ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
นักบอล ดิวิชั่น 1
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 05 Dec 2015
ตอบ: 3403
ที่อยู่: ห้องน้ำEmirate Stadium
โพสเมื่อ: Wed May 22, 2019 18:59
เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน

เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน

หลายคนอาจสงสัยว่า ในสมัยก่อนเราเรียก กรุงเทพมหานครว่า บางกอก แต่ในปัจจุบัน เรียกกันว่า กรุงเทพมหานคร เหตุใดจึงเปลี่ยนชื่อเรียกมาเป็นกรุงเทพ ปัจจุบัน กรุงเทพฯของเราขึ้นอันดับเป็นมหานครแห่งหนึ่งของโลกแล้ว มีประชากรจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม 2556 ถึง 7,791,000 คน และยังมีคนที่อยู่อาศัยโดยไม่มีชื่อในทะเบียนราษฎร กับคนจากปริมณฑลที่เข้ามาทำงาน รวมทั้งนักท่องเที่ยวซึ่งเห็นได้อยู่ทั่วไปอีก แต่ละวันกรุงเทพมหานครจึงมีผู้คนขวักไขว่เกินกว่า 10 ล้านคนขึ้นไปมาก

กรุงเทพฯ ยังสร้างเรื่องเหลือเชื่อไว้ด้วยว่า เป็น เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก หรือ World’s Best City Award และได้รับรางวัลนี้มาตั้งแต่ปี 2553 - 2556 ถึง 4 ปีซ้อน จาก เทรเวล แอนด์ เลชเชอร์ (Travel + Leisure) นิตยสารท่องเที่ยวยอดนิยมของสหรัฐอเมริกา

ในสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร ยังเป็นเพียงหมู่บ้านที่เรียกกันว่าบางกอก มีชื่อเสียงทางด้านปลูกผลไม้ และมีหลักฐานจากวัดเก่า ๆ หลายวัด ว่าสร้างมาก่อนกรุงศรีอยุธยาเสียอีก ในแผนที่และเอกสารของชาวตะวันตก ปรากฏชื่อเขียนต่าง ๆ กัน เช่น Bancoc, Bancok, Banckok, Bankoc, Banckock, Bangok, Bancocq, Bancock ส่วนคำว่า Bangkok เป็นคำที่สังฆราชฝรั่งเศสใช้เขียนรายงานไปยังสำนักงานใหญ่ที่กรุงปารีสเป็นประจำ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระอักษรไปถึงพวกฝรั่งก็ทรงใช้คำนี้ จึงได้ถือเป็นคำทางการตลอดมา


บางกอก เคยเป็นที่ตั้งของด่านภาษี ซึ่งพ่อค้าชาวฮอลันดาได้บันทึกไว้เมื่อปี 2160 - 2161 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม กล่าวถึงบางกอกไว้ว่า


จากปากน้ำเข้าไป 5 ไมล์ เป็นที่ตั้งของเมืองล้อมรอบด้วยกำแพงมีชื่อว่า บางกอก ณ ที่นี่เป็นที่ตั้งของด่านภาษีแห่งแรก เรียกว่า ขนอนบางกอก (Canen Bangkok) ซึ่งเรือและสำเภาทุกลำไม่ว่าจะมาจากชาติใดก็ตาม จะต้องหยุดจอดทอดสมอ และแจ้งให้ด่านนี้ทราบก่อนว่าจะเข้ามาเพื่อจุดประสงค์อันใด

ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ได้บันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า
สวนผลไม้ที่บางกอกนั้น มีอาณาบริเวณยาวไปตามชายฝั่งแม่น้ำ โดยทวนขึ้นไปสู่เมืองสยาม (หมายถึงกรุงศรีอยุธยา) ถึง 4 ลี้ กระทั่งจรดตลาดขวัญ ทำให้เมืองหลวงแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลาหารซึ่งคนพื้นเมืองชอบบริโภคกันนักหนา


บาทหลวงตาชาร์ด ซึ่งเข้ามาในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์เช่นกัน บันทึกไว้ว่า
และโดยที่บางกอกเป็นเมืองสวนของประเทศสยาม ซึ่งมีผลไม้รสเยี่ยมทั่วราชอาณาจักรมารวมกันอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เขาจึงนำมาให้เป็นของกำนัลแก่เราเข่งหนึ่ง

สมัยกรุงธนบุรี สวนผลไม้ของบางกอกได้ขยายไปถึงตำบลบางช้าง สมุทรสงคราม มีคำพูดกันว่า สวนในเรียกบางกอก สวนนอกเรียกบางช้าง และยังแบ่งเป็น บางบน กับ บางล่าง โดยอยู่เหนือพระราชวังก็เรียก บางบน อยู่ใต้ลงไปเรียก บางล่าง ผลไม้ของบางกอกฝั่งธนบุรี มีรสชาติขึ้นชื่อเป็นย่าน ๆ

เช่น ทุเรียนบางบนมีรสมันมากกว่าหวาน ทุเรียนบางล่างมีรสหวานมากกว่ามัน มะปรางท่าอิฐ เงาะบางยี่ขัน ลิ้นจี่บางอ้อ ขนุนบางล่าง ลำไยบางน้ำชน กระท้อนคลองอ้อม ฝรั่งบางเสาธง เงาะ - ลางสาดคลองสาน ละมุดสีดาราษฎร์บูรณะ ส้มเขียวหวานบางมด สวนฝั่งตะวันออกแถวตรอกจันทร์ ถนนตก ก็ขึ้นชื่อเรื่องลิ้นจี่และลำไย


ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มมีชาวตะวันตกเข้ามา หลังจากขาดหายไปตั้งแต่สิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สังฆราชปาเลอกัว ซึ่งเข้ามาในปี 2373 ได้บรรยายภาพของกรุงเทพฯ ขณะย่างก้าวเข้ารับวัฒนธรรมตะวันตกไว้ว่า


กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ท่ามกลางสวนที่อุดมสมบูรณ์เขียวชอุ่มตลอดปี จึงงามเหมือนภาพวาด กลุ่มเรือใบประดับธงจอดเป็นทิวแถวตามสองฝั่งแม่น้ำ ยอดแหลมหุ้มทองของมณฑปและโครงสร้างอันสวยงามของพระปรางค์ ที่มีการประดับอย่างสวยงามด้วยกระเบื้องเคลือบหลากสี ลอยสูงเด่นอยู่ในอากาศ ยอดเจดีย์หุ้มทองประดับกระเบื้องหลากสีสะท้อนแสงเหมือนสีรุ้ง

เบื้องหน้าของท่านจะมองเห็นร้านค้าบนเรือนแพจำนวนนับพันเรียงเป็นสองแถวยาวตามริมฝั่งแม่น้ำ มีเรือสวยงามแล่นตัดข้ามฟากไปมา ตลอดความยาวของลำน้ำอันคดเคี้ยว ป้อมสีขาวคล้ายหิมะ ตัวเมืองซึ่งมีหอคอยแลประตูมากมาย ลำคลองที่ตัดผ่านไปรอบเมือง ยอดแหลมของปราสาทราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง สามารถมองเห็นได้จากทั้งสี่ทิศ มีอาคารแบบจีน อินเดีย และยุโรป เสื้อผ้าอาภรณ์ที่แตกต่างกันไปของแต่ละชาติ เสียงดนตรี เสียงเพลงจากโรงละคร ความเคลื่อนไหวของชีวิตในเมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวต่างชาติมองด้วยความชื่นชมและพิศวง


ในขณะนั้น กรุงเทพฯ ไม่มีรถยนต์สักคันเดียว ใช้กันแต่การสัญจรทางน้ำ แม่น้ำและลำคลองเป็นเหมือนถนนอันจอแจ มีเพียงใจกลางเมืองและย่านตลาดเท่านั้นที่มีถนนปูด้วยอิฐแผ่นใหญ่ ๆ แต่ก็เป็นถนนสำหรับคนเดิน ส่วนถนนสำหรับรถสายแรกเกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ 4 ในปี 2400 เมื่อกงสุลอังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา และนายห้างต่างประเทศได้ร้องว่า เรือสินค้าที่ต้องขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ นั้น เสียเวลามาก เพราะแม่น้ำคดเคี้ยว และไหลเชี่ยวในฤดูน้ำหลาก หากลงไปตั้งห้างแถวปากคลองพระโขนง แล้วขุดคลองลัดมาเชื่อมกับคลองผดุงกรุงเกษมจะสะดวกขึ้นมาก

จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองแยกจากจากคลองผดุงกรุงเกษม ผ่าทุ่งหัวลำโพงเป็นเส้นตรงไปบรรจบคลองพระโขนงที่ใกล้ปากคลอง นำดินขึ้นมาถมด้านเหนือเพียงด้านเดียว พูนดินเป็นถนนคู่ขนานกันไป เรียกกันว่า คลองตรง และ ถนนตรง แต่ชาวบ้านเรียกกันว่า คลองหัวลำโพง และ ถนนหัวลำโพง ซึ่งนับเป็นถนนสายแรกของกรุงรัตนโกสินทร์

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงพระราชทานนามใหม่ให้ถนนหัวลำโพงในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 ว่าถนนพระรามที่ 4 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายนี้
เมื่อขุดคลองถนนตรงให้ตามคำขอแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่ามีบริษัทห้างร้านของชาวตะวันตกย้ายไปอยู่ที่ปากคลองพระโขนงตามที่อ้างเลย ต่อมาในปี 2404 ชาวตะวันตกเหล่านั้นก็เข้าชื่อกันกราบบังคมทูลอีกว่า


ชาวยุโรปเคยขี่รถ ขี่ม้า เที่ยวตากอากาศได้ตามสบาย ไม่มีเจ็บไข้ เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพพระมหานคร ไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถขี่ม้า พากันเจ็บไข้เนืองๆ

ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนสายใหม่ตามคำขออีก โดยเริ่มจากคลองรอบกรุงตรงสะพานดำรงสถิตที่สามยอดในปัจจุบัน ไปเชื่อมกับถนนตรงที่คลองผดุงกรุงเกษมตรงหัวลำโพง สายหนึ่ง แล้วตัดแยกจากถนนใหม่นี้ที่เหนือวัดสามจีน (วัดไตรมิตร) ตรงไปจนตกแม่น้ำที่บางคอแหลม อีกสายหนึ่ง จุดที่แยกออกเป็น 2 สายนี้ เรียกกันว่า สามแยก การสร้างถนนสายนี้นับเป็นสายแรกที่ใช้วิทยาการตะวันตก เรียกกันว่า ถนนใหม่ ชาวตะวันตกเรียก นิวโรด ต่อมาจึงพระราชทานนามว่า ถนนเจริญกรุง


ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเกิดถนนและสะพานขึ้นมากมายสำหรับรถยนต์ แต่ก็ยังไม่ทิ้งคลอง มีการขุดเชื่อมหัวเมืองใกล้เคียงขึ้นอีกหลายคลอง บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองขึ้นมากในรัชกาลนี้ ย่านการค้าที่คึกคักที่สุดในยามนั้น ได้แก่ ย่านเยาวราช ซึ่งเป็นชุมชนของคนจีน มีท่าเรือที่ถนนทรงวาด ย่านบางรักเป็นชุมชนของชาวยุโรป เป็นที่ตั้งของสถานทูต และมีท่าเรือตลอดถนนตก ส่วนบางลำพูเป็นย่านการค้าของคนไทย มีสินค้าที่ข้ามมาจากฝั่งธนบุรีและจากหัวเมืองทางแม่น้ำ



กรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งจำนวนประชากรและสภาพบ้านเมือง โดยเฉพาะในช่วงก่อนปี 2540 ที่ฟองสบู่แตก มองไปทางไหนในกรุงเทพฯ ก็เห็นแค่เครนยักษ์กำลังสร้างตึก ขณะเดียวกัน นักท่องเที่ยวหลายทวีปต่างก็ตั้งเป้าหมายปลายทางมาที่กรุงเทพฯ จนเป็นเมืองอันดับ 2 รองแต่กรุงลอนดอนเท่านั้น ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเยือนมากในรอบปี


ที่มา
Spoil
https://pantip.com/topic/38889264
เรียบเรียงโดย: NIXA
แหล่งที่มา: https://www.partiharn.com/
https://board.postjung.com/1145853

โดย อิศรา
 
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ

ออฟไลน์
นักเตะกลางซอย
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 1085
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed May 22, 2019 19:12
[RE: เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน]
อ่านแล้วมีความรู้สึกที่บอกไม่ถูก
ประเทศเราอุดมสมบูรณ์มากๆนะ ข้าว ผลไม้ สิงสาราสัตว์ ธรรมชาติ
มีภาษา อักษรเป็นของตัวเอง เป็นเมืองท่าค้าขาย
สมัยก่อนก็มีนโยบายเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติพอควร เรียกว่าโมเดิร์นใช้ได้ในสมัยนั้น
ผู้คนก็เป็นมิตร มีน้ำใจ นี่มันเมืองในฝันชัดๆ
ข้ามมาทุกวันนี้ ทำไมมันเป็นอย่างนี้ไปได้

6
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
suck it and see...
ออฟไลน์
ดาวเตะพรีเมียร์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 18 Oct 2010
ตอบ: 9500
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed May 22, 2019 19:43
[RE]เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน
เป็นกระทู้ที่ดีมากๆ เคยดูละครที่ย้อนอดีตไป กรุงเทพในสมัยนั้นเต็มไปด้วยคูคลองดังเมืองเวณิชของอิตาลี แล้วจากในกระทู้ที่ฝรั่งบรรยายความสวยงามของกรุงเทพสมัยนั้น คงจะสวยน่าดู
โพสต์บนแอป Soccersuck บน iOS
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ดาวซัลโวยุโรป
Status: Mes Que Un Club.
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 18 Mar 2010
ตอบ: 17256
ที่อยู่: Camp Nou , Barcelona
โพสเมื่อ: Wed May 22, 2019 20:38
เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน
ตอนนี้คงเหลือแต่คำบรรยายแล้ว นานๆไปคงเหมือนนิทานบทหนึ่ง ที่คนอ่านอาจจินตนาการไม่ออกด้วยซ้ำว่ามันเคยมีอยู่จริง
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ดาวซัลโวยุโรป
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Mar 2018
ตอบ: 8562
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed May 22, 2019 20:50
[RE: เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน]
ได้ถึงบางอ้อกับชื่อถนนนางลิ้นจี่เลย
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 03 Sep 2018
ตอบ: 11304
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed May 22, 2019 21:21
[RE: เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน]
ถ้ากรุงเทพยังมีรถรางอยู่ ขนส่งมวลชนในกรุงเทพคงจะพัฒนาเรื่อยๆ ปัญหารถติดเหมือนในปัจจุบันคงลดลงไม่มากก็น้อย

เกร็ดความรู้เล็กน้อยครับ ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่ใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อนรถรางนะครับ ก่อนที่ในหลายเมืองของอังกฤษ (ที่ขึ้นชื่อว่ามีระบบรางที่ดีที่สุดในโลก) จะมีรถรางซะอีก (ไม่นับใต้ดินในลอนดอนที่เค้ามีนานแล้ว)
แก้ไขล่าสุดโดย Rustey เมื่อ Wed May 22, 2019 21:45, ทั้งหมด 2 ครั้ง
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
ซุปตาร์ยูโร
Status: ื❤️Niya❀janrybnk48❀❤️my january & Niya.
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 11994
ที่อยู่: Rivendell
โพสเมื่อ: Wed May 22, 2019 22:49
[RE: เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน]
สมัยกรุงเก่าตามบันทึกต่างๆที่เขียนไว้บรรยากาศความเป็นเมืองก็คล้ายๆกันคือเป็นเมืองท่าค้าขายผู้คนไปมาขวักไขว่ ถ้าไม่เสียอยุธยาเมืองจะมีคนเยอะกว่านี้พอเสียอยุธยาก็พังหมดทั้งผู้คนที่สะสมมาแต่เก่าก่อน บ้านเมืองเศรษฐกิจกว่าจะฟื้นตัวก็สมัย ร.3
แก้ไขล่าสุดโดย Operation Meetinghouse เมื่อ Wed May 22, 2019 22:49, ทั้งหมด 1 ครั้ง
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

เสาหลักเจ้าหญิง NIYA BNK48
ออฟไลน์
นักบอลลีกภูมิภาค
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 4133
ที่อยู่: กลางสนาม
โพสเมื่อ: Thu May 23, 2019 11:01
[RE: เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน]
ขอบคุณสำหรับกระทู้ดีๆ ครับ

เมื่อก่อนเราเจริญมากเลยนะ เสียดายจัง
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน




ออฟไลน์
นักบอลลีกภูมิภาค
Status: Glory Glory Man Utd
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 30 May 2010
ตอบ: 33126
ที่อยู่: ...
โพสเมื่อ: Thu May 23, 2019 15:03
[RE: เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน]
แค่ที่มีมันไม่พอ ต้องบริหารสิ่งที่มีด้วยสินะ
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
นักบอลถ้วย ก.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 23 Jun 2008
ตอบ: 7958
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri May 24, 2019 11:47
[RE: เปิดแฟ้มประวัติศาสตร์ จากบางกอก เมืองผลไม้เล็ก สู่กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน]
พื้นที่สีเขียวเเทบจะไม่เหลือ
ไม่ต้องดูที่ไหนไกล บ้านเกิดผมเองที่ดอนเมือง
สมัยเด็ก ทางเดินตรงกลาง มีท้องล่อง 2 ข้าง
ต้นมะพร้าว เเละอื่นๆมากมายริมท้องล่อง
กลางคืนหิ่งห้อยบินมากมาย จับมาใส่โหล เเล้วปล่อยออกพร้อมๆกัน
ในน้ำมีปลาเข็ม ปลาหมอ ปลาช่อน ปลาดุก
ในทุ่งหญ้า มีตักเเตน ตั๊กแตนปาทังก้าตัวใหญ่ๆ
แมลงทับ ผีเสื้อตัวใหญ่ๆสวยๆ เเมลงปอ มีให้เห็นได้โดยง่าย
ตกเย็นจั๊กจั่น ร้องกันระงม เสียงดัง เเต่ไม่รู้สึกหนวกหู
หน้าเเล้งก็ลงไปย่ำให้หญ้าตาย เพื่อทำเป็นสนามฟุตบอล
รอบๆบ้าน สามารถหาอะไรเล่นได้โดยไม่ต้องไปซื้อเลย
ทุกอย่างที่พูดผมสาบานว่ามันคือกรุงเทพ (เขตชานเมือง)
ทุกวันนี้ มีเเต่สิ่งก่อสร้างน้ำที่ปลาอยู่ได้ ปลาก็ตายหมด

(ผมอายุ 36)
แก้ไขล่าสุดโดย yukyai เมื่อ Fri May 24, 2019 11:48, ทั้งหมด 1 ครั้ง
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel