ร่างกายแบงค์ ธิติ โหดขนาดนี้เลยหรอครับ
https://thaimarketing.in.th/299025
เฟซบุ๊กแฟนเพจ Health Performance Team ได้เผยถึงค่าต่างๆของร่างกายแบงค์ ธิติ ดังนี้ ถอดรหัสร่างกาย แบงค์ ธิติ ก่อนต่อย 10Fight10 ทีมสีขาว Bank Thiti Mahayotaruk #นอกเหนือการชกมวยแบบไม่มีหมดแรงแล้ว “แบงค์ ธิติ” ในวัย 22 ปี ยังมีร่างกายที่น่าสนใจในหลายมิติด้วยเช่นกัน. 6 ปัจจัยสำคัญก่อนชัยชนะ
1. เริ่มจากค่าแรก #VO2MAX หรือ ค่าความฟิตในเชิงวิทยาศาสตร์การกีฬา VO2MAX หรือ เรียกกันทั่วไปว่า การใช้ออกซิเจนสูงสุดในขณะการออกกำลังกาย. ค่า 62 ml.min.kg ถ้าถามในวงการนักวิ่งแล้ว ค่านี้ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ระดับ Superior หรือ ระดับเทพของนักกีฬากึ่งอาชีพเลย. ธรรมดาแล้วถ้าคนทั่วไปมีค่า VO2MAX ที่ 38 ml.min.kg ก็จัดอยู่ในเกณฑ์ Healthy Population แล้ว.
2. ค่าความฟิตทางการแพทย์ METs “แบงค์” สามารถออกกำลังกายได้ถือ 17.8 METs ซึ่งถือว่าเยอะมากในทางการแพทย์. METs คือ หน่วยที่เราใช้ประมาณค่าจำนวนของออกซิเจน ที่ร่างกายต้องใช้ในระหว่างการออกกำลังกาย นั่งหายใจไม่ขยับตัว มีค่า 1 MET,เดินช้าๆ 2.3 METs, ทำงานบ้าน ได้ 3.5 METs, Jogging 8 METs หรือ วิ่งเร็วๆ 10 METs เป็นต้นไป แต่สำหรับ “แบงค์” แล้ว 17.8 METs ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย แต่เป็นวินัยในการซ้อมล้วนๆ
3. เป็นมิตรกับไขมัน แรงหมดยาก! คนเราน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม มีไขมันอยู่ในร่างกายอยู่แล้วประมาณ 10 กิโลกรัม ซึ่งสามารถให้พลังงานได้เป็นแสนๆ แคลอรี่. สำหรับ “แบงค์ ธิติ” ในจังหวะที่หัวใจเต้นที่ 167-170 ครั้งต่อนาที ร่างกายยังสามารถนำไขมันมาเป็นพลังงานได้อยู่ที่ประมาณ 29-34 กรัมต่อชั่วโมง.เมื่อเทียบกับคนทั่วไปในขณะออกกำลังกายที่ความหนักเท่ากัน จะสังเกตได้ว่า ร่างกายอีกคนเปลี่ยนไปใช้ Carbohydrate เป็นพลังงานหลักเสียแล้ว. (เสริมความรู้: ไกลโคเจนในร่างกายที่มาจากคาร์โบไฮเดรตทั้งหมด มีเพียงแค่ 500 กรัม ที่อยู่ในตับและกล้ามเนื้อ สามารถให้พลังงานได้เพียง 2,000 แคลอรี่เท่านั้น). (มีรูปภาพประกอบการอธิบาย)
4. ถ้าเทียบกับรถยนต์ เป็นรถยนต์ที่ประหยัดพลังงาน ถ้ามีรถสองคัน รุ่นเดียวกัน เติมน้ำมันเชื้อเพลิงเท่ากัน แต่ “ได้รับการดูแลที่แตกต่างกัน” คันแรกถูกหมั่นดูแลตรวจเช็คเครื่องยนต์ ส่วนอีกคันถูกปล่อยปละละเลย. เมื่อสองคันถูกขับด้วยความเร็วที่เท่ากันจนน้ำมันหมด แน่นอนว่ารถคันที่ได้รับการดูแลย่อมไปได้ไกลกว่า. เช่นเดียวกันกับร่างกาย ถ้าซ้อมดี ถูกหลัก ร่างกายใช้จะพลังงานน้อยลง เพราะมีสมรรถภาพร่างกายดีขึ้น ทนกับความหนักของงานได้ดีขึ้น สังเกตได้ว่า “แบงค์” ประหยัดพลังงานกว่าอีกคนถึง 100 แคลอรี่ ในความหนักที่เท่ากัน
..
5. แรงดีไม่มีตก เพราะโฟกัสการซ้อมที่ถูกโซน การเป็นมิตรกับไขมัน ทำให้ไม่ต้องห่วงเลยว่าเวลา “พักยก” จะฟื้นไม่ทัน. เพราะ “แบงค์” นั่งพักไม่ถึง 1 นาที อัตราการเต้นของหัวใจลงมาอยู่ที่ 150 ครั้งแล้ว. อย่างไรก็ตามการบ้านที่ “แบงค์ ธิติ” ต้องไปเสริมให้ถูกโซนคือ การโฟกัสที่อัตราการเต้นของหัวใจ 176 ครั้งต่อนาที เพราะเป็นโซนที่การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายเริ่มไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เราจึงกำชับทีมโค้ชให้ใส่ใจความหนักตรงนี้ในการฝึกซ้อมให้มากๆ. (มีรูปภาพประกอบการอธิบาย)
6. เปลี่ยนไปวิ่งมาราธอนเถอะน้องแบงค์!!! ถ้ากล้ามเนื้อพร้อมจิตใจพร้อม ความเป็นไปได้ที่ “น้องแบงค์” จะสามารถจบมาราธอนแบบสบายๆ น่าจะอยู่ที่ 4 ชั่วโมง 14 นาที เฉลี่ยที่ความเร็ว 10.0 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือ Pace 6:00. เนื่องจากระดับการใช้พลังงานของน้องยังใช้สัดส่วนไขมันที่ 50% และ คาร์โบไฮเดรต 50% ที่ถือว่าเป็น Comfort Zone สำหรับนักวิ่ง. สุดท้ายแล้ว ยินดีกับ “แบงค์” สำหรับชัยชนะในครั้งนี้. ทีมงานเราเป็นเกียรติมากที่ได้ดูแลและวิเคราะห์ร่างกายให้กับ “แบงค์”. พี่เชื่อเลยว่า พี่ๆ น้องๆ ป้าๆ ลุงๆ พร้อมอ้าแขนรับน้องเข้าสู่วงการวิ่งอย่างแน่นอน เพราะฟอร์มวิ่งของน้องสามารถทำ SUB4 ในมาราธอนได้ไม่ยาก.
นี่โหดขนาดนี้เลยเรอะ
There has to come a time when enough is enough : เมื่อถึงเวลาพอก็ต้องพอ