[RE: สงสัยเรื่องการจ่ายเงินเทโร]
themasksocccer พิมพ์ว่า:
ตอบแบบนี้ไม่ถูกต้อง บริหารแบบนี้ไม่ได้ซิผิดกฎหมาย
THA88188 พิมพ์ว่า:
ตอบคำถามดังนี้ครับ
1. ทุกบริษัทต้องดำเนินการได้ด้วยตนเอง --> ใช่ครับถูกต้อง
- แต่ต้องอยู่บนเงื่อนไขที่ว่า บริษัทนี้มีเงินสดอยู่ในมือบ้างไหม หรือบริหารกันมาจนไม่มีสภาพคล่องอยู่แล้ว
ปกติ ถ้าบริษัทขาดสภาพคล่อง เจ้าของ หรือ shareholder ต้องใส่เงินลงมาในฐานะผู้ถือหุ้นเพื่อช่วยผยุงบริษัท กันเป็นปกติ ไม่งั้น บริษัทก็เดินต่อไปไม่ได้
reply จะมีเงินไม่มีเงิน ผู้บริหารต้องจัดการ เพราะการโอนถ่ายทรัพย์สนส่วนเจ้าของไม่ได้ทำให้ลูกจ้างต้องหยุดงาน เจ้าของซื้อ-ขายสิทธิ์ไปคุยกันเอง ถ้ายังไม่เสร็จเจ้าหน้าที่ พนักงาน นักกีฬาก็ทำงานทำหน้าที่ของตัวเองไปเหมือนเดิม
จะบอกว่าเติมเงินจากเจ้าของอะไรก็ได้ แต่ต้องทำควบคู่ไปในรูปแบบการกู้เงิน
เช่นกิจการกู้เงินจากเจ้าของ ถ้าการซื้อขายตามกฎหมายยังไม่สมบูรณ์เจ้าของเก่าก็ต้องรับผิดชอบต่อไป
ถ้าไม่มีเงินจริงๆ ต้องขอปิดกิจการเท่านั้น ห้ามเปิดกิจการต่อ ห้ามดำเนินกิจการต่อไม่งั้นลูกจ้างทำงานไปไม่ได้เงิน
2. ทุกกิจการต้องมี CEO ประธานบริหาร กรรมการ ผู้จัดการดำเนินการอยู่ --> ใช่ครับถูกต้อง
- แต่คำตอบก็เหมือนข้อ 1 คือถ้าบริษัทไม่มีสภาพคล่องในตัวบริษัทเลย CEO ก็ไม่มีเงินไปบริหาร ใช้จ่ายใดๆ
3 กิจการต้องดูแลตัวเองได้ ---> ไม่แน่เสมอไป
- ถ้าชุดเก่าบริหารมาไม่ดีจนบริษัทเกิดการขาดสภาพคล่อง จะไปดูแลตัวเองต่อได้อย่างไรครับ ต้องเป็นหน้าที่ของผู้บริหารคนใหม่ละ
2-3 CEO ไม่ได้มีหน้าที่ต้องไปขอเงินเจ้าของ เงินต้องมาจากการประกอบกิจการ ถ้าไม่มีก็ต้องไปกู้ หรือขายทรัพย์สินอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นโดยสโมสรเท่านั้นไม่เกี่ยวอะไรกับเจ้าของสโมสร สิ่งที่เจ้าของกระทบคือมูลค่าทรัพย์สินเปลี่ยนไป สินทรัพย์มีหนี้เยอะ หรือมีมูลค่าเยอะ นั้นคือผลกระทบ
4.เรื่องเงินเดือนนี้ต้องตกลงร่วมกันแต่แรกก่อนการเข้าซื้อกิจการอย่างชัดเจนของทั้ง 2 ฝ่าย
ว่าผู้บริหารใหม่หรือเก่า ใครจะเป็นคนรับภาระตรงนี้ ไม่มีกฏตายตัวว่า ผู้บริหารใหม่ หรือเก่าเท่านั้นที่ต้องจ่าย
ที่ผู้บริหารต้องเข้ามารับผิดชอบเพราะ เหมือนข้อ 1 คือ ตัวบริษัทไม่มีเงินสดอยู่ในมือแล้วไงครับ
ต้องตกลงกันว่าใครจะรินเงินเข้าไป เติมให้บริษัทมีสภาพคล่องขึ้นเพื่อไปจ่ายเงินเดือนนักเตะ
ไม่ได้มันผิดกฎหมาย ไม่มีใครเขาทำกันแบบนี้
ลูกจ้างไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับเจ้าของ ลูกจ้างเป็นลูกจ้างบริษัท
ขอยกตัวอย่าง หากสโมสร แมนยูเปลี่ยนเจ้าของเปลี่ยนกลุ่มน้ำมัน หรือเซ่อจิม
นักฟุตบอลไม่ได้เป็นลูกจ้างเกลเซ่อ หรือเซ่อจิม ยังคงเป็นลูกจ้างสโมสรเหมือนเดิม ไม่ได้เงินเพิ่มขึ้นหรือลดลง ทั้งหมดเกิดจากสัญญาระหว่างนิติบุคคล กับลูกจ้าง
ผู้บริหารใหม่ ต้องรู้เงื่อนไขแต่แรกว่าจะซื้อของที่มีหนี้สินอยู่ไหม ถ้าจะซื้อจะซื้อในราคาเทาไหร่ ไม่ใช่ไปตกลงว่าใครจะจ่าย เพราะทำไม่ได้ เพราะถ้ากิจการเจ๊งไปก็ต้องมาแบ่งทรัพย์สินตามความเป็นเจ้าของ
ลูกจ้าง และเจ้าหนี้ต่างๆก็มาเป็นเจ้าของบริษัทแทน
สุดท้าย FFP ไม่เกี่ยวกับการใส่เงินของเจ้าของนะครับ เจ้าของจะใส่เงินเข้าไปใหม่เท่าไรก็ได้
เป็น view ที่มอง performance ในส่วนของกำไรทางทางบัญชี ของบริษัทนั้นๆมากกว่า ว่ามีความสามารถใช้จ่ายให้เหมาะสมกัน เป็นสัดส่วนที่เหมาะสมหรือไม่
ใส่ได้เมื่อ
1 มีการขยายจำนวนหุ้น
2 ปล่อยกู้ให้สโมสร ซึ่งสโมสรต้องกลับมาใช้หนี้ หรืออย่างดีคือยกหนี้ให้ แต่มั่นใจได้แค่ไหนว่าเงินที่ปล่อยมาจากเจ้าของเอง คนรวยไม่มีใครใช้เงินตัวเองซื้อของ ส่วนใหญ่ไปกู้มาอีกทีโดยเอาทรัพย์สินเป็นประกัน
อันนี้ผมพูดถึงขั้นตอนการซื้อขายกิจการโดยทั่วไปนะ ไม่ได้เกี่ยวกับการถูกฟ้องร้องจากศาลแรงงานเรื่อฃของการค้างค่าจ้างนักเตะ
ผมว่าคุณน่ะสิที่ตอบไม่ถูกนะครับ แค่บอกว่า CEO ต้องไปกู้เงิน หรือ สโมสรต้องไปกู้เงินเพื่อมาเคลียร์หนี้สินเก่า ก็ผิดหมดทุกคำตอบของคุณแล้วครับ
- ทางปฏิบัติ ถ้ากรณีไม่มีสถาบันการเงินไหน จะให้กู้ต้องทำอย่างไร เจ้าของเก่าและหรือใหม่ มีสิทธิ์ ใส่เงินทุน ( Equity injection) หรือ shareholder loan อยู่แล้วครับ โดยไม่ต้องรอ เงินกู้จากธนาคาร
- แล้วการซื้อกิจการต่อกัน สามารถซื้อติดหนี้เก่าหรือภาระผูกพันธ์ได้ แค่เปลี่ยนชื่อ และถ่ายโอน เปลี่ยนคนที่เป็นภาระผูกพันนธ์ขอฃบริษัทนั้นๆ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น จะถูก offset ไปในมูลค่ากิจการ ระหว่างข้อตกลงของ 2 ฝ่าย ที่ระบุในสัญญาการซื้อขาย ธุรกิจโดยชัดเจน
- ไมีมีกฏหมายไหนในไทยบังคับว่า การซื้อขายธุรกิจกันนั้น เจ้าของเก่าของเคลียร์ภาระเก่าให้หมดก่อนขาย เพราะสามารถถ่ายโอนภาระกันได้ ตามแต่ข้อตกลงระหว่าง 2 ฝ่าย เพราะฉะนั้นการที่เจ้าของเก่าต้องเคลียร์ภาระหนี้สินเก่าออกหมดก่อนทุกกรณีนี่ น่าจะเข้าใจผิดแล้วครับ
เจ้าหนี้ของบริษัทไม่สนใจหรอกว่าต้องเป็นเจ้าของเดิมหนือไม่ ขอแค่มีคนรับผิดชอบและจ่ายตามระยะเวลาต้องคืนหนี้กับเจ้าหนี้นั้นๆ สามารถเปลี่ยนมือความเป็นลูกหนี้ได้ ตามเห็นสมควรของเจ้าหนี้
- ส่วนเรื่องการคำนวณ FFP คุณควรทำความเข้าใจก่อนว่าวิธีการคำนวณ ตัวเลขของ FFP คำนวณกันอย่างไรนะคับ เข้าใจผิดกันไปหมดแล้ว