รู้จักพื้นที่ชุ่มน้ำแรมซาร์ในประเทศไทย
พื้นที่เพื่อการดำรงอยู่ของชีวิตพืช สัตว์ และมนุษย์
.
พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) คือ พื้นที่ซึ่งมีน้ำเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดหรือควบคุมสภาพแวดล้อมและลักษณะการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปแล้ว พื้นที่ชุ่มน้ำ เกิดจากการที่ระดับน้ำใต้ดิน (Water Table) อยู่ใกล้กับผิวดินมาก ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวมีน้ำเอ่อล้นขึ้นมาหรืออาจถูกน้ำท่วมขังเป็นบริเวณกว้าง
.
โลกของเรามีพื้นที่ชุ่มน้ำรวมกันราว 10 ล้านตารางกิโลเมตร หรือราวร้อยละ 6 ของพื้นที่ผิวโลกทั้งหมด พื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งอาจเป็นเพียงพื้นที่ส่วนน้อยของโลก แต่ถือเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่มีสภาพแวดล้อมอุดมสมบูรณ์ที่สุดในโลก เป็นทั้งแหล่งน้ำ แหล่งอาหารและถิ่นฐานที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนานาชนิด
.
ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ทั่วโลกต่างตกอยู่ในภาวะถูกคุกคามจากการบุกรุกและการพัฒนาของมนุษย์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การขยายพื้นที่การเกษตร การทำประมง การพัฒนาเมือง และการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ
.
เมื่อโลกปราศจากพื้นที่ชุ่มน้ำ ไม่เพียงเฉพาะการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตต่างๆ แต่รวมถึงการสูญหายไปของทรัพยากรธรรมชาติและการเสื่อมโทรมลงของระบบนิเวศ ซึ่งอาจเป็นผลให้มนุษย์และสังคมเมืองต่าง ๆ ต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากธรรมชาติที่รุนแรง ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้ง หรือการพังทลายของหน้าดินในอนาคต
.
กว่า 40 ปีที่ผ่านมา การอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ภายใต้อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศเพียงฉบับเดียวที่อุทิศให้กับการดูแลรักษาระบบนิเวศของพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อยับยั้งการสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก
.
ในปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่แรมซาร์ไซต์รวม 14 แห่ง
.
อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่
https://ngthai.com/science/30325/wetland/
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก
http://chm-thai.onep.go.th/ramsarsite60/
http://chm-thai.onep.go.th/wetland/
http://wetlands.onep.go.th/