[RE: ทำไมพระพุทธเจ้าถึงต้องเอาฆาตรกรมาเป็นมือขวาครับ]
1 แคว้นศักยะ (Sakya) เป็นแคว้นเล็ก ๆ ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของเนปาลในปัจจุบัน เมืองหลวงชื่อว่า กบิลพัสดุ์ (Kapilavastu)
https://maps.app.goo.gl/ZgDkutWXomoe6k8m9 เป็นเมืองลูกของแคว้นโกศล
เจ้าผู้ปกครอง - พระเจ้าสุทโธทนะ
มเหศี - พระนางสิริมหามายา
2 ที่ประสูตร สวนลุมพินี
https://maps.app.goo.gl/Jt1EhyxhoShNpNNY9 ตั้งอยู่ในประเทศเนปาล
3 พระมารดาเมื่อให้ประสูตรก็เสียชีวิตภายหลังได้ 7 วัน นั้นหมายถึงไม่มีน้องร่วมสายเลือด
พระนาม - สิทธัตถะ แปลว่า "ผู้บรรลุเป้าหมาย"
นามตระกูล - โคตมะ เป็นนามตระกูลที่บ่งบอกถึงวรรณะ
“สิทธัตถะ โคตมะ” จึงหมายถึง “สิทธัตถะ แห่งตระกูลโคตมะ”
พระพุทธเจ้าทรงเกิดใน ศักยวงศ์ ซึ่งเป็น ชนเผ่า หรือ กลุ่มชาติพันธุ์ พระพุทธเจ้าจึงเป็น เจ้าชายแห่งศักยวงศ์ และบางครั้งจึงถูกเรียกว่า "ศักยมุนี"
ชื่อ - สิทธัตถะ
ตระกูลและวรรณะ - โคตมะ(สายเลือกพราหมณ์)
ราชวงศ์ - ศักยะ(วรรณกษัตริย์)
ในยุคพุธกาล ระบบวรรณะยังไม่เข็มแข็ง จึงเกิดเหตุการแบบนี้ขึ้นได้
4 ลูกชายในราชวงศ์ศักยะ ต่างบวชกันหมด แต่นั้นไม่ได้ทำให้ศักยะสาบสูญ แต่การเกิดลูกหลานในตระกูลมาทำลาย
4.1 มหานามะ (Mahanama Sakya) ซึ่งเป็น ลุงของพระพุทธเจ้า ให้กำเนิดลูกกับทาส
4.2 บุตรสาวที่เกิดจากทาสชื่อว่า พระนางวาสภขัตติยา ชาวอินเดียตอนนั้นมองว่า มิใช่กษัตริย์บริสุทธิ์ เป็นเพียงธิดาของ ทาสสาวชาวศักยะ
4.3 แคว้นศักยะต้องการความมั่นคง จึงส่งสาวในตระกูลไปแต่งงานกับ พระเจ้าปเสนทิโกศล (Pasenadi Kosala) แห่งแคว้นโกศล
4.4 พระเจ้าปเสนทิโกศล และ พระนางวาสภขัตติยา ให้กำเนิดเจ้าชาย วิฑูฑภะ องค์รับทายาทแห่งแค้วนโกศลที่ยิ่งใหญ่
4.5 วิฑูฑภะ เมื่อครั้นยังเด็ก ได้ไปเที่ยวเล่นที่ กบิลพัสดุ์ แต่ไม่ได้รับการต้อนรับอย่างดี จนรู้ความจริงว่า แม่เป็นลูกที่เกิดจากทาส
4.6 เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลสิ้นสวรรคต พระเจ้าวิฑูฑภะจึงตั้งสงครามกวาดล้างศักยะวงศ์ เกิดเป็นเหตุการปรางห้ามญาติของพระพุทธเจ้า แต่ก็ไม่สำเร็จ
4.7 สุดท้าย แคว้นศักยะถูกกองทัพโกศลล้างเผ่าพันธุ์อย่างรุนแรง และถือเป็น การสิ้นสุดของศักยวงศ์ ในฐานะ ชนเผ่าและรัฐอิสระ
5. บันทึกประวัติศาสตร์ร่วมสมัยพุทธกาล
5.1 พระสุตตันตปิฎก (Sutta Pitaka):
บันทึก เหตุการณ์ในแคว้นโกศล เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล (Pasenadi Kosala) เจริญสัมพันธไมตรีกับ พระพุทธเจ้า
5.2 การขุดค้นเมืองสาวัตถี (Sravasti):
พบ ซากโบราณสถานในเมืองหลวงโกศล เช่น วัดเชตวันมหาวิหาร (Jetavana Monastery) ที่สอดคล้องกับ ข้อมูลในพระไตรปิฎก พบ เครื่องปั้นดินเผา เหรียญกษาปณ์ ที่สามารถกำหนดยุคสมัย ร่วมสมัยพุทธกาล
5.3จารึกอโศก (Ashokan Edicts):
แม้จะเกิดหลังพุทธกาลประมาณ 200 ปี แต่ กล่าวถึงโกศลในฐานะดินแดนที่พระพุทธศาสนาแผ่ขยาย บ่งชี้ว่า แคว้นโกศลยังมีความสำคัญต่อเนื่องหลังยุคพุทธกาล
5.4 เอกสารในแคว้นมคธ (Magadha):
กล่าวถึง สงครามระหว่างโกศลกับมคธ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู (Ajatashatru) แห่งมคธ ทำสงครามกับ พระเจ้าปเสนทิโกศล แห่งโกศล การทำสงครามเหล่านี้ บันทึกในพระไตรปิฎกและคัมภีร์ในสายเถรวาทและมหายาน
6 องคุลีมานออกบวชได้อย่างไร
“เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ”
(ภิกษุทั้งหลาย! เรากล่าวว่า เจตนา เป็น กรรม)
— พระอภิธรรมปิฎก กัมมสังคณี
ด้วยเหตุนี้ องคุลีมาล แม้จะเคย ก่อกรรมฆ่าชีวิต แต่เมื่อ เปลี่ยนเจตนาอย่างแท้จริง กลับใจและ ตั้งใจปฏิบัติธรรม พระองค์จึง ยอมให้บวช และ บรรลุพระอรหันต์
เพราะ เจตนาในปัจจุบันสำคัญกว่าอดีตกรรม ในทางพุทธศาสนา ไม่มีกรรมใดที่แก้ไขไม่ได้ หากเปลี่ยนแปลง เจตนาและพฤติกรรม
- เมื่อ พระพุทธเจ้าทรงพบองคุลีมาล และ แสดงธรรม
- องคุลีมาล ตระหนักถึงบาปกรรมของตนเอง และ ตั้งใจจะละบาปอย่างแท้จริง
- พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้บวช เพราะ เจตนาใหม่ขององคุลีมาล บริสุทธิ์และมุ่งสู่ความดี
“เจตนาหัง ภิกขเว กัมมัง วทามิ”
ความหมาย: เจตนา เป็น หัวใจของกรรม
แม้ความคิดเล็กน้อย ก็เป็นกรรม หากมีเจตนา
เจตนาแบ่งออกเป็น กุศล (เจตนาดี) และ อกุศล (เจตนาชั่ว)
องคุลีมาล มีบทบาทสำคัญในพระพุทธศาสนาในฐานะ ตัวอย่างอันชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ และ ศักยภาพของธรรมะ ที่สามารถ เปลี่ยนแปลงคนบาปให้เป็นพระอรหันต์ สะท้อนให้เห็นว่า
“ไม่มีใครเกินเยียวยา หากตั้งใจกลับใจจริง” จึงเป็น แรงบันดาลใจแก่ผู้ศรัทธา ให้เห็นคุณค่าของ การสำนึกผิด การกลับใจ และการปฏิบัติธรรม อย่างแท้จริง
ึ7. ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีการทำทะเบียนราษฏร์ขึ้น นั้นจึงยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน
ใน แคว้นใหญ่ เช่น มคธ (Magadha), โกศล (Kosala) มี ระบบเก็บภาษีและจัดทหาร ซึ่งต้อง บันทึกกลุ่มชนและชุมชน เพื่อควบคุม กำลังแรงงานและการก่อกำลังทัพ
แต่ยังไม่มี ทะเบียนแบบระบุตัวบุคคลโดยละเอียด (Name list, ID, Birth date) มีเพียง การนับครัวเรือน (Household registration) หรือ กลุ่มตระกูล เพื่อ เก็บภาษีและระดมกำลัง
contactme themasksoccer@gmail.com