ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 12 Aug 2014
ตอบ: 91
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Tue Apr 18, 2017 8:41 pm
พัฒนาเซนเซอร์แบบสวมได้ช่วยตรวจโรคจาก “เหงื่อ”


นักวิจัยพัฒนาเซนเซอร์และหน่วยประมวลผลขนาดจิ๋วที่แนบชิดกับผิวหนัง สำหรับวิเคราะห์เหงื่อเพื่อตรวจโรค รวมถึงติดตามผลการใช้ยา หากทำสำเร็จจะได้เซนเซอร์ที่ช่วยประเมินได้ว่าการใช้ยาในผู้ป่วยแต่ละรายตอบสนองได้ดีแค่ไหน

..:: เซนเซอร์ตรวจเหงื่อแบบสวมใส่ได้และมีความแม่นยำสูงนี้ เป็นผลงานที่เอเอฟพีรายงานว่าอาจช่วยยกระดับการวินิจฉัยและการบำบัดรักษโรคซิสติกไฟโบรซิส (cystic fibrosis) โรคเบาหวาน รวมถึงปัญหาสุขภาพอื่นๆ โดยเซนเซอร์ตรวจเหงื่อรุ่นใหม่นี้ อาศัยเพียงการติดตามความชื้นของเหงื่อ และไม่จำเป็นต้องให้ผู้ป่วยนั่งนิ่งๆ นานถึง 30 นาทีระหว่างตรวจวัด

..:: “ถือเป็นก้าวกระโดด” คาร์ลอส มิลลา (Carlos Milla) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านกุมารแพทย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และเป็นผู้ร่วมวิจัยในพัฒนาเซนเซอร์นี้ได้กล่าวไว้

..:: สำหรับชุดตรวจแบบสวมใส่ได้นี้ได้รับการออกแบบโดยความร่วมมือกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในเบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) ซึ่งประกอบด้วยเซนเซอร์แบบยืดหยุ่น และไมโครโปรเซสเซอร์ที่แนบกับผิวหนังและกระตุ้นต่อมเหงื่อ



..:: เซนเซอร์จะตรวจวัดโมเลกุลและไอออนต่างๆ ที่ปรากฏในทันที โดยเหงื่อยิ่งมีคลอไรด์มากจะทำให้เกิดความต่างศักย์ทางไฟฟ้าบริเวณพื้นผิวของเซนเซอร์มากขึ้นด้วย และปริมาณคลอไรด์สูงนี้อาจจะบ่งชี้ถึงโรคซิสติกไฟโบรซิส ขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั้นเป็นสัญญาณของโรคเบาหวาน

..:: จากรายงานที่ระบุในวารสารวิชาการโพรซีดิงส์ออฟเดอะเนชันนัลอะคาเดมีออฟไซน์ส (Proceedings of the National Academy of Sciences) นั้น เซนเซอร์จะส่งผลเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเพื่อใช้วิเคราะห์และวินิจฉัย

..:: นอกจากนี้ นักวิจัยยังคาดหวังด้วยว่า ในวันข้างหน้าเซนเซอร์นี้อาจช่วยในการพัฒนายาและยาเฉพาะบุคคลสำหรับโรคซิสติกไฟโบรซิส ซึ่งเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของการเกิดเมือกในปอดและตับอ่อน ซึ่งยากต่อการรักษา

..:: แซม อีมามิเนจาด (Sam Emaminejad) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในลอสแองเจลลิส (University of California, Los Angeles: UCLA) กล่าวว่า ยาสำหรับรักษาโรคซิสติกไฟโบรซิสนั้นได้ผลในผู้ป่วยไม่กี่ราย พร้อมทั้งยกตัวอย่างให้เห็นภาพเมื่อให้ผู้ป่วยสวมใส่เซนเซอร์ตรวจวัดเหงื่อระหว่างการทดสอบยาระดับคลีนิค เราก็จะเห็นได้ชัดขึ้นว่าระดับไอออนคอลไรด์ของผู้ป่วยนั้นขึ้นและลงอย่างไรเมื่อตอบสนองต่อยารักษา

..:: อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องศึกษาวิจัยอีกมากเพื่อหาคำตอบว่า เซนเซอร์ตรวจวัดเหงื่อแบบสวมใส่ได้นี้สามารถทำงานได้อย่างคงที่จากวันหนึ่งถึงอีกวันหรือไม่ เพราะองค์ประกอบของเหงื่อในแต่ละคนนั้นเปลี่ยนแปลงได้ถี่ขึ้นอยู่กับอาหารและปัจจัยอื่นๆ

..:: นอกจากนี้นักวิจัยยังคาดหวังที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมว่า โมเลกุลใดในเหงื่อนั้นสามารถใช้สร้างขึ้นเป็นแผนที่และอาจจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากที่สุด

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------










ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก Manager Online



ติดตามข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ (ย้อนหลัง) ได้ที่ Germanicas
เข้าร่วม: 19 Dec 2014
ตอบ: 17987
ที่อยู่: ใน♥ริสะจัง :3
โพสเมื่อ: Tue Apr 18, 2017 10:33 pm
[RE: พัฒนาเซนเซอร์แบบสวมได้ช่วยตรวจโรคจาก “เหงื่อ”]
0
0