ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
นักเตะหมู่บ้าน
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Jan 2007
ตอบ: 232
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Jun 10, 2023 14:45
ทำไมเจลีกถึงตีตลาดอาเซียน "J.League Asia Strategy"
ให้ฟุตบอลเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเจลีกกับโลก "J.League Asia Strategy"

.
ในปี 2012 เจลีกได้มีการเปิดเผยถึงแผนการยกระดับฟุตบอลทั้งทวีปเอเชียในชื่อว่า "Asia Strategy" โดยหลักใหญ่ใจความ คือ ความตั้งใจที่จะยกระดับวงการฟุตบอลในภูมิภาคเอเชีย มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มมูลค่าของฟุตบอลเอเชียในระดับโลกและเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจกับพันธมิตรในระดับองค์กร ลีกฟุตบอลอื่นๆในทวีปเอเชีย รวมถึงความรวมมือในระดับสโมสร
.
เจลีก เริ่มต้นโดยการจับมือกับประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับภูมิภาคที่มีจำนวนประชากรกว่า 600 ล้านคน และมีคนจำนวนมากที่คลั่งไคล้ฟุตบอลโดยเฉพาะทีมระดับโลกทีมในพรีเมียร์ลีก อังกฤษ ภูมิภาคนี้มีแฟนบอลของทีมที่อยู่ประเทศที่ห่างไกลจากทวีปตัวเองอย่างแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดและลิเวอร์พูล อยู่ทั่วทุกแห่งหน
.
ดังนั้น “Asia Strategy” จึงเป็นโอกาสร่วมกันทั้งสำหรับเจลีกและภูมิภาคอาเซียน ในภาคธุรกิจภูมิภาคอาเซียนถือเป็นทั้งฐานการผลิตและเป็นแหล่งนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์จากประเทศญี่ปุ่นมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือยานพาหนะทั้งสองล้อและสี่ล้อ รวมถึงเครื่องมือทางการเกษตร แม้กระทั่งวัฒนธรรมที่แพร่ขยายเข้ามาในภูมิภาคนี้การ์ตูนหรือภาพยนตร์ ก็เข้ามาครองใจคนในแถบนี้ได้เช่นกัน

.
เจลีก พิจารณาและวางแผนที่จะทำในโมเดลเดียวกันเพื่อเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับนานาชาติสำหรับเรื่องของฟุตบอล เหตุผลที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคงหนีไม่พ้นความบ้าคลั่งฟุตบอลของคนในภูมิภาคนี้
.
แต่ในแง่ของผลงานในระดับนานาชาติยังคงห่างไกลจากระดับโลกพอควร ปี 1938 คือ ปีที่มีทีมจากภูมิภาคอาเซียนเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก
.
ในตอนนั้น ประเทศอินโดนีเซียได้ร่วมแข่งขันฟุตบอลโลกในชื่อ ดัชซ์ อีสต์ อินดีส์ (Dutch East Indies) แม้กระทั่งในการแข่งขันระดับทวีปอย่าง ฟุตบอล เอเชี่ยน คัพ (AFC Asian Cup) ณ ปี 2023 ยังไม่มีทีมใดฝ่าด่านอรหันต์ ไปถึงรอบสี่ทีมสุดท้ายได้เลย

.
แต่ เจลีก มีกลยุทธ์เป็นของตัวเองด้วยการที่จะเข้าไปสร้างความร่วมมือกับทีมในท้องถิ่นรวมถึงการดึงนักเตะระดับชั้นนำของแต่ละชาติมาสู่เจลีก เพื่อเป็นการสร้างความน่าสนใจและสร้างความผูกพันธ์ของแฟนบอลในแต่ละประเทศให้แฟนบอลมีความสนใจที่จะรับชมนักเตะทีมชาติของตัวเองลงเล่นในเจลีกทุกอาทิตย์
.

หลังมีการเซ็นบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างเจลีกและสโมสรชั้นนำในประเทศไทย ประเทศเวียดนามและประเทศเมียนม่าร์ สองการเซ็นสัญญาที่เกิดขึ้นในระยะแรก คือ การย้ายไปร่วมทัพ คอนซาโดเล่ ซัปโปโร ของ "เลห์ คอง วิน" ตำนานศูนย์หน้าทีมชาติเวียดนาม ในปี 2013 และ "อิรฟาน บัชดิม" ปีกชาวอินโดนีเซียที่ย้ายไปทีมเวนท์โฟเรนต์ โคฟุ ในปีต่อมา
.
เหนือสิ่งอื่นใด คุณภาพของฝีเท้า คือ สิ่งที่จะทำให้ได้ลงสนามทุกในอาทิตย์ ไม่มีอะไรที่การันตีได้ว่านักเตะที่ย้ายไปร่วมทีมในเจลีกจากโครงการ Asia Strategy จะประสบความสำเร็จหรือไม่ อย่างไรก็นักเตะอาชีพหลายต่อหลายคนแวะเวียนไปทดสอบความแข็งแกร่ง มีทั้งที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและไม่ประสบความสำเร็จในแง่ฟุตบอล

.
แต่ในแง่ของภาพลักษณ์ รวมถึงการเพิ่มขอบเขตการประชาสัมพันธ์ของแต่ละสโมสรในเจลีกหรือแม้กระทั่งความสนใจที่มากขึ้นต่อเจลีกของแฟนฟุตบอลต่างหาก ที่เป็นหนึ่งในผลลัพธ์เห็นได้ชัดจากความร่วมมือนี้

.
นอกจากการขยายวงกว้างในแง่ของความนิยมของสโมสร ยังมีผลต่อเรื่องของสิทธิประโยชน์อื่นๆที่เกิดขึ้นในแง่ธุรกิจ เจลีกสามารถขายลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดไปยังประเทศต่างๆที่มีนักเตะชาตินั้นย้ายมาร่วมทีมในเจลีก รวมถึงองค์กรเอกชนในท้องถิ่น หรือ ระดับประเทศที่ต้องการสร้างภาพลักษณ์ผ่านกีฬาฟุตบอลไปยังประเทศในอาเซียน ก็ยังสามารถมามีส่วนร่วมตรงนี้ได้

.
สำหรับประโยชน์โดยตรงต่อการยกระดับการพัฒนาฟุตบอลบนผืนหญ้า มีการแลกเปลี่ยนโค้ช นักเตะ มีโครงการความร่วมมือในหลายๆสโมสร ในหลายๆ ประเทศ ที่แลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงประสบการณ์ระหว่างสโมสร รวมถึงการเก็บตัวฝึกซ้อมที่ให้ประโยชน์ซึ่งกันและกัน ทีมในเจลีกหลายๆทีม มักหนีหนาวในช่วงเดือนธันวาคมเพื่อมาเก็บตัวในประเทศไทย
.
ในปี 2021 เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่องโควต้าในการลงทะเบียนนักเตะต่างชาติสำหรับนักเตะที่เป็นชาติพันธมิตรกับเจลีก สำหรับระดับเจลีก 1 – 3 แต่ละสโมสรสามารถลงทะเบียนนักเตะในโควต้าดังกล่าวได้แบบไม่จำกัด แต่สามารถมีชื่อในวันแข่งขันได้ 5 คนสำหรับเจลีก 1 และ 4 คน สำหรับเจลีก 2 สำหรับประเทศที่เป็นพันธมิตรกับเจลีกได้แก่ ไทย, เวียดนาม, เมียนม่าร์, กัมพูชา, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และ กาต้าร์

.
ทั้งหมดนี้ถือเป็นโครงการที่สามารถเชื่อมโยงกีฬา ธุรกิจ เข้าหากันได้เป็นอย่างดี รวมถึงเป็นการรวมกันเพื่อยกระดับให้เกิดประโยชน์รวมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้มีส่วนใดส่วนเสียในส่วนไหนทั้ง สมาคมฟุตบอลของแต่ละประเทศ สโมสรฟุตบอล นักเตะ โค้ช และ นักเตะในระดับเยาวชน
.
#เจลีกโดยสังเขป #JLEAGUE #J30 #บอลญี่ปุ่น

3
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
Come on you Irons!!!!!

ออฟไลน์
แข้งดัทช์ลีก
Status: INVU
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 08 Dec 2007
ตอบ: 10184
ที่อยู่: เชียงใหม่
โพสเมื่อ: Sun Jun 11, 2023 01:21
[RE: ทำไมเจลีกถึงตีตลาดอาเซียน "J.League Asia Strategy"]
ทีมในอาเซียนเคยเข้ารอบรองชนะเลิศเอเชียนคัพครั้งเดียวครับ คือปี 1972 ได้แก่ ไทยและกัมพูชา (สมัยใช้ชื่อ สาธารณรัฐเขมร)

เอเชียนเกมส์ (ก่อนปี 2002 ที่ใช้ผู้เล่น ยู-23 แทน) ทีมที่ทำผลงานดีสุดคือ พม่า คว้าเหรียญทองปี 1966 และ 1970 (ปีนั้นได้เหรียญทองร่วมกับเกาหลีใต้)
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel