ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
หน้าแรกบอร์ด >> ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 5) รถไฟความเร็วสูง 2
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 26 Jul 2010
ตอบ: 3084
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Jan 22, 2014 15:34
ถูกแบนแล้ว
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 5) รถไฟความเร็วสูง 2
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 5) รถไฟความเร็วสูง 2



อังกฤษ ตามประสาคนที่ชอบคิดอะไร ที่ไม่ค่อยจะเหมือนคนอื่น จึงคิดว่า จะสร้างระบบรถไฟความเร็วสูง ที่วิ่งบนเส้นทางรถไฟเดิม (Conventional Track) เพราะการสร้างทางรถไฟ สำหรับรองรับรถไฟความเร็วสูง โดยเฉพาะแบบที่ญี่ปุ่นสร้างขึ้น ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมาก หากทำตรงนี้สำเร็จ ก็จะสามารถคุยข่มญี่ปุ่นได้ว่า แนวคิดนี้ถูกสตางค์กว่า

ปี 2519 การรถไฟอังกฤษ ได้เปิดเดินขบวนรถไฟ
HST125 (High Speed Train ซึ่งวิ่งด้วย ความเร็วสูงสุด 125 ไมล์/ชม.) ระหว่าง สถานีแพดดิงตั้น ในกรุงลอนดอน ถึงเมืองคาดิฟฟ์ ในเวลล์ โดยได้ทำการปรับปรุงแก้ไข เส้นทางบางช่วง ขยายโค้งให้มีรัศมีกว้างขึ้น และพัฒนา ระบบสัญญาณไฟสีขึ้นมาเป็น 5 - aspect color light signal (มีไฟ 5 ดวง) แต่ก็หนีไม่พ้น ต้องฝังแผ่นส่งสัญญาณ อีเลคโทรนิค บอกพิกัดความเร็ว (Transponder) ไว้บนทาง เพื่อบอกพิกัดความเร็วเมื่อขบวนรถวิ่งผ่านด้วย

ขบวนรถนี้ ก็ประสบความสำเร็จพอสมควร ในแง่ของการเพิ่มความเร็ว เพราะขบวนรถที่วิ่ง 125 ไมล์ / ชม. ก็คือวิ่ง 200 กม. / ชม. เป็นความเร็ว ที่อยู่ตรงรอยต่อ ระหว่างการจัดประเภทว่า เป็นรถไฟธรรมดา กับการเป็นรถไฟความเร็วสูง และช้ากว่ารถไฟชินกังเซนของญี่ปุ่นเพียง 10 กม. / ชม.




รถไฟ HST125 ของประเทศอังกฤษ

HST125 ประสบความสำเร็จพอสมควรในแง่ของการขนส่ง แต่ก็ยังไม่มีจุดขายในเชิงวิศวกรรม ยังไม่มีเกียรติภูมิของชาติ (National Pride) สำหรับงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีของประเทศ สามารถคุยได้เพียงแค่ เป็นขบวนรถใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่วิ่งถึง 200 กม. / ชม. บนเส้นทางการเดินรถธรรมดา แต่ก็ไม่รู้จะขยายจุดขายไปอุ้มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตัวอื่นอย่างไร เท่าที่เห็น คือ การนำแนวคิดไปสร้างเป็น HST125 ขึ้นในประเทศออสเตรเลีย

รัฐบาลอังกฤษ พยายามพัฒนา ระบบรถไฟความเร็วสูงต่อไป โดยการทำโครงการ
APT150 (Advanced Passenger Train 150) เป็นรถไฟฟ้าที่กำหนด จะวิ่งถึง 150 ไมล์ / ชม. หรือ 240 กม. / ชม. บนเส้นทางรถไฟธรรมดา ซึ่งสร้างความวิตกกังวล กันพอสมควร ในบรรดาวิศวกรรถไฟ เพราะเป็นการข้ามพรมแดน (Border Line) เข้าไปในอาณาจักร ของรถไฟความเร็วสูงมากแล้ว แต่ยังต้องการ รักษาจุดขายเดิม นั่นก็คือ การวิ่งอยู่บนทางรถไฟธรรมดา ข้อวิตกกังวล ก็เกี่ยวกับความปลอดภัยในการเดินรถ เพราะจะใช้ 5 - aspect color light signal พ่วงกับระบบสนับสนุน (Back up system) อื่น เท่าที่คิดว่า เพียงพอจะเป็นหลักประกัน ให้อุ่นใจว่าปลอดภัย ในขณะที่ระบบอื่น ก็ยังคงเป็นรถไฟตามปกติ

จุดขายที่สำคัญ อีกประการหนึ่งของ APT เกี่ยวกับการออกแบบ ขบวนรถไฟ ก็คือ จะสร้างให้เป็น
Tilting Train เวลาวิ่งผ่านทางโค้ง ตัวรถจะเอียงตาม จุดประสงค์ในการออกแบบ ให้รถเอียง ก็เพราะต้องการจะวิ่งด้วยความเร็วสูง ผ่านโค้งรัศมีแคบ (ดังกล่าวแล้วว่า การแก้ไขทางโค้ง ให้มีรัศมีกว้าง เพื่อรองรับการวิ่ง ขบวนรถความเร็วสูง จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก) ด้วยเทคโนโลยี ที่ค่อนข้างจำกัดในขณะนั้น ขบวนรถทดลอง APT ได้ทำให้วงการวิศวกรรม ของอังกฤษขายหน้าอยู่หลายครั้ง เช่น ตอนที่วิ่งผ่านทางโค้งแล้ว ตัวรถจะต้องเอียง (Tilt) ก็กลับไม่เอียง แต่พอวิ่งอยู่บนทางตรงไม่ควรจะเอียง ก็เอียง

ปี 2527 ผู้เขียนกลับไปอังกฤษอีกครั้ง ขณะนั่งดูทีวี ก็มีข่าวขบวนรถ APT ตกราง รู้สึกว่าจะที่สถานีครูว์ ซึ่งอยู่ทางภาคกลาง ของประเทศอังกฤษ ลักษณะที่ตกน่ากลัวมาก แต่ตรงที่เกิดเหตุ เป็นย่านสถานีซึ่งขบวนรถ ลดความเร็วลงมาบ้างแล้ว ถึงกระนั้น ตัวรถก็ถูกดันยกลอยตั้งชี้ฟ้า มีคนบาดเจ็บ แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต เป็นการเสียหน้ามาก แต่ยังอุตส่าห์ไปขุดหาโอกาสท่ามกลางวิกฤตมาคุยว่า
" เห็นไหม เราออกแบบตัวรถได้แข็งแรงมาก ขนาดตกรางรถยังไม่ยุบ คนก็ไม่ตาย !" ฟังแล้วถึงกับอึ้ง ถ้าเป็นที่ประเทศไทย คนที่พูดแบบนี้ต้องกลายเป็นคนดังอย่างแน่นอน นิสัยกลัวเสียหน้า แล้วเถลไถลไปข้างๆ คูๆ จะเป็นเช่นนี้ เหมือนกันทุกชาติ

บางทีขบวนรถ APT ก็ไปตายอยู่กลางทาง ต้องเอารถจักรไปลากกลับ สิ่งไม่พึงปรารถนาให้เกิดทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เมื่อสะสมนานเข้า ก็เลยถูกสื่อมวลชน ขนานนามโครงการนี้เสียใหม่ว่า เป็น
Accidental Prone Train เป็นขบวนรถสุดห่วย ไม่ใช่ Advanced Passenger Train อย่างที่ตั้งใจไว้แต่แรก สุดท้าย รัฐบาลก็ยกเลิกโครงการไป โดยเอารถต้นแบบไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ เป็นการยุติโครงการ ที่ใช้เวลาทดลองอยู่นานนับสิบปี

ภายหลัง เมื่อมีโครงการสร้างอุโมงค์ลอดใต้ช่องแคบอังกฤษ มีการนำระบบรถไฟความเร็วสูงที่เรียกว่า
Eurostar มาใช้ อังกฤษก็ทำได้ เพียงเข้าไปร่วมโครงการนี้กับฝรั่งเศส ส่วนเทคโนโลยี Tilting Train ก็ถูกญี่ปุ่นและเยอรมัน นำแนวคิดไปผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำรถไฟขึ้นใช้ในประเทศ ญี่ปุ่นสร้างรถ Tilting Train ไปขายให้ออสเตรเลีย (รถไฟควีนแลนด์) เป็นขบวนรถวิ่งเร็ว 170 กม. / ชม. บนรางกว้าง 1,067 มม.



รถไฟความเร็วสูง Eurostar


ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ จึงเป็นเหตุผลที่อังกฤษ ยืดไม่ค่อยออก ในวงการรถไฟความเร็วสูง เวลาคนพูดถึงรถไฟความเร็วสูง จะไม่นึกถึงอังกฤษ นับว่าเป็นความล้มเหลว ที่เกิดจากกำหนดวิสัยทัศน์ ผิดโดยแท้จริง คือ จะดันทุรังวิ่งรถไฟความเร็วสูง บนรางรถไฟธรรมดา ผลสุดท้าย จะเป็นอะไร ก็ไม่เป็น

ฝรั่งเศส ขบวนรถไฟความเร็วสูง ของประเทศฝรั่งเศส มีชื่อในภาษาฝรั่งเศสว่า
Train agrave ; la Grande Vitesse (TGV) ปี 2525 เมื่อผู้เขียน ไปเป็นวิศวกรตรวจการสร้างรถจักร อยู่ที่ฝรั่งเศส เป็นช่วงเวลาที่การรถไฟ ประเทศฝรั่งเศส เพิ่งเปิดเดินขบวนรถไฟ ความเร็วสูงสายแรก ระหว่างปารีส ถึงลีออง ไปอย่างเร่งรีบ ที่กล่าวว่า เร่งรีบ ก็เพราะหลายอย่าง ยังไม่ลงตัวดีนัก แต่เปิดเดินรถ รักษาหน้าไปก่อน อะไรที่ยังไม่เรียบร้อย ก็ค่อยวิจัยพัฒนา และแก้ไขกันไป (ญี่ปุ่นออกหน้าไปนานมากแล้ว จะรอช้าไม่ได้) ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงยังทันได้เห็น งานวิจัยหลายเรื่อง ตัวอย่างเช่น การพัฒนา มอเตอร์ลากจูงของรถ TGV ซึ่งยังทำการทดลอง อยู่ใกล้ ๆ กับมอเตอร์ลากจูงของรถจักร ที่กำลังจะนำไปประกอบ ให้กับรถจักรของการรถไฟฯ ของเรา ผู้เขียนจึงถือโอกาส ทำงานนอกหน้าที่ เดินเลยไปเป็นวิศวกร ตรวจมอเตอร์ TGV ซะหน่อย



รถไฟความเร็วสูง TGV

ที่ค่อนข้างประทับใจ คือ การสื่อสาร (Communication) ของโครงการ ตามห้างสรรพสินค้าใน Tarbes ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ทางใต้ ไม่ได้อยู่ในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่าน แต่เป็นที่ตั้งโรงงานของบริษัท " อัลสตอม " ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถไฟตั้งอยู่ จะมี วีดีโอ ประชาสัมพันธ์งานวิจัย และผลคืบหน้า มีการถ่ายทำ ขณะทำการทดลอง ผลจากการเปิดใช้งาน ฯลฯ ฉายให้คนดูตลอดเวลา ตรงนี้ ทำให้ผู้เขียนได้ข้อคิดว่า ทำเรื่องใหญ่ ไปเอาเงิน ชาวบ้านมาใช้มากมาย จะงุบงิบทำไม่ได้ ต้องสื่อสารให้เขารู้ว่า ที่ทำอยู่มีความคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว โปร่งใสแค่ไหน ภายหลัง เมื่อผู้เขียน เลื่อนขึ้นมานั่งในระดับบริหาร ก็พยายามผลักดัน ให้งานด้านการสื่อสารมีความสำคัญ เช่น ตอนที่รัฐบาลจะอนุมัติงบประมาณ ให้สร้างทางคู่ ตอนที่จะปรับโครงสร้าง ก็พยายามทำเรื่อง การสื่อสารทั้งภายใน และภายนอก เพื่อให้เกิดความเข้าใจ และเดินไปด้วยกัน

แต่คุณเอ๊ย ! มันยากซะยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา สุดท้าย เลยถูกครกทับบาดเจ็บ ต้องมานั่งเขียนหนังสืออยู่นี่ไง

- จบตอนที่ 5 -

อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม

โดย
อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)

เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice

ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie


-------------------------------------------------
สามารถติดตามตอนอื่นๆได้ตามด้านล่างครับ



ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 1) การประชุม POINT
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 2) ว่าด้วยเรื่องรถไฟเชื่อมสนามบิน
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 3) ว่าด้วยเรื่องรถไฟเชื่อมสนามบิน 2
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 4) รถไฟความเร็วสูง 1

-------------------------------------------------------

ประวัติศาสตร์รถไฟญี่ปุ่น
รถไฟแม่เหล็ก
7 เหตุผลที่ทำให้รถไฟญี่ปุ่นแตกต่างจากที่อื่น
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าไทยอยู่ตรงไหน?
รถไฟไทยอยู่ตรงไหน?
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกบอร์ด >> ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 5) รถไฟความเร็วสูง 2
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel