Cardio คืออะไร แล้ว Cardio แบบไหนดี
Cardio คืออะไร? แล้ว HIIT กับ LISS อันไหนดีกว่ากัน
คาร์ดิโอ (cardio) คือ การออกกำลังกายแบบ แอโรบิค (aerobic) ระดับความเข้มข้นในการออกกำลังกาย ต่ำ ใช้พลังงานจาก ออกซิเจน เป็นหลัก ใช้เวลาในการออกกำลังกายขึ้นอยู่กับความฟิตของแต่ละคน อัตราการแต้นของหัวใจสำหรับผู้ที่ทำคาร์ดิโอจะอยู่ที่ 60-80%
การทำคาร์ดิโอมักจะใช้เป็นตัวช่วยในการลดไขมัน สำหรับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนหรือลดไขมันหลังจากการเพิ่มกล้ามเนื้อ เพราะมันเป็นตัวช่วยที่มีประสิทธิภาพตัวช่วยหนึ่งในการลดไขมัน แต่ หากคุณต้องการเพิ่มกล้ามเนื้อแล้ว แนะนำอย่าพึ่งรีบร้อนทำคาร์ดิโอ แนะนำไม่ควรทำคาร์ดิโอเกิน 45 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์สำหรับผู้ที่กำลังเพิ่มกล้าม และควรเป็นวันว่าง แต่ สำหรับผู้ที่ต้องการลดไขมันลดความอ้วน สามารถทำคาร์ดิโอครั้งละ 30-45นาที ได้ 6 วันต่อสัปดาห์ และสามารถแบ่งออกเป็น ช่วงเช้า และ ช่วงเย็น ได้
อัตราการเต้นของหัวใจ กับการทำคาร์ดิโอ (cardio)
ก่อนอื่นขอบอกวิธีการคำนวน Max Heart Rate(MHR) = 220 – อายุ เช่นคนอายุ 20 MHR หรืออัตราการเต้นของหัวใจที่รับได้ 100% คือ 200 ครั้งต่อนาที
รูปจะเป็น Zone ของอัตราการเต้นของหัวใจในแต่ละ Zone
1. Max Heart Rate(MHR) 50-60% ในช่วงนี้จะเป็นการวอร์มร่างกายให้พร้อมสำหรับการเล่นกีฬาต่างๆ อัตราการเต้นของหัวใจของคนอายุ 20 จะอยู่ที่ 100-120 ครั้งต่อนาที
2. Max Heart Rate(MHR) 60-70% ในช่วงนี้จะเป็นการเผาผลาญไขมันที่ดีที่สุด เหมาสำหรับผู้ที่ต้องการลดไขมันหลังจากเพิ่มกล้ามเนื้อ เพราะใช้ความเข้มข้นน้อย มีโอกาสที่จะเสียมวลกล้ามเนื้อน้อย เพราะ ร่างกายจะค่อยๆใช้พลังงานจากไขมันเรื่อยๆ และยังไม่ใช้พลังงานจากออกซิเจนมากนัก สังเกตุได้จากการหายใจ
การเต้นของหัวใจของคนที่อายุ 20 จะอยู่ที่ 120-140 ครั้งต่อนาที
3. Max Heart Rate(MHR) 70-80% ในช่วงนี้จะเป็นการบริหารหัวใจให้แข็งแรงได้ดีและเป็นช่วงการทำคาร์ดิโอ เพิ่มความทนทานให้กับปอดและหัวใจให้ฟิตขึ้น และสามารถลดไขมันได้ดีเช่นกัน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วนโดยไม่สนใจมวลกล้ามเนื้อ แต่ในช่วงนี้ก็ยังเสียมวลกล้ามเนื้อน้อยอยู่เช่นกัน และใช้พลังงานจากออกซิเจนพอประมาณ สังเกตุได้จากการหายใจจะแรงกว่าช่วงที่สอง
การเต้นของหัวใจของคนที่อายุ 20 จะอยู่ที่ 140-160 ครั้งต่อนาที
4. Max Heart Rate(MHR) 80-90% ในช่วงนี้จะเป็นการออกกำลังกายแบบ Anaerobic จะสามารถออกกำลังได้ระยะเวลาสั้นๆไม่เกิน 2 นาที ตัวอย่างการออกกำลังกายที่ใช้ MHR ขนาดนี้ได้แก่ นักวิ่งระยะสั้นเกินกว่า 100 เมตร
การเต้นของหัวใจของคนอายุ 20 จะอยู่ทึ่ 160-180 ครั้งต่อนาที
5. Max Heart Rate(MHR) 90-100% ในช่วงนี้คือสุดๆแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ในการทดสอบว่าร่างกายฟิตแค่ใหน ถ้าทนได้นานก็คือฟิตมาก ค่า VO2Max จะทำให้นักกีฬาทราบถึงขีดสมรรถนะสูงสุดของตัวเอง
การออกกำลังกายแบบ HIIT (High Intensity Intensive Training) คือ การออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา โดยการออกกำลังกายแบบ HIIT จะใช้เวลาน้อยกว่าการออกกำลังกายแบบลากยาวอย่าง LISS (Low Intensity Steady Stage) หรือออกกำลังกายแบบ Fat burning zone
โดยการออกกำลังกายแบบ HIIT นั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ ทั้งการ Work out, ปั่นจักรยาน, ชกมวย, และวิ่ง
หัวใจหลักของการออกกำลังกายแบบ HIIT วิธีการดังนี้
1. Warm up ร่างกายโดยการวิ่งให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ Zone 1-2 ระยะเวลา 10 นาที
2. วิ่งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เป็นระยะเวลา 30 วินาที ให้อัตราการเต้นของหัวใจไปแตะที่ปลาย Zone 4 – ต้น Zone 5
3. ลดความเร็วและพักประมาณ 1 – 3 นาที ให้ให้อัตราการเต้นของหัวใจอยู่ที่ Zone 1 – 2 ห้ามหยุดวิ่งทั้นทีเพราะจะทำให้หัวใจเกิดภาวะช็อค ทำให้เป็นลม หมดสติได้
4. ทำซ้ำข้อ 2 และ 3
การทำ HIIT นั้น ควรทำให้ได้ 5-8 เซท เป็นอย่างน้อย เพื่อให้เกิดผมดียิ่งขึ้น ถ้าคนที่ไหวหรือมีแรงสามารถทำมากกว่านี้ได้
การออกกำลังกายแบบ LISS (Low Intensity Steady Stage) คืออการออกกำลังกายแบบลากยาวโดยใช้ความเร็วคงที่และควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ใน Zone 2 – 3 เป็นการออกกำลังกายแบบ Fat burning โดยใช้ออกซิเจนมาเป็นตัวช่วยในการสันดาปพลังงานนั่นเอง
ความแตกต่างของ HIIT และ LISS
1. ระยะเวลาในการออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายแบบ HIIT จะใช้ระยะเวลาสั้นกว่า LISS ซึ่งถ้าคนที่มีความแข็งแรงมาก ๆ การออกกำลังกายแบบ HIIT อาจจะใช้เวลาแค่ 20-30 นาที แต่การออกกำลังกายแบบ LISS นั้นเวลาเป็นตัวกำหนดถึงปริมาณของพลังงานที่ใช้ไปในการออกกำลังกาย ยิ่งออกกำลังกายนานยิ่งเผาผลาญเยอะ
2. อัตราการเผาผลาญ HIIT นั้นใช้พลังงานมากกว่าการออกกำลังกายแบบ LISS เพราะว่าการออกกกำลังกายแบบ HIIT เป็นการกระตุ้นขบวนการเมทาบอลิซึ่มของร่างกายให้สูงขึ้น และเร่งการเผาผลาญพลังงานในการเนื้อให้สูงขึ้นอีกด้วย อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นกระบวนการ ATP/CP system (Adenosine Triphosphate) อีกด้วย ซึ่งกระบวนการ ATP/CP นั้นจะปลดปล่อยการใช้พลังงานในกล้ามเนื้อ เป็นการใช้พลังงานระยะสั้นและใช้ในปริมาณมาก ซึ่งตัว Adenosine จะเป็นตัวเร่งการนำพลังงานเข้าไปเผาผลาญตรงกลางเซลล์ ซึ่งช่วงที่คุณพักนั้นกล้ามเนื้อจะมีการเผาผลาญสูงเพื่อรีชาร์จพลังงานกลับเข้าไปในกล้ามเนื้อ ต่างกับ LISS ที่กระบวนการเมทาบิลิซึมค่อย ๆ เป็นไปอย่างช้า ๆ และเรื่อย ๆ
3. การออกกำลังกายแบบ HIIT เป็นการออกกำลังกายแบบ Anaerobic ซึ่งระยะเวลาสั้นนั้นร่างกายจะเร่งการเผาผลาญพลังงานในกล้ามเนื้อ และช่วงที่เราพักการรีชาร์จพลังงานนั้นจะดึงไขมันและคาร์โไฮเดรตมารีชาร์จ จึงทำให้เกิดการเสียมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่าแบบ LISS ที่ดึงมวลกล้ามเนื้อมาใช้ใน Stage ที่ 2 ของการออกกำลังกาย
ตัวอย่างนะครับ
ชายอายุ 20 ปี ออกกำลังกายแบบ HIIT
Max HR = 200 bpm
Zone 1 = 100 – 120 bpm
Zone 2 = 120 – 140 bpm
Zone 3 = 140 – 160 bpm
Zone 4 = 160 – 180 bpm
Zone 5 = 180 – 200 bpm
1. Warm up Zone 1 – 2 ระยะเวลา 10 นาที อัตราการเต้นของหัวใจ 100-120 bpm
2. วิ่งเร็วที่สุด Zone 4 – 5 ระยะเวลา 30 วินาที อัตราการเต้นของหัวใจ 160-180 bpm
3. พัก 2 นาที Zone 1 – 2 อัตราการเต้นของหัวใจ 100-120 bpm
4. ทำซ้ำ 5 – 8 เซท
รวมเวลา 22.5 นาที – 30 นาที
ชายอายุ 20 ปี ออกกำลังกายแบบ LISS
Max HR = 200 bpm
Zone 1 = 100 – 120 bpm
Zone 2 = 120 – 140 bpm
Zone 3 = 140 – 160 bpm
Zone 4 = 160 – 180 bpm
Zone 5 = 180 – 200 bpm
1. Warm up ที่ Zone 1 – 2 ระยะเวลา 5 – 10 นาที อัตราการเต้นของหัวใจ 100-120 bpm
2. ออกกำลังกายที่ Zone 2 – 3 ระยะเวลา 30 – 45 นาที อัตราการเต้นของหัวใจ 120-140 bpm
รวมเวลา 30 – 50 นาที
จะเห็นได้ว่าการออกกำลังกายแบบ HIIT ใช้เวลาน้อยกว่า LISS แต่การเผาผลาญนั้นจะสูงกว่า
ลองสังเกตุดู หุ่นของนักวิ่งทั้ง 2 แบบดูครับ นักวิ่งแบบมาราธอนกับนักวิ่งระยะสั้น ว่าใครมีขนาดของกล้ามเนื้อที่ดีกว่าและความชัดของกล้ามเนื้อที่ดีกว่า
กระทู้เดิมครับ
http://www.soccersuck.in.th/boards/topic/1243715