ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ง.
Status: น้ำแข็งใสหวานเจี๊ยบบบบบบบ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 28 May 2010
ตอบ: 26486
ที่อยู่: โต๊ะบอล
โพสเมื่อ: Sat Oct 19, 2019 14:41
ยุทธการเขื่อนแตก ปฏิบัติการทางทหารที่โลกลืม
ยุทธการเขื่อนแตก เป็นปฏิบัติการทางทหารในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 ในเดือนมิถุนายน 1938 เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำเหลืองเข้าท่วมกองทัพญี่ปุ่นที่กำลังรุกคืบหน้าอย่างรวดเร็ว น้ำท่วมครั้งนั้นสามารถหยุดยั้งการรุกของญี่ปุ่นได้สำเร็จ แต่ก็ทำความเสียหายให้กับประเทศชาติอย่างมหาศาล ทำให้กลายเป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์จีน ที่มักจะกล่าวถึงแบบรวบรัด และไม่ค่อยบอกเล่าถึงรายละเอียด

ในระหว่างสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง หลังจากญี่ปุ่นยึดนานกิงเมืองหลวงของจีนได้ในเดือนธันวาคม 1937 เจียงไคเช็คก็ได้สั่งให้ย้ายเมืองหลวงไปเมืองจุงกิงซึ่งอยู่ในมณฑลเสฉวน รวมทั้งให้ขนย้ายทรัพยากรและปัจจัยต่างเพื่อการทำสงครามที่สามารถขนได้ไปด้วย แต่การเคลื่อนย้ายสัมภาระจำนวนมหาศาลต้องใช้เวลาพอสมควร ทางรัฐบาลจึงตั้งจุดตั้งรับที่เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) ซึ่งมีความสำคัญทางยุทศาสตร์ เพื่อป้องกันเส้นทางลำเลียงจากมณฑลชายฝั่งทะเลทางใต้ที่จะไปสู่เสฉวน

แผนที่ประเทศจีนช่วงปลายปี 1937



จะเห็นว่าต้นปี 1938 กองกำลังหลักของญี่ปุ่นแยกกันอยู่สองที่ ส่วนแรกอยู่ที่นานกิง-เซี่ยงไฮ้ และส่วนที่สองอยู่ทางเหนือในมณฑลเหอเป่ย กองกำลังทางเหนือเป็นส่วนที่มีการรุกคืบหน้ามากที่สุด โดยมุ่งหน้าลงใต้เข้าสู่มณฑลเหอหนาน ตามเส้นทางรถไฟ ที่จะไปซีอานและเจิ้งโจว แต่มาได้แค่แม่น้ำเหลืองก็ต้องหยุด เพราะทางจีนได้ทำลายสะพานข้ามแม่น้ำทั้งหมด และวางกำลังรักษาฝั่งตรงข้ามอย่างเข้มแข็ง

ญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนแนวรุกเข้ามาจากชายฝั่งทะเลที่อยู่ทางใต้ของแม่น้ำเหลือง จากมณฑลชานตุง ม่งหน้าสู่เมืองซูโจว (Xuchow) แต่เผชิญกับการต่อต้านอย่างเข้มเข็งเกิดเป็นยุทธการไท่เอ๋อซวง (Taierzhoung) ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นก็สามารถยึดเมืองซูโจวได้ในเดือนพฤษภาคม หลังจากนั้นก็มุ่งหน้าไปทางตะวันตกตามแนวเส้นทางรถไฟหลงไห่ (Long-hai) โดยมีจุดหมายที่เมืองเจิ้งโจว (Zheng-zhou) ที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นชุมทางรถไฟที่สามารถแยกไปสู่อู่ฮั่นและซีอาน

ในวันที่ 6 มิถุนายน 1938 ญี่ปุ่นสามารถยึดเมืองไคฟง (Kaifeng) เมืองหลวงของมณฑลเหอหนานได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ญี่ปุ่นยึดเมืองเจิ้งโจว เจียงไคเช็คจึงตัดสินใจสร้างน้ำท่วมเพื่อหยุดการบุกของญี่ปุ่น โดยการทำลายคันกั้นน้ำ ผันน้ำจากแม่น้ำเหลืองเข้าสู่ที่ราบภาคกลาง เพื่อให้เกิดน้ำท่วมตัดขาดเส้นทางการรุกของญี่ปุ่น



วันที่ 5-7 มิถุนายน 1938 รัฐบาลจีนได้ระดมกำลังทหาร 2,000 คนจากกองพันทหารช่าง เครื่องจักรกลงานดิน รวมทั้งเกณฑ์ประชาชนในพื้นที่เข้าทำลายคันกั้นน้ำของแม่น้ำเหลืองที่ตำบลเซ่าโค่ว (Zhaokou) เนื่องจากเป็นจุดที่คันกั้นน้ำมีความหนาน้อยที่สุด การขุดเกือบจะสำเร็จอยู่แล้ว แต่ต้องหยุดไปด้วยสาเหตุที่ไม่ชัดเจน ข้อมูลบางกระแสบอกว่าเพราะคันกั้นน้ำแข็งเกินไป บ้างก็ว่าเพราะถูกทหารญี่ปุ่นจากฝั่งตรงข้ามโจมตีด้วยปืนใหญ่จนต้องเลิกขุด บ้างก็ว่าเพราะถูกวิศวกรชลประทานทักท้วงว่าถ้าเปิดทางน้ำที่จุดนั้น น้ำจะไหลผ่านชานเมืองเจิ้งโจวที่มีประชาชนหนาแน่น ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายมาก จึงเปลี่ยนที่ขุดใหม่มาที่ตำบลฮั่วหยวนโค่ว (Huayuankou) หลังจากที่ได้รับอนุมัติการขุดก็เริ่มต้นอีกครั้งในคืนวันที่ 7 มิถุนายน และเพื่อไม่ให้ญี่ปุ่นรู้ จึงใช้เพียงพลั่วสนามของทหาร โดยไม่ใช้เครื่องจักรช่วย

จุดที่ถูกเลือกใหม่เป็นโค้งแม่น้ำที่กระแสน้ำไหลเบียดริมฝั่งด้านทิศใต้ ดังนั้นเมื่อถูกเจาะน้ำจะพุ่งตรงออกทางช่องที่เปิด ทางจีนไม่ได้ขุดช่องทางระบายน้ำเล็กๆ แต่ต้องการสร้างสภาวะเขื่อนแตกที่น้ำทะลักออกทันทีจำนวนมากเพื่อให้กระแสน้ำท่วมทำลายกองทัพญี่ปุ่น ดังนั้นจึงขุดดินเพื่อทำให้คันกั้นน้ำบอบบางลงเป็นแนวยาวประมาณ 300 เมตร พอได้ที่ก็เจาะช่องให้น้ำออกสองจุดหัวท้าย พอน้ำเริ่มไหลก็จะกัดเซาะแนวคันกั้นน้ำที่ถูกทำให้บอบบางที่อยู่ระหว่างกลาง และเชื่อมต่อกันเป็นช่องทางน้ำขนาดใหญ่

คันกั้นน้ำตรงจุดนั้นกว้างสี่สิบเมตร สร้างด้วยหินและดินเหนียวบดอัดแน่น และยืนหยัดผ่านกาลเวลามานานจนเนื้อดินจับตัวแน่น การขุดจึงต้องทำทั้งวันทั้งคืนแข่งกับเวลาที่ทหารญี่ปุ่นกำลังรุกคืบใกล้เข้ามาทุกขณะ โดยกองบัญชาการที่อู่ฮั่นจะติดต่อสอบถามความคืบหน้าเกือบจะทุกชั่วโมง ในที่สุดเช้าวันที่ 9 มิถุนายน ทหารช่างก็เริ่มปล่อยน้ำผ่านช่องทางที่ขุด ในตอนแรกทางน้ำยังเล็ก แต่วันรุ่งขึ้นได้เกิดฝนตกใหญ่บริเวณต้นน้ำ ระดับน้ำในแม่น้ำเหลืองสูงขึ้น ทำให้ช่องที่ถูกเจาะขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว เพียงไม่นานแม่น้ำเหลืองก็ไหลทะลักออกทางคันกั้นน้ำที่ถูกทำลาย จนมวลน้ำประมาณ 75% ของแม่น้ำเหลืองได้เปลี่ยนเส้นทางการไหลหลักเข้าสู่ที่ราบของมณฑลเหอหนานแทนที่จะไหลลงทะเลที่อ่าวโปไห่

น้ำท่วมได้แผ่ขยายพื้นที่ออกไปในอัตรา 16 กิโลเมตรต่อวัน ทำให้การรุกของญี่ปุ่นต้องหยุดชะงักไปชั่วคราว เพราะญี่ปุ่นจำเป็นต้องรอดูท่าทีว่าขอบเขตของน้ำท่วมจะแผ่ขยายไปในทิศทางทางใด อย่างไรก็ตามทิศทางการไหลของน้ำได้เป็นไปตามแผนที่วิศวกรชลประทานของจีนคำนวณ คือผ่ากลางมณฑลเหอหนานไปลงแม่น้ำหวย และทำให้แม่น้ำหวยเอ่อล้นท่วมสองฝั่งไปจนถึงทะเลสาบหงเจ๋อในมณฑลเจียงซู โดยที่สุดแล้วน้ำท่วมได้ทำให้เกิดแถบที่ลุ่มหนองบึงที่ยาวมากกว่า 400 กิโลเมตร ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนกองทัพผ่าน ทำให้แผนการเข้าตีอู่ฮั่นจากทางด้านเหนือของญี่ปุ่นต้องยกถูกยกเลิก

ความสูญเสีย

ทางการจีนไม่ได้ประกาศเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า เพราะคาดหวังว่าน้ำท่วมจะสามารถทำลายกองทัพญี่ปุ่นได้บางส่วน โดยในระหว่างสงครามทางจีนเคยคาดว่ามีทหารญี่ปุ่นจมน้ำตายในอุทกภัยครั้งนี้ไม่ต่ำกว่าหมื่นคน แต่หลักฐานของทางญี่ปุ่นไม่มีบันทึกถึงความสูญเสีย ในปัจจุบันพบว่าตอนที่เกิดน้ำท่วมนั้นแนวหน้าของญี่ปุ่นยังเคลื่อนมาไม่ถึงบริเวณที่จะถูกน้ำท่วม หรือมิฉะนั้นก็สามารถถอยหนีได้ทัน ดังนั้นจึงเชื่อว่าไม่มีทหารญี่ปุ่นเสียชีวิตในเหตุการณ์นี้

ส่วนทางด้านจีน เนื่องจากไม่มีการประกาศเตือนภัย จึงมีแต่คนในพื้นที่ใกล้เขื่อนเท่านั้นที่รู้ข่าวและเตรียมตัวได้ทัน ส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปต้องเผชิญกับน้ำท่วมโดยไม่รู้ตัว ผู้คนพากันหนีน้ำขึ้นไปรอความช่วยเหลืออยู่บนหลังคา แต่เนื่องจากเป็นภาวะสงครามทำให้ความช่วยเหลือมีมาน้อย ในบางพื้นที่ระดับน้ำค่อยๆสูงขึ้นจนท่วมมิดหลังคาบ้านชนบทที่มักจะมีชั้นเดียว ทำให้มีคนจมน้ำตายเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะถูกน้ำท่วมพื้นที่บริเวณนั้นมีคนอยู่อาศัยประมาณ 12 ล้านคน เราไม่รู้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่นอน เพราะอยู่ในระหว่างสงครามจึงไม่มีการสำรวจความเสียหาย อย่างไรก็ตาม หลังสงคราม ในปี 1948 ได้มีการสำรวจ ประเมินว่ามีผู้เสียชีวิตประมาณ 800,000 คน

น้ำท่วมครั้งนี้ปรากฏว่ามีทหารญี่ปุ่นได้นำเรือออกช่วยเหลือประชาชนชาวจีนผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ตามหลังคาบ้านด้วย
ชาวจีนที่ถูกน้ำท่วม ได้รับความช่วยเหลือจากทหารญี่ปุ่น ภาพข่าว นสพ. ไมนิชิ 11 กรกฎาคม 1938



เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ได้ปกครองประเทศ ได้ทำการประเมินอีกในปี 1970 สรุปยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 893,303 คน อย่างไรก็ตามการศึกษาครั้งล่าสุดของทางไต้หวันในปี 1994 เชื่อว่าจำนวนผู้เสียชีวิตที่สูงเกือบ 9 แสนคนนี้ไม่ได้ตายเพราะจมน้ำทั้งหมด แต่น่าจะเป็นยอดรวมจำนวนของคนที่เสียชีวิตทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว โดยผู้ที่เสียชีวิตจากการจมน้ำโดยตรงน่าจะประมาณ 4 – 5 แสนคน ส่วนที่เหลือน่าจะเสียชีวิตจากโรคระบาดที่มาพร้อมกับน้ำท่วม

นอกจากจะมีคนเสียชีวิตจำนวนมากแล้ว ประชาชนอีกราว 5 แสนคนได้สูญเสียบ้านไปในน้ำท่วม อีก 3 ล้านคนต้องกลายเป็นผู้อพยพ ส่วนที่เหลือก็ได้รับความเสียหายด้านทรัพย์สิน

ถึงแม้ในปัจจุบันจะปรับลดตัวเลขผู้เสียชีวิตเพราะจมน้ำลงมาเหลือ 4 – 5 แสนแล้วคนก็ตาม แต่จำนวนคนที่เสียชีวิตในปฏิบัติการครั้งนี้ก็ยังคงมากกว่าการทิ้งระเบิดปรมณูที่ฮิโรชิม่า ซึ่งทำให้มีคนเสียชีวิตระหว่าง 9 หมื่นถึง 1.3 แสนคนอยู่หลายเท่าตัว ทำให้ยุทธการเขื่อนแตกเป็นปฏิบัติการทางทหารที่ทำให้มีคนเสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติ

อ่านเต็มได้ที่ : https://pantip.com/topic/39298677?utm_source=facebook&utm_medium=pantipedia&utm_content=Boom&utm_campaign=39298677%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81&fbclid=IwAR0MXW7osZr6IWU3JwiwzJrh9VJB4ydlFG3R12UXvwM5lnVolPG3Hvo1ClI
แก้ไขล่าสุดโดย _น้ำแข็งใส_ เมื่อ Sat Oct 19, 2019 14:42, ทั้งหมด 1 ครั้ง
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ


ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 54123
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Oct 19, 2019 15:07
ยุทธการเขื่อนแตก ปฏิบัติการทางทหารที่โลกลืม
น่าจะสร้างเป็นหนัง
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลลีกภูมิภาค
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Mar 2018
ตอบ: 3910
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sat Oct 19, 2019 16:15
ยุทธการเขื่อนแตก ปฏิบัติการทางทหารที่โลกลืม
ขอบคุณครับ ชอบๆ
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel