MUFC บทความเรื่องCounter Pressing
ไม่ว่ายังไง กุนซือเยอรมันยุคนี้ก็ต้องสอดแทรก แท็กติกเคาท์เตอร์เพรสซิ่งลงไปในสนาม วันนี้จึงขอนำเสนอ บทความจากเพจ pass&move
Counter Pressing
=================
#Counter Pressing หรือ Gegenpressing ในภาษาเยอรมัน คือแนวทางการแย่งชิงฟุตบอลกลับมาเล่นให้เร็วที่สุด เมื่อผู้เล่นเกมรุกเสียบอล ซึ่งจริงๆแล้วมันมาจากรากฐานของการเล่นเกมรับและใช้โอกาสสวนกลับ โดยการเพรสซิ่งจะจัดอยู่ในประเภทการเปลี่ยนจากเกมรุกเป็นเกมรับ
Spoil
* สัญญาณที่บ่งบอกต่อการเข้าเพรสซิ่งคู่ต่อสู้
#เพรสซิ่งจากลูกทุ่ม
#เข้าเพรสซิ่ง เมื่อคู่ต่อสู้จ่ายบอลออกพื้นที่ริมเส้น
#เข้าเพรสซิ่ง เมื่อคู่ต่อสู้จ่ายบอลคืนหลัง
#เข้าเพรสซิ่ง เมื่อคู่ต่อสู้อยู่ในอิริยาบถที่หันหน้าเข้าหาประตูตัวเอง
#เข้าเพรสซิ่ง เมื่อกองหลังคู่ต่อสู้จ่ายบอลขวางสนาม
#เข้าเพรสซิ่ง เมื่อคู่ต่อสู้ครองบอลหน้าประตูตัวเอง
#เข้าเพรสซิ่ง เมื่อคู่ต่อสู้อยู่ในวงล้อมของเรา หรือนักเตะเรามีจำนวนที่ได้เปรียบคู่ต่อสู้
#เข้าเพรสซิ่ง เมื่อคู่ต่อสู้เล่นบอลจังหวะแรกเสีย
#เข้าเพรสซิ่งในการบีบให้คู่ต่อสู้เล่นด้วยเท้าที่ไม่ถนัด
*** รูปแบบการ Counter Pressing มีอยู่ 4 รูปแบบ ***

^
^
^
1. Man-oriented pressing การเพรสซิ่งโดยใช้การประกบผู้เล่นเป็นหลัก
#เมื่อเกมรุกเสียบอล ผู้เล่นจะเข้าไปเพรสซิ่งโดยการใช้นักเตะวิ่งเข้าไปประกบผู้เล่นที่ใกล้ตัวให้เร็วที่สุด เพื่อทำการบีบพื้นที่และลดทางเลือกในการจ่ายบอลของคู่ต่อสู้ และผู้เล่นที่ใกล้ฟุตบอลที่สุดเป็นคนเข้าแย่งบอล
#ข้อดี คือ นักเตะจะเข้าใจในรูปแบบนี้ง่าย ไม่มีอะไรที่ซับซ้อนมากนัก แต่ข้อเสียของรูปแบบนี้คือ มีความเสี่ยงในการโดนเอาชนะในสถานการณ์ 1-1 ได้ และฝ่ายรับจะเสียเปรียบ หากมีผู้เล่นน้อยกว่าฝ่ายรุก

^
^
^
2. Space-oriented pressing การเพรสซิ่งด้วยวิธีการเอาชนะในการช่วงชิงพื้นที่เป็นหลัก
#เมื่อเสียบอล ผู้เล่นที่รีบเข้าไปคุมพื้นที่รอบผู้เล่นที่ครองบอลอยู่ โดยไม่จำเป็นต้องประกบตัว 1-1 ซึ่งเป็นการคุมพื้นที่ เพื่อใช้จังหวะดักการจ่ายบอลของคู่ต่อสู้แทนการวิ่งบีบถึงตัว
#ข้อดี คือ เราสามารถควบคุมพื้นที่ได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ผู้เล่นจำนวนมากกว่าคู่ต่อสู้ในพื้นที่นั้น แต่หากทำการบีบพื้นที่ช้าเกินไป อาจจะทำให้คู่ต่อสู้แกะเพรสซิ่งเราได้ และเล่นได้โดยไม่มีความกดดัน

^
^
^
3. Passing lane-oriented pressing การเพรสซิ่งด้วยการปิดช่องการจ่ายบอล
#การเพรสซิ่งด้วยการปิดช่องการจ่ายบอล จะมีรูปแบบที่คล้ายกับ Space-oriented แต่จะเพิ่มตัวละครเพิ่มอีกหนึ่งบทบาท คือ ผู้เล่นที่เสียบอลหรือผู้เล่นอยู่ใกล้ฟุตบอลที่สุดจะเข้าเพรสซิ่งผู้เล่นที่ครองบอล
แล้วผู้เล่นที่เหลือในโซนเพรสซิ่งจะคุมพื้นที่เหมือนรูปแบบ Space-oriented เสมือนเป็นการวางกับดักหรือเป็นเงาปกคลุม (Cover Shadow) ล่อให้คู่ต่อสู้ต้องจ่ายบอลไปในจุดที่เราต้องการ สังเกตได้ว่าผู้เล่นทุกคนจะยืนคุมพื้นที่และปิดทางเลือกการจ่ายบอลไปด้วย เมื่อคู่ต่อสู้จ่ายบอลไปยังตำแหน่งนั้นๆ ก็จะมีผู้เล่นคอยชิงตัดบอลอยู่
#ข้อดี คือ เราสามารถกำหนดทิศทางของฟุตบอลได้ หากคู่ต่อสู้ตกอยู่ในกับดักของเรา แต่ข้อเสียคือ รูปแบบนี้ค่อนข้างซับซ้อนมาก เกิดความผิดพลาดค่อนข้างสูง ซึ่งนักเตะต้องมีความเข้าใจเกมสูงมากและผ่านการฝึกซ้อมอย่างหนัก

^
^
^
4. Ball-oriented pressing การเพรสซิ่งด้วยการวิ่งบีบคนที่ครองลูกฟุตบอล
#เป็นหลักการเพรสซิ่งง่ายๆ ด้วยการเข้าเพรสซิ่งโดยไม่จำเป็นเรื่องการคุมพื้นที่และการประกบตัว 1v1 เมื่อเสียบอลให้กับคู่ต่อสู้ ผู้เล่นจะวิ่งเข้าไปกดดันผู้เล่นที่ครองบอลอยู่ เพื่อบีบให้ผู้เล่นที่ครองบอลต้องเตะบอลทิ้งหรือลดความแม่นยำในการวางบอลของคู่ต่อสู้ได้ ซึ่งวิธีเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในฟุตบอลสมัยใหม่
#ข้อดี คือ เป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย และทำให้เป็นการเร่งความเร็วของเกมมากขึ้น แต่ข้อเสียคือ นักเตะจะเสียพลังงานค่อนข้างมาก

^
^
^
*** การแก้เพรสซิ่งจากคู่ต่อสู้ (Anti pressing) ***
#โดยทั่วไปแล้วการแก้เพรสซิ่งจำเป็นต้องใช้ความสามารถเฉพาะตัวของผู้เล่นเป็นหลัก
#สิ่งที่สำคัญคือ เราต้องมีผู้เล่นที่จ่ายบอลสั้น-ยาวได้ดี มีความแม่นยำ เป็นผู้เล่นที่สามารถจ่ายบอลแนวลึกและแนวกว้างได้ดี
#ต้องมีผู้เล่นที่ครองบอลดี เสียบอลยาก เลี้ยงกินตัวได้ดี สามารถเลี้ยงบอลผ่านผู้เล่นที่อยู่รอบตัวได้
วิธีการแก้เพรสซิ่งด้วยการวิ่งไปช่วยสนับสนุนหรือเพิ่มจำนวนผู้เล่นให้เท่าเทียมคู่ต่อสู้ในพื้นที่
#เมื่อโดนคู่ต่อสู้เข้ามาบีบพื้นที่ ผู้เล่นที่อยู่ใกล้เหตุการณ์ต้องรีบเข้าไปช่วยสนับสนุนเพื่อนร่วมทีม เพื่อทำการเพิ่มทางเลือกให้เพื่อนร่วมทีมในการจ่ายบอลออกจากโซนเพรสซิ่งของคู่ต่อสู้ อาจจะขยับเข้าไปเพื่อทำเป็นรูปสามเหลี่ยมให้เพื่อนร่วมทีมจ่ายบอลได้ง่ายสุด หรือการเพิ่มผู้เล่นเพื่อเข้าช่วยสกรีนทางให้เพื่อนร่วมทีมที่ครองบอลอยู่สามารถเลี้ยงบอลทะลวงพื้นที่โซนเพรสซิ่งได้

^
^
^
*** วิธีการแก้เพรสซิ่งด้วยการจ่ายบอลสั้นสลับกับบอลยาว ***
#หากโดนคู่ต่อสู้เข้าเพรสซิ่ง การจ่ายบอลสั้นสลับบอลยาว เป็นการหนีเพรสซิ่งคู่ต่อสู้ได้อีกวิธี การจ่ายบอลไปมาหรือจ่ายบอลเปลี่ยนแกนไปด้านกว้างซ้ายสลับขวา เพื่อดึงให้คู่ต่อสู้ต้องเคลื่อนที่ตามลูกฟุตบอล ทำให้คู่ต่อสู้วิ่งบีบยากมากขึ้นในการเพรสซิ่งและเสียพลังงานมาก
#การจ่ายบอลคืนหลัง แม้ว่าจะเสี่ยงต่อการโดนเพรสซิ่ง แต่ก็เหมือนเป็นการสร้างสถานการณ์ล่อคู่ต่อสู้ให้เข้ามาเพรสซิ่งสูง เพื่อเปิดพื้นที่หลังไลน์ของคู่ต่อสู้ เมื่อสบโอกาส เราสามารถจ่ายบอลทะลุช่องในแนวลึก เพื่อทำเกมรุกต่อไปได้ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับทักษะของผู้เล่นด้วย หากมีผู้เล่นที่ทักษะไม่ดี ต้องเล่นบอลให้น้อยจังหวะเข้าไว้ และไม่ควรครองบอลไว้กับตัวนานเกินไป

^
^
^
#อีกวิธีคือ ใช้การวางบอลยาวแนวลึก หากเรามีผู้เล่นที่สามารถจ่ายบอลแนวลึกและแนวกว้างได้ดี วางบอลข้ามไลน์พื้นที่เพรสซิ่ง เพื่อให้ผู้เล่นแนวรุกด้านหน้าคอยเก็บบอล
#ทั้งนี้ขึ้นอยู่ที่การฝึกซ้อมและศักยภาพของนักเตะในทีมว่าเหมาะสมกับการเพรสซิ่งรูปแบบใด
ที่มา เพจ pass&move