อี ซุน-ชิน ประวัติศาสตร์เกาหลี
อี ซุน-ชิน (เกาหลี: 이순신, ฮันจา: 李舜臣, MC: Yi Sun-shin, MR: I Sun-sin; 28 เมษายน พ.ศ. 2087 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2141) คือแม่ทัพเรือของเกาหลีในยุคราชวงศ์โชซ็อน ที่มีชื่อเสียงจากการนำกองทัพเรือเกาหลีเข้าต่อสู้กับกองทัพเรือญี่ปุ่น ในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) ในยุคราชวงศ์โชซ็อน เขาเข้าร่วมรบในฐานะผู้บัญชาการที่ 1 แห่งจังหวัดทหารเรือคย็องซัง, ช็อลลา และชุงช็อง
ราชทินนามของเขาคือ "Samdo Sugun Tongjesa" (ฮันกึล : 삼도수군통제사, ฮันจา : 三道水軍統制使) ซึ่งแปลว่า ผู้บัญชาการ 3 จังหวัดทหารเรือ ซึ่งเป็นราชทินนามสำหรับผู้ที่ครองตำแหน่ง ผู้บัญชาการหน่วยรบทางทะเลของราชวงศ์โซซอน มาจนถึง พ.ศ. 2439 อี ซุน-ชินมีชื่อเสียงด้วยการเอาชนะกองทัพญี่ปุ่นในขณะที่ฝ่ายตนมีจำนวน
น้อยกว่ามากได้ และการประดิษฐ์เรือรบเต่า (คอบุกซ็อน, 거북선) ซึ่งเป็นเรือรบหุ้มเกราะโลหะลำแรกของโลกอีกด้วย เขาได้รับการยกย่องในฐานะแม่ทัพเรือไร้พ่าย และอาจหาญด้วยวีรกรรมการที่ตนนั้นถูกกระสุนปืนไฟยิงแต่มีคำสั่งให้ลูกน้องมัดตนไว้กับเสากระโดงเรือจนกว่าจะตายและให้แม่ทัพรองสวมเกราะของตนเพื่อขวัญกำลังใจของทหารเรือเกาหลีซึ่งมีเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่ได้รับการยกย่องเช่นนี้
เขาเสียชีวิตในยุทธนาวีที่โนรยัง (อ่านว่า โน-รยัง) จากการถูกยิงด้วยกระสุนปืนไฟหนึ่งนัด ในวันที่16 ธันวาคม พ.ศ. 2141 ราชสำนักโชซ็อนยกย่อง เขาด้วยการพระราชทานราชทินนาม และยศให้หลายตำแหน่ง รวมทั้งชื่อที่ตั้งให้เป็นเกียรติอย่าง "ชุงมูกง" (Chungmugong,충무공, 忠武公, ขุนศึกผู้จงรัก) , "ซ็อนมูอิลดึงกงชิน" (Seonmu Ildeung Gongsin, 선무일등공신, 宣武一等功臣, นายทหารผู้ควรได้รับการยกย่องชั้น1แห่งราชวงศ์โซซอน) และตำแหน่งอีก 2 คือ "ย็องอึยจ็อง" (Yeongijeong, 영의정, 領議政, Prime Minister) , และ "ท็อกพุงบูว็อนกุน" (Deokpung Buwongun, 덕풍부원군, 德豊府院君,
เจ้าชายแห่งราชสำนักจากท็อกพุง) และได้รับพระราชทานราชทินนามจากจักรพรรดิว่านลี่แห่งราชวงศ์หมิงว่า "จอมพลเรือแห่งจักรวรรดิหมิง"
วีรกรรมของอี ซุน-ชิน ได้รับการจดจำอย่างมาก จากการเข้าร่วมรบหลายต่อหลายครั้งในการรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141) นี้เอง ในปี พ.ศ. 2135 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิออกคำสั่งเคลื่อนพลเข้าตีเกาหลี หมายจะกวาดพื้นที่ทั้งคาบสมุทรเกาหลี เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการหน้าในการเข้ายึดประเทศจีนต่อไป หลังการโจมตีเมืองปูซาน อี ซุน-ชินก็เริ่มปฏิบัติการโต้ตอบทางทะเล จากยอซู หน่วยบัญชาการของเขา เขามีชัยเหนือญี่ปุ่นใน ยุทธนาวีที่โอ๊กโป,ยุทธนาวีที่ซาชาน และอีกหลายศึก ชัยชนะอย่างต่อเนื่องของเขา ทำให้แม่ทัพทั้งหลายของญี่ปุ่นกังวลถึงภัยจากทางทะเล อี ซุน-ชินเข้ารบในยุทธนาวีใหญ่ๆ อย่างน้อย 23 ครั้ง และได้ชัยชนะทุกครั้ง
ฮิเดโยชิตระหนักถึงความจำเป็นยิ่งยวด ถึงการครอบครองทะเลในระหว่างสงคราม จากล้มเหลวในการจ้างเรือแกลเลียนจากโปรตุเกส ฮิเดโยชินจึงหันไปเพิ่มขนาดกองเรือของเขาเป็น 1,700ลำ โดยคิดว่าเกาหลีจะสู้ในระยะประชิด และญี่ปุ่นจะเอาชนะได้โดยง่ายเป็นแน่ เพราะในเวลานั้นระดับความสามารถของกองทัพเกาหลีและญี่ปุ่นแตกต่างกันมาก

มีเหตุผลอยู่หลายประการว่าทำไมอี ซุน-ชินถึงชนะได้หลายต่อหลายครั้ง หนึ่งคือ อี ซุน-ชินได้เตรียมตัวรับมือกับสงคราม ที่เขามองว่าเลี่ยงไม่ได้ โดยการตรวจความพร้อม
ของกำลังพล, ยุทโธปกรณ์และเกียกกาย (กองเสบียง) ให้มีความพร้อมอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวางแผนและสร้างเรือเต่า ที่ถือว่าเป็นกุญแจหลักต่อชัยชนะในครั้งนี้ สอง เกาหลีมีความเชี่ยวชาญในด้านภูมิศาสตร์ประเทศของตัวเองเป็นอย่างดี และอี ซุน-ชินก็มักจะล่อญี่ปุ่น ให้เข้ามารบในที่ๆและวันเวลาญี่ปุ่นเสียเปรียบเสมอๆ โดยสถานที่นั้นคือสถานที่ที่เป็นช่องแคบ เรือรบญี่ปุ่นที่มีจำนวนมากเข้ามาติดกับและเบียดเสียดจนเรือรบแถวหลังไม่สามารถช่วยสนับสนุนได้และคลื่นทะเลหนุนให้เรือรบญี่ปุ่นเข้ามาในช่องแคบ
ได้ง่าย แต่หนีออกไปไม่ได้ อี ซุน-ชินยังแสดงให้ทหารหาญเห็นถึงความกล้าหาญและความจงรักษ์เสมอๆ เขาปฏิบัติต่อทหารของเขาด้วยเกียรติ และรบเคียงบ่าเคียงไหล่ทหารหาญ แม้ในสถานการณ์เสี่ยงอันตราย มีการบันทึกเอาไว้ว่า เขามักจะแสดงออกถึง
ความเสียดายในชีวิตทหารที่ตายไป และตอบสนองความต้องการสุดท้ายของทหารที่เสียชีวิตเสมอๆ ด้วยเหตุนี้เอง ทหารทุกนายจึงรักเขา และพร้อมที่จะร่วมเป็นร่วมตายกับเขา แม้ข้าศึกจะมีจำนวนมากกว่านับร้อยเท่า มากไปกว่านั้น เขามีคุณสมบัติของผู้นำในการ
รักษาขวัญกองทัพ ในยามที่ข่าวความพ่ายแพ้ทางบกจะเข้ามา และอีกประการหนึ่งที่ทำให้เกาหลีชนะญี่ปุ่นได้คือ เรือรบเกาหลี พานโอกซอน ที่มีคุณลักษณ์เหนือชั้นกว่าเรือรบญี่ปุ่นยิ่ง โดยเชิงโครงสร้างแล้ว พานโอกซอนมีความแข็งแกร่งมากกว่า ท้องเรือ
แข็งแกร่ง มีปืนใหญ่ประจำเรือไม่ต่ำกว่า 20 กระบอก ในขณะที่ญี่ปุ่นมีเพียงหนึ่งหรือสองกระบอก ถึงแม้บางลำจะเป็นปืนอย่างยุโรปแต่ก็เป็นปืนรุ่นเก่า จึงทำให้เรือรบเกาหลีมีข้อได้เปรียบในการสู้ระยะไกลอย่างมาก
ความเยี่ยมยอดของเขา ในฐานะนักยุทธศาสตร์และผู้นำนั้น ได้รับการกล่าวขานอย่างมาก ในระหว่างสงคราม ตัวอย่างเช่น ยุทธการที่ช่องแคบมยองลยาง ที่อี ซุน-ชินนำเรือพานโอกซอนเพียง 13 ลำ เข้าโรมรันกับกองเรือญี่ปุ่น 333 ลำ (เป็นเรือรบ 133ลำ และเรือลำเลียงไม่น้อยกว่า 200 ลำ) ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2140 โดยสามารถจมเรือรบญี่ปุ่นได้ 31ลำ ใช้การไม่ได้ 92 ลำ[ต้องการอ้างอิง]
ถูกจับเป็นเชลยประมาณ 8,000 ถึง 18,466 นายในขณะที่ทางเกาหลีไม่เสียเรือเลยสักลำ มีทหารตาย 2 นาย และบาดเจ็บ 3 นายบนเรือที่อี ซุน-ชินบัญชาการ และอี ซุน-ชินยังเป็นผู้บัญชาการที่กระตือรือร้น มักจะเป็นฝ่ายเข้าตีกองเรือญี่ปุ่นอยู่เสมอ
ภายใต้การบัญชาการของอี ซุน-ชิน กองทัพญี่ปุ่นจึงต้องถอนกำลังออกไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกาหลีและจีนปลอดภัยจากการรุกรานของญี่ปุ่น
พ.ศ. 2136 อี ซุน-ชินได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองทัพเรือภาคใต้ และได้รับพระราชทานราชทินนาม "นายพลเรือแห่งสามจังหวัดทหารเรือ" (ฮันกึล : 삼도수군통제사, ฮันจา :三道水軍統制使) ซึ่งทำให้เขาสามารถบังคับบัญชา กองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดกองซางโต กองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดจอนลา และกองทัพเรือซ้ายและขวาของจังหวัดชุงชอง
ส่วนหนัง ไปดูได้
Spoil
ยีซุนชิน ขุนพลคลื่นคำราม