[RE: พี่เต๋อ นวพล เจอดราม่าเองซะแล้ว]
ผมชอบความเห็นหนึ่งในเฟสมาก เลยเอามาฝาก
Trin Tuchinda ตัวเลขที่เอามาเป็นเรื่องปกติครับ แต่เป็นเทคนิคทางสถิติที่ใช้ทำให้เราสับสนและเข้าใจกันไปว่าเป็นรายได้ของคนกรุงเทพจริงๆ เพราะคนส่วนใหญ่ขาดความเข้าใจเรื่องที่มาของภาษี
ในความเป็ฯจริงสัดส่วน รายได้จากภาษีในประเทศไทย เก็บได้จาก ภาษีมูลค่าเพิ่ม 55% ภาษีสรรพสามิต 20% และที่เหลือ 25% เป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีในที่นี้เกือบทั้งหมดเกิดที่จุดบริโภค(ผู้ซื้อหรือผู้ขาย) แต่ไปนำส่งรวมที่สำนักงานใหญ่ซึ่งอยู่กทม ทำให้ตัวเลขจากกทมสูงผิดปกติ ซื้อของที่เชียงรายนำส่งสำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพตัวเลขก็ไปรวมกันที่กรุงเทพเท่านั้นเอง
ตัวเลขที่เอามาใช้วัดได้จริงๆคือ GDP และ งบการใช้เงินต่อหัวมากกว่าตามรายงานของ wolrdbank สรุปคือ
ทุกๆ 100 บาทที่รัฐบาลนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ จะไปให้
กรุงเทพ 72 บาท
ภาคกลาง 7 บาท
ภาคเหนือ 7 บาท
ภาคอีสาน 6 บาท
ภาคใต้ 8 บาท
ในขณะที่ 100 บาทที่หามาได้นี้ กรุงเทพ สร้างได้ 26 บาท
นี่คือตัวเลขที่สรุปมาจาก worldbank และ คนไทยเราเอามาทำสถิติให้ดูง่ายๆอีกหลายช่องทาง
ยังไม่นับรวมโครงการหลักๆหมื่นล้านที่มาลงกรุงเทพก่อน ที่ใกล้ก็เช่น กรณีทางเดินเล่นข้างแม่น้ำเจ้าพระยา 14,000 ล้าน ซัพพอร์ตห้างใหญ่ ซึ่งถ้าตามข่าวจะทราบทิศทางการใช้เงินว่าจริงๆแล้ว งบระดับนี้ ในรัฐบาลชุดหนึ่งจะไปลงภูมิภาคอื่นๆ แต่ อีกชุดหนึ่งจะเอากลับถมกรุงเทพ มันเป็นเรื่องการเมือง และการเป็นเจ้าของที่ดินด้วย ว่าใครเป็น landlord ที่ไหน เมื่อถืออำนาจรัฐก็มักจะเข็นเอาภาษีมาเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินให้ตัวเอง ซึ่งคุณต้องไปศึกษาอีกยาวในเรื่องพวกนี้ ลองหาข้อมูลดูนะครับ ยินดีแลกเปลี่ยน
อ้างอิงให้
[1]
http://whereisthailand.info/2012/07/regional-expenditure-disparity/
[2][1] Overview Paper : Improving Service Delivery In Thailand – A Public Finance Management Review
มันตอบทุกประเด็นความสงสัยเลยครับ