ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
หน้าแรกบอร์ด >> ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น ตอนที่ 1
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 26 Jul 2010
ตอบ: 3084
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Thu Jan 16, 2014 13:05
ถูกแบนแล้ว
ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น ตอนที่ 1
บทความนี้เป็นเรื่องราวของผู้เขียนที่ได้ไปประชุมและศึกษาระบบการพัฒนาการรถไฟในประเทศญี่ปุ่น ถ่ายถอดเป็นเรื่องราวให้ได้อ่าน ซึ่งผมเห็นว่าน่าสนใจดี และ หลายๆท่านอาจจะได้เปิดโลกมุมมองอีกด้านก็เป็นได้ครับ


ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น (ตอนที่ 1) การประชุม POINT



ผู้เขียนไปญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม (วันที่ 21 - 26) แต่กว่าจะมีเวลาเขียนเรื่องนี้ก็นานพอสมควร และเมื่อผู้เขียนได้มีโอกาสได้อ่านหนังสือ
As The Future Catches You ซึ่งในนั้น มีลำดับของประเทศที่นักศึกษาไปเรียนปริญญาเอกในประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วไม่ยอมกลับบ้าน ปรากฏว่าประเทศเกาหลีอยู่ต่ำสุด (หมายความว่านักศึกษาระดับปริญญาเอกชาวเกาหลีที่ไปศึกษาในอเมริกา เมื่อเรียนจบแล้ว ส่วนมากจะเดินทางกลับไปทำงานในประเทศเกาหลี) ตรงนี้ไม่ทราบว่าจะเกี่ยวกับการรักชาติ หรือความเป็นชาตินิยมก็ไม่อาจทราบได้

สิ่งที่คิดเลยไกลกว่านั้นก็คือ ไม่เห็นประเทศญี่ปุ่นอยู่ในรายชื่อ ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้สองอย่าง คือ ประการแรก ผู้เขียนหนังสือเล่มนั้นไม่ได้นำประเทศญี่ปุ่นมายกตัวอย่าง หรือประการที่สองก็คือ คนญี่ปุ่นมีเลือดรักชาติยิ่งกว่าชาวเกาหลี จนไม่มีนักศึกษาที่เรียนจบปริญญาเอกในอเมริกาไปตกค้างอยู่มากพอที่นำมายกเป็นตัวอย่างได้

ที่ต้องตั้งคำถามเลยไปจากนั้นก็คือ ความเป็นรัฐชาติในอนาคตของยุคโลกาภิวัฒน์จะยังเป็นสิ่งที่ต้องพูดถึง ต้องปลูกฝังให้คนยึดถือกันอยู่ต่อไปอีกหรือไม่เพราะรู้สึกว่า ในยุคโลกาภิวัฒน์อย่างเช่นทุกวันนี้ จะมีกระแสความคิดอยู่สองแนวซึ่งอยู่ตรงกันข้าม

กระแสความคิดที่หนึ่ง คือ การคงอยู่ของความเป็นรัฐชาติซึ่งในกระแสความคิดนี้ ก็ยังต้องปลูกฝังเรื่องชาติ จะคิดจะทำอะไรก็ต้องนึกถึงชาติ วิธีการสร้างคน ก็ต้องปลูกฝังให้รักชาติ มีความเป็นชาตินิยม เหล่านี้ ล้วนสวนทางกับความคิดกระแสที่สองซึ่งเห็นว่า ความเป็นรัฐชาติจะเจือจางลง หมายความว่า เส้นแบ่งเขตแดนระหว่างรัฐจะเลือนลางลงหรือหายไปหมดเลยในอนาคต

ถ้าเป็นเช่นนั้น ต่อไป คนจะไม่พูดเรื่องชาติกันอีกแล้วเป็นโลกไร้พรมแดน เป็นโลกาภิวัฒน์ในอุดมคติ ถ้าจะยึดถือแนวคิดกระแสที่สองแล้วต่อไปก็คงไม่มีความจำเป็นต้องทำการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในชั้นเรียน ไม่ต้องปลูกฝังเรื่องชาติเรื่องส่วนรวม (ความจริงกำลังทำกันอยู่บ้างแล้ว) การสอนสมัยใหม่ ก็เพียงแค่จับเด็กนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ต้องรับรู้เรื่องอื่นรอบตัว เน้นที่การพัฒนาตนเอง เมื่อพ้นวัยศึกษาออกมาทำงานก็พยายามหาสตางค์ให้ได้มาก ร่ำรวย ซึ่งหากสามารถทำดั่งเช่นที่ว่าได้แล้วสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ก็จะตามมาเอง ตรงไหนมีช่องทางพอจะหาประโยชน์เข้าตัวก็รีบเข้าไปทำ ไม่ต้องคำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม สิ่งที่ต้องยึดถือ คือ กฎระเบียบและข้อกฎหมายที่เป็นกรอบกำกับการดำรงชีวิต ซึ่งหากละเว้นไม่ปฏิบัติก็จะมีบทลงโทษ


"เมื่อไม่มีความเป็นรัฐชาติแล้ว ก็จะกลายเป็นคนไร้สังกัดอยู่ตรงไหนก็ทำเพื่อตนเองให้มากเข้าไว้"

เมื่อก่อนนี้ก็คิดว่าคิดเรื่องนี้ไปคนเดียวแต่เมื่อมาได้ยินเรื่องนี้เมื่อตอนที่ไปเรียนที่สถาบันพระปกเกล้า ตอนที่ฟังบรรยายยังคิดว่าอาจารย์ที่สอนคิดมากเกินไป เมื่อได้มาอ่านหนังสือ As The Future Catches You จึงรู้ว่ามีคนคิดแบบนี้อยู่มาก และเป็นเรื่องน่าคิด หนังสือเล่มนี้ อ้างถึงคำพูด ลี กวน ยู ที่ว่า "Will Singapore the independent city - state disappear? The island will not, but the sovereign nation, could vanish"

สิงคโปร์ก็อาจจะคิดไปอย่างนั้นได้ แต่ประวัติศาสตร์ชาติไทยเท่าที่มีการจดบันทึกยาวนานถึง 800 ปี ถ้าศึกษาให้ลึกลงไปอีก ก็จะพบว่าความเป็นเชื้อชาติไทย ยังสามารถสืบสาวไปได้ไกลกว่านั้นมาก ในขณะที่ประวัติศาสตร์ชาติสิงคโปร์ มีอายุสั้นกว่าอายุผู้เขียนเสียอีก

กลับมาเรื่องไปประเทศญี่ปุ่น ตอนที่รับคำสั่งให้เดินทางไปประชุม ก็ยังไม่แน่ใจว่าประชุม
POINT ตามที่สั่งให้ไปประชุมนี้คืออะไร เพราะเพิ่งมารับงานยังไม่ถึงเดือน

POINT คือ Initiative In Transport ซึ่งเป็นการประชุมในลักษณะสหภาคี ที่ต่อเนื่องมาจากการริเริ่มในระดับรัฐบาล ในส่วนของเรื่องรถไฟ ได้มีการจัดประชุมไปแล้วหลายครั้งมาถึงการประชุมครั้งนี้ ซึ่งเรียกว่า The 1st Collaborative Survey Committee (CSC) ซึ่งผู้นำในการจัดประชุมคือ Ministry of Land , Infrastructure and Transport (MLIT) หน่วยงานนี้ แต่เดิมไม่ได้ใช้ชื่อนี้ เมื่อปี 2543 ผู้เขียนได้รับเชิญให้ไปร่วมประชุม ยังใช้ชื่อกระทรวงขนส่ง ซึ่งเป็นชื่อเก่า แต่หลังจากทำการปรับโครงสร้างในปีนั้นแล้ว กระทรวงนี้ก็ใหญ่ขึ้น เพราะรวมเรื่องการขนส่งทางบกและโครงสร้างขนส่ง มาไว้ในกระทรวงเดียวกันทั้งหมด นึกว่าปรับแล้วใหญ่ขึ้นจะมีแต่ที่ประเทศไทย !

ประเทศที่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ญี่ปุ่น ( เจ้าภาพ ) ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เนื้อหาการประชุมที่เป็นการเรียนรู้จริง ๆ ก็มีเฉพาะการบรรยายเรื่อง
Key Issues for Better Urban Railway Services โดยศาสตราจารย์ ดร. โมริชิ ที่เหลือก็เป็นการนำเสนอโครงการ เกี่ยวกับระบบการขนส่งมวลชนในเมือง จากประเทศที่เข้าร่วมประชุมและเป็นการดูงานระบบขนส่งมวลชน ในภาคสนาม คณะผู้แทนจากประเทศไทย มี โปรแกรมพิเศษถูกจับเข้าห้องเรียนเพื่อติวเข้มอีก 1 วัน เพราะไปวิพากษ์วิจารณ์ผลการศึกษาเรื่องโครงการสร้างทางรถไฟเชื่อมสนามบินสุวรรณภูมิไว้มาก เลยอดไปดูการสร้างทางรถไฟเพื่อขนคน ไปชมการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 ที่สนามแข่งขันใน SAITAMA Prefecture ร่วมกับผู้แทนประเทศอื่น

วันที่สาม คณะผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดจึงขึ้น รถไฟความเร็วสูง ขบวน
NOZOMI (แปลว่าความหวัง หรือ Hope) ซึ่งวิ่งด้วยความเร็ว 300 กม./ ชม. จาก โตเกียว ไปโอซาก้า เพื่อดูระบบรถไฟขนส่งผู้โดยสารชานเมือง แล้วเลยไปดูการก่อสร้างทางรถไฟเชื่อมโอซาก้ากับเมืองใหม่ที่ KANSAI Science City วันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันสุดท้าย จึงมีกำหนดการไปดูระบบรถไฟเชื่อมสนามบิน Kansai กับเมืองโอซาก้า แต่ผู้เขียนเดินทางกลับก่อน 1 วัน จึงไม่ได้ดูงานในวันสุดท้าย



รถไฟความเร็วสูง JR West 500 Series ขบวน NOZOMI ของประเทศญี่ปุ่น

ดร.โมริชิ พูดเกี่ยวกับวิชาการขนส่งอยู่หลายเรื่อง แต่สิ่งที่สร้างความแปลกใจให้กับสมาชิกที่อยู่ในห้องประชุมก็คือ ได้รับการขอร้องจากรัฐบาลเวียตนามให้ช่วยเขียนแผนการขนส่งเพื่อลดจำนวนมอเตอร์ไซค์บนท้องถนนที่กำลังจะกลายเป็นจราจลอยู่ในฮานอย และโฮจิมินห์ ซิตี้ แสดงว่ารัฐบาลประเทศเวียตนามเริ่มมองเห็นปัญหาแล้ว

เรื่องรถมอเตอร์ไซค์บนถนนนี้ผู้เขียนได้นำไปยกเป็นตัวอย่างเรื่อง การสร้างสำนึกในการเปลี่ยนแปลง
(Establishing The Sense of Urgency)หลายครั้งแล้ว เพราะเป็นตัวอย่างที่ดี กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงมักจะมาจากความรู้สึกว่าอะไรต้องเปลี่ยน และถ้าเราไม่เปลี่ยนเราก็มีชีวิตต่อไปได้ แต่ด้วยวิถีทางของชีวิตอีกแบบหนึ่ง เราไม่เปลี่ยนเรื่องมอเตอร์ไซค์บนถนนเราก็อยู่ต่อไปได้ เพียงแต่อยู่ในแบบที่คนอื่นเขาอาจจะมองว่าเราล้าหลังแต่ถ้าเราไม่แคร์ ไม่เห็นว่าเป็นปัญหา

แล้วยังไง
"So what?"

จบตอนที่ 1

อนุญาตให้เผยแพร่ในเว็บไซต์รถไฟไทยดอทคอม

โดย
อาจารย์ นคร จันทศร (Nakorn_C)

เรียบเรียง โดย Nathapong, Black Express and CivilSpice

ภาพประกอบโดย อาจารย์ Tuie
แก้ไขล่าสุดโดย petemaker เมื่อ Fri Jan 17, 2014 22:26, ทั้งหมด 1 ครั้ง
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกบอร์ด >> ความคงเส้นคงวาแบบญี่ปุ่น ตอนที่ 1
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel