ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 05 Dec 2016
ตอบ: 5070
ที่อยู่: thailand, Land of smile
โพสเมื่อ: Mon Feb 06, 2017 6:26 am
วันนี้วันมวยไทย + มวยไทย 4 สาย
วันมวยไทย ตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยถือวันที่สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) เสด็จขึ้นครองราชย์ ด้วยพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ และมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และพงศาวดารมาทุกยุคทุกสมัย เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย 9 อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ ได้แก่ มือ 2/เท้า 2/ เข่า 2/ ศอก 2 และศีรษะ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก จากความสำคัญดังกล่าวมานี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม จึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทย เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2553 ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในคุณค่าการยกย่ององค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ

นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับภาคเอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวกับมวยไทย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีมติเป็นเอกฉันท์ในการร่วมกันผลักดันให้มีการสถาปนาวันมวยไทยขึ้น โดยได้พิจารณาจากข้อเสนอต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งในที่สุดได้เห็นชอบให้วันขึ้นเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (สมเด็จพระเจ้าเสือ) คือ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เป็นวันมวยไทย (วันเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติตรงกับวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2245) เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน

สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ คือ

1. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เสด็จออกไปชกมวยกับสามัญชน

2. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความสามารถเกี่ยวกับมวยไทยมาก ทรงคิดท่าแม่ไม้ ไม้กลมวยไทยขึ้นมาเป็นแบบฉบับเฉพาะพระองค์ เรียกว่า “มวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ” และได้รับการถ่ายทอดเป็นตำรามวยไทยให้แก่คนรุ่นหลังจนถึงทุกวันนี้

3. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 เป็นพระมหากษัตริย์ที่ใช้ศิลปะมวยไทยในการปกป้องราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นของชาวต่างชาติ

ในการนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 กำหนดให้วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมวยไทย”

และ วันนี้ยังเป็นวันที่นายขนมต้ม ชกมวยชนะนักมวยพม่าถึงสิบคน ในช่วงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2

วันนี้เลยขอลงเรื่องของมวยไทย 4 สายให้อ่านกัน

4 “สาย” ของมวยไทย


คำกล่าวที่ว่า “หมัดหนักโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา ไวกว่าท่าเสา'” แสดงให้เห็นถึงความโดดเด่นของมวยไทยจากสำนักหรือ “สาย” ต่างๆกล่าวคือ”มวยโคราช” มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะชาวไทยมีการฝึกการต่อสู้ด้วยอาวุธสั้นประกอบกับศิลปะมวยไทย
โดยมีเป้าหมายในการปกป้องประเทศชาติ อีกทั้งโคราชเป็นเมืองหน้าด่านชั้นเอกที่ต้องทำการรบกับผู้รุกรานอยู่เสมอ จึงทำให้ชาวโคราชมีความเป็นนักสู้โดยสายเลือดมาหลายชั่วอายุคน
ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ นับว่าเป็นห้วงเวลาที่มวยคาดเชือกรุ่งเรือง มีการจัดแข่งขันมวยคาดเชือกหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณหน้าพลับพลา
ทรงธรรม สวนมิสกวัน ในงานพระศพของพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช วันที่ 18 มีนาคม ร.ศ.128 (พ.ศ. 2452) มีนักมวยฝีมือดีชนะคู่ต่อสู้
หลายคนเป็นที่พอพระราชหฤทัยทรงโปรดฯ พระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ เป็น “ขุนหมื่นครูมวย” ถือศักดินา 300 จำนวน 3 คน คือ นายปรง จำนงทอง
จากเมืองไชยา เป็น “หมื่นมวยมีชื่อ” นายกลึง โตสะอาด จากเมืองลพบุรี เป็น “หมื่นมือแม่นหมัด” และนายแดง ไทยประเสริฐนักมวยจากเมืองโคราช เป็น “หมื่นชงัดเชิงชก

” เอกลักษณ์ของมวยไทยโคราชที่พิเศษที่แตกต่างไปจากมวยภาคอื่นๆ คือการคาดเชือกตั้งแต่หมัดขึ้นไปจรดข้อศอก เพราะทางมวยไทยโคราชเป็นมวยต่อย มี “หมัดเหวี่ยงควาย” เป็นอาวุธสำคัญร่วมกับการเตะวงกว้าง

“มวยลพบุรี” เป็นอีกสายของมวยไทย จ่าสิบเอกสมนึก ไตรสุทธิ ผู้ทรงคุณวุฒิมวยลพบุรีบันทึกว่า มวยลพบุรีมีประวัติความเป็นมายาวนาน ย้อนกลับไปได้
ถึงยุคกำเนิดอาณาจักรทวาราวดีลพบุรี “เขาสมอคอน” ซึ่งทอดตัวเป็นแนวยาวจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตกในพื้นที่ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัด
ลพบุรีในปัจจุบันนั้น เคยเป็นที่ตั้งของสำนักศิลปะวิทยาการต่างๆ รวมทั้งวิชามวยมาตั้งแต่ราวปีพ.ศ.1200

มวยลพบุรีเริ่มเป็นรูปเป็นร่างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่ได้ทรงส่งเสริมมวยลพบุรีอย่างกว้างขวางทั้งการจัดแข่งขันและการวางกติกา ต่อมาในสมัย
พระเจ้าเสือ ทรงสนับสนุนมวยไทย และทรงชอบการชกมวยถึงขั้นปลอมพระองค์ไปแข่งขันชกมวยกับชาวบ้าน มวยลพบุรี เป็นมวยที่ชกฉลาด รุกรับแคล่วคล่อง
ว่องไว ต่อยหมัดตรงได้แม่นยำ มีลักษณะการชกที่เรียกว่า “มวยเกี้ยว” หมายถึงมวยที่ใช้ชั้นเชิงกลลวงต่างๆ เข้าทำคู่ต่อสู้ หลอกล่อ หลบหลีกได้ดี สายตาดี รุกรับ ออกอาวุธได้อย่างรวดเร็ว

การแต่งกายของมวยลพบุรีมีเอกลักษณ์ที่การพันมือครึ่งแขน และที่สำคัญมีการพันคาดข้อเท้าซึ่งพบเห็นเฉพาะในมวยลพบุรีเท่านั้น นักมวยลพบุรีมักนุ่งกางเกงสีกรมท่า
มีการคาดผ้าสามเหลี่ยมหรือกระจับอ่อนป้องกันจุดสำคัญ “ไม้มวย” หรือกระบวนท่าของลพบุรี มีชื่อเรียกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องรามเกียรติ์และตำนานการสร้างเมืองลพบุรี ชื่อสัตว์ต่างๆ รวมถึงชื่อเทพและฤาษีอีกด้วย

อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งกำเนิดของ “มวยไชยา” อาจารย์กฤดากร สดประเสริฐ ครูมวยแห่งบ้านช่างไทย ระบุว่า มวยไชยามีที่มาจาก “พ่อท่านมา”
อดีตนักรบแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาท่านเบื่อหน่ายทางโลกจึงได้บวชเป็นพระสงฆ์แล้วธุดงค์ลงไปทางใต้ และได้ปราบช้างเกเรที่ทำลายเรือกสวนไร่นาของชาวบ้าน
จนได้รับสมญาว่า “พ่อท่านมา วัดทุ่งจับช้าง” ท่านได้สั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน รวมถึงได้ถ่ายทอดวิชา “มวยไชยา”

“มวยไชยา” เป็นศาสตร์มวยที่มากด้วยความระมัดระวังและความอ่อนน้อมถ่อมตน นอกจากนี้ยังสามารถแปรความรุนแรงของคู่ต่อสู้มาใช้ประโยชน์ และสะท้อนแรงให้กลับ
ไปกระทำกับฝ่ายที่โจมตีเข้ามานั่นเอง

ส่วน “มวยท่าเสาและพระยาพิชัยดาบหัก” นั้น รศ.ดร.สมพร แสงชัย อธิบายว่า ได้ชื่อมาจากพระยาพิชัยดาบหัก อดีตเจ้าเมืองอุตรดิตถ์นั่นเอง มวยสายนี้พระยาพิชัยดาบหักได้
ผสมผสานศาสตร์มวยจีน มวยไทย และดาบไทยเข้าด้วยกัน เน้นการต่อสู้ที่หลีกเลี่ยงการเจ็บตัวโดยอาศัยความว่องไว กลยุทธ์มวยพระยาพิชัยดาบหักแบ่งเป็นแนว “แข็ง” ที่
เข้าต่อสู้ตรงด้านหน้าของฝ่ายตรงข้าม กับแนว “อ่อน” ที่ไม่เข้าต่อสู้ด้านหน้าโดยตรง



มวยโคราช ลักษณะการ เตะ ต่อย เป็นวงกว้าง นิยม คาดเชือก ขมวดรอบแขนจนจรดข้อศอก เพื่อใช้รับการเตะ ที่หนักหน่วงรุนแรง


ภาคกลาง มวยลพบุรี มวยพระนคร ฯลฯ มวยลพบุรี ลักษณะการชก ต่อย วงใน เข้าออกรวดเร็ว เน้นหมัดตรง การคาดเชือก จึงคาดเพียงประมาณครึ่งแขน


ภาคใต้ มวยไชยา ฯลฯ มวยไชยา ลักษณะการรุก-รับ รัดกุม ถนัดการใช้ศอกในระยะประชิดตัว การคาดเชือกจึงนิยมคาดเพียง คลุมรอบข้อมือ เพื่อกันการซ้น หรือเคล็ด เท่านั้น

ประวัติมวยดัง 4 ภาค เริ่มจากภาคเหนือ “มวยท่าเสา” สร้างชื่อยุคกรุงธนบุ นับแต่พระยาพิชัยดาบหักจัดแข่งขันชกมวยเสมอๆ บนสังเวียนลานดิน ชื่อเสียงดีก็มีมีนายเมฆบ้านท่าเสา
นายเที่ยงบ้านเก่ง นายแห้วแขวงเมืองตาก นายนิลทุ่งยั้ง นายถึกศิษย์ครูนิล ถึง พ.ศ.2472 นายแพ เลี้ยงประเสริฐ จากบ้านท่าเสา อุตรดิตถ์ ชกนายเจีย แขกเขมรตายด้วยหมัดคาด
เชือก ทำให้รัฐบาล (สมัยรัชกาลที่ 7) มีคำสั่งให้การชกมวยไทยทั่วประเทศเปลี่ยนจากคาดเชือกเป็นสวมนวม

ภาคอีสาน “มวยโคราช”มีบันทึกว่าเฟื่องฟูสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นมวยต่อยวงกว้างเรียกกันว่าเหวี่ยงควาย ด้ายดิบคาดหมัดแล้วขมวดรอบๆ แขนจนจรดข้อศอกเพื่อป้องกัน
การเตะ ที่เลื่องลือได้แก่เจ้าฉายา หมื่นชงัดเชิงชก คือนายแดง ไทยประเสริฐ จากเมืองโคราช เตะรุนแรง หมัดเหวี่ยโด่งดัง อีกคนคือนายยัง หาญทะเล จากวังเปรมประ
ชากรของกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ผู้สอนท่ารำหนุมานควานสมุทรให้ (สมัยรัชกาลที่ 6)


นายยัง หาญทะเล ปะทะ จี๊ฉ่าง วันมังกรสู้เสือ ณ สวนเจ้าเชตุ

ภาคกลาง “มวยลพบุรี” มีชื่อเสียงรัชกาลที่ 5 เช่นกัน ในงานพระเมรุกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ณ ท้องทุ่งพระเมรุป้อมเผด็จดัสกร กรุงเทพฯ มีการตีมวยหน้าพระที่นั่ง
ครั้งใหญ่ เลื่องชื่อว่าเป็นมวยชกหมัดตรงดี ต่อยแหวกการคุมได้ดีกว่ามวยถิ่นอื่น คาดหมัดเพียงครึ่งแขนใช้ด้ายผ้าดิบ ครูมวยคนดังเจ้าฉายา หมื่นมวยแม่นหมัด
คือนายกลิ้ง ไม่ปรากฏสกุล จากเมืองลพบุรี ผู้มีลีลาการชกฉลาด รุกรับ หลบหลีกว่องไว ใช้หมัดตรงดียอดเยี่ยม

ภาคใต้ “มวยไชยา” เจ้าฉายา หมื่นมวยมีชื่อ คือนายปล่อง จำนงทอง ผู้มีท่าเสือลากหางเป็นอาวุธสำคัญ ทั้งเน้นวงในใช้ความคมของศอก เข่า ประวัติมวยไชยา
สืบค้นได้ถึงพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ ศรียาภัย) เจ้าเมืองไชยาในแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ถ่ายทอดมายังบุตรชายคือปรมาจารย์เขตร์ ศรียาภัย ซึ่งภายหลังย้ายมาตั้งรก
รากในกรุงเทพฯ เผยแพร่มวยไชยาแก่ศิษย์มากมายกระทั่งจากไปในปี 2521

เครดิต https://katipp.wordpress.com/2013/06/24/4-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/



ใครอยากดูมวย การแข่งขัน “วันมวยไทย” ชกกันหลายคู่อยู่ จัดขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ นี้ เข้าร่วมงานได้ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย 10.00 น.เป็นต้นไป

ปล.เราต่อยมวยไม่เป็นนะ เคยเรียนแต่ยูโดตอน ม.ปลาย 4-6 + เทควันโดสายเหลือง


Scandal, nogizaka46, AKB and 48 Group, silent siren, Miwa, Nishino kana FC
"My love for you is a journey.Starting at forever,And ending at never."