ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
ผู้ช่วยแมวมอง
Status: Would you rather die a hero?
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 24 Jun 2019
ตอบ: 8343
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Mar 06, 2021 10:11
ศานนา (พุทธ) กับการเมือง
RYONAJA พิมพ์ว่า:
XeathG พิมพ์ว่า:
แค่อ่านย่อหน้าแรก ก็อุทาน "อะไรของเมิง" โหนศาสนามั่วไปหมด แหม พระุทธศาสนามาเกิดมาเพื่อแก้ไขวรรณะ พวกเมิงบ้าป่าว ทุกวันนี้อินเดียยังมี วรรณะ อยู่เลย แล้วสมัยนั้นมีการเมืองแล้วเหรอ ใช่พรรคจุลินทรีป่าวอะที่อยู่คงทน เสือกไปสู่รู้แทนพระพุทธเจ้า ว่าจะปลดปล่อยมนุษย์ คำว่าเสรีภาพกับเสมอภาคมันเพิ่งบัญญัติมาไม่กี่ปีนี้เอง ตัดเรื่องโหนศาสนาออก เขียนแนวทางสัติวิธีแบบสากล ยึดโยงกับหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นปัจจุบันอะ ดีกว่าครับ เอาศาสนามาชน ฝั่งนั้นก็เอาสถาบันมาชน ซึ่งสถาบันภาพในดูใหญ่ว่าศาสนาอยู่แล้วครับ  


อินเดียคนนับถือพุทธมีไม่มากนะครับ และวรรณะน่าจะมาจากพวกฮินดูรึเปล่า
ผมมีเพื่อนอินเดียเค้าก็เป็นฮินดูกัน ผิดพลาดยังไงขออภัยด้วยครับ
 


อินเดีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา ฮินดู (~80%) รองลงมาคืออิสลาม (~10%) ที่เหลือเป็นหลายๆ ศาสนาปนกัน ข้อมูลพวกนี้เสิร์จกูเกิ้ลดูก็เจอ

คนทั่วไปมักสับสนเพราะเข้าใจว่าศาสนาพุทธมีต้นกำเนิดที่อินเดีย
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 24 Jun 2019
ตอบ: 2200
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Mar 06, 2021 10:21
[RE: ศานนา (พุทธ) กับการเมือง]
Sci-fi_Ambience พิมพ์ว่า:
ออกตัวก่อนนะว่าผมก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมายหรอก แต่ว่าผมมีความเห็นแบบนี้นะ

การที่ จขกท. ต้องการจะเขียนความเชื่อมโยงระหว่างศาสนากับการเมือง(โดยเฉพาะการเมืองสมัยใหม่)เนี่ย

ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนซับซ้อนมากและมีข้อมูลเพียงด้านเดียว(เพราะเทียบด้วยศาสนาเดียว)

ซึ่งผมคิดว่าสิ่งที่น่านำมาเชื่อมโยงกับการเมืองควรจะเป็นเรื่องของความคิดหรือปรัชญามากกว่า...


--------------------------------------------------------------------------


ถ้าถามว่าทำไมจะต้องเป็นเทียบด้วยปรัชญาไม่ใช่ศาสนา ผมขอชี้แจงแบบนี้

เรามาพูดกันถึงภาพรวมเรื่องความแตกต่างของ "ศาสนา"(ส่วนใหญ่) และ "ปรัชญา" กันก่อน

Spoil
"ศาสนา"(ส่วนใหญ่)

-ศึกษาหลักประพฤติปฏิบัติให้ถึงความดี
-เน้นศรัทธา และความสุขทางใจ
-มนุษย์ที่มีคุณค่า คือ ผู้มีคุณธรรม
-เริ่มต้นด้วยศรัทธา จบลงด้วยการปฏิบัติ
-ใช้วิธีการนิรนัย
-ใช้วิธีมอบกายถวายชีวิต
-ใช้ความภักดีและศรัทธาจึงจะเข้าถึงสัจธรรมได้
-มุ่งให้พ้นทุกข์
-ยึดการปฏิบัติเป็นหลัก
-มุ่งแสวงหาความสงบทางจิตใจ
-มีความศักดิ์สิทธิ์
-มุ่งเข้าถึงความจริง
-มุ่งให้คนมีคุณธรรม
-มีคำตอบสิ้นสุดแล้ว
-ยึดศรัทธาเป็นหลัก
-ยึดพิธีกรรมเป็นหลัก

"ปรัชญา"

-ศึกษาวิธีคิด ความรู้ คุณค่ามนุษย์
-การแสวงหาคำตอบเชิงตรรกะ
-มนุษย์ที่มีคุณค่า คือผู้รู้จักคิดอย่างมีเหตุผล
-เริ่มต้นด้วยความสงสัยใฝ่รู้ อาจจบลงการปฏิบัติหรือไม่ก็ได้
-ใช้วิธีการอุปนัย
-ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์มาพิจารณาความจริง
-ค้นคว้าด้วยเหตุผลเท่านั้นถึงจะเข้าถึงสัจธรรมได้
-มุ่งแสวงหาคำตอบที่เป็นไปได้
-ยึดทฤษฎีเป็นหลัก
-แสวงหาปัญญารอบด้าน
-ไม่มีความศักดิ์สิทธิ์
-มุ่งค้นคว้าความจริง
-มุ่งให้มีความรู้เชิงเหตุผล
-มีคำตอบยังไม่สิ้นสุด
-ยึดเหตุผลเป็นหลัก
-ไม่ยึดพิธีกรรม  


จากข้อมูลข้างต้น ผมมองว่าถ้าเชื่อมโยงการเมืองด้วยหลักปรัชญามันดูมีความสอดคล้องกันได้มากกว่า

-------------------------------------------------------------------------


แต่เนื่องจากว่าทางด้านรายละเอียดเนี่ยศาสนาพุทธ(ไทย)เป็นศาสนาที่ไม่เหมือนศาสนาอื่นในโลก

มีการผสมผสานกันระหว่างหลักความเชื่อและหลักปรัชญาเข้าด้วยกัน ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องดีแต่ผมคิดว่า

มันก็เป็นข้อเสียได้เหมือนกันเพราะว่า ถ้ามองถึงโลกปัจจุบันเป็นยุคที่ขับเคลื่อนด้วยความคิดตรรกะเป็นหลัก

อย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว จะมีการแบ่งเรื่องของ ศาสนา(หลักความเชื่อ)และปรัชญา(หลักการใช้เหตุผล) เอาไว้อย่างชัดเจน

มันเลยทำให้ศาสนาพุทธ(ของไทย)ที่อยู่กึ่งกลางมีปัญหาที่ขัดแย้งกันในตัวระหว่างความเชื่อและเหตุผล

และผมก็คิดว่านี่อาจจะเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้คนรุ่นเก่า(บางกลุ่ม)และรุ่นใหม่ หาข้อตกลงร่วมกันไม่ได้

ถ้าเกิดว่าศาสนาพุทธไทย สามารถแยกเรื่องความเชื่อและหลักเหตุผลได้อย่างชัดเจน

ผมมองว่ามันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงมุมมองความคิด ให้กับผู้คนเหล่านั้นได้ครับ
 

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณท่านที่เข้ามาแสดงความเห็นอย่างมีเหตุผลนะครับ พอดีวันนี้ผมติดงานไม่มีเวลาพิมพ์ยาวๆ ผมขอสรุปสั้นๆ จากความเห็นของท่านว่า

โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าตัดเรื่องความเป็นพุทธของไทยออก เพราะมันมีพราหมณ์เข้ามาปนด้วยมาก และเจาะเข้าไปที่ตัวแก่นของศาสนาพุทธอย่างแท้จริง จะพบว่าเรื่องของพิธีกรรมจริงๆ จะมีน้อยมาก และส่วนที่เป็นพิธีกรรมจริงๆ ล้วนมีเหตุผลรองรับทั้งในเชิงหยาบและละเอียด ซึ่งเราจะรู้ในเหตุผลนั้นได้จากการปฏิบัติ

นอกจากนี้ในแง่ของศาสนาพุทธเอง ตัวคำสอนหลักจะเน้นเรื่องความเป็นเหตุเป็นผลด้วยซ้ำ ซึ่งตรงกับหลักอิทัปปจยตา (หลักที่ว่าด้วยผลย่อมเกิดจากเหตุ ผลจะดับเพราะเหตุต้องดับไปก่อน) และนำหลักนี้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจนถึงการดับทุกข์

ถ้าท่านได้ลองศึกษาและติดตามสถานการณ์พุทธศาสนาในชาติตะวันตก จะพบว่าหลายประเทศจะหันมานับถือพุทธมากขึ้น เนื่องจากตอบโจทย์กับวิธีคิดดั้งเดิมของชาวตะวันตกที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก และชาวตะวันตกเริ่มอิ่มตัวกับทางวัตถุเพราะประเทศเค้าเจริญแล้วและมีปัจจัย 4 เพียงพออย่างสมบูรณ์ แต่ยังพบว่าตนเองยังมีทุกข์ จึงแสวงหาทางออกแบบใหม่และเริ่มเปิดใจหันมาศึกษาทางพุทธมากขึ้น

ดังนั้นชาวตะวันตกกับชาวไทยที่นับถือพุทธมักจะมีความแตกต่างกันทางความคิด คือทางตะวันตกจะเอาปัญญานำศรัทธา แต่ของไทยส่วนใหญ่จะเอาศรัทธานำปัญญาตามที่ผมได้เขียนในกระทู้ ทำให้นักการเมืองหรือผู้ที่เล็งเห็นจุดอ่อนในลักษณะนี้ของคนไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือเรื่องสถาบัน ผมเลยเขียนกระทู้นี้ขึ้นมาครับ

ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันนะครับ


0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวซัลโวฟุตบอลโลก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 24 Jun 2019
ตอบ: 2200
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Mar 06, 2021 10:39
[RE: ศานนา (พุทธ) กับการเมือง]
Wolvesgangster พิมพ์ว่า:
ถ้าให้พิมพ์คงยาว ผมสรุปให้ได้เลยว่า ศาสนาคือเครื่องมือทางการเมือง แค่นั้นเลย

ผมข้ามเรื่องรายละเอียด คำสอน ในแต่ละศาสนาไปเลยนะ คุณไปดูจุดเริ่มต้นของศาสนาหลักๆ ในแต่ละศาสนา แล้วย้อนกลับไปศาสนาในยุคเริ่มต้นประวัติศาสตร์ ทำไมศาสนาไหนได้ไปต่อ ทำไมศาสนาไหนถึงถูกกลืน จนย้อนกลับไปถึงจุดก่อนการกำเนิดศาสนาทั้งหลาย ความแตกต่างและความเหมือนของศาสนากับความเชื่อโบราณ การใช้ศาสนาเป็นเครื่องบ่งบอกของความมีอารยธรรม

ไม่ว่าจะ ศาสนา การเมือง คุณธรรม ศีลธรรม ความเชื่อ ความดี ความเลว ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความจริงตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้จินตนาการร่วมกัน และวางมันไว้เป็นกฏเกณฑ์ในการก่อร่างอารยธรรม  

ผมเห็นด้วยครับว่าศานาในปัจจุบันเป็นเครื่องมือทางการเมือง ส่วนเรื่องที่ท่านว่า "ไม่ว่าจะ ศาสนา การเมือง คุณธรรม ศีลธรรม ความเชื่อ ความดี ความเลว ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความจริงตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้จินตนาการร่วมกัน" ถ้าให้พูดในเชิงปรมัตถ์แล้วมันก็ถูกต้องครับ

เพราะว่าความจริงตามธรรมชาติมันตกอยู่ภายใต้กฏของไตรลักษณ์ แท้จริงความดีก็ไม่มีตัวตน ความเลวก็ไม่มีตัวตน ตัวเราก็ไม่มี แต่ในขณะเดียวกัน ความดีที่เราทำจะเป็นเครื่องเกื้อหนุนต่อการปฏิบัติให้ถึงเป้าหมายของทางพุทธ แต่สุดท้ายจนถึงที่สุดก็ต้องวางความดีทิ้งแค่อาศัยเป็นฐานในการปฏิบัติ และตัวความเลวก็จะก่อให้เกิดนิวรณ์หรืออุปสรรคในการปฏิบัติ อันนี้ผมไม่ได้เขียนจากทฤษฎีอย่างเดียวนะครับ แต่ประสบด้วยตนเองมาพอสมควร ผมขอตัดประเด็นเรื่องการรับผลกรรมในแต่ละชาติออกจากการทำความดีหรือความเลวนะครับ เพราะอันนี้พิสูจน์ยากและถึงแม้พิสูจน์ได้ก็รู้ได้เฉพาะตนอีก

ส่วนความเห็นของท่าน XeathG ผมเลือกที่จะไม่ตอบ เพราะคิดว่ามันขาดตรรกะอย่างชัดเจนในประเด็นที่เค้าเขียนหลายเรื่อง และรู้สึกว่าใช้อารมณ์มากกว่าเหตุผล คงคิดว่าเปล่าประโยชน์ที่จะตอบกลับไปครับ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักเตะท้ายซอย
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 723
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Mar 06, 2021 18:34
[RE: ศานนา (พุทธ) กับการเมือง]
Wolvesgangster พิมพ์ว่า:
RYONAJA พิมพ์ว่า:
XeathG พิมพ์ว่า:
แค่อ่านย่อหน้าแรก ก็อุทาน "อะไรของเมิง" โหนศาสนามั่วไปหมด แหม พระุทธศาสนามาเกิดมาเพื่อแก้ไขวรรณะ พวกเมิงบ้าป่าว ทุกวันนี้อินเดียยังมี วรรณะ อยู่เลย แล้วสมัยนั้นมีการเมืองแล้วเหรอ ใช่พรรคจุลินทรีป่าวอะที่อยู่คงทน เสือกไปสู่รู้แทนพระพุทธเจ้า ว่าจะปลดปล่อยมนุษย์ คำว่าเสรีภาพกับเสมอภาคมันเพิ่งบัญญัติมาไม่กี่ปีนี้เอง ตัดเรื่องโหนศาสนาออก เขียนแนวทางสัติวิธีแบบสากล ยึดโยงกับหลักสิทธิมนุษยชนที่เป็นปัจจุบันอะ ดีกว่าครับ เอาศาสนามาชน ฝั่งนั้นก็เอาสถาบันมาชน ซึ่งสถาบันภาพในดูใหญ่ว่าศาสนาอยู่แล้วครับ  


อินเดียคนนับถือพุทธมีไม่มากนะครับ และวรรณะน่าจะมาจากพวกฮินดูรึเปล่า
ผมมีเพื่อนอินเดียเค้าก็เป็นฮินดูกัน ผิดพลาดยังไงขออภัยด้วยครับ
 


อินเดีย ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา ฮินดู (~80%) รองลงมาคืออิสลาม (~10%) ที่เหลือเป็นหลายๆ ศาสนาปนกัน ข้อมูลพวกนี้เสิร์จกูเกิ้ลดูก็เจอ

คนทั่วไปมักสับสนเพราะเข้าใจว่าศาสนาพุทธมีต้นกำเนิดที่อินเดีย  

เดาว่าคนคงมีเข้าใจผิดกันบ้างอย่างที่คุณว่าครับ
ขนาดเมืองไทยที่ว่าเป็นเมืองพุทธพระพุทธรูปยัง
มีเต็มไปหมดทั้งที่ศาสนาพุทธจริงๆไม่ได้บูชารูปเคารพ
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status: ชีวิต(ไม่)เป็นของเรา
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Sep 2013
ตอบ: 83
ที่อยู่: ไม่มี ไม่อาศัย ไม่ขึ้นกับสิ่งใด
โพสเมื่อ: Sun Mar 07, 2021 02:59
ศานนา (พุทธ) กับการเมือง
ผมชอบบทสรรเสริญพระธรรมคุณที่ จขม. ยกตัวอย่างมาตอนท้ายมากครับ

ทำให้ผมยิ่งย้ำซ้ำว่าความจริงแท้หนึ่งเดียว คือ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้จริงๆ นอกนั้นไม่มีอะไรจริงเลยซักอย่าง เกิดก็ไม่จริง ตายก็ไม่จริง สวรรค์ก็ไม่จริง นรกก็ไม่จริง.. ชีวิตก็ไม่จริง(รึเปล่า..คงต้องลองพิสูจน์ดู)

และทางที่จะนำไปสู่ความจริงนี้ได้ ก็มีเพียงความดีนี้แหละครับ แต่ต้องดีทั้งกาย วาจา และที่สำคัญคือใจ จะว่าไปก็ทำยากอยู่ เพราะใจมักจะคิดไม่ดี และที่สำคัญมักจะไปเป็นทาสของกาย และมันก็จะทำให้การกระทำทางกายพลอยไม่ดีไปด้วย คล้ายๆกับสุภาษิตที่ว่า "มือถือสาก ปากถือศีล" นี่แหละครับ

ทำให้ผมนึกถึงประโยคที่ว่า "ในบ้านเมืองนั้นมีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงไม่ใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้" ของในหลวง ร.๙

สำหรับสถานการณ์การเมืองตอนนี้ ใครคือคนดีก็ขอให้เป็นคำตอบในใจของแต่ละท่านก็แล้วกัน สำหรับผมขอเริ่มต้นที่ตัวเอง ตัดสินตัวเองด้วยตัวเองดีกว่าครับ ให้คนอื่นตัดสินแล้วมันทุกข์เหลือเกิน

มีบางคนเคยบอกว่าคนดีไม่มีมาเล่นเว็บบอร์ดนี้หรอก อาจจะจริงครับ แค่ผมกดเข้ากระทู้ 18+ ก็ใจสั่นแล้ว แต่ก็ยังดีที่มีกระทู้ดีๆจากสมาชิกดีๆให้ได้อ่านอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย..ที่ช่วยให้ใจไม่สั่นไปมากกว่านี้ 555

ขอบคุณเว็บบอร์ด SS ครับ

โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1, 2
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel