ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
หน้าแรกบอร์ด >> ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 6) รถไฟความเร็วสูง 3
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 26 Jul 2010
ตอบ: 3084
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Thu Jan 23, 2014 09:08
ถูกแบนแล้ว
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 6) รถไฟความเร็วสูง 3
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 6) รถไฟความเร็วสูง 3



ฝรั่งเศสทำรถไฟความเร็วสูง เพื่อจะเกทับญี่ปุ่น " การมาทีหลังแล้วจะคุยข่มคนอื่น ก็ต้องทำอะไรที่เหนือกว่า " ฝรั่งเศสจึงต้องดูว่า ญี่ปุ่นลืมคิดอะไรไปบ้าง จะได้พัฒนาตรงนั้นขึ้นมา เพื่อใช้เป็นจุดขายว่า TGV เหนือกว่า Shinkansen

รื่องแรกที่ฝรั่งเศสมองเห็น คือ ชินกังเซน เป็นทางรถไฟความเร็วสูง ที่สร้างเป็นทางยกระดับ เสียเป็นส่วนมาก ฝรั่งเศสกล่าวหาว่า ทำอย่างนั้นมันแพง ก็เลยสร้าง ให้ทางส่วนใหญ่อยู่บนพื้นดิน แล้วยังยังมีถนนตัดผ่าน เสมอระดับทางรถไฟอีกด้วย ซึ่งค้านกับปรัชญา ของวิศวกรผู้สร้าง ชินกังเซน ที่ไม่ยอมให้มีถนน ตัดเสมอระดับทางรถไฟความเร็วสูง อย่างเด็ดขาด ยังจำได้ว่า ระยะแรกที่เปิดเดินรถ มีอุบัติเหตุรถไฟความเร็วสูง TGV ชนรถบรรทุก ที่ทางตัดอยู่ครั้งหนึ่ง รถตกรางทั้งขบวน แต่ในขณะที่ตอนชนนั้น ความเร็ว ของขบวนรถได้ลดลงมาได้มากแล้ว ขบวนรถจึงตก ลงไปตั้งอยู่นอกราง ไม่ล้มระเนระนาด คนก็เลยไม่บาดเจ็บล้มตาย หลังจากนั้น ไม่ได้ติดตามว่าฝรั่งเศสจะเข็ด ไม่กล้าสร้างถนนตัด เสมอระดับทางรถไฟหรือยัง เข้าใจว่าไม่กล้าเสี่ยงแล้ว

ตัวอย่างนี้ สะท้อนปรัชญา ความคิดแบบญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างจาก ปรัชญาความคิดของฝรั่ง หากสังเกต ดูวิธีการออกแบบสินค้ามาขาย ของความคิดจากสองค่าย ก็จะเห็นการออกแบบ สิ่งของที่มีวิธีป้องกันความประมาท เผลอเรอ มักง่าย บางครั้งก็รู้แต่แกล้งโง่ แต่บางทีก็โง่จริงๆ หรือ
Fool Proved อยู่มากในแนวคิดแบบญี่ปุ่น ญี่ปุ่นคิดว่าคนเราทำผิดได้ เผลอได้ ฉะนั้นเวลาออกแบบ ก็จะเอาระบบ มาช่วยป้องกันความผิดพลาด ที่เกิดจากคน ญี่ปุ่นไม่ยอมให้ทางรถไฟความเร็วสูง กับถนนตัดผ่านเสมอระดับเดียวกัน อย่างเด็ดขาด ไม่ใช่เพราะคนญี่ปุ่นไม่มีวินัย แต่ญี่ปุ่นคิดว่า คนย่อมจะมีวันที่ทำผิดพลาด และหากความผิดพลาดมา เกิดกับกรณีเช่นนี้ ความเสียหายที่เกิดขึ้น จะมากมายมหาศาล

ส่วนฝรั่งคิดว่า คนต้องมีวินัย และเชื่อมั่นว่า คนของตนมีวินัยมากพอ ฝรั่งจึงมักจะออกแบบ อะไรที่ค่อนข้างจะเอา Human Factor เข้าไปผูก ติดไว้กับความปลอดภัย อยู่ค่อนข้างมาก ด้วยภูมิหลัง ทางความคิดอย่างนั้น ฝรั่งเศสจึงสร้างทาง สำหรับรถไฟความเร็วสูง โดยคิดว่า จะสามารถควบคุม คนใช้ถนนให้ระมัดระวังรถไฟได้ ไม่ต้องเสียเงินสร้างทางต่างระดับ

ปรัชญาความคิด ที่แตกต่างกันนี้ นานไปก็ยิ่งเห็นชัดว่า ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายถูกมากกว่า ในที่สุดฝรั่งก็ต้องเป็นผู้ตาม




รถไฟ TGV ของประเทศฝรั่งเศษ


รื่องต่อไปที่ฝรั่งเศส เห็นว่าจะเกทับญี่ปุ่นได้ คือ การออกแบบขบวนรถ ซึ่งฝรั่งเศสเห็นว่า วิธีการที่ญี่ปุ่นใช้คือกระจายล้อกำลัง (Power Axle) ไปอยู่บนรถทุกคัน ทำให้ขบวนรถ มีราคาแพง (ญี่ปุ่นแก้ว่า การกระจายล้อกำลัง ช่วยให้การใช้ระบบห้ามล้อแบบ Dynamic Brake มีประสิทธิภาพสูงกว่า) จึงใช้วิธีผสมผสาน โดยออกแบบให้ล้อกำลัง อยู่บนรถจักรคันหน้าสุด และหลังสุดของขบวนรถ (เป็นระบบ Push - Pull Train มีรถจักรสองคันอยู่หัว และท้ายขบวนรถ) แต่เนื่องจากจำนวนล้อ ที่จะขับเคลื่อนขบวนรถ ไม่พอจะส่งผ่านแรงขับ จึงต้องเอาล้อกำลัง ไปฝากไว้ที่โบกี้โดยสารติดกันอีก 2 เพลา (4 ล้อ) สำหรับโบกี้โดยสารที่เหลือ ก็ใช้แบบ Articulation (ไม่รู้จะแปลว่าอะไร) คือ เอารถสองคัน ไปวางไว้บนโบกี้เดียวกัน พูดง่ายๆ คือ รถตรงกลางขบวน 2 คัน แทนที่จะวางอยู่บนโบกี้ ซึ่งมีเพลาล้อ 8 เพลา ก็จะใช้โบกี้ร่วมกัน สามารถ ลดจำนวนเพลาลงเหลือ 4 เพลา (กลัวว่าจะอ่านไม่รู้เรื่องจังเลย) ฝรั่งเศสก็คุยว่า ทำอย่างนี้แล้ว ราคาขบวนรถจะถูกกว่าญี่ปุ่น ฝ่ายญี่ปุ่นก็บอกว่า วิธีการออกแบบ ของฝรั่งเศสทำให้เกิด Concentrated Mass (มีจุดที่หนัก คือ รถจักรอยู่หัวท้ายขบวนรถ) การทำลายทางสูงกว่า ของญี่ปุ่นเป็นแบบ Distributed Mass (คือน้ำหนักขบวนรถกระจายกันไปทั้งขบวน) ซึ่งแม้ว่า ค่าสร้างรถจะแพงกว่า แต่การทำลายทางน้อยกว่าวิธีที่ฝรั่งเศสใช้ ดังนั้น ผลในระยะยาว ย่อมจะดีกว่า นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังอ้างว่า การตัดรถออกจากขบวน เมื่อมีเหตุจำเป็น ยังทำได้ง่ายกว่า วิธีการออกแบบของฝรั่งเศสอีกด้วย

เรื่องความเร็วขบวนรถ ฝรั่งเศสจะเกทับญี่ปุ่นได้ ก็ต้องทำให้วิ่งได้เร็วกว่า ในระยะแรก จึงตั้งเป้าหมาย ไว้ว่าขบวนรถ TGV จะวิ่งรับส่งผู้โดยสาร ที่ความเร็วสูงสุด 270 กม./ชม. ผู้เขียนกลับไปประเทศญี่ปุ่นหลังจาก TGV เปิดเดินได้ระยะหนึ่ง บรรยากาศของการสูญเสีย ความเป็นที่หนึ่ง สะท้อนออกมา จากผู้ปฏิบัติงานรถไฟ และวงการอุตสาหกรรม ของญี่ปุ่นโดยรวม แม้แต่คนตัดตั๋วบนรถ ชินกังเซน ยังทำคอตก และกล่าวว่า
" เดี๋ยวนี้เราไม่ใช่รถไฟ ที่วิ่งเร็วที่สุดในโลก เพราะฝรั่งเศสวิ่งเร็วออกหน้าญี่ปุ่นไปแล้ว " ความเร็วของ ขบวนรถ TGV นี้ ภายหลัง ยังเพิ่มขึ้นเป็น 300 กม. / ชม. เนื่องจากมีผู้ท้าชิงรายใหม่เกิดขึ้นคือ เยอรมนี ซึ่งจะเขียนให้อ่านต่อไป



Drawing ของ Y230 power truck (bogie) ในรถไฟ TGV

ฝรั่งเศสยังเกทับญี่ปุ่น เรื่องระบบการควบคุมขบวนรถ ซึ่งของญี่ปุ่นค่อนข้างซับซ้อนและแพงมาก ระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น จะแยกรางออกเป็นช่วงๆ ละ 3,000 เมตร (ตามระยะเบรคปกติ - service braking - ของขบวนรถ) แต่ละช่วงมีสัญญาณกำกับ โดยใช้ Track Circuit เป็นตัวจับ ตำแหน่งขบวนรถ และใช้คอมพิวเตอร์จัดระยะห่างของรถแต่ละขบวน ตามระยะห่างปลอดภัย ในการเบรค พร้อมทั้งส่งสัญญาณ คลื่นวิทยุกลับเข้าไปที่ราง เมื่อขบวนรถวิ่งผ่าน เครื่องรับสัญญาณ จะจับสัญญาณคลื่นวิทยุ ขึ้นไปแปลงเป็นพิกัดความเร็ว (เขียนเอง อ่านเองแล้วยังงงเลย !) เช่น จับคลื่นความถี่วิทยุได้ 30 Hz ก็หมายถึงพิกัดความเร็ว 210 กม./ชม. ถ้าจับสัญญาณได้ 15 Hz หมายถึงพิกัดความเร็ว 160 กม./ชม. และ 0 Hz หมายถึงพิกัดความเร็ว 0 กม. / ชม. (ให้หยุด) เป็นต้น ระบบนี้ เฉพาะสายเคเบิ้ล รับส่งสัญญาณอย่างเดียว ก็แพงเกือบจะเท่ากับรางรถไฟอยู่แล้ว ฝรั่งเศสจึงหนีไปหาระบบอื่นที่ถูกกว่า โดยระยะแรก ใช้สายเคเบิ้ล วางไปตามราง แล้วส่งสัญญาณโทรเลข ที่เป็นรหัสความเร็วเข้าไป เวลาขบวนรถวิ่งผ่าน ก็จะจับสัญญาณโทรเลข ขึ้นมาแปลเป็นพิกัดความเร็ว บูรณาการในส่วนนี้ ผู้เขียนมีข้อมูลไม่สมบูรณ์ เขียนไปเดี๋ยวจะงงกันใหญ่ กำลังรวบรวมข้อมูลอยู่ ถ้ามีโอกาส ก็จะนำรายละเอียดมาเขียนให้อ่านกันอีกครั้ง

โดยสรุปก็คือ ฝรั่งเศสคุยว่า ระบบควบคุมการเดินรถ ของตนดีกว่า ถูกกว่า แต่จะปลอดภัยกว่าหรือเปล่า ไม่เคยได้ยิน ที่แน่ๆ ญี่ปุ่นเขาคุยว่า นับเป็นเวลากว่า 30 ปี ที่ขบวนรถชินกังเซน เปิดการเดินรถ รับส่งผู้โดยสารมา ยังไม่เคยมีอุบัติเหตุ ที่ทำให้คนเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว ยกเว้นที่เป็นการฆ่าตัวตาย โดยโดดให้รถไฟทับ


ความเชื่อถือในแนวคิดของสองค่ายนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเหตุผลหลายด้าน

ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จ ในการผลักดันเทคโนโลยี รถไฟความเร็วสูงเข้าไปในสหรัฐอเมริกา เกาหลี และจีน ได้เป็นผลสำเร็จ จึงเที่ยวคุยโวว่า TGV เป็นรถไฟความเร็วสูง ระบบเดียวในโลก ที่สามารถส่งออก ขายนอกประเทศได้ พวกญี่ปุ่นก็เดินหงอยอยู่พักใหญ่ พยายามจะเข้าไปในอเมริกา ก็ไม่สำเร็จ ผลสุดท้าย เพิ่งประสบความสำเร็จ ในการจับไต้หวัน ในลักษณะเหมือนกับการล็อคคอ หรือมัดมือชกไว้ได้ ขณะนี้กำลังเร่งก่อสร้าง เป็นการใหญ่ ทุ่มทั้งเงิน และคนเข้าไปเต็มที่ และกำลังจะเปิดเดินรถในไม่ช้านี้ ถ้าเป็นไปได้ ก็อยากจะเปิดก่อน พวกลูกศิษย์ที่หลงผิด (ไม่รู้ใครผิด) ไปเชื่อเทคโนโลยีฝรั่งเศส

ตอนนี้ญี่ปุ่นจึงค่อยเดินยืดขึ้นมาใหม่ได้หน่อยหนึ่ง

- จบตอนที่ 6 -

อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม

โดย
อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)

เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice

ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie


-------------------------------------------------
สามารถติดตามตอนอื่นๆได้ตามด้านล่างครับ



ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 1) การประชุม POINT
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 2) ว่าด้วยเรื่องรถไฟเชื่อมสนามบิน
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 3) ว่าด้วยเรื่องรถไฟเชื่อมสนามบิน 2
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 4) รถไฟความเร็วสูง 1
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 5) รถไฟความเร็วสูง 2

-------------------------------------------------------

ประวัติศาสตร์รถไฟญี่ปุ่น
รถไฟแม่เหล็ก
7 เหตุผลที่ทำให้รถไฟญี่ปุ่นแตกต่างจากที่อื่น
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยอยู่ตรงไหน?
รถไฟไทยอยู่ตรงไหน?
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกบอร์ด >> ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 6) รถไฟความเร็วสูง 3
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel