“หาแถงแง่ฟ้าหาง่าย เบื่อหน่ายบงนักพักตร์ผิน
หาเดือนเพื่อนเถินเดินดิน คือนิลนัยนาหาดาย
เพ็ญเดือนเพื่อนดินสิ้นหา เพ็ญเดือนเลื่อนฟ้าหาง่าย
เดือนเดินแดนดินนิลพราย เดือนฉายเวหาปราศนิล”
เป็นกลอนหกตอนหนึ่งในเรื่อง “กนกนคร” พระนิพนธ์ใน “พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์” องค์ต้นราชสกุล “รัชนี”
ซึ่งเป็นบทของ”อมรสิงห์”พระเอกพรรณนาถึง “กนกเรขา”นางเอก
มีความหมายว่า “จะมองหาผู้หญิงทั่วไปก็หาง่ายจนต้องหันหน้าหนี แต่จะหาผู้หญิงที่เหมือนดั่งนางกนกเรขาหามีไม่ อยากจะพบแทบตายหาได้พบ ถึงแม้ว่าจะมีผู้หญิงมากมายแต่ก็หามีความหมายถ้าปราศจากนางกนกเรขา”
เสด็จฯในกรมทรงนำเค้าโครงเรื่องมาจากเรื่อง “เมืองทอง” ในหนังสือกถาสริตสาคร ของ “โสมเทวะ” สำหรับกลอนในเรื่องกนกนครนั้น ทรงมิได้หมายให้เป็นบทละครจึงทรงนิพนธ์โดยทรงเล่นคำได้ไพเราะสละสลวยทำให้เข้าใจยากในบางตอน เช่น คำว่า “แถง” อ่านว่า ถะ-แหง แปลว่า พระจันทร์ เป็นต้น
Spoil
https://www.facebook.com/thairoyalfamily/photos/a.1476743735697926.1073741828.1476136569091976/1699529193419378/?type=3&theater