Clubhouse ห้อง “ริมน้ำ – อาจารย์ X นักเรียนแพทย์ : Role Model or Fear Model”
สรุปคร่าว ๆ จาก clubhouse ห้อง “ริมน้ำ – อาจารย์ X นักเรียนแพทย์ : Role Model or Fear Model”
• เป็นเวทีที่นักศึกษาแพทย์และอาจารย์จากมหาลัยแพทย์ริมน้ำมาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
• ปัญหาคร่าว ๆ ที่ list มาประกอบด้วย การถูกคุกคามทางเพศ และ วัฒนธรรมกินหัวของอาจารย์ที่มีต่อนักศึกษาแพทย์ (นศพ.)
• การถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ ในประเด็นนี้นักศึกษาออกมาเล่าเรื่องที่ตนเองเคยถูกคุกคามทางเพศจากเพื่อนและร้องเรียนไปยังคณะแต่คณะเองนิ่งเฉย หรือไม่ได้ติดตามอย่างจริงจัง ซ้ำยังบอกว่า “อยากให้ให้อภัยกัน”
• “วัฒนธรรมกินหัว” จากรุ่นพี่และอาจารย์ วัฒนธรรมกินหัวหมายถึง วัฒนธรรมอำนาจนิยมในโรงเรียนแพทย์
• เช่น อาจารย์และรุ่นพี่มีอำนาจเหนือนักเรียนคนอื่นๆ “น้องต้องฟังพี่เสมอ” หมอคนหนึ่งแชร์ว่าตอนตนเองเรียนแพทย์ประจำบ้าน มีวันนึงที่ตอบคำถามที่หัวหน้านักเรียนแพทย์ประจำบ้านตอบไม่ได้ อ.เลยบอกว่า “ทำแบบนี้ไม่ดีกับเธอนะ ทีหลังตอบได้ก็อย่าตอบ เดี๋ยวพี่เขาเสียหน้า”
• วิธีการเรียนการสอนที่มีวัฒนธรรมความรุนแรง ผ่านการใช้คำพูดและการปฏิบัติที่มีทั้งการทารุณกรรมทางจิตใจเช่น เรียกนศพ.คนหนึ่งว่า “ไอ้อ้วน ไอ้หมูตอนมึงอ่านรายงานแบบนี้ได้ยังไงวะ” จนทำให้นักศึกษาคนนั้นกลัวทุกครั้งเวลาเดินผ่าน ward ที่ไปเทรนมาและไม่อยากตื่นไปเรียนเลย
• มีการละเลยทอดทิ้ง เช่นการคัดเลือกการเข้าเรียนต่อที่มีอคติ มีคนนึงยกประเด็นว่าเพื่อนตนเองถูกปฏิเสธการศึกษาต่อแพทย์ประจำบ้านเนื่องจาก “แสดงออกทัศนคติทางการเมืองใน twitter” และอ.คนดังกล่าวตามไป lobby โรงเรียนแพทย์อื่นไม่ให้รับหมอคนนี้เข้าเรียนต่อด้วย ซึ่งเขาเห็นว่าไม่มีใครควรเลือกถูกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งความคิดเชื่อทางการเมืองที่ต่างออกไป
• อ.หลายท่านที่อยู่ก็ได้มีโอกาสชี้แจงนโยบายต่าง ๆ อ.บอกว่าคณะกำลังดำเนินการนู่นนี่ อ.มักบอกว่า “เด๋วเก็บประเด็นไปและดำเนินการต่อ” “คณะได้ดำเนินการหลายอย่างมากกว่าในอดีตแล้ว” แต่นักศึกษามีประเด็นอยู่ที่ว่า “คณะมักบอกว่าเราเดินมาไกลกว่าในอดีตแต่ไม่ได้ดูเลยว่าคนอื่นเขาเดินไปถึงไหน แล้วไม่ได้คิดว่าเราควรจะไปกว่านี้ยังไงดี” มีประโยคหนึ่งที่จึ๊กนะคือ “ดูเหมือนอาจารย์จะทำอะไรมาเยอะมากนะคะกับปัญหาพวกนี้ แต่ปัญหากลับเหมือนเดิม งั้นมันควรเปลี่ยนวิธีการมั้ยคะ”
• ในนั้นมีวัฒนธรรมการกดขี่และวงล้อความรุนแรงที่วนลูป เช่นการยอมรับและสร้างความชอบธรรมให้กับความรุนแรงผ่านวาทกรรม “No pain no gain” “พี่ ๆ และอาจารย์ยังผ่านมาได้เลย ทำไมเรื่องแค่นี้รุ่นน้องยังผ่านไม่ได้” ทำให้ผู้ถูกกระทำหลายคนเติบโตมาเป็นผู้กระทำรุ่นน้องอีกครั้ง
• ประเด็นนี้หลายคนออกมาแย้งด้วยชุดความคิดใหม่ที่ว่า “No pain ก็ Gain ได้จ้า” พร้อมเสนอทางเลือกว่าเราสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุขได้ เพราะตัววิชาหรือบรรยากาศอื่นในการเรียนก็เครียดพออยู่แล้ว ดังนั้นอาจารย์และระบบการสนับสนุนควรช่วยเหลือให้นศพ. มีสภาพแวดล้อมการเรียนที่ encourage เขาให้ได้เรียนอย่างมีความสุขและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียน
• ปัญหาพวกนี้คณะรับรู้ เพราะมีอบรมพวกวิธีการสอน การจีดการความโกรธให้อาจารย์ มีการอบรมอาจารย์ใหม่ให้เป็นผู้ช่วยอาจารย์ก่อน แต่นักศึกษาบอกว่า “จากที่สังเกตอ.รุ่นใหม่ๆ ไม่มีปัญหาครับ ส่วนใหญ่ที่ยังกินหัวเด็กคืออาจารย์อาวุโส”
• ผลจากวัฒนธรรมแบบนี้ส่งผลให้นักศึกษาเป็นโรคทางจิตเวชโดยเฉพาะโรคซึมเศร้าที่เกิดจากระบบและวัฒนธรรมการเรียนการสอน หลายคนเลือกจบชีวิต หลายคนต้อง off training หรือต้องออกจากการเป็นนักศึกษาแพทย์ไป
• มีคนนึงขึ้นมาพูดเป็นพี่ของนักศึกษาแพทย์ที่ออกจากการเรียนไปเพราะเป็นโรคซึมเศร้า พาไปหาจิตแพทย์ที่ริมน้ำเพราะคิดว่าใช้สิทธินักศึกษาแต่จิตแพทย์กลับปฏิเสธว่าสาเหตุของโรคไม่ได้เกิดจากวัฒนธรรมและระบบการเรียน ทำให้ไม่เกิด peer-support และที่สุดน้องก็ไม่ไหว เลยต้องออก เค้าเน้นย้ำว่า “ระบบการเรียนมันสร้างความบอบช้ำทางจิตใจต่อนักเรียนอย่างมาก”
• moderator ก็ขอแชร์ว่าตนก็เคยเป็นซึมเศร้าเพราะเรียนหมอ เคยถึงขนาดที่จะกระโดดตึกแล้ว และทิ้งท้ายว่า “มัน suffer จริง ๆ ครับกับการเรียนที่นี่”
• มีคนหนึ่งออกมาสะท้อนว่า “จิตเวชควรเป็นที่พึ่งสุดท้ายให้กับนักเรียนแพทย์” แต่ในทางกลับกันกลับพบกรณีที่จิตเวชวินิจฉัยผิดพลาดหรือถูกสงสัยว่าวินิจฉัยผิดพลาดโดยมีเจ้าตัวหรือเพื่อนเจ้าตัวขึ้นมาพูด เคสแรกคือถูกวินิจฉัยผิดและถูกปฏิเสธการรักษาจากโรงเรียนแพทย์นั้น กับกรณีที่สองคือกล่าวว่าเพื่อนถูกวินิจฉัยว่าเป็นจิตเภทจนต้องออกจากการเรียน แต่เพื่อน ๆ รอบตัวมั่นใจว่าเพื่อนตนเองไม่น่าจะเป็น
• สิ่งที่น่าตกใจตอนท้ายคืออ.ท่านหนึ่งบอกว่า 90% ของที่นศพ.แชร์มา อ.ไม่เคยรู้เรื่องมาก่อน แต่ดีที่ได้มาฟังเพราะก่อนจะแก้ปัญหาต้องยอมรับก่อนว่า “มันมีปัญหา”
• เมื่อเกิดเหตุแล้วนักศึกษารายงานไปยังคณะ แต่ไม่ได้ถูกดำเนินการและถูกติดตามอย่างใกล้ชิด ทั้งการสอบ และการร้องเรียนอาจารย์ แต่ประเด็นคือกระบวนการสอบสวนตั่งต่าง ก็ favor อ.ผู้ใหญ่ บางเคสแชร์ว่าตัวเองร้องเรียนนะ แต่กลับถูกมองว่า “เป็นตัวปัญหา” ซะเอง ในที่สุดคนร้องกลับถูกสอบค่าาา ทำให้นศพ.ไม่มั่นใจในระบบการร้องเรียนและตรวจสอบ ในส่วนนี้ในห้องเสนอว่า กระบวนการร้องเรียนและถูกสอบสวนควรดำเนินการโดยบุคคลที่สามที่สามารถประกันความโปร่งใสในการตรวจสอบและความปลอดภัยของผู้ร้องเรียน
• มีท่านหนึ่งออกมาแชร์ช่วงท้ายว่าตอนเรียนริมน้ำเค้าอินมากกับวัฒนธรรม “อาวุโส” แต่เมื่อได้ไปเรียนต่อเมกาชีว้าวมากพร้อมตั้งคำถามกับตัวเอง “ชั้นมาจาก Jurassic park ป่ะแว้”
• นศพ.คนหนึ่งออกมาพูดประเด็นที่ตนเองถูกเรียกไปตักเตือนและถูกตรวจสอบกรณีแสดงความคิดเห็นทางการเมืองและใช้คำหยาบในสื่อออนไลน์ โดยที่เขียนมี bio ว่าเรียนแพทย์ที่ริมน้ำ เธอพูดเรื่อง Tone policing ที่มักถูกเอามาเป็นข้ออ้างในการตำหนินักศึกษามากกว่า focus ที่เนื้อความ เธอบอกว่ามีคนเตือนเธอว่า “ระวังโดนกาดาว และมี black list ที่กองกิจฯ นะ”
• อ.ท่านหนึ่งตอบว่าการตักเตือนเป็นไปด้วยความ “ปรารถนาดี” เพราะคำนึงถึงนักศึกษาและชื่อเสียงของสถาบัน นักศึกษาท่านนั้นเลยถามกลับว่าแล้วกรณีที่ “อ.บางคนใช้ชื่อริมน้ำไปเคลื่อนไหวทางการเมืองเหมือนกันนี่อ.คิดยังไง” อ.เลยตอบอื้อๆ อ้าๆ ไป เลยมีอีกคนขึ้นมาแชร์ว่า “จริงๆ พอเราพูดถึง role model นั้นตอนนี้น้องๆ นศพ.รุ่นใหม่เค้าก็แสดงความคิดเห็นทางการเมืองตามรอยอ. และรุ่นพี่ที่ได้ออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองสมัยนู้นนั่นแหละ”
• ท่านหนึ่งให้ความเห็นว่า “ถ้าจะให้นศพ.มี เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเป็นก้าวแรกจากการออกจากวัฒนธรรมความกลัว เราต้องกลับไปทบทวนคำสั่งหนึ่งของคณะที่ส่งผลกระทบกับคนที่ไม่ใช่ “สลิ่ม” ที่ขัดขวาง freedom of speech”
• สุดท้ายโรงเรียนแพทย์ควรเริ่มด้วยการต้องมองคนเท่ากันก่อน ให้มองนศพ.เป็นเพื่อนร่วมงานไม่ใช่เบ้ หรือจุดต่ำสุดของห่วงโซ่อาหาร
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10221022857495907&id=1076461668