้อยที่สุดถึง 3 เท่า
แม้ว่าตัวกฎเองจะมีรายจ่ายที่เป็นข้อยกเว้น ไม่นำมาคิดรวมในเพดานรายจ่ายเช่น ค่าตัวเครื่องยนต์ ค่าขนส่งและเดินทางของทีมงานรวมทั้งค่าที่พัก ค่าเหนื่อยของนักแข่ง เงินเดือนของพนักงานที่รับสูงสุด 3 คนแรกของทีม แต่ก็น่าจะช่วยให้การแข่งขันสูสีขึ้น
2. Aero Handicap System
คือการจำกัดการทดสอบแอโรไดนามิคในอุโมงค์ลมจะถูกนำมาใช้ในปีนี้ โดยทีมที่มีผลงานดีจะถูกจำกัดชั่วโมงในการทดสอบในอุโมงค์ลมในขณะที่ทีมที่ผลงานแย่จะได้เวลาในการทดสอบเพิ่มโดยอิงจากผลงานทีมผู้ผลิตในฤดูกาลก่อน ให้เข้าใจง่ายๆคือ ทีมที่ได้อันดับ 1 ของผู้ผลิตอย่าง Mercedes จะสามารถทำการทดสอบในอุโมงค์ลมได้แค่ 28 ครั้งต่อสัปดาห์ ในขณะที่ทีมบ๊วยอย่าง Haas สามารถทำได้ถึง 46 ครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งหมดเพื่อช่วยให้ทีมที่ผลงานแย่สามารถปรับปรุงผลงานไล่ตามทีมนำได้ดีขึ้น
3 เครื่องยนต์เดิม เพิ่มเติมแก๊สโซฮอลล์
ในปีนี้ส่วนของเครื่องยนต์ยังใช้เครื่อง 1.6-litre turbo hybrid เหมือนเดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเชื้อเพลิงโดยทุกทีมต้องใช้เชื้อเพลิงที่มีส่วนประกอบของเอทธานอล 10% ซึ่งเป็นที่คาดการณ์ว่าหากไม่มีการปรับแต่งส่วนผสมอื่นๆหรือปรับเปลี่ยนส่วนของเครื่องยนต์ น่าจะทำให้กำลังของเครื่องลดลง คงเป็นหน้าที่ของทีมในการปรับปรุงเครื่องและพาร์ทเนอร์ในส่วนของน้ำมันของแต่ละทีมที่ต้องปรับหาสูตรที่เหมาะสมกับทีมต่อไป
4ปรับปรุงใหญ่เรื่องความปลอดภัย
ปีนี้ได้มีการปรับโครงสร้างของรถใหม่ เพื่อให้มีความแข็งแรงและปลอดภัยมากขึ้น โดยรถแข่งใต้ข้อกำหนดใหม่ จะสามารถรับการปะทะจากด้านหน้าได้มากขึ้น 15% และรับแรงปะทะจากด้านข้างได้มากกว่าเดิมถึง 50% รวมทั้งมีการปรับตำแหน่งการวางถังน้ำมันใหม่ เพื่อลดโอกาสที่ถังน้ำมันจะแยกออกจากตัวเครื่อง ทำให้น้ำมันรั่วและเกิดไฟไหม้่เวลาที่เกิดอุบัติเหตุ แบบเหตุการณ์ของ Roman Grosjean ที่บาหเรน ปี 2020 ซึ่งทั้งหมดจะทำให้ตัวรถมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณ 5%
อุบัติเหตุของGrosjean ที่มีส่วนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความปลอดภัย
5 รื้อระบบAerodynamic ทั้งยวง เพื่อลด Dirty Air
นับตั้งแต่เปลี่ยนเข้าสู่ยุคเครื่องยนต์ไฮบริดในปี 2014 FIA ต้องการให้การแข่งขันเป็นการแข่งขันในคอนเซปท์ รถที่รวดเร็วที่สุด และข้อกำหนดต่างๆก็ล้วนแต่ออกมาเพื่อส่งเสริมให้รถเร็วขึ้น ปีกหน้าที่มีโครงสร้างซับซ้อน โครงข้างตัวรถ ไปจนถึงปีกหลัง ทั้งหมดถูกสร้างอย่างละเอียด เพื่อให้อากาศที่ไหลเป็นระเบียบ (Laminar air) ไหลผ่านโครงของรถเพื่อสร้างแรงกดให้รถยึดติดกับถนน ขณะเดียวกันก็สร้างลมหมุน เพื่อดันอากาศทีไหลปั่นป่วน(terbulent air) ออกจากตัวรถ ว่ากันว่าหากรถ F1 วิ่งด้วยความเร็วเต็มที่ 350 กม/ชม ระบบ Aerodynamic ของรถสามารถสร้างแรงกดได้ถึง 5G ก็คือรถจะเหมือนหนักขึ้น 5 เท่านั้นเอง ซึ่งแรงกดที่กดตัวรถลงกับถนนนี้ทำให้รถ F1 สามารถเข้าโค้งได้ด้วยความเร็วสูงโดยไม่หลุดโค้ง
ตัวอย่างปีกหน้าของรถในปีที่ผ่านมา
Spoil
การใช้ลมลมหมุนจากปีกหน้าเพื่อกันอากาศปั่นป่วนออกจากตัวรถ
แต่การที่ระบบAerodynamic จะทำงานได้เต็มที่ ต้องอาศัยอากาศที่ไหลอย่างมีระเบียบ แต่เมื่ออยู๋ในการแข่งขันจริง รถที่วิ่งนำจะสามารถใช้ประโยชน์จาก Aerodynamicได้เต็มที่ แต่มันจะสร้างอากาศปั่นป่วนหรือ Dirty air ตามหลังทางที่มันวิ่งแหวอากาศไป ซึ่งรถที่วิ่งตามมาเมื่อต้องวิ่งฝ่าอากาศที่ปั่นป่วนทำให้ระบบAerodynamic ทำงานได้ไม่เต็มที่ ลดแรงกดและเกาะถนนน้อยลง ซึ่งอาจดีในทางตรงแต่เมื่อเข้าโค้ง ก็จะเสี่ยงที่จะหลุดออกจากโค้งได้ง่าย
ทำให้การแข่งขันเกือบทั้งหมด นักแข่งไม่สามารถขับรถจี้กันในช่วงเข้าโค้งได้ เพราะรถคันที่ขับตามอาจเสียแรงกดไปมากจนหลุดออกจากโค้ง โดยมีการคำนวณว่าในปีที่ผ่านมารถคันที่ขับตามจะเสียแรงกด 1/3 หากขับตามคันหน้าที่ระยะ 20 เมตร และเสียแรงกดไปถึงครึ่งหนึ่งหากขับตามคันหน้าที่ระยะ 10 เมตร ทำให้รูปแบบการแซงในช่วงปีที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดเป็นการใช้ Slip stream + DRS ในทางตรงเพื่อเร่งแซง
นั่นนำไปสู่การรื้อระบบAerodynamic ใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนแนวคิดจากรถที่เร็วที่สุด เป็นรถที่แข่งได้สนุกที่สุด การออกแบบเน้นการลด Dirty air ที่รถคันที่นำสร้างเพื่อเปิดโอกาสให้คันที่ตามสามารถขับเข้ามาจี้ได้มากขึ้น โครงสร้างสลับซับซ้อนที่สร้างDirty air มหาศาลของปีกหน้า ปีกหลังถูกเอาออก แทนที่ด้วยรูปทรงที่โค้งมน เรียบง่ายกว่า รวมกับการเพิ่มปีกเหนือล้อหน้า และฝาครอบล้อ ทั้งหมดเพื่อลดการสร้าง Dirty air จากรถคันที่นำหน้า โดยจากการทดสอบ พบว่าจากรูปแบบใหม่นี้ รถคันที่ขับตามจะเสียแรงกดเพียง 4% ที่ระยะ 20 เมตร และ 18% ที่ระยะ 10 เมตร
เปรียบเทียบความแตกต่างของระบบAerodynamic ระหว่างรถปี 2021 และ2022
6การกลับมาของGround Effect
ในยุด 1970-80 ในการแข่ง F1 เคยมีอาการใช้ Ground effect โดยการสร้างSkirt คลุมด้านข้างรถจนเกือบติดพื้น แล้วทำรูปร่างใต้ท้องรถให้คล้ายปีกเครื่องบินกลับหัว เพื่อสร้างแรงกดอากาศต่ำที่ใต้ท้องรถ เพื่อดูดให้ตัวรถติดกับถนน ทำให้สมารถเข้าโค้งด้วยความเร็วสูงมากๆได้
ตัวอย่างของ Lotus-79 ที่ใช้ Ground effect จากการทำท้องรถให้เป็นรูปปีกเครื่องบินกลับหัวและSkirt ยาวเกือบแตะพื้น
แต่เนื่องจากความบอบบางของSkirt ที่อาจแตกหักได้ง่ายหากมีการกระแทกกับรถคันอื่นหรือขอบทาง ซึ่งแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้รถเสียแรงกดอย่างมากจนเกิดอุบัติเหตุรุนแรงหลายครั้ง เทคโนโลยีนี้จึงถูกแบนโดยFIA โดยรถทุกคันต้องมีท้องรถที่เรียบและห้ามมีส่วนSkirt เสริมยื่นลงมา
แต่ในปี 2022 ทาง FIA ได้หันกลับมาใช้Ground effect อีกครั้ง เพราะมันเป็นเทคโนโลยีที่สร้างแรงกดโดยเกิด Dirty Air น้อย โดยทีมสามารถเพิ่มช่องลมที่ใต้ท้องรถเพื่อสร้างความกดอากาศต่ำตามที่ FIA กำหนด แม้จะไม่ไปสุดแบบช่วงปี 70-80 แต่ก็ช่วยลดความสำคัญของปีกหน้าหลังในการสร้างแรงกด(แต่ก่อDirty airมาก) ลงได้
เปรียบเทียบท้องรถปี 2021 กับ 2022
7. ล้อใหม่ ใหญ่ขึ้น
ในปี 2022 ทาง Pirelli ยังเป็นผู้สนับสนุนหลักในส่วนของยางที่ใช้ในการแข่งเหมือเดิม แต่มีการเปลี่ยนจาก ยาง 13 นิ้ว แก้มยางสูง เป็นยาง 18 นิ้ว แกมยา่งเตี้ยพร้อมฝาครอบล้อคาร์บอนไฟเบอร์ ซึ่งโดยรวมทำให้ล้อมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพิ่มจาก 66 ซม. เป็น 72 ซม.
ซึ่งการปรับเป็นยางแก้มเตี้ย แต่ขอบล้อใหญ่ขึ้นพร้อมทั้งฝาครอบล้อ ทำให้ยาแต่ละเส้นมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น โดยคาดกว่าประมาณ 4 กิโลกรัมต่อเส้น และจากการที่เป็นยางแก้มเตี้ย ทำให้โช้คต้องรับภาระในการรับแรงกระแทกมากขึ้น แต่ก็จะทำยางมีการตอบสนองต่อการขับที่ดีกว่า และเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายความร้อน ลดโอกาสที่จะเกิดยางแตกได้มากขึ้น
ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงทั้งหมด ทั้งจากน้ำหนักรถที่มากขึ้น น้ำมันเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนไป ยางที่ใหญ่ขึ้น จึงมีกาารคาดการณ์กันว่า รถแข่งปีนี้น่าจะทำเวลาต่อรอบสนามช้ากว่าในปี 2021 ประมาณ 1-1.5 วินาที แต่ถ้ามันทำให้การแข่งขันสูสีและตื่นเต้นมากขึ้น ก็น่าจะคุ้มค่าที่จะเปลี่ยนแปลง ซึ่งแฟนๆก็คงต้องรอดูกันต่อไป
แก้ไขล่าสุดโดย Call down the thunder เมื่อ Sun Feb 20, 2022 09:46, ทั้งหมด 1 ครั้ง