[RE: รถไฟความเร็วสูงช่วงอยุธยาได้สร้างต่อแล้ววว]
รายละเอียดของ รถไฟความเร็วสูง CR300AF
ก่อนอื่นต้องมาเล่าให้ฟังก่อนว่า CR300AF เป็นหนึ่งใน Series Fuxing ซึ่งจีนพัฒนาเองทั้งหมด จากการถ่ายทอดความรู้จากหลายๆประเทศ มาเป็นเทคโนโลยีของตัวเอง
ซึ่งขบวน CR300AF นี้เป็นรถไฟรุ่นล่าสุดของ CRRC โดยเปิดตัวครั้งแรก ในเดือนตุลาคม 2018 และผลิตใช้งานจริงขบวนแรก พฤศจิกายน 2019 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่มาก!!!! (ใครบอกว่ารถไฟตกรุ่นจะไปตีปาก)
Techinical Spec
- ขนาดราง 1435mm (European Standard Gauge)
- ระบบจ่ายไฟฟ้าเหนือหัว (OCS) 25KV/50Hz
- การจัดขบวน 8 ตู้ (4M4T)
- รูปแบบการแปลงไฟฟ้า AC-DC-AC
- Traction power 5460kW
- Regenerative power 7098kW
- น้ำหนักกดเพลา 17 ตัน
- ความเร็วให้บริการต่อเนื่องสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
- อัตราเร่ง (0-›120km/h)≥0.4m/s?
- ระยะเบรกที่ 250km/h≤3200m
- ความยาวขบวนรถ 208.95 m
—————————
ซึ่งขบวนรถเป็นส่วนของงานสัญญาที่ 2.3 มีรายละเอียดคือ
1. วางรางรถไฟความเร็วสูง เป็นทางคู่ ระยะทาง 253 กิโลเมตร ขนาดราง 1.435 เมตร (European Standard Guage)
ระบบหมอนรองราง
- ในพื้นที สถานี, ช่วงบางซื่อ-รังสิต และในอุโมงค์ เป็นแบบไม่ใช้หินรองราง (Ballastless Track) เพื่อง่ายในการซ่อมบำรุง
- ส่วนอื่นๆ เป็นแบบหินรองราง Ballasted Track
2. จัดหาขบวนรถไฟ ซึ่ง Confirm!!! ว่าเป็น Series : Fuxing Hao Model : CR300 แล้วแน่นอนครับ
ซึ่งรถไฟ Series : Fuxing hao Mode : CR300 ที่จีนพัฒนาเอง 100% ซึ่งเปลี่ยนจากรุ่น CRH380 ซึ่งเป็นรุ่นเก่าที่ใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศ (ของ Siemens เยอรมัน)
ความเร็วสูงสุด 250 กม/ชม
ใครยังไม่ได้อ่านเรื่องการพัฒนา Fuxing hao ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/730949204010228/?d=n
ในขบวนรถไฟความเร็วสูง 1 ขบวน มีทั้งหมด 8 ตู้
แบ่งเป็น 2 ชั้น คือ
- First Class (ชั้น 1) อยู่บริเวณหัวขบวนทั้ง 2 ด้าน มี 96 ที่นั่ง
- Second Class (ชั้น 2) ในพื้นที่ 6 ตู้ที่เหลือ มีทั้งหมด 498 ที่นั่ง
รวมผู้โดยสารทั้งหมด 594 ที่นั่ง
และมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น พื้นที่ขายอาหาร สำนักงานเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บกระเป๋าขนาดใหญ่ และมีห้องน้ำในทุกตู้โดยสาร
3. งานระบบควบคุม และอาณัติสัญญาณรถไฟ ซึ่งจะเป็นระบบ CTCS-2 พร้อมกับ GSM-R (รองรับการพัฒนาเป็น CTSC-3)
4. ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับเจ้าหน้าที่ฝั่งไทย เพื่อให้บริการ และซ่อมบำรุงได้เอง มากที่สุด
—————————
รูปแบบทางวิ่งโครงการ
ภายในโครงการแบ่งทางวิ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
- ทางวิ่งระดับดิน มีระยะทางรวม 54.09 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 188.68 กิโลเมตร
- อุโมงค์ มีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร
รวมระยะทางในโครงการทั้งหมด 250.77 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 90 นาที
โดยในโครงการมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่
- สถานีกลางบางซื่อ
- สถานีดอนเมือง
- สถานีอยุธยา
- สถานีสระบุรี
- สถานีปากช่อง
- สถานีนครราชสีมา (โคราช)
มีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ และบำรุงทาง ทั้งหมด 3 แห่งคือ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ควบคุม เชียงรากน้อย
- ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง สระบุรี และ โคสะอาด
—————————
รูปแบบการเดินรถไฟ ค่าโดยสาร และการคาดการณ์ประมาณผู้โดยสาร
รูปแบบการเดินรถไฟความเร็วสูง ในช่วงแรก (ปีที่เปิดให้บริการ) จะเดินรถไฟฟ้าที่ความถี่ 90 นาที/ขบวน (1:30 ชั่วโมง)
ค่าโดยสารในโครงการ
จะคิดตามระยะทาง 1.8 บาท/กิโลเมตร และมีค่าแรกเข้าระบบ 80 บาท
จากต้นทางกรุงเทพ ไปยังสถานีต่างๆดังนี้ครับ
- ดอนเมือง 105 บาท
- อยุธยา 195 บาท
- สระบุรี 278 บาท
- ปากช่อง 393 บาท
- นครราชสีมา 536 บาท
ในปีแรกที่เปิดให้บริการ คาดการณ์จำนวนผู้โดยสารไว้ 5,315 คน/วัน จากผู้โดยสาร กรุงเทพ-โคราช วันละ 20,000 คน/วัน