BLOG BOARD_B
ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email: sale@soccersuck.com
ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออนไลน์
นักบอลถ้วย ง.
Status: to victory
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 19 Feb 2011
ตอบ: 8371
ที่อยู่: Ashburton Grove
โพสเมื่อ: Thu Mar 20, 2025 15:22
รับรายได้หลายทาง เงินสด-ธนาคาร-แอปพลิเคชั่น สรรพากรรู้ได้อย่างไร ?
ส่อง 7 วิธีที่สรรพากรใช้ตรวจสอบรายได้ของเรา แม้รับเงินหลายทาง ทั้งเงินสด ผ่านธนาคาร และผ่านแอปพลิเคชั่นก็ตรวจสอบได้ (อ่านให้จบ ข้อมูลมีประโยชน์กับทุกคนนะ )

มนุษย์เงินเดือน

เป็นเรื่องง่ายมากที่สรรพากรจะตรวจสอบภาษีของมนุษย์เงินเดือน จากหลักฐานการจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคารและเอกสารชี้แจงเงินได้ของพนักงาน (ภงด.1, ภงด.1ก) ที่บริษัทจะส่งให้สรรพากรตรวจสอบในทุกปี รวมถึงในกรณีที่เราต้องยื่นภาษีก็จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลจากใบ 50 ทวิ (หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย) ซึ่งเป็นใบแจ้งรายได้ทั้งปีที่ทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

สถาบันการเงิน ผ่านระบบ E-PAYMENT

ระบบโอนเงิน ชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และทำธุรกรรมทางการเงินผ่านบัตรเครดิต โดยรายได้จากการฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชี ไม่ว่าจะผ่านช่องทางไหน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ต้องส่งข้อมูลให้สรรพากร ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารภาครัฐ
รวมถึงผู้ให้บริการด้านการเงินอื่น ๆ อย่าง Payment Gateway, e-Wallet เช่น ทรูมันนี่ เอ็มเพย์ แรบบิทไลน์ เพย์ มีหน้าที่ต้องรายงานธุรกรรมการฝากหรือรับโอนเงิน ทั้งที่เสียภาษีแบบบุคคลธรรมดา และที่จดทะเบียนนิติบุคคล หากถึงเงื่อนไขจะต้องส่งข้อมูลให้กับสรรพากรตรวจสอบการเสียภาษี ดังนี้
1. มีเงินเข้าบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่ดูจำนวนเงินว่าแต่ละครั้งจะมีมูลค่าเท่าไร

2. มีเงินเข้าบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี และมีจำนวนเงินที่เข้าบัญชีรวมเกิน 2 ล้านบาทต่อปี โดยต้องเข้าเงื่อนไขทั้ง 2 อย่าง จึงจะถูกส่งข้อมูลธุรกรรมให้กับสรรพากร

คิดเป็นรายปี เริ่มนับตั้งแต่ 1 มกราคม ไปจนถึง 31 ธันวาคมของปีนั้น ๆ โดยรายการฝากและโอนเงินเข้าบัญชีที่นับเป็นเงินเข้าบัญชี ประกอบด้วย ยอดเงินฝากเข้าบัญชีทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเคาน์เตอร์หรือตู้ฝากเงิน ยอดรับโอนเงินเข้าบัญชี, ยอดรับโอนเงินเข้าบัญชีจากเครื่องรูดบัตร (นับตามจำนวนครั้ง), ยอดเงินฝากเช็คเข้าบัญชี, ยอดเงินเข้าบัญชีจากดอกเบี้ย และยอดเงินเข้าบัญชีจากเงินปันผล

Big Data & Data Analytics

สรรพากรใช้ระบบ Big Data & Data Analytics เพื่อคัดกรองว่า ผู้ประกอบการใดบ้างจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหลีกเลี่ยงภาษี และกลุ่มใดจัดอยู่ในกลุ่มดี ยกตัวอย่างกรณีดังที่มีผู้ค้าออนไลน์โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กของตนเอง ถึงเรื่องราวการถูกกรมสรรพากรส่งจดหมายแจ้งยื่นภาษีย้อนหลังปี พ.ศ. 2563 ยอดรวมกว่า 90,000 บาท นั่นก็มาจากระบบนี้นั่นเอง
หรือตัวอย่างของการใช้ระบบ Data Analytic เช่น สรรพากรเชื่อมข้อมูลกับการไฟฟ้า การประปา ซึ่งหากพบว่าการใช้ไฟฟ้ากับการใช้น้ำประปาของเราใกล้เคียงกับคนที่ทำธุรกิจแบบเดียวกับเรา แต่เขาแจ้งรายได้สูงกว่า สรรพากรก็อาจสงสัยว่าเราแจ้งรายได้ไม่ครบถ้วนได้

เบาะแสในเว็บไซต์

สรรพากรได้เปิดเมนู “การแจ้งเบาะแส/ข้อมูลแหล่งภาษี” ไว้บนเว็บไซต์ไว้เพื่อให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบกิจการหรือธุรกิจที่เสียภาษีไม่ถูกต้อง

สุ่มตรวจ

สรรพากรจะสุ่มตรวจจากหน้าเว็บต่าง ๆ เช่น Facebook ที่มีการโพสต์โชว์เงินโอนเข้า รายได้จากการขายสินค้าจำนวนมาก สรรพากรจะสุ่มตรวจบุคคลเหล่านี้ว่ามีรายได้แล้วได้มีการยื่นแบบ เสียภาษีบ้างหรือไม่ หากพบว่าไม่มีการยื่นแบบ หรือเสียภาษีเลยอาจถูกเรียกพบได้
ซึ่งในกรณีของเซฟ กระทะฮ้างสามารถอนุมานได้ว่า สรรพากรใช้วิธีสุ่มตรวจจนพบรายได้ของเพจ
ดึงข้อมูล Web Scraping
สรรพากรนำเทคโนโลยีดึงข้อมูลจากเว็บเพจหรือ Web Scraping เข้ามาช่วยตรวจสอบกลุ่มผู้ค้าออนไลน์ ทั้งในรูปแบบที่ค้าขายปกติ และรูปแบบไลฟ์สดเพื่อขายสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ การดึงข้อมูล ราคา และจำนวนสินค้าที่ขายได้ตามเว็บ e-Commerce ทั้งหลาย เช่น Shopee, Lazada

หรือรู้ข้อมูลของผู้จ่ายเงินได้ให้เรา ซึ่งหากเราขายของผ่านเว็บ e-Commerce เช่น Shopee, Lazada ทางเว็บ e-Commerce จะหักค่าบริการในอัตราที่กำหนดจากยอดขายของเรา เช่น 20% หรือ 30% ของยอดขาย พร้อมกันนั้นทางเว็บ e-Commerce ก็จะส่งใบกำกับภาษีให้กับเราและส่งให้สรรพากรด้วย

รับเป็นเงินสด แต่สรรพากรรู้ ?

ในกรณีที่เราได้รับเงินค่าจ้างเป็นเงินสดไม่ผ่านธนาคาร หรือรายได้จากช่องทางอื่น ๆ ทางกรมสรรพากรก็ยังสามารถตรวจสอบได้ว่าเรามีรายได้ เว็บไซต์ iTax อธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า กรณีที่เราได้รับเงินค่าจ้างเป็นเงินสดไม่ผ่านธนาคาร ทางกรมสรรพากรก็ยังสามารถตรวจสอบได้จากเงินค่าจ้างที่บริษัทผู้ว่าจ้างได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

เมื่อทางบริษัทผู้ว่าจ้างได้ทำการหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้ว ผู้ประกอบการจะต้องนำส่งเงินภาษีที่หักให้แก่กรมสรรพากร รวมถึงแจ้งข้อมูลของเรา (ในฐานะผู้ได้รับเงิน) ทั้งชื่อ เลขบัตรประชาชน/เลขทะเบียนนิติบุคคล ไปในแบบที่นำส่งภาษีที่หักไว้ดังกล่าวด้วย นี่จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ทางสรรพากรทราบรายได้ของเรา

ในกรณีที่ผู้จ่ายเงินถูกสรรพากรตรวจสอบเอกสาร ผู้ประกอบการจะต้องมีการนำส่งรายการบันทึกค่าใช้จ่ายของบริษัทให้กรมสรรพากร ซึ่งในบันทึกนั้นจะต้องมีการระบุค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไว้โดยละเอียด ส่งพร้อมเอกสารที่ใช้เป็นหลักฐานถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ประกอบด้วย

เอกสารการรับเงินของผู้รับเงิน
ใบกำกับภาษี หรือใบเสร็จรับเงินที่ระบุชื่อบุคคลอื่น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์
ใบสำคัญจ่าย (Payment Voucher) พร้อมหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น หลักฐานการโอนเงิน, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนในกรณีที่จ่ายเป็นเงินสด

ข้อมูลจาก inflow
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
แข้งเจลีก
Status: อิอิ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 16 Mar 2020
ตอบ: 12453
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Thu Mar 20, 2025 15:41
[RE: รับรายได้หลายทาง เงินสด-ธนาคาร-แอปพลิเคชั่น สรรพากรรู้ได้อย่างไร ?]
ในไทยตอนนี้เหมือนหนังฝรั่งแนวโจรกรรมอะ ใส่ข้อมูลใส่ชื่อไป รู้หมดแหละ เงินไปมายังไง อยู่ที่เค้าแล้วจะตรวจสอบใคร
แก้ไขล่าสุดโดย zinman เมื่อ Thu Mar 20, 2025 15:42, ทั้งหมด 1 ครั้ง
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ดาวเตะพรีเมียร์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 24 Sep 2005
ตอบ: 11484
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Thu Mar 20, 2025 16:03
[RE: รับรายได้หลายทาง เงินสด-ธนาคาร-แอปพลิเคชั่น สรรพากรรู้ได้อย่างไร ?]
บช.ม้าไม่ยื่นภาษีอยู่ละ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel