ตั้งแต่ เริ่มติดตามเชียร์สโมสรลิเวอร์พูลมาเกือบ 40-45 ปี ตั้งแต่ยุคปลายปรมาจารย์ บิล แชงคลีย์ มาถึงยุคครองเจ้ายุโรป ท่านเซอร์บ็อบ เพลสลีย์ ( เติมเองไม่เคยจะได้ยศ ท่านเซอร์ สักที) ยุคโจ ฟาแกน แชมป์สามถ้วยในหนึ่งฤดูกาล ยุคท่านเซอร์เคนนี่ เดลกลิช ทำทีมคว้าดับเบิ้ลแชมป์ (ด.1+เอฟเอคัพ) เป็นครั้งแรกของสโมสร ยุคตกต่ำสุด ๆ แกรม ซูเนสส์ ยุคสไปร์สซี่บอย รอย อีแวนส์ และเชรา อุลลิเยร์ ยุคราฟา เบติเนซ คว้าแชมป์ยุโรป สมัยที่ 5 .....และมาจนถึงปัจจุบัน ยอดกุนซือสมองเพชรเจอเก้น คล็อปป์ นักเตะของผมส่วนมากจะผ่านการพิสูจน์ตัวตนที่แท้จริง ว่าเป็นสุดยอดนักเตะและคว้าแชมป์กับสโมสรมามากมายหลายถ้วยประดับสโมสร ส่วนนักเตะในยุคปัจจุบันจะต้องยืนระยะพิสูจน์ตัวตนให้ได้เหมือนนักเตะรุ่นพี่ ในอนาคตอาจจะเข้ามาแทนที่นักเตะที่เป็นตำนานเหล่านี้ ได้ (นักเตะในอดีตบางคน ก็ศึกษาดูเทปวิดีโอเก่า ๆ หรือดูในยูทุป เป็นวิทยาทาน)
ระบบการเล่น 4-2-3-1
ประตู บรู๊ซ กร็อบเบลาร์ (1981-1994) จำนวนนัด 628 นัด
ชีวิตกับลิเวอร์พูล ผู้รักษาประตูในตำนานของทีม อีกคนหนึ่ง ที่ต้องทำหน้าที่ต่อจาก เรย์ คลีเมนซ์ ในปี 1981 ตลอดระยะเวลา 13 ปีในถิ่นแอนฟิลด์ ของนายทวารรายนี้ เขาลงเฝ้าเสาให้กับทีมหงส์แดงทั้งหมด 628 นัด มากสุดเป็นอันดับ 9 ของสโมสร พาทีมคว้าโทรฟี่ได้ 19 ใบ หลังจากนั้นก็ย้ายสโมสรเป็นว่าเล่น จนกระทั่งแขวนสตั๊ดในปี 2007
ชีวิตหลังแขวนสตั๊ด : ได้รับงานผู้จัดการทีมกับหลายสโมสรในประเทศแอฟริกาใต้ แถมเจ้าตัวยังเคยไปออกรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการทำอาหารด้วย และล่าสุด เจ้าตัวเป็นโค้ชผู้รักษาประตูให้กับสโมสร อ็อตตาวา ฟูรี่ ใน แคนาดา ร่วมกับ พอล เดลกลิช ที่เป็นเทรนเนอร์อยู่
แบ๊คซ้าย อลัน เคนเนดี้ (1977-1985) จำนวนนัด 347 นัด 21 ประตู
ในโลกลูกหนัง อาจมีกองหลังหลายคน ที่คว้าแชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ ได้ 2 สมัย แต่จะมีสักกี่คน ที่สามารถทำประตูชัยให้ทีมได้ทั้ง 2 ครั้ง ที่ Lverpool เรามี อลัน เคนเนดี้ แชมป์ดิวิชั่น 1 (5 สมัย ) 1978-79 , 1979-80 , 1981-82 , 1983-84 แชมป์ ลีกคัพ ( 4 สมัย ) 1980-81, 1981-82 , 1982-83 , 1983-84 แชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ (2 สมัย ) 1981, 1984 อลัน เคนเนดี้ ถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญที่จะแก้ปัญหาให้กับ ลิเวอร์พูล ในตำแหน่งแบ็คซ้าย ซึ่งตัวเขาเองเป็นกำลังสำคัญของทีมที่ร่วมคว้าแชมป์ต่าง ๆ มากมาย ร่วมกับทีม ด้วยฉายา " บาร์นี่ย์ รับเบิล" นิคเนมที่เพื่อน ๆ และแฟนบอลตั้งให้ ด้วยบุคลิกลักษณะคล้ายกับ ฟลินต์สโตนส์ เด็กชายที่เกิดใน ชันเดอแลนด์ ตัวเขาเองได้เล่นให้กับทีมนิวคาสเซิล ตัวเขาเองได้ลงสนามพบกับทีมลิเวอร์พูลในเกมชิงชนะเลิศเอฟ.เอ.คัพ ในปี 1974 เกมนัดดังกล่าว หงส์แดง เป็นฝ่ายคว้าชัยชนะได้ หลังจากนั้น 4 ปีต่อมา เขาก็ย้ายมาร่วมทีมหงส์แดงในปี 1978 ด้วยมูลคำ 330,000 ปอนด์ (ถือว่าเป็นค่าตัวนักเตะที่มหาศาลมากในยุคนั้น)
แบ๊คขวา ฟิล นีล ( 1974-85) จำนวนนัด 648 นัด 60 ประตู
เกิด 20 กุมภาพันธ์ 1951 ไอร์เชสเตอร์ นอร์ธแธมป์ตันเชียร์ ติดทีมชาติอังกฤษ 50 ครั้ง ค่าตัวเพียง 66,000 ปอนด์ ที่บ๊อบ เพสลี่ย์ จ่ายให้กับนอร์แธมป์ตัน ทีมจากดิวิชั่น 4 ทำให้ลิเวอร์พูลได้นักเตะในตำแหน่งแบ็คขวาที่ดีที่สุดของอังกฤษในเวลาต่อมา นีลเป็นผู้เล่นที่ถือได้ว่า โชว์ฟอร์มได้คงเส้นคงวามากที่สุดคนหนึ่ง ตลอดระยะเวลา ที่อยู่กับลิเวอร์พูล เขาพลาดการลงสนามเพียง 4 นัดเท่านั้น ตลอดการลงสนาม 648 นัดของฟิล นีล เขาสามารถทำประตูได้มากถึง 60 ประตู การสังหารจุดโทษเขาเป็นที่หนึ่ง ลิเวอร์พูล ยกหน้าที่เพชฌฆาตให้กับเขา เพราะเห็นว่าเขาเป็นคนที่เยือกเย็นพอที่จะรับหน้าที่นี้ และ ลูกที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขามากที่สุดก็คือ นัดชิงชนะเลิศยูโรเปี้ยน คัพ ที่พบกับ กลัดบัค รวมไปถึงนัดชิงยูโรเปี้ยน คัพในปี 1984 ที่พบกับโรม่า อีกด้วย ซึ่งทั้ง 2 นัดนี้ นีลรับหน้าที่สังหาร จุดโทษไม่พลาด พาทีมเป็นแชมป์ได้อย่างยอดเยี่ยม
เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ อลัน แฮนเซ่น (1977-1991) จำนวนนัด 620 นัด 14 ประตู
ชีวิตกับลิเวอร์พูล : เซ็นเตอร์แบ็คฝีเท้าเจ๋งในยุค 70-80 แฮนเซ่นลงเล่นทั้งหมด 620 นัดกับลิเวอร์พูล และทำได้ 14 ประตู คว้าแชมป์ลีกทั้งหมด 8 สมัย, เอฟเอ คัพ 2 ครั้ง, ลีกคัพ 4 สมัยติด และ ยูโรเปี้ยน คัพ อีก 3 หน ก่อนที่จะตัดสินใจแขวนสตั๊ดไปเมื่อเดือนมีนาคม ปี 1991 หลังจากเคนนี่ เดลกลิช ประกาศลาออกจากตำแหน่งกุนซือเพียงแค่ 1 เดือนเท่านั้น
ชีวิตหลังแขวนสตั๊ด : หลังจากแขวนสตั๊ดไปแล้ว เขาหายไปนาน 3 ปี และในปี 1994 ได้รับงานเป็นกูรูลูกหนังให้กับ บีบีซี โดยเริ่มจากการเป็นกูรูทางวิทยุ ก่อนที่จะมาเป็นในรายการ match of the day ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังเขียนคอลัมน์ลงในหนังสือพิมพ์ เดลี เทเลกราฟ และยิ่งไปกว่านั้น เจ้าตัวยังเคยผ่านงานโฆษณามาแล้วด้วย
เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ เอ็มลีน ฮิวจ์ส (1967-1979) จำนวนนัด 665 นัด
ติดทีมชาติ 62 เกม ในฐานะกัปตัน 23 เกม ชนะ 11เสมอ 9 แพ้ 3 เอมลีน ฮิวจ์ กลายเป็นกัปตันทีมลิเวอร์พูล คนแรกและคนเดียวจนถึงตอนนี้ ที่ได้เป็นผู้ชูถ้วย บิ๊กเอียร์ สองปีติดต่อกัน ภาพสุดประทับใจของสาวกหงส์แดง เมื่อเจ้าม้าบ้า เอมลีน ฮิวจ์ อดีตกัปตันทีมมีอาการบาดเจ็บหนัก สุดยอดกุนซือ บ็อบ เพสลีย์ ได้แบกแข้งจอมทุ่มเทรายนี้เดินออกมาเพื่อทำการปฐมพยาบาล นี่คือภาพที่อยู่ในความทรงจำของแฟนบอลหงส์แดงในยุคนั้น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่ากุนซือรายนี้ รักนักเตะมาก และทุกคนก็ทุ่มเทเพื่อกุนซือรายนี้ จนทำให้ทีมประสบความสำเร็จกลายเป็นทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุโรปช่วงยุค 70,80 รูปปั้นบ๊อบ เพสลีย์ ที่กำลังแบกเอมลีน ฮิวจ์ ได้ถูกติดตั้งที่หน้าสนามแอนฟิลด์ ณ ปัจจุบัน
กองกลาง สตีเว่นส์ เจอร์ราด (1998-2015) จำนวนนัด 710 นัด 186 ประตู
ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณ อะไรมาก ติดทีมชาติอังกฤษ 114 นัด 21 ประตู กับลิเวอร์พูล ชนะเลิศเอฟเอคัพ ฤดูกาล 2000-01, 2005-06, ลีกคัพ ฤดูกาล 2000-01, 2002-03, 2011-12 เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ ปี 2001, 2006, ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ฤดูกาล 2004-05, ยูฟ่าคัพ ฤดูกาล 2000-01 ยูฟ่าซูเปอร์คัพ ปี 2001, 2005
กองกลาง แกรม ซูเนสส์ (1998-2015) จำนวนนัด 359 นัด 55 ประตู
ซูเนสส์ ถ้าเป็นนักแสดงคงเล่นได้บทเดียวคือบู๊ล้างผลาญ จานแตก แผ่นดินแยก กำแพงพัง กะละมังหม้อไห กระจายกระจุย ถ้าอยากดูความนุ่มนวลชวนฝัน ละเมียดละไม ไปหาดูจากคนอื่นครับ ซูอี้ ศิษย์เมอร์ซี่ คนนี้ไม่มีให้ดูแน่นอนแกรม ซูเนสส์ หนึ่งในผู้เล่นชุดแชมป์ยุโรป 3 สมัยและแชมป์ลีกอีก 5 สมัย เขาคนนี้ถือเป็นแดนกลางคนสำคัญที่มีจิตวิญญาณความเป็นผู้นำสูงมากในการพาทีมก้าวเข้าหาความสำเร็จ โดย ซูเนสส์ ลงวาดลวดลายในแอนฟิลด์ ทั้งหมด 359 นัดและสามารถยิงได้ 55 ประตู
ปีกซ้าย จอห์น บาร์นส์ ปีกนิลกาฬ (1987-1997) จำนวนนัด 407 นัด 108 ประตู
อีกคน ไม่ต้องบรรยายสรรพคุณมากสำหรับปีกนิลกาฬผู้นี้ เชื่อว่าแฟนลิเวอร์พูลคงรู้กันดี อดีตนักเตะวัตฟอร์ดคนนี้ย้ายเข้ามาสู่ทีมในปี 1987 ด้วยค่าตัว 900,000 ปอนด์ และเป็นตำนานอีกคนหนึ่งของสโมสรในเวลาต่อมา "จอห์น บานส์" ลงสนามทั้งหมด 407 นัด ด้วยพรสวรรค์ ทักษะ ความเร็ว และความสามารถในการลากเลื้อยที่พริ้วไหว ทำให้ปีกชาวจาไมก้าคนนี้ กลายเป็นปีกที่ดีที่สุดของประวัติศาสตร์สโมสร ยากจะหาใครมาเปรียบได้ ผลงานที่ผ่านมากับสโมสรลิเวอร์พูล - แชมป์ ดิวิชั่น หนึ่ง 2 สมัย : (1987-88, 1989-90) - แชมป์ เอฟเอ คัพ 2 สมัย : (1988-89, 1991-92) - แชมป์ ลีก คัพ 1 สมัย : (1994-95) - แชมป์ เอฟเอ ชาริตี้ ชิลด์ 3 สมัย : (1988, 1989, 1990) ผลงานส่วนตัว - นักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของพีเอฟเอ 1 สมัย : (1988) - นักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีจากผู้สื่อข่าวกีฬาฟุตบอล 2 สมัย : (1988, 1990) - ทีมยอดเยี่ยมแห่งปีของพีเอฟเอ 3 สมัย : (1987-88, 1989-90, 1990-91) - ดาวซัลโวของดิวิชั่นหนึ่ง 1 สมัย - เข้าร่วมหอเกียรติยศฟุตบอลอังกฤษ : (2005)
ปีกขวา บิลลี่ ลิดเดิ้ล (1939-1961) จำนวนนัด 492 นัด 215 ประตู
"บิลลี่ ลิดเดิ้ล" ปีกชาวสก็อตแลนด์ ขวัญใจชาวเดอะค็อปยุคโบราณเจ้าของฉายา “Liddellpool” คนนี้ลงสนามทั้งหมด 492 นัดและสามารถทำประตูได้ถึง 215 ประตู ด้วยพรสวรรค์ที่เปี่ยมล้นสมบูรณ์แบบทำให้เขากลายเป็นตำนานตัวจริงของโลกคนหนึ่งเลยก็ว่าได้
กองหน้า ท่านเซอร์เคนนี่ เดลกลิช (1977-1990) จำนวนนัด 515 นัด 172 ประตู
"เคนนี่ เดลกลิช" ด้วยประตูรวม 172 ประตูจาก 515 นัดที่ลงเล่น “King Kenny” หรือราชันแห่งแอนฟิลด์เป็นคู่หูสุดอันตรายในแดนหน้าคู่กับ Ian Rush เขาเป็นยอดอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบของทีมผู้ซึ่งเคยถูกชาวเดอะค็อปโหวตให้เป็นนักเตะที่ดีที่สุดตลอดกาลในปี 2006 มาแล้ว เกียรติประวัติตอนเป็นนักเตะ ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 อังกฤษ 6 สมัย: 1978-79, 1979-80, 1981-82, 1982-83, 1983-84, 1985-86 เอฟเอคัพ 1 สมัย: 1985-86 ลีกคัพ 4 สมัย: 1980-81, 1981-82, 1982-83, 1983-84 เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 7 สมัย: 1976-77, 1978-79, 1979-80, 1981-82, 1985-86, 1987-88, 1988-89 ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 3 สมัย: 1977-78, 1980-81, 1983-84 ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 1 สมัย: 1976-77 เป็นผู้จัดการทีม ลิเวอร์พูล (1985–1991, 2011–2012)
ฟุตบอลลีกดิวิชัน 1 อังกฤษ 3 สมัย: 1985-86, 1987-88, 1989-90 เอฟเอคัพ 2 สมัย: 1985-1986, 1988-89
ลีกคัพ 1 สมัย: 2011-12 เอฟเอคอมมิวนิตีชีลด์ 4 สมัย: 1986-87, 1988-89, 1989-90, 1990-91
ศูนย์หน้า เอียน รัช เพชฌฆาตติดหนวด (1980-1996) จำนวนนัด 660 นัด 346 ประตู
ชีวิตกับลิเวอร์พูล : ดาวยิงเจ้าของฉายา “เพชฌฆาตติดหนวด” เริ่มต้นชีวิตนักเตะในถิ่นแอนฟิลด์ เมื่อปี 1980 แต่ในปี 1986 ย้ายไปเล่นให้ยูเวนตุส แต่ในฤดูกาลแรกที่ย้ายมาอิตาลี ทางยูเว่ปล่อยให้ลิเวอร์พูลยืมตัวไปก่อน และกลับมาช่วยม้าลายในฤดูกาลถัดมา แต่ในปี 1988 ก็ย้ายกลับมาเล่นให้ลิเวอร์พูล อีกครั้ง ลงเล่นทั้งหมด 660 นัด ทำได้ถึง 346 ประตู
ชีวิตหลังแขวนสตั๊ด : รัชผันตัวเองมาเป็นโค้ชกับสโมสรเชสเตอร์ ซิตี้ สโมสรแรกของเขาในชีวิตนักเตะ เมื่อฤดูกาล 2004-05 ทว่าสุดท้ายเจ้าตัวก็ลาออกในที่สุด ต่อมาได้เป็นกูรูให้กับสถานีโทรทัศน์ชื่อดังต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น espn, สกายสปอร์ต หรือแม้กระทั่ง lfctv ก่อนที่ล่าสุด จะหันมารับบทเป็นฑูตให้กับโรงเรียนสอนฟุตบอลของลิเวอร์พูล ผลงานในฐานะผู้เล่น แชมป์ลีกสูงสุด ฤดูกาล 1981-1982, 1982-1983, 1983-1984, 1985-1986 และ 1989-1990 (ลิเวอร์พูล) แชมป์เอฟเอคัพ ปี 1986, 1989, 1992 แชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ (ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก) ปี 1984 แชมป์ลีกคัพ ปี 1981, 1982, 1983, 1984, 1995 แชมป์แชริตี้ ชิลด์ ปี 1982, 1986 1989, 1990 สกรีน สปอร์ต ซูเปอร์ คัพ 1987 นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของพีเอฟเอ 1984 นักฟุตบอลยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวอังกฤษ 1984 รางวัลรองเท้าทองคำ 1984