ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: ร่องรอยที่ล่องลอย
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 8954
ที่อยู่: ท่าแซะ แซะมง ตะลุ่มตุ้มมง ♥♪♫
โพสเมื่อ: Wed Nov 20, 2013 22:32
99 PICs of WORLD's HISTORY (3)
99 PICs of WORLD's HISTORY (3) ,"99 Great PICs of NASA"
99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย (3) ตอนพิเศษ : 99 ภาำพสุดเจ๋งขององค์การ NASA


ขอเกริ่นสักนิด :
"อย่าพึ่งเบื่อผมนะ" เพราะผมกลับมาอีกแล้ว!!! กับ 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย จากครั้งที่ผ่านๆมาได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี มีคนชอบ มีคนเรียกร้องให้ลงอีก ผมจึงจัดให้ตามคำขอเลย ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้วนะ รวมภาพประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น 297 ภาพ เซตภาพครั้งนี้พิเศษหน่อย ตรงที่มีชื่อตอนด้วย ซึ่งเซตก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมี ส่วนใครที่พลาดภาพประวัติศาสตร์ก่อนหน้านี้สามารถชมได้
จากลิ้งด้านล่างนี้ครับ


# 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย (1) ให้
# 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย (2) ให้

ว่ากันด้วยเรื่อง 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย (3) นี้ เป็นตอนพิเศษที่จัดทำขึ้นเพราะอยากทำ 555 ไม่ใช่อะไรหรอก แค่อยากเปลี่ยนแนวบ้าง เนื่องจากประวัติศาสตร์มันกว้างมาก วันนี้เลยขอเจาะจงไปที่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่พยายามออกไปนอกโลก ขอใช้ชื่อตอนว่า " 99 Great PICs of NASA" หรือ 99 ภาำพสุดเจ๋งขององค์การ NASA ได้แรงบรรดาลใจมาจากการกลับไปดูหนังเรื่อง Armageddon ได้เห็นถึงความตั้งใจของมนุษย์ที่จะออกไปกู้โลก จากภัยที่มาจากนอกโลก ดูแ้ล้วซึ้งกับตอนสุดท้าย (นอกเรื่องไปนิด) มาวันนี้จึงขอทำภาพชุดพิเศษสำหรับคนที่ชอบภาพเกี่ยวกับอวกาศ เพราะคัดภาพถ่ายขององค์การ NASA มาให้ชมกันทั้งเซต ซึ่งมีอยู่เยอะพอสมควร

โดยที่ครั้งนี้ทุกท่านจะได้ย้อนอดีตไปกับความทะเยอทะยานของมนุษย์ ที่อยากจะบินขึ้นไปสำรวจอวกาศและพวกเขาเหล่านั้นก็ทำได้สำเร็จ ในทางกลับกันมีบางภารกิจที่ล้มเหลวซึ่งต้องแลกมาด้วยชีวิตของเหล่านักบินอวกาศผู้เสียสละ โดยภาพที่นำมาเสนอนี้ จะเป็นภาพของโครงการ Apollo11 ของสหรัฐฯ ที่สามารถเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของมนุษยชาติ รวมถึงภารกิจที่ NASA เคยล้มเหลว ได้แก่ ยาน Challenger และ ยาน Columbia พร้อมกับภาพอื่นๆที่ทาง NASA ได้ถ่ายไว้ จะถูกนำเสนอด้วยเช่นกัน จะเป็นอย่างไร
ขอเชิญรับชม ณ บัดนี้..




99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย (3)
► ตอนพิเศษ : 99 ภาำพสุดเจ๋งขององค์การ NASA

ภาพและข้อมูลโดย... GRIN (Great Image of NASA)
เรียบเรียงโดย... หมูดำ
แปลคำอธิบายโดย... หมูดำ


►------------------ภาพโครงการ Apollo11 (42 ภาพ)-----------------◄

จรวด Saturn V เตรียมถูกปล่อยออกจากฐาน


Apollo11 ถูกปล่อยออกไปแล้วจ้า (1)


Apollo11 ถูกปล่อยออกไปแล้วจ้า (2)


ขณะปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศ (1)


ขณะปล่อยจรวดขึ้นสู่อวกาศ (2)


เบื้องหลังความสำเร็จของยาน Apollo11


ฮุสตั้น เราถึงดวงจันทร์ละจ้า


ภาพการฉลองความสำเร็จ


ภาพลูกเรือยาน Apollo11 ได้แก่ Neil Armstrong,Edwin Aldrin,Michael Collins


Neil Armstrong On The Moon


ยาน Eagle (แยกตัวออกจากยานอพอลโล่11) โคจรรอบดวงจันทร์ Lunar Orbit


Aldrin กำลังทดสอบลมสุริยะ


ลูกเรือยาน Apollo11 บนแพรอรับกลับบ้าน


กลับสู่โลกสำเร็จ "เอ้า!!! ฉลอง"


John C. Houbolt


President George Bush and Apollo 11 Astronauts


Nixon Telephones Armstrong on the Moon


การขนยาน Apollo 11 พร้อมจรวด Saturn V ไปติดตั้งที่ฐานปล่อย


ผู้คนต่างกันมารอชมการปล่อยยาน Apollo11 (1)


ผู้คนต่างกันมารอชมการปล่อยยาน Apollo11 (2)


อาร์มสตรองได้รับรางวัลเกียรติยศ


ประธานาธิบดีนิกสันเยี่ยมลูกเรือพอลโล 11 ในเขตกักกัน


ภายในยาน Apollo11


Buzz Aldrin and the U.S. flag on the Moon


Buzz Aldrin on the Moon


Apollo 11 bootprint


Dr. George Mueller ดูความคืบหน้าของภารกิจ Apollo11


นักบินอวกาศ Apollo11 ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากเม็กซิโก


นักบินอวกาศเข้าสู่ Royal Palace in Brussels, Belgium


นักบินอวกาศเข้าพบสมเด็จพระสันตะปาปาพอลที่ 6


ประธานาธิบดีนิกสันพบกับนักบินอวกาศของ Apollo11 ที่ทำเนียบขาว


ผ่อนคลายหลังภารกิจสำเร็จ


นักบินเข้าไปเชคความเรียบร้อยของชิ้นส่วนในยาน Apollo11


นักบินยาน Apollo11 กำลังซ้อมการอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก


ภาพการเฉลิมฉลองภายในห้องควบคุมยาน Apollo11 หลังภารกิจสำเร็จ


ชาวเมือง New York ออกมาต้องรับนักบินอวกาศ Apollo11


ชาวเมือง Chicago ออกมาต้องรับนักบินอวกาศ Apollo11


นักบินอวกาศ Apollo11 กับฐานปล่อยจรวดด้านหลัง


Apollo 11 Recovery Area


Spiro Agnew and Lyndon Johnson Watch the Apollo 11 Liftoff


นีล อาร์มสตรองได้ทิ้งใบมะกอกทองไว้บนดวงจันทร์ด้วยนะ


President Nixon และ Dr. Paine รอที่จะพบกับนักบินอวกาศ Apollo 11



►------------------------ ภาพภารกิจยาน Challenger (24 ภาพ) -------------------------◄

นักบินอวกาศของยาน Challenger


น้ำแข็งเกาะอยู่ที่ฐานปล่อยจรวด



น้ำแข็งเกาะบนฐานปล่อยยาน


51-L Challenger Crew in White Room


51-L Flight Crew Emergency Egress Training


Christa McAuliffe and Barbara Morgan


Christa McAuliffe Experiences Weightlessness During KC-135 Flight


ชิ้นส่วนยาน Challenger หลังเกิดระเบิดกลางอากาศ


ชิ้นส่วนด้านซ้ายของยาน Challenger


ชิ้นส่วนยาน Challenger (1)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (2)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (3)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (4)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (5)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (6)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (7)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (8)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (9)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (10)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (11)


ชิ้นส่วนยาน Challenger (12)


Sally Ride นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลก


Members of the Rogers Commission arrive at KSC


ภาพการระเบิดของยาน Challenger กลางอากาศ



►------------------------- ภาพภารกิจยาน Columbia (18 ภาพ) --------------------------◄

ภาพลูกเรือยานอวกาศ Columbia


ลูกเรือยานอวกาศ Columbiaเข้าฝึกซ้อม


STS-107 Classroom Training


STS-107 Crew in front of SPACEHAB


ปล่อยยาน Columbia


เศษชิ้นส่วนยาน Columbia (1)


เศษชิ้นส่วนยาน Columbia (2)


งานลำลึกเหตุการณ์โศกนาฏกรรมยานอวกาศ Columbia


อนุสรณ์กระจกเพื่อแสดงความอาลัยแด่นักบินอวกาศยาน Columbia


การแถลงข่าวการสืบสวนอุบัติเหตุยาน Columbia


ภาพมุมใกล้ ขณะปล่อยยานโคลัมเบีย


ชิ้นส่วนยานโคลัมเบีย นำมาเรียงเป็นรูปยานโคลัมเบีย


กำลังหาชิ้นส่วนยานที่ตกสู่พื้นโลก


เจอหนอนอยู่ที่ซากเครื่องบินด้วย


STS-107 Crew in front of T-38


Rick Husband and Willie McCool


ผู้คนต่างพากันมาวางดอกไม้เพื่อไว้อาลัย


จอร์จ บุช ออกมาพูดหลังเหตุการณ์



►------------------------- ภาพอื่นๆของ NASA (15 ภาพ)--------------------------◄

ประกอบตัวถังจรวด Saturn V


ทดสอบการจุดจรวดที่ฐาน S-1C


ชิ้นส่วนจรวด Saturn V จากโรงงาน Michould


ทดสอบการบินลงสู่พื้น


Apollo 17 Astronaut Training


Gumdrop Meets Spider


นำจรวด Saturn V มาทดสอบ


ทดลองปลูกถั่วในอวกาศ


Conrad Unfurls Flag


Scott on Slope of Hadley Delta


Galileo Images the Moon


ปล่อยจรวด Surveyor 1


ภาพแรกของโลกที่ถ่ายจากดวงจันทร์


The Earth and Moon


Scott Gives Salute


--- THE END Of 99 PICs of WORLD's HISTORY (3) ---
--------------------TO BE CONTINUED -------------------
--------------------------THANKS --------------------------



- เนื่องจากภาพของ NASA มีอยู่เยอะมาก นี้เป็นแค่ส่วนนึงเท่านั้น ไว้มีโอกาสจะนำมาให้ชมอีกครับ
- ถ้าแปลผิดขออภัยด้วยครับ
- ถ้าภาพบางภาพซ้ำขออภัยครับ
- ไม่ได้แปลคำอธิบายบางภาพต้องขออภัยด้วยครับ
เนื่องจากในตัวภาพสามารถสื่อความหมายในตัวมันเองได้ครับ
- ถ้าจะนำบทความนี้ไปใช้ กรุณาให้เครดิตเว็บนี้ด้วยนะครับ www.soccersuck.com


"ขอบคุณที่รับชมผลงานครับ"
มีข้อติชมหรือข้อเสนอแนะช่วยคอมเม้นบอกด้วยครับ เพื่อที่งานหน้าจะได้ดีกว่านี้ครับ

"ถ้าคิดว่ามีประโยชน์ ช่วยกดโหวตกระทู้เพื่อส่งต่อให้คนหลังๆมาชมด้วยนะครับ"



# 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย (1) ให้
# 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย (2) ให้
แก้ไขล่าสุดโดย คุโรบูตะ เมื่อ Thu Nov 21, 2013 23:15, ทั้งหมด 2 ครั้ง
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: ร่องรอยที่ล่องลอย
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 8954
ที่อยู่: ท่าแซะ แซะมง ตะลุ่มตุ้มมง ♥♪♫
โพสเมื่อ: Wed Nov 20, 2013 22:34
Top Comment [RE: 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย [Special]]
ข้อมูลเพิ่มเติม

กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์



กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (อังกฤษ: Shuttle Orbiter Challenger) รหัสประจำยานคือ OV-099 เป็นกระสวยอวกาศลำที่สองที่ใช้ปฏิบัติภารกิจในอวกาศขององค์การนาซ่า สร้างถัดจากกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เริ่มปล่อยสู่อวกาศครั้งแรก(ภารกิจที่ STS-6) ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) และปฏิบัติภารกิจมาแล้วถึง 9 ครั้งก่อนที่จะมาประสบอุบัติเหตุกระสวยอวกาศระเบิด(ในภารกิจที่ STS-51-L) ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) หลังจากที่ปล่อยกระสวยสู่ท้องฟ้าได้ 73 วินาที ทำให้ลูกเรือทั้ง 7 คนในยานเสียชีวิตทั้งหมด หลังจากที่อุบัติเหตุครั้งนี้ ทาง NASA จึงได้สร้างกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Space Shuttle Endeavour) ขึ้นมาปฏิบัติภารกิจแทนยานชาเลนเจอร์ ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)
ยานชาเลนเจอร์ได้รับเลือกให้ปฏิบัติภารกิจทั้งหมด 10 ครั้ง มีลูกเรือเดินทางกับยานแล้ว 60 คน รวมเวลาอยู่ในอวกาศเป็นเวลา 62.41 วัน มีระยะการเดินทางรวม 25,803,939 ไมล์ หรือ 41,527,416 กิโลเมตร



การสูญเสียกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์
ในภารกิจครั้งที่ 10 (เที่ยวบิน]ที่ STS-51-L) ของยานชาเลนเจอร์ ซึ่งเป็นวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 หลังจากปล่อยยานขึ้นไปเพียงนาทีเศษ ยานชาเลนเจอร์ได้ประสบอุบัติเหตุจากการระเบิด เนื่องจากยางรูปวงแหวนที่ใช้ปิดกั้นแก๊สระหว่างรอยต่อในจรวดบูสเตอร์(Solid Rocket Booster : SRB)ตัวขวาได้มีการเสียหายมาจากการยิงจรวดมาในภารกิจก่อนหน้านั้นหลายครั้งมาแล้ว และยังมีอีกปัจจัยนึงคือในวันที่ปล่อยกระสวยครั้งนี้ สภาพอากาศที่เย็นจัดได้ก่อให้เกิดน้ำแข็งเกาะตามฐานปล่อยจรวดและยาน รวมทั้งจรวดบูสเตอร์ด้วย ทำให้ยางไม่ยืดหยุ่น เมื่อได้ปล่อยยาน แก็สความร้อนสูงได้รั่วออกมาและรวมตัวกับเปลวไฟที่ไอพ่นของบูสเตอร์ จึงทำให้เกิดไฟลุกไหม้จรวด และเมื่อถังเชื้อเพลิงสีส้ม(Fule Tank : ET)ได้ถูกความร้อนจากจรวดตัวขวา ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นเป็นลูกไฟขนาดยักษ์บนฟ้า ยานได้แตกเป็นส่วนๆ จนตกสู่ทะเล ซึ่งในขณะที่ยานระเบิดนั้น ลูกเรือในยานยังไม่เสียชีวิตจนกระทั่งห้องโดยสารตกสู่ทะเล

====================================================================

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย





กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Orbiter Vehicle Designation: OV-102) เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ใช้งานจริงของนาซา ซึ่งภารกิจแรกในเที่ยวบิน STS-1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ถึง 14 เมษายน ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) จนมาถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กระสวยอวกาศโคลัมเบียได้เกิดอุบัติเหตุระเบิดขึ้นเหนือรัฐเทกซัสขณะกลับสู่โลก หลังภารกิจครั้งที่ 28 เสร็จสิ้น ทำให้ลูกเรือในยานทั้ง 7 คนเสียชีวิต

การสร้างยานโคลัมเบียเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ที่ ในเมือง Palmdale รัฐแคลิฟอร์เนีย โคลัมเบียเป็นชื่อตั้งตามหลังจากเรือใบ honored Columbia ของฐานเรือใบเมืองBoston โดยกัปตันเรือ Robert Grey ชาวอเมริกันได้ทำการเดินทางสำรวจแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือและเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ใช้เรือใบสำรวจของโลก และชื่อจากโมดูลสั่งการของยานอพอลโล 11 หลังสร้างยานเสร็จยานได้ถูกส่งมาที่ศูนย์อวกาศจอร์น เอฟ เคนเนดี ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 สู่การเตรียมยิงปล่อยครั้งแรก ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2524 ในระหว่างเตรียมทดสอบ ground ได้มีสองคนงานเกิดการสลบจากการขาดอากาศขณะที่กำลังทำการล้างไนโตรเจน จนทำให้ทั้งสองเสียชีวิต



โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย
โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เมื่อกระสวยอวกาศโคลัมเบียของ องค์การนาซา แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยตกลงมาสู่โลกเหนือเขตรัฐเทกซัสพร้อมกับการสูญเสียลูกเรือทั้งหมดเจ็ดคน หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในเที่ยวบินที่ 28 STS-107 และกำลังเดินทางกลับสู่พื้นโลก
การสูญเสียของกระสวยอวกาศโคลัมเบียเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการส่ง ชิ้นส่วนแผ่นโฟมกันความร้อนชิ้นหนึ่งเกิดปริแตกออก และหลุดออกจากบริเวณถังเชื้อเพลิงด้านนอก พุ่งมากระทบปลายปีกด้านซ้ายของกระสวยอวกาศ ทำให้ระบบป้องกันความร้อนของกระสวย (Shuttle's thermal protection system (TPS)) ได้รับความเสียหาย วิศวกรจำนวนหนึ่งสังเกตเห็นความผิดปกติตั้งแต่กระสวยอวกาศยังอยู่ในวงโคจร แต่ผู้จัดการภาคพื้นดินของนาซาให้จำกัดขอบเขตการสอบสวนไว้ก่อนเพราะเห็นว่ายังไม่สามารถทำอะไรได้
คณะกรรมการสอบสอนอุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในทางเทคนิคและด้านการจัดการภายในองค์กร ทำให้โครงการด้านกระสวยอวกาศต้องหยุดชะงักไปกว่าสองปีหลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้ นับเป็นเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่หลังจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์

การเกิดอุบัติเหตุ
กระสวยอวกาศโคลัมเบียมีแผนเดินทางขึ้นไปปฏิบัติภารกิจทดลองวิทยาศาสตร์กว่า 80 รายการ นอกอวกาศเป็นเวลา 16 วัน และมีกำหนดเดินทางกลับสู่พื้นโลก โดยแล่นลงจอดที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ในช่วงเช้า วันเสาร์ 1 ก.พ. ตามเวลาในสหรัฐฯ แต่กระสวยอวกาศเกิดขาดการติดต่อกับศูนย์ควบคุมภารกิจภาคพื้นดิน กระสวยอวกาศโคลัมเบีย ถือเป็นกระสวยอวกาศเก่าแก่ที่สุดขององค์การนาซา โดยขึ้นบินสู่อวกาศครั้งแรกในปี 2524 นักบินอวกาศทั้ง 7 คน ประกอบด้วยชาวสหรัฐฯ 6 คน ชาวอิสราเอล 1 คน เสียชีวิตทั้งหมด
เหตุการณ์เกิดขึ้นเหนือพื้นดินราว 207,000 ฟุต หรือ 62,100 เมตร ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าจะถูกยิงด้วยขีปนาวุธแบบพื้นสู่อากาศ ในช่วงไม่กี่นาทีสุดท้ายก่อนยานจะพบจุดจบ เป็นไปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่แผ่นป้องกันความร้อน ราว 80 วินาทีหลังจากมันทะยานขึ้นจากแหลมคานาเวอราล ชิ้นส่วนแผ่นโฟมกันความร้อน ขนาดยาวประมาณ 20 นิ้ว หลุดออกจากบริเวณถังเชื้อเพลิงด้านนอก และพุ่งมากระทบปลายปีกด้านซ้ายของกระสวยอวกาศ ทำความเสียหายให้กับแผ่นฉนวนกันความร้อน ที่เรียกว่า Thermal Tiles หรืออาจทำให้มันหลุดไป
กระสวยอวกาศจะมี Thermal Tiles มากกว่า 20,000 แผ่น เพื่อป้องกันความร้อน ในขณะที่มันเดินทางกลับเข้าสู่บรรยากาศ ของโลก หากเกิดมันหลุดออก จนมีขนาดใหญ่จะเกิดความร้อนสูง จนทำให้กระสวยอวกาศแตกเป็นเสี่ยงๆ ในขณะที่ มันเดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก คล้ายกับสถานีอวกาศเมียร์ที่แตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งหลักฐานใหม่ที่พบแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิอากาศบริเวณด้านซ้ายของยานได้เพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ ประกอบกับตัวยานได้ถูกบีบอัดจากแรงต้านของลมกำลังสูงในขณะนั้น



ข้อมูลจาก wiki
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: ร่องรอยที่ล่องลอย
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 8954
ที่อยู่: ท่าแซะ แซะมง ตะลุ่มตุ้มมง ♥♪♫
โพสเมื่อ: Wed Nov 20, 2013 22:34
[RE: 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย [Special]]
ข้อมูลเพิ่มเติม

กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์



กระสวยอวกาศชาเลนเจอร์ (อังกฤษ: Shuttle Orbiter Challenger) รหัสประจำยานคือ OV-099 เป็นกระสวยอวกาศลำที่สองที่ใช้ปฏิบัติภารกิจในอวกาศขององค์การนาซ่า สร้างถัดจากกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เริ่มปล่อยสู่อวกาศครั้งแรก(ภารกิจที่ STS-6) ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) และปฏิบัติภารกิจมาแล้วถึง 9 ครั้งก่อนที่จะมาประสบอุบัติเหตุกระสวยอวกาศระเบิด(ในภารกิจที่ STS-51-L) ในวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) หลังจากที่ปล่อยกระสวยสู่ท้องฟ้าได้ 73 วินาที ทำให้ลูกเรือทั้ง 7 คนในยานเสียชีวิตทั้งหมด หลังจากที่อุบัติเหตุครั้งนี้ ทาง NASA จึงได้สร้างกระสวยอวกาศเอนเดฟเวอร์ (Space Shuttle Endeavour) ขึ้นมาปฏิบัติภารกิจแทนยานชาเลนเจอร์ ในปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992)
ยานชาเลนเจอร์ได้รับเลือกให้ปฏิบัติภารกิจทั้งหมด 10 ครั้ง มีลูกเรือเดินทางกับยานแล้ว 60 คน รวมเวลาอยู่ในอวกาศเป็นเวลา 62.41 วัน มีระยะการเดินทางรวม 25,803,939 ไมล์ หรือ 41,527,416 กิโลเมตร



การสูญเสียกระสวยอวกาศชาเลนเจอร์
ในภารกิจครั้งที่ 10 (เที่ยวบิน]ที่ STS-51-L) ของยานชาเลนเจอร์ ซึ่งเป็นวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2529 หลังจากปล่อยยานขึ้นไปเพียงนาทีเศษ ยานชาเลนเจอร์ได้ประสบอุบัติเหตุจากการระเบิด เนื่องจากยางรูปวงแหวนที่ใช้ปิดกั้นแก๊สระหว่างรอยต่อในจรวดบูสเตอร์(Solid Rocket Booster : SRB)ตัวขวาได้มีการเสียหายมาจากการยิงจรวดมาในภารกิจก่อนหน้านั้นหลายครั้งมาแล้ว และยังมีอีกปัจจัยนึงคือในวันที่ปล่อยกระสวยครั้งนี้ สภาพอากาศที่เย็นจัดได้ก่อให้เกิดน้ำแข็งเกาะตามฐานปล่อยจรวดและยาน รวมทั้งจรวดบูสเตอร์ด้วย ทำให้ยางไม่ยืดหยุ่น เมื่อได้ปล่อยยาน แก็สความร้อนสูงได้รั่วออกมาและรวมตัวกับเปลวไฟที่ไอพ่นของบูสเตอร์ จึงทำให้เกิดไฟลุกไหม้จรวด และเมื่อถังเชื้อเพลิงสีส้ม(Fule Tank : ET)ได้ถูกความร้อนจากจรวดตัวขวา ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นเป็นลูกไฟขนาดยักษ์บนฟ้า ยานได้แตกเป็นส่วนๆ จนตกสู่ทะเล ซึ่งในขณะที่ยานระเบิดนั้น ลูกเรือในยานยังไม่เสียชีวิตจนกระทั่งห้องโดยสารตกสู่ทะเล

====================================================================

กระสวยอวกาศโคลัมเบีย





กระสวยอวกาศโคลัมเบีย (Orbiter Vehicle Designation: OV-102) เป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่ใช้งานจริงของนาซา ซึ่งภารกิจแรกในเที่ยวบิน STS-1 เมื่อวันที่ 12 เมษายน ถึง 14 เมษายน ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ.1981) จนมาถึงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 กระสวยอวกาศโคลัมเบียได้เกิดอุบัติเหตุระเบิดขึ้นเหนือรัฐเทกซัสขณะกลับสู่โลก หลังภารกิจครั้งที่ 28 เสร็จสิ้น ทำให้ลูกเรือในยานทั้ง 7 คนเสียชีวิต

การสร้างยานโคลัมเบียเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2518 ที่ ในเมือง Palmdale รัฐแคลิฟอร์เนีย โคลัมเบียเป็นชื่อตั้งตามหลังจากเรือใบ honored Columbia ของฐานเรือใบเมืองBoston โดยกัปตันเรือ Robert Grey ชาวอเมริกันได้ทำการเดินทางสำรวจแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือและเป็นชาวอเมริกันคนแรกที่ใช้เรือใบสำรวจของโลก และชื่อจากโมดูลสั่งการของยานอพอลโล 11 หลังสร้างยานเสร็จยานได้ถูกส่งมาที่ศูนย์อวกาศจอร์น เอฟ เคนเนดี ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2522 สู่การเตรียมยิงปล่อยครั้งแรก ในวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2524 ในระหว่างเตรียมทดสอบ ground ได้มีสองคนงานเกิดการสลบจากการขาดอากาศขณะที่กำลังทำการล้างไนโตรเจน จนทำให้ทั้งสองเสียชีวิต



โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย
โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศโคลัมเบีย เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เมื่อกระสวยอวกาศโคลัมเบียของ องค์การนาซา แตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยตกลงมาสู่โลกเหนือเขตรัฐเทกซัสพร้อมกับการสูญเสียลูกเรือทั้งหมดเจ็ดคน หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในเที่ยวบินที่ 28 STS-107 และกำลังเดินทางกลับสู่พื้นโลก
การสูญเสียของกระสวยอวกาศโคลัมเบียเกิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างการส่ง ชิ้นส่วนแผ่นโฟมกันความร้อนชิ้นหนึ่งเกิดปริแตกออก และหลุดออกจากบริเวณถังเชื้อเพลิงด้านนอก พุ่งมากระทบปลายปีกด้านซ้ายของกระสวยอวกาศ ทำให้ระบบป้องกันความร้อนของกระสวย (Shuttle's thermal protection system (TPS)) ได้รับความเสียหาย วิศวกรจำนวนหนึ่งสังเกตเห็นความผิดปกติตั้งแต่กระสวยอวกาศยังอยู่ในวงโคจร แต่ผู้จัดการภาคพื้นดินของนาซาให้จำกัดขอบเขตการสอบสวนไว้ก่อนเพราะเห็นว่ายังไม่สามารถทำอะไรได้
คณะกรรมการสอบสอนอุบัติเหตุกระสวยอวกาศโคลัมเบีย ระบุถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งในทางเทคนิคและด้านการจัดการภายในองค์กร ทำให้โครงการด้านกระสวยอวกาศต้องหยุดชะงักไปกว่าสองปีหลังจากอุบัติเหตุครั้งนี้ นับเป็นเหตุโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่หลังจากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์

การเกิดอุบัติเหตุ
กระสวยอวกาศโคลัมเบียมีแผนเดินทางขึ้นไปปฏิบัติภารกิจทดลองวิทยาศาสตร์กว่า 80 รายการ นอกอวกาศเป็นเวลา 16 วัน และมีกำหนดเดินทางกลับสู่พื้นโลก โดยแล่นลงจอดที่ศูนย์อวกาศเคนเนดี แหลมคานาเวอรัล รัฐฟลอริดา ในช่วงเช้า วันเสาร์ 1 ก.พ. ตามเวลาในสหรัฐฯ แต่กระสวยอวกาศเกิดขาดการติดต่อกับศูนย์ควบคุมภารกิจภาคพื้นดิน กระสวยอวกาศโคลัมเบีย ถือเป็นกระสวยอวกาศเก่าแก่ที่สุดขององค์การนาซา โดยขึ้นบินสู่อวกาศครั้งแรกในปี 2524 นักบินอวกาศทั้ง 7 คน ประกอบด้วยชาวสหรัฐฯ 6 คน ชาวอิสราเอล 1 คน เสียชีวิตทั้งหมด
เหตุการณ์เกิดขึ้นเหนือพื้นดินราว 207,000 ฟุต หรือ 62,100 เมตร ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าจะถูกยิงด้วยขีปนาวุธแบบพื้นสู่อากาศ ในช่วงไม่กี่นาทีสุดท้ายก่อนยานจะพบจุดจบ เป็นไปได้ว่าเกิดปัญหาขึ้นที่แผ่นป้องกันความร้อน ราว 80 วินาทีหลังจากมันทะยานขึ้นจากแหลมคานาเวอราล ชิ้นส่วนแผ่นโฟมกันความร้อน ขนาดยาวประมาณ 20 นิ้ว หลุดออกจากบริเวณถังเชื้อเพลิงด้านนอก และพุ่งมากระทบปลายปีกด้านซ้ายของกระสวยอวกาศ ทำความเสียหายให้กับแผ่นฉนวนกันความร้อน ที่เรียกว่า Thermal Tiles หรืออาจทำให้มันหลุดไป
กระสวยอวกาศจะมี Thermal Tiles มากกว่า 20,000 แผ่น เพื่อป้องกันความร้อน ในขณะที่มันเดินทางกลับเข้าสู่บรรยากาศ ของโลก หากเกิดมันหลุดออก จนมีขนาดใหญ่จะเกิดความร้อนสูง จนทำให้กระสวยอวกาศแตกเป็นเสี่ยงๆ ในขณะที่ มันเดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก คล้ายกับสถานีอวกาศเมียร์ที่แตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งหลักฐานใหม่ที่พบแสดงให้เห็นว่า อุณหภูมิอากาศบริเวณด้านซ้ายของยานได้เพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ ประกอบกับตัวยานได้ถูกบีบอัดจากแรงต้านของลมกำลังสูงในขณะนั้น



ข้อมูลจาก wiki
ออฟไลน์
คอมเมนเตเตอร์
Status: 黒い羊
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 6141
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Nov 20, 2013 22:41
[RE: 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย [Special]]
เป็นก้าวเล็กๆของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status: NNP
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Sep 2013
ตอบ: 560
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Nov 20, 2013 22:54
[RE: ► 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย [Special] ◄]
สาระเน้น ๆ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะตำบล
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 May 2006
ตอบ: 2143
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Nov 20, 2013 23:51
[RE: ► 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย [Special] ◄]
เคยนั่งอ่านอนุสรณ์เก่าๆของ รร.สมัยเรียน ม.ปลาย
นีล อาร์มสตรองเคยมาที่โรงเรียนผม เพราะมีนักเรียนหญิงสองคนเขียนจดหมายไปถึงเค้า
ที่นั่นคือโรงเรียนสิรินธร จังหวัดสุรินทร์

2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
"We are a team of devils. Our colors are red as fire and black, to invoke fear in our opponents". - Herbert Kilpin, 1899.

ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status: ร่องรอยที่ล่องลอย
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 8954
ที่อยู่: ท่าแซะ แซะมง ตะลุ่มตุ้มมง ♥♪♫
โพสเมื่อ: Thu Nov 21, 2013 00:59
[RE: ► 99 ภาพประวัติศาสตร์โลกที่ควรดูก่อนตาย [Special] ◄]
จริงๆ บทความนี้จะทำไว้ลงวันพรุ่งนี้นะ

แต่กดปุ่มผิด จะกดแสดงตัวอย่าง ดันไปกดส่งซะเนี่ย

ยังไงก็ลงไปละ เชิญเสพได้เลยจ้า


0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel