BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Jul 2010
ตอบ: 145
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:12
ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ
รศ.นพ.นภชาญ เอื้อประเสริฐ อายุรแพทย์สาขาโลหิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนบทความรีวิววัคซีน สื่อสารถึงประชาชน น่าจะตอบหลายคำถามที่มีคนสงสัย ขอแชร์ให้ได้อ่านกันประกอบการตัดสินใจ ป.ล.อาจารย์ฉีดSinovac ไป2เข็มค่ะ


Noppacharn Uaprasert
23 ชม. ·
เมื่อวานพูด COVID-19 vaccine and thrombosis ซึ่งจัดโดยองค์กรแพทย์รพ.จุฬาลงกรณ์ ผมเตรียมเนื้อหา 40 นาทีสำหรับพูดให้บุคลากรทางการแพทย์ของรพ.จุฬาลงกรณ์ฟัง ซึ่งค่อนข้างจะลึกที่สุดตั้งแต่พูดมา พึ่งรู้ตัวก่อนพูดไม่กี่นาทีว่าเปิดให้ประชาชนฟัง สไลด์แก้ไม่ทันละ ปรับการพูดก็แทบไม่ทัน ดังนั้นผมขอสรุปสิ่งที่จะสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปดังนี้ครับ
1. วัคซีนทุกประเภทไม่ว่า Adenovirus vector vaccine ของ AstraZeneca หรือ Johnson and Johnson หรือ mRNA ของ Pfizer หรือ Moderna หรือ inactivated vaccine ของ Sinovac ไม่เพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันทั่วไปทั้ง หลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน และลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดปอด ดังนั้นคนที่มีโรคประจำตัวเคยเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหลอดเลือดดำอุดตันมาก่อนสามารถฉีดวัคซีนได้หมด

2. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับหลอดเลือดอุดตัน โดยเฉพาะที่สมอง ที่เรียกว่า vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VITT) ที่มีรายงานหลังฉีดวัคซีนของ AstraZeneca หรือ Johnson and Johnson นั้น โอกาสเกิดต่ำกว่า อยู่ระหว่าง 1 ต่อ 100,000 ถึง 1 ต่อ 500,000 ภาวะนี้สามารถให้การวินิจฉัยและรักษาได้ด้วยยาที่มีอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นถึงมีโอกาสเกิด แต่เราสามารถให้การดูแลรักษาได้

3. ขอให้กลัวภาวะหลอดเลือดอุดตันหลังเป็นโควิด 19 ให้มากกว่า เพราะติดโควิด 19 มีโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันสูงถึง 1 ใน 7 และมักเป็นหลอดเลือดอุดตันที่รุนแรง ที่รพ.จุฬาฯ มีคนไข้ที่มีหลอดเลือดอุดตันหลังติดโควิด 19 ที่ต้องถูกตัดขาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไป 1 คน ทั้งๆ ที่เราพยายามแก้ไขทุกทางแล้วก็หลีกเลี่ยงการตัดขาไม่ได้

4. วัคซีนทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป แม้แต่ mRNA วัคซีนของ Pfizer หรือ Moderna ก็มีผลข้างเคียงบางอย่างที่พบบ่อยกว่าวัคซีนอื่นๆ เช่น การเกิดการแพ้รุนแรงที่ทำให้ความดันเลือดตก หรือหลอดลมอุดกั้นเฉียบพลันที่เรียกว่า anaphylaxis มีโอกาสเกิด 1 ต่อ 100,000 ถึง 1 ต่อ 400,000 หรือมีรายงานว่าเกิดเกล็ดเลือดต่ำรุนแรงและมีเลือดออกได้เช่นกันโดยมีโอกาสเกิด 1 ต่อ 1,000,000 ถึง 1 ต่อ 2,000,000 แต่ผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิดมีโอกาสเกิดน้อยกว่า 1 ใน 100,000 ดังนั้นแม้จะมีความเสี่ยงก็เป็นความเสี่ยงที่น้อยกว่าการติดโควิด

5. สำหรับ sinovac ที่คนกลัวว่าฉีดแล้วจะเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต ทางสาขาวิชาประสาทวิทยาของ รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้ทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดที่สุดทั้งทำ MRI, MRA และ SPECT imaging ไม่พบว่ามีคนที่เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันเลย พบจำนวนน้อยที่อาจมีหลอดเลือดสมองส่วนปลายหดตัว และแก้ไขด้วยการให้ยาขยายหลอดเลือด และภาวะชาหรืออ่อนแรงกลับมาเป็นปกติหมด แต่โอกาสเกิดปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีนของ Sinovac จนมีปลายหลอดเลือดสมองหดตัวก็เกิดต่ำมากเพียง 3 ใน 10,000 คน

6. อาจมีข่าวว่า มีคนฉีดวัคซีนแล้วเสียชีวิตออกมา (เท่าที่จำได้คือ 3-4 คน) หลังจากมีการฉีดวัคซีนไปแล้วในประเทศไทยมากกว่า 2,000,000 โดส แต่ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าเกิดจากการฉีดวัคซีนโดยตรง
ในสหรัฐอเมริกา ตัวเลขของ CDC หรือ US FDA พบคนอเมริกาเสียชีวิตหลักฉีด mRNA vaccine ของ Pfizer หรือ Moderna 3,400 คน จาก 221 ล้านโดส หรือประมาณ 1 ต่อ 60,000 แต่ภายหลังการทบทวนประวัติทางการแพทย์แล้ว ก็พบว่าน่าจะเกิดจากโรคประจำตัวของคนที่เสียชีวิตมากกว่าเกิดจากการฉีด mRNA vaccine

7. อัตราตายจากโควิดทั่วโลกคือ 1 ต่อ 50 ในประเทศไทยเมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้วยังอยู่ที่ 1 ต่อ 400 อยู่เลย แต่ตอนนี้อยู่ที่ 1 ต่อ 180 แล้ว และหากยังมีผู้ติดเชื้อมากขึ้นอย่างนี้ทุกวัน อัตราการเสียชีวิตก็จะสูงขึ้นอีก ถ้าเอาค่าเฉลี่ยเฉพาะสัปดาห์นี้อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 100 คนแล้ว
สุดท้าย ข้อห้ามอย่างเดียวของการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 คือ ไม่สมัครใจฉีด โรคประจำตัว มะเร็ง อัมพฤกษ์อัมพาต โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฉีดได้หมด
มีคนไข้ผมคนนึงที่เป็น SLE with antiphospholipid syndrom with stroke รักษากันมา 10 ปีแล้ว กินทั้ง steroid, cellcept, warfarin และ aspirin มาถามว่าควรฉีดวัคซีนมั้ย ผมตอบทันทีว่าฉีดเลยทันทีที่ฉีดได้ โรคประตัวที่ว่ามาถ้า ติดโควิดโอกาสเสียชีวิตและหลอดเลือดอุดตันซ้ำสูงมาก ตอนนี้ผมคุมตัวโรคให้สงบได้ด้วยยา แต่เกิดติดโควิดมา ผมอาจคุมตัวโรคและป้องกันหลอดเลือดอุดตันให้ไม่ไหว
ดังนั้นถ้าใครมีคนไข้เป็นโรคที่เบากว่าตัวอย่างโรคที่ผมกล่าวถึงข้างบน หรือมีโรคประจำตัวน้อยกว่าคนไข้ข้างบน แปลว่าฉีดวัคซีนได้หมดครับ

สุดท้ายหากใครสงสัย ผมฉีด Sinovac ครบ 2 เข็มแล้ว ภรรยาฉีด AstraZeneca แล้ว คุณแม่ผมกับแม่ภรรยา ลงทะเบียนฉีดวัคซีนแล้วตั้งแต่วันแรก (ขอกรุณาอย่า drama เรื่อง walk in เมื่อวาน) ใครจะรอวัคซีนทางเลือกก็เป็นสิทธิของท่าน Pfizer หรือ Moderna อีก 3-4 เดือนจะเข้ามาให้ได้ฉีดจริงๆ รึเปล่ายังไม่รู้เลย



ปล. ผมจะตั้งอีกเรื่องนึงในคำตอบ เพื่อให้แบ่งเรื่องอ่านได้ชัดเจนนะครับ

ปล.2 กระทู้นี้ตั้งเพื่อให้เป็นความรู้เพิ่มเติม เพราะเป็ยข้อมูลจากอาจารย์หมอโดยตรว เห็นว่าอ่านได้เข้าใจง่าย เราจะได้เข้าใจถึงภาวะแทรกซ้อน และประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละตัว เพื่อให้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการเลือกว่าอยากจะฉีดวัคซีนชนิดไหน หรืออยากจะรอวัคซีนชนิดไหนในอนาคตในครับ

ปล.3 ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ร้อยละ 90+ อยากฉีดวัคซีนทั้งนั้น แต่ในตอนนี้ ด้วยฝีมือการบริหารงานของรัฐ มันมีข้อจำกัดได้วัคซีนแค่ 2 ตัว เมื่อเราไม่สามารถ ซื้อวัคซีนเองได้ ไปทำให้รัฐฉลาดกว่านี้ก็ไม่ได้ เราก็ต้องตัดสินใจเอาจากข้อมูลและทรัพยากรที่เรามีในตอนนี้ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและคนรอบตัวมากที่สุดไปก่อนนะครับ

ปล.4เดิมผมก็ไม่ค่อยอยากฉีด​เพราะเป็นวัคซีนใหม่​ และคิดว่าตัวเองก็ไม่ได้มีโรคประจำตัวอะไร​ แต่เมื่อการระบาดมันเพิ่มขึ้นและการติดเชื้อรวมถึงคนเสียชีวิต​ กลายเป็นเรื่องใกล้ตัว​ผมก็เลยคิดใหม่​ ถ้ามีญาติผู้ใหญ่เรา​ ติดเชื้อและเสียชีวิต​โดยเฉพาะถ้าเราเป็นต้นเหตุเอง​ คงจะเสียใจไปตลอดชีวิต​
แต่บางทีก็แอบคิดว่าถ้าเราบอกให้เค้าฉีดแ้วเค้ามีผลข้างเคียง​จะเป็นยังไง​สุดท้ายก็คงต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง
แก้ไขล่าสุดโดย kobune เมื่อ Fri May 14, 2021 15:04, ทั้งหมด 3 ครั้ง
3
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออนไลน์
นักบอลถ้วย ข.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 31 Jul 2009
ตอบ: 3620
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:20
Top Comment [RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
1. ปชช ไม่ได้ไม่อยากฉ๊ดวัคซีน แต่ ปชช ต้องการวัคซีนที่มีหลายทางเลือกมากกว่านี้

2. ปชช ทุกคนรับรู้ว่าวัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยง แต่ถ้าทุกตัวมีความเสี่ยงเเล้ว เราก็อยากฉีดตัวที่มันดี มีประสิทธิภาพ แล้วมันก็จะวนไป ข้อ 1.
ออนไลน์
นักบอล ดิวิชั่น 1
Status: ...
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 21 May 2011
ตอบ: 3515
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:13
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
Spoil
kobune พิมพ์ว่า:
รศ.นพ.นภชาญ เอื้อประเสริฐ อายุรแพทย์สาขาโลหิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เขียนบทความรีวิววัคซีน สื่อสารถึงประชาชน น่าจะตอบหลายคำถามที่มีคนสงสัย ขอแชร์ให้ได้อ่านกันประกอบการตัดสินใจ ป.ล.อาจารย์ฉีดSinovac ไป2เข็มค่ะ


Noppacharn Uaprasert
23 ชม. ·
เมื่อวานพูด COVID-19 vaccine and thrombosis ซึ่งจัดโดยองค์กรแพทย์รพ.จุฬาลงกรณ์ ผมเตรียมเนื้อหา 40 นาทีสำหรับพูดให้บุคลากรทางการแพทย์ของรพ.จุฬาลงกรณ์ฟัง ซึ่งค่อนข้างจะลึกที่สุดตั้งแต่พูดมา พึ่งรู้ตัวก่อนพูดไม่กี่นาทีว่าเปิดให้ประชาชนฟัง สไลด์แก้ไม่ทันละ ปรับการพูดก็แทบไม่ทัน ดังนั้นผมขอสรุปสิ่งที่จะสื่อสารให้ประชาชนทั่วไปดังนี้ครับ
1. วัคซีนทุกประเภทไม่ว่า Adenovirus vector vaccine ของ AstraZeneca หรือ Johnson and Johnson หรือ mRNA ของ Pfizer หรือ Moderna หรือ inactivated vaccine ของ Sinovac ไม่เพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันทั่วไปทั้ง หลอดเลือดสมองอุดตัน หลอดเลือดหัวใจอุดตัน หรือหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน และลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดปอด ดังนั้นคนที่มีโรคประจำตัวเคยเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือหลอดเลือดดำอุดตันมาก่อนสามารถฉีดวัคซีนได้หมด
2. ภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับหลอดเลือดอุดตัน โดยเฉพาะที่สมอง ที่เรียกว่า vaccine-induced immune thrombotic thrombocytopenia (VITT) ที่มีรายงานหลังฉีดวัคซีนของ AstraZeneca หรือ Johnson and Johnson นั้น โอกาสเกิดต่ำกว่า อยู่ระหว่าง 1 ต่อ 100,000 ถึง 1 ต่อ 500,000 ภาวะนี้สามารถให้การวินิจฉัยและรักษาได้ด้วยยาที่มีอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นถึงมีโอกาสเกิด แต่เราสามารถให้การดูแลรักษาได้
3. ขอให้กลัวภาวะหลอดเลือดอุดตันหลังเป็นโควิด 19 ให้มากกว่า เพราะติดโควิด 19 มีโอกาสเกิดหลอดเลือดอุดตันสูงถึง 1 ใน 7 และมักเป็นหลอดเลือดอุดตันที่รุนแรง ที่รพ.จุฬาฯ มีคนไข้ที่มีหลอดเลือดอุดตันหลังติดโควิด 19 ที่ต้องถูกตัดขาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วไป 1 คน ทั้งๆ ที่เราพยายามแก้ไขทุกทางแล้วก็หลีกเลี่ยงการตัดขาไม่ได้
4. วัคซีนทุกชนิดมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป แม้แต่ mRNA วัคซีนของ Pfizer หรือ Moderna ก็มีผลข้างเคียงบางอย่างที่พบบ่อยกว่าวัคซีนอื่นๆ เช่น การเกิดการแพ้รุนแรงที่ทำให้ความดันเลือดตก หรือหลอดลมอุดกั้นเฉียบพลันที่เรียกว่า anaphylaxis มีโอกาสเกิด 1 ต่อ 100,000 ถึง 1 ต่อ 400,000 หรือมีรายงานว่าเกิดเกล็ดเลือดต่ำรุนแรงและมีเลือดออกได้เช่นกันโดยมีโอกาสเกิด 1 ต่อ 1,000,000 ถึง 1 ต่อ 2,000,000 แต่ผลข้างเคียงของวัคซีนแต่ละชนิดมีโอกาสเกิดน้อยกว่า 1 ใน 100,000 ดังนั้นแม้จะมีความเสี่ยงก็เป็นความเสี่ยงที่น้อยกว่าการติดโควิด
5. สำหรับ sinovac ที่คนกลัวว่าฉีดแล้วจะเป็นอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต ทางสาขาวิชาประสาทวิทยาของ รพ.จุฬาลงกรณ์ ได้ทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดที่สุดทั้งทำ MRI, MRA และ SPECT imaging ไม่พบว่ามีคนที่เกิดหลอดเลือดสมองอุดตันเลย พบจำนวนน้อยที่อาจมีหลอดเลือดสมองส่วนปลายหดตัว และแก้ไขด้วยการให้ยาขยายหลอดเลือด และภาวะชาหรืออ่อนแรงกลับมาเป็นปกติหมด แต่โอกาสเกิดปฏิกิริยาหลังฉีดวัคซีนของ Sinovac จนมีปลายหลอดเลือดสมองหดตัวก็เกิดต่ำมากเพียง 3 ใน 10,000 คน
6. อาจมีข่าวว่า มีคนฉีดวัคซีนแล้วเสียชีวิตออกมา (เท่าที่จำได้คือ 3-4 คน) หลังจากมีการฉีดวัคซีนไปแล้วในประเทศไทยมากกว่า 2,000,000 โดส แต่ปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าเกิดจากการฉีดวัคซีนโดยตรง
ในสหรัฐอเมริกา ตัวเลขของ CDC หรือ US FDA พบคนอเมริกาเสียชีวิตหลักฉีด mRNA vaccine ของ Pfizer หรือ Moderna 3,400 คน จาก 221 ล้านโดส หรือประมาณ 1 ต่อ 60,000 แต่ภายหลังการทบทวนประวัติทางการแพทย์แล้ว ก็พบว่าน่าจะเกิดจากโรคประจำตัวของคนที่เสียชีวิตมากกว่าเกิดจากการฉีด mRNA vaccine
7. อัตราตายจากโควิดทั่วโลกคือ 1 ต่อ 50 ในประเทศไทยเมื่อ 3 สัปดาห์ที่แล้วยังอยู่ที่ 1 ต่อ 400 อยู่เลย แต่ตอนนี้อยู่ที่ 1 ต่อ 180 แล้ว และหากยังมีผู้ติดเชื้อมากขึ้นอย่างนี้ทุกวัน อัตราการเสียชีวิตก็จะสูงขึ้นอีก ถ้าเอาค่าเฉลี่ยเฉพาะสัปดาห์นี้อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 100 คนแล้ว
สุดท้าย ข้อห้ามอย่างเดียวของการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 คือ ไม่สมัครใจฉีด โรคประจำตัว มะเร็ง อัมพฤกษ์อัมพาต โรคหัวใจ โรคปอด โรคตับ โรคไต โรคภูมิคุ้มกันตัวเอง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฉีดได้หมด
มีคนไข้ผมคนนึงที่เป็น SLE with antiphospholipid syndrom with stroke รักษากันมา 10 ปีแล้ว กินทั้ง steroid, cellcept, warfarin และ aspirin มาถามว่าควรฉีดวัคซีนมั้ย ผมตอบทันทีว่าฉีดเลยทันทีที่ฉีดได้ โรคประตัวที่ว่ามาถ้า ติดโควิดโอกาสเสียชีวิตและหลอดเลือดอุดตันซ้ำสูงมาก ตอนนี้ผมคุมตัวโรคให้สงบได้ด้วยยา แต่เกิดติดโควิดมา ผมอาจคุมตัวโรคและป้องกันหลอดเลือดอุดตันให้ไม่ไหว
ดังนั้นถ้าใครมีคนไข้เป็นโรคที่เบากว่าตัวอย่างโรคที่ผมกล่าวถึงข้างบน หรือมีโรคประจำตัวน้อยกว่าคนไข้ข้างบน แปลว่าฉีดวัคซีนได้หมดครับ
สุดท้ายหากใครสงสัย ผมฉีด Sinovac ครบ 2 เข็มแล้ว ภรรยาฉีด AstraZeneca แล้ว คุณแม่ผมกับแม่ภรรยา ลงทะเบียนฉีดวัคซีนแล้วตั้งแต่วันแรก (ขอกรุณาอย่า drama เรื่อง walk in เมื่อวาน) ใครจะรอวัคซีนทางเลือกก็เป็นสิทธิของท่าน Pfizer หรือ Moderna อีก 3-4 เดือนจะเข้ามาให้ได้ฉีดจริงๆ รึเปล่ายังไม่รู้เลย



ปล. ผมจะตั้งอีกเรื่องนึงในคำตอบ เพื่อให้แบ่งเรื่องอ่านได้ชัดเจนนะครับ  
 


อยากแนะนำให้เคาะเว้นบันทัดหน่อยครับอ่านยากมากเลย
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Jul 2010
ตอบ: 145
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:15
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
ยาวมากแต่สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจตัวเลขประสิทธิภาพวัคซีนอยากให้อ่านให้จบว่า ทำไมผมถึงบอกว่าการเอาตัวเลขประสิทธิภาพของวัคซีนว่าป้องกัน symptomatic infection หรือการติดเชื้อที่มีอาการของโควิด 19 มาเปรียบเทียบว่าวัคซีนตัวไหนมีประสิทธิภาพดีกว่ากันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และจริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่ก็ไม่เข้าใจว่า ที่บอกว่ Pfizer มีประสิทธิภาพ 95% AstraZeneca มีประสิทธิภาพ 70% และ Sinovac มีประสิทธิภาพ 50% จริงๆ แล้วตัวเลขนี้คืออะไร


อันแรกเลยคือ ที่บอกว่า Sinovac มีประสิทธิภาพ 50% เป็นตัวเลขเฉพาะในบราซิลที่ทำการศึกษาใน healthcare worker แต่ถ้าเป็นการศึกษาของ Sinovac ที่ตุรกีตัวเลขจะอยู่ที่ 80%

คราวนี้ต้องเข้าใจว่าตัวเลขเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่า Pfizer มีประสิทธิภาพ 95% คือ คนที่ฉีดวัคซีนของ Pfizer 100 คนติดเชื้อ 5 คน (5%) ส่วนคนที่ไม่ฉีดวัคซีนของ Pfizer 100 คนติดเชื้อทั้ง 100 คน (100%) ดังนั้นวัคซีนของ Pfizer มีประสิทธิภาพ 100-5 = 95% แต่สิ่งที่ใช้คิดคำนวณประสิทธิภาพของวัคซีนคือ relative risk reduction คือ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างคนที่ฉีดวัคซีนและไม่ฉีดวัคซีนแล้ว สามารถลดการติดเชื้อสัมพัทธ์ได้กี่ % เช่น จากการศึกษาของ Pfizer ในคนทั่วไปพบว่าคนที่ฉีดวัคซีนของ Pfizer 17411 คนติดเชื้อโควิดแบบมีอาการ 8 คน หรือ 0.046% ส่วนคนที่ฉีดวัคซีนหลอก 17511 คน ติดเชื้อโควิดแบบมีอาการ 162 คน หรือ 0.925% ดังนั้น relative risk reduction = (0.925-0.046)/0.925 x 100 = 95.0% ซึ่งวิธีนี้ใช้คำนวนประสิทธิภาพวัคซีนที่รายงานในผลการวิจัยของทุกวัคซีนทุกชนิด


ถ้าเปรียบเทียบกับวัคซีนของ AstraZeneca ที่ทำการศึกษาในบุคคลทั่วไปและในบุคลากรทางการแพทย์จะพบว่าคนที่ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca 5807 รายติดเชื้อโควิดแบบมีอาการ 30 คน หรือ 0.517% ส่วนคนที่ฉีดวัคซีนหลอก 5829 ราย ติดเชือโควิดแบบมีอาการ 101 คน หรือ 1.733% ดังนั้น relative risk reduction = (1.713-0.517)/1.713 x 100 = 70.2%


ส่วนวัคซีนของ Sinovac เฉพาะข้อมูลที่ได้จากบราซิลซึ่งทำการศึกษาเฉพาะในบุคลากรทางการแพทย์ พบว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่ฉีดวัคซีนของ Sinovac 4953 รายติดเชื้อโควิดแบบมีอาการ 85 ราย หรือ 1.716% ส่วนคนที่ฉีดวัคซีนหลอก 4780 รายติดเชื้อ 168 ราย หรือ 3.45% ทำให้ relative risk reduction = (3.45-1.716)/3.45 x 100 = 50.3%


ดังนั้นจะบอกว่าตัวเลข 95% ดีกว่า 70% และดีกว่า 50% แบบตรงๆ ชัดๆ ไม่ได้ การศึกษาของ AstraZeneca และ Sinovac ทำการศึกษาในประชากรที่มีการติดเชื้อสูงกว่า จะเห็นได้ว่าคนที่ฉีดวัคซีนหลอกในการศึกษา Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac ติดเชื้อไม่เท่ากันคือ 0.925%, 1.733% และ 3.45% การศึกษาทำในช่วงที่มีการระบาดต่างกัน และประชากรที่ศึกษาก็ต่างกัน การศึกษาของ AstraZeneca และ Sinovac รวมบุคลากรทางแพทย์ด้วย


ถ้าผมจะเล่นกลทางสถิติ ผมก็จะบอกว่า หากเรามาดู absolute risk reduction หรือการเปรียบความแตกต่างของการติดเชื้อในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนและไม่ได้ฉีดวัคซีน ซึ่งในกรณีของ Pfizer จะมี absolute risk reduction = 0.925-0.046 = 0.879% ถ้าเปรียบเทียบกับ absolute risk reduction ของ AstraZeneca = 1.733-0.517 = 1.216% และของ Sinovac = 3.45-1.716 = 1.734% อันนี้ถ้าแปลตามตัวอักษรก็คือ วัคซีนของ Pfizer ลดการติดเชื้อที่มีอาการได้ 0.879% ของ AstraZeneca ลดการติดเชื้อที่มีอาการได้ 1.216% และของ Sinovac ลดการติดเชื้อที่มีอาการได้ 1.734%


ถ้าจะเล่นกลทางสถิติเพิ่ม เอาไปคำนวน number needed to treat หรือในที่นี้คือ ต้องฉีดวัคซีนกี่คนถึงจะป้องกันติดเชื้อที่มีอาการได้ 1 คน ซึ่งคำนวนจาก 100/absolute risk reduction จะได้ตัวเลขจำนวนคนที่ต้องฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการได้ 1 คน คือ 100/0.879 = 114 (Pfizer), 100/1.216 = 83 (AstraZeneca) และ 100/1.734 = 58 (Sinovac) อย่างนี้จะบอกได้มั้ยว่า NNT ของ Sinovac ดีที่สุด คำตอบคือบอกไม่ได้ การเอา NNT เฉยๆ บอกว่าความคุ้มค่าหรือประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ กรณีของ Pfizer ต้องแปลว่า ในประชากรที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนที่มีอัตราการติดเชื้อประมาณ 0.9% ต้องฉีดวัคซีนของ Pfizer 114 คนถึงป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการได้ 1 คน หรือในประชากรที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนที่มีอัตราการติดเชื้อประมาณ 1.7% ต้องฉีดวัคซีนของ AstraZeneca 83 คนถึงป้องกันการติดเชื้อได้ 1 คน และสำหรับ Sinovac ต้องแปลว่า ในประชากรที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนที่มีอัตราการติดเชื้อประมาณ 3.5% ต้องฉีดวัคซีนของ Sinovac 58 คนถึงป้องกันการติดเชื้อได้ 1 คน


ดังนั้นอย่าได้เอาเป็นเอาตายกับตัวเลขประสิทธิภาพที่ป้องกันการติดเชื้อที่มีอาการที่วัดจากการคำนวณ relative risk reduction ในประชากรศึกษาที่ต่างกัน ในช่วงเวลาที่ต่างกัน ในประเทศที่ต่างกัน และในช่วงที่มีอัตราการระบาด และจำนวนสัดส่วน variant ของเชื้อที่แตกต่างกัน และหากไปดูรายละเอียดการให้นิยามของคำว่า symptomatic infection ยังไม่เหมือนกันในแต่ละ trial ด้วยซ้ำ
แม้ผมจะเชื่อว่าในทางทฤษฎี mRNA vaccine ของ Pfizer น่าจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า Adenovirus vector ของ AstraZeneca และดีกว่า inactivated virus vaccine ของ Sinovac แต่ไม่ได้หมายความว่าตัวเลข 95%, 70% หรือ 50% คือ ตัวเลขที่สามารถเทียบประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อได้แบบตรงไปตรงมาแบบที่เข้าใจ ที่สำคัญคือ หากประสิทธิภาพของวัคซีนสามารถลดความรุนแรงของโรค ลดการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือลดอัดตราการตายได้ ก็สามารถลดผลกระทบอย่างรุนแรงที่มีต่อระบบสาธารณสุขโดยรวมได้แล้ว


ปล.1 ผมทำตัวเลขสรุปของวัคซีนที่มีคนพูดถึงมากๆ ในประเทศไทยอย่าง Pfizer, Moderna, AstraZeneca, Johnson and Johnson และ Sinovac มาให้ดูว่า ไอ้ตัวเลขที่เรียกว่าประสิทธิภาพกี่ % นั้นมันได้มาอย่างไร ทำไมถึงไม่ควรนำมาเทียบกันตรงๆ


ปล.2 เซียนทางสถิติทั้งหลายอาจจะด่าผมก็ได้ว่า ผมมาคำนวณ absolute risk reduction กับ number needed to treat ทำไม ใครจะสนใจตัวเลขพวกนี้ ที่ทำก็แค่อยากแสดงให้ดูว่า การเล่นกับสถิตินั้นสามารถนำไปเป็นเครื่องมือหลอกลวงให้ไขว้เขวสำหรับคนที่ไม่เข้าใจสถิติจริงๆ ได้
ปล.3 ผมเชื่อว่าประชาชนทั่วไปอาจไม่เข้าใจ แต่บุคลากรทางการแพทย์ก็ควรหยุดเล่นตัวเลข 95%, 70%, 50% อย่างเอาเป็นเอาตายได้แล้ว เพราะจริงๆ แล้วการลด symptomatic infection ควรเป็น primary outcome รึเปล่ายังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่เลย
ปล.4 การแปลผลการประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนแต่ละตัวจริงๆ เขียนได้หลายหน้า และต้องอ่านละเอียดมาก อย่าเอาแค่ตัวเลขตัวเดียวมาตัดสินทุกอย่าง





https://www.picz.in.th/image/PkVYPb

ปล ทำรูปตารางไม่ขึ้น
แก้ไขล่าสุดโดย kobune เมื่อ Fri May 14, 2021 14:30, ทั้งหมด 3 ครั้ง
4
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
นักบอลถ้วย ข.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 31 Jul 2009
ตอบ: 3620
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:20
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
1. ปชช ไม่ได้ไม่อยากฉ๊ดวัคซีน แต่ ปชช ต้องการวัคซีนที่มีหลายทางเลือกมากกว่านี้

2. ปชช ทุกคนรับรู้ว่าวัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยง แต่ถ้าทุกตัวมีความเสี่ยงเเล้ว เราก็อยากฉีดตัวที่มันดี มีประสิทธิภาพ แล้วมันก็จะวนไป ข้อ 1.
ออฟไลน์
ดาวซัลโวยุโรป
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 27 Mar 2020
ตอบ: 25224
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:26
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
เรื่องวัคซีนนี่งงจริงๆพูดแต่ละคนไม่เหมือนกันเลย


แต่ที่เรายังสงสัยกันอยุ่ทุกวันนี้คือ ฉีดซ้ำกันสองตัวได้มั๊ยนี่ละ มีวิจัยออกมาแน่รึยังว่าฉีดซ้ำได้ปลอดภัย

ไม่งั้นคนมันก้รอตัวที่ดีกว่าทั้งนั้น
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

เมื่อไหร่โดนบังคับให้ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด ถือว่าเราตายไปแล้ว :D
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Jul 2010
ตอบ: 145
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:29
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
minyoyoza พิมพ์ว่า:
1. ปชช ไม่ได้ไม่อยากฉ๊ดวัคซีน แต่ ปชช ต้องการวัคซีนที่มีหลายทางเลือกมากกว่านี้

2. ปชช ทุกคนรับรู้ว่าวัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยง แต่ถ้าทุกตัวมีความเสี่ยงเเล้ว เราก็อยากฉีดตัวที่มันดี มีประสิทธิภาพ แล้วมันก็จะวนไป ข้อ 1.  



ปัญหาคือ เราบังคับรัฐไม่ได้ไงครับ รพ เกชนทั้งหลายก็อยากเอาเข้ามาใจจะขาด แต่ในเมื่อมันทำอะไรไม่ได้ เราก็คงต้องชั่งใจเอา ว่าจะเลือกทางไหนดีนะครับ
รอไปก่อน จนกว่าจะได้วัคซีนตัวดีๆ ที่เราต้องการมา ซึ่งไม่รู้เมื่อไหร่ กับรัฐบาลนี้ และอาจมีโอกาสติดโรคก่อนได้ โโยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง
หรือเลือกตัวที่มี แต่เราคิดว่าเรารับกับความเสี่ยงได้ จากวัคซีน
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 14700
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:30
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
เรื่องอื่นไม่ติดใจนะ

แต่คาใจเรื่องที่บอกว่าเอา %efficacy มาเทียบกันไม่ได้

ทำใน Healthcare Worker แล้วยังไง? สุดท้ายก็เป็นกันเทียบกันเองระหว่างได้วัคซีนกับ placebo นิ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 08 May 2010
ตอบ: 93
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:31
ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ
minyoyoza พิมพ์ว่า:
1. ปชช ไม่ได้ไม่อยากฉ๊ดวัคซีน แต่ ปชช ต้องการวัคซีนที่มีหลายทางเลือกมากกว่านี้

2. ปชช ทุกคนรับรู้ว่าวัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยง แต่ถ้าทุกตัวมีความเสี่ยงเเล้ว เราก็อยากฉีดตัวที่มันดี มีประสิทธิภาพ แล้วมันก็จะวนไป ข้อ 1.  

นั่นแหละครับที่ประชาชนอยากจะสื่อสารไปยังภาครัฐและหมอๆทั้งหลาย
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
แข้งเจลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 30 Oct 2014
ตอบ: 12269
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:32
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
ตอนนี้ บริษัทผม ประกันสังคมได้สอบถามมาละใครต้องการเข้ารับการฉีดวัคซีนบ้าง ผมปฏิเสธไปแล้ว ไม่ใช่ไม่อยากฉีดแต่ขอดูแนวโน้มวัคซีนทางเลือกอีกซักนิด ถ้าหากมองไม่เห็นอนาคตน่าจะเข้ามา ก็คงต้องฉีดตัว Sinovac ไปก่อน
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะตำบล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 02 Sep 2009
ตอบ: 359
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:35
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
เกิดเป็นคนไทยรัฐบาลให้อะไรก็ต้องยอมรับ ห้ามโต้เถียง
วัคซีนเลือกตัวห่วยมา คนไทยก็ต้องฉีด
ถนนสร้างมาห่วย ก็ต้องใช้
ฟุตบาทห่วยยังไง ก็เดินต่อไป อย่าบ่น
ฝุ่น PM 2.5 ก็สูดๆไป อย่าเรื่องมาก

ทุกคนอยากฉีดวัคซีนกันทุกคนละครับ แต่แทนที่จะเลือกตัวดี หรือสร้างแรงจูงใจดีๆให้คนฉีด
ตอนนี้คนไม่เชื่อมั่นในตัวรัฐบาล บางคนเลยไม่อยากฉีด

0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Jul 2010
ตอบ: 145
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:35
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
Kwan Ji-suk พิมพ์ว่า:
minyoyoza พิมพ์ว่า:
1. ปชช ไม่ได้ไม่อยากฉ๊ดวัคซีน แต่ ปชช ต้องการวัคซีนที่มีหลายทางเลือกมากกว่านี้

2. ปชช ทุกคนรับรู้ว่าวัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยง แต่ถ้าทุกตัวมีความเสี่ยงเเล้ว เราก็อยากฉีดตัวที่มันดี มีประสิทธิภาพ แล้วมันก็จะวนไป ข้อ 1.  

นั่นแหละครับที่ประชาชนอยากจะสื่อสารไปยังภาครัฐและหมอๆทั้งหลาย  



จากการที่ฟังหลายๆคนออกมาพูด ผมว่าคุณหมอทั้งหลายน่าจะทราบประเด็นนี้ดีนะครับ ว่าประชาชนอยากได้ตัวเลือกที่ดีกว่านี้ รวมถึงตัวคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์ทั้้งหลายด้วย

แต่มองในมุมกลับนะครับ ขนาดหมอและบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มีตัวเลือกเลย เพราะรัฐมันห่วย เค้าก็ต้องจำใจใช้เท่าที่มีไปก่อน เหมือนในข่าวที่เวลาใส่ชุดดูแลคนไข้ ชุดป้องกันทั้งหลาย เมื่อไม่พอ เค้าก็ใส่ชุดกันฝนแทนพอกล้อมแกล้ม เพราะยังดีกว่าไม่มีใส่อะไรป้องกันเลย
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 14700
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:37
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
kobune พิมพ์ว่า:
Kwan Ji-suk พิมพ์ว่า:
minyoyoza พิมพ์ว่า:
1. ปชช ไม่ได้ไม่อยากฉ๊ดวัคซีน แต่ ปชช ต้องการวัคซีนที่มีหลายทางเลือกมากกว่านี้

2. ปชช ทุกคนรับรู้ว่าวัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยง แต่ถ้าทุกตัวมีความเสี่ยงเเล้ว เราก็อยากฉีดตัวที่มันดี มีประสิทธิภาพ แล้วมันก็จะวนไป ข้อ 1.  

นั่นแหละครับที่ประชาชนอยากจะสื่อสารไปยังภาครัฐและหมอๆทั้งหลาย  



จากการที่ฟังหลายๆคนออกมาพูด ผมว่าคุณหมอทั้งหลายน่าจะทราบประเด็นนี้ดีนะครับ ว่าประชาชนอยากได้ตัวเลือกที่ดีกว่านี้ รวมถึงตัวคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์ทั้้งหลายด้วย

แต่มองในมุมกลับนะครับ ขนาดหมอและบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มีตัวเลือกเลย เพราะรัฐมันห่วย เค้าก็ต้องจำใจใช้เท่าที่มีไปก่อน เหมือนในข่าวที่เวลาใส่ชุดดูแลคนไข้ ชุดป้องกันทั้งหลาย เมื่อไม่พอ เค้าก็ใส่ชุดกันฝนแทนพอกล้อมแกล้ม เพราะยังดีกว่าไม่มีใส่อะไรป้องกันเลย  


ผมมองว่า แทนที่จะมาโหมกดดัน ปชช ให้ฉีดเท่าที่มี ทำไมไม่ใช้เสียงที่ดังกว่าต่อรองกับรัฐให้เร่งหาวัคซีนดีๆมา น่าจะเป็นประโยชน์กว่านะครับ
4
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Jul 2010
ตอบ: 145
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:38
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
overpower34 พิมพ์ว่า:
เกิดเป็นคนไทยรัฐบาลให้อะไรก็ต้องยอมรับ ห้ามโต้เถียง
วัคซีนเลือกตัวห่วยมา คนไทยก็ต้องฉีด
ถนนสร้างมาห่วย ก็ต้องใช้
ฟุตบาทห่วยยังไง ก็เดินต่อไป อย่าบ่น
ฝุ่น PM 2.5 ก็สูดๆไป อย่าเรื่องมาก

ทุกคนอยากฉีดวัคซีนกันทุกคนละครับ แต่แทนที่จะเลือกตัวดี หรือสร้างแรงจูงใจดีๆให้คนฉีด
ตอนนี้คนไม่เชื่อมั่นในตัวรัฐบาล บางคนเลยไม่อยากฉีด

 



ผมก็นั่งด่าทุกวันครับ 55 ก็มันห่วยจริง ไม่ให้ด่าก็ไม่รุ้ว่าจะทำยังไง

แต่ด่าไป ตอนนี้ก็ไม่มีวัคซีนทางเลือกให้เราอยู่ดี ก็ต้องใช้ตามสภาพที่มี ผมเห้นหมอบางคนก็พิมพ์ว่ามีโล่ห์ไม้ ก็ยังดีกว่าไม่มีโล่ห์เลย เค้าก็ยอมๆ ฉีดไปก่อน
ถ้ารัฐเค้ายังดึงเช็ง ไปเรื่อยๆ ถึงปีหน้า ไม่อนุมัติซะอย่าง เราก็ทำอะไรไม่ได้อะครับ นอกจากมีปัจจัยพอ บินไปฉีดที่อื่นแทน
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 Jul 2010
ตอบ: 145
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:40
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
mmdsadd พิมพ์ว่า:
kobune พิมพ์ว่า:
Kwan Ji-suk พิมพ์ว่า:
minyoyoza พิมพ์ว่า:
1. ปชช ไม่ได้ไม่อยากฉ๊ดวัคซีน แต่ ปชช ต้องการวัคซีนที่มีหลายทางเลือกมากกว่านี้

2. ปชช ทุกคนรับรู้ว่าวัคซีนทุกชนิดมีความเสี่ยง แต่ถ้าทุกตัวมีความเสี่ยงเเล้ว เราก็อยากฉีดตัวที่มันดี มีประสิทธิภาพ แล้วมันก็จะวนไป ข้อ 1.  

นั่นแหละครับที่ประชาชนอยากจะสื่อสารไปยังภาครัฐและหมอๆทั้งหลาย  



จากการที่ฟังหลายๆคนออกมาพูด ผมว่าคุณหมอทั้งหลายน่าจะทราบประเด็นนี้ดีนะครับ ว่าประชาชนอยากได้ตัวเลือกที่ดีกว่านี้ รวมถึงตัวคุณหมอและบุคลากรทางการแพทย์ทั้้งหลายด้วย

แต่มองในมุมกลับนะครับ ขนาดหมอและบุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มีตัวเลือกเลย เพราะรัฐมันห่วย เค้าก็ต้องจำใจใช้เท่าที่มีไปก่อน เหมือนในข่าวที่เวลาใส่ชุดดูแลคนไข้ ชุดป้องกันทั้งหลาย เมื่อไม่พอ เค้าก็ใส่ชุดกันฝนแทนพอกล้อมแกล้ม เพราะยังดีกว่าไม่มีใส่อะไรป้องกันเลย  


ผมมองว่า แทนที่จะมาโหมกดดัน ปชช ให้ฉีดเท่าที่มี ทำไมไม่ใช้เสียงที่ดังกว่าต่อรองกับรัฐให้เร่งหาวัคซีนดีๆมา น่าจะเป็นประโยชน์กว่านะครับ  




ผมเชื่อว่าหมอพูดกับรัฐไปแล้วครับ ไม่ว่าจะเป็นคณบดี อธิการ หมอโรคติดเชื้อ มันต้องมีคนรู้จักระดับคนใหญ่คนโตทั้งนั้นครับ แต่หมอไม่มีอำนาจรัฐและกฏหมายอยู่ในมือนะครับ พูดไปแล้ว รัฐไม่ทำ อนุทินไม่ทำ หมอก็ทำอะไรไม่ได้
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ค.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Dec 2015
ตอบ: 3895
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 14, 2021 14:40
[RE: ข้อมูลวัคซีน จากอาจารย์หมอ โรคเลือดที่จุฬา ครับ]
อะข้อมูลจากจุฬาแล้วดูข้อมูลจาก WHO กันบ้าง (ก๊อปของเก่ามาเล่าใหม่)

เปรียบเทียบให้เลยตามการวิเคราะห์ของWHO (หาเปเปอของwhoเจอแค่4ตัวนี้ Pfizerหาเปเปอแบบเดียวกันไม่เจอ)

Sinovac
1.มีความมั่นใจระดับสูงว่าเมื่อได้รับ2โดสจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ในผู้ใหญ่(18-59ปี)
2.มีความมั่นใจระดับปานกลางในเรื่องของผลข้างเคียงในผู้ใหญ่(18-59ปี)
3.มีความมั่นใจระดับปานกลางว่าเมื่อได้รับ2โดสแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ในผู้สูงอายุ(60ปี+)
4.มีความมั่นใจระดับต่ำในเรื่องของผลข้างเคียงในผู้สูงอายุ(60ปี+)
5.มีความมั่นใจระดับปานกลางเมื่อได้รับ2โดสจะสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง
6.มีความมั่นใจระดับต่ำในเรื่องผลข้างเคียงในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง

Spoil
https://cdn.who.int/media/docs/default-source/immunization/sage/2021/april/5_sage29apr2021_critical-evidence_sinovac.pdf  


Sinopharm
1.มีความมั่นใจระดับสูงว่าเมื่อได้รับ2โดสจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ในผู้ใหญ่(18-59ปี)
2.มีความมั่นใจระดับปานกลางในเรื่องของผลข้างเคียงในผู้ใหญ่(18-59ปี)
3.มีความมั่นใจระดับต่ำว่าเมื่อได้รับ2โดสแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ในผู้สูงอายุ(60ปี+)
4.มีความมั่นใจระดับต่ำมากในเรื่องของผลข้างเคียงในผู้สูงอายุ(60ปี+)
5.มีความมั่นใจระดับต่ำมากเมื่อได้รับ2โดสจะสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง
6.มีความมั่นใจระดับต่ำมากในเรื่องผลข้างเคียงในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง

Spoil
https://cdn.who.int/media/docs/default-source/immunization/sage/2021/april/2_sage29apr2021_critical-evidence_sinopharm.pdf  


Moderna
1.มีความมั่นใจระดับสูงว่าเมื่อได้รับ2โดสจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ในผู้ใหญ่(18-64ปี)
2.มีความมั่นใจระดับปานกลางในเรื่องของผลข้างเคียงในผู้ใหญ่(18-64ปี)
3.มีความมั่นใจระดับสูงว่าเมื่อได้รับ2โดสแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ในผู้สูงอายุ(65ปี+)
4.มีความมั่นใจระดับปานกลางในเรื่องของผลข้างเคียงในผู้สูงอายุ(65ปี+)
5.มีความมั่นใจระดับปานกลางเมื่อได้รับ2โดสจะสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง
6.มีความมั่นใจระดับต่ำในเรื่องผลข้างเคียงในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง

Spoil
https://cdn.who.int/media/docs/default-source/immunization/sage/2021/january/3-evidence-assessment_covid19_moderna_revised_final.pdf?sfvrsn=61ab4400_8
 


Aztra Zeneca
1.มีความมั่นใจระดับสูงว่าเมื่อได้รับ2โดสจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ในผู้ใหญ่(18-64ปี)
2.มีความมั่นใจระดับปานกลางในเรื่องของผลข้างเคียงในผู้ใหญ่(18-64ปี)
3.มีความมั่นใจระดับต่ำว่าเมื่อได้รับ2โดสแล้วจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ในผู้สูงอายุ(65ปี+)
4.มีความมั่นใจระดับต่ำในเรื่องของผลข้างเคียงในผู้สูงอายุ(65ปี+)
5.มีความมั่นใจระดับปานกลางเมื่อได้รับ2โดสจะสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง
6.มีความมั่นใจระดับต่ำในเรื่องผลข้างเคียงในผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยง

Spoil
https://cdn.who.int/media/docs/default-source/immunization/sage/2021/february/3---sage_8-feb_evidence-assessment_azd1222_-final.pdf?sfvrsn=ce0bcfb1_8  



แต่ตอนนี้เลือกไม่ได้ก็ไม่รู้จะดูไปทำไมเนอะ ฮ่าๆ งั้นดูแค่AztraกับSinovacแล้วตัดสินใจกันเอาเองละกัน อ่านหลายๆอย่างแล้วตัดสินใจกันเอาเอง
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel