ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 19 May 2011
ตอบ: 6479
ที่อยู่: KU
โพสเมื่อ: Wed Nov 02, 2016 5:10 pm
เจ๊แกมาว่ะ..สตอรีแห่งข้าวญี่ปุ่น

เวลาเราพูดเรื่องชาวนา และข้าว
คนไทยมักเปรียบเทียบข้าวไทย ชาวนาไทย กับข้าวญี่ปุ่นและคนญี่ปุ่นเสมอ
เรามักอ่านเรื่องราวของข้าวโคชิฮิการิอันแสนแพงของญี่ปุ่นด้วยความทึ่ง
“ดูสิ ทำไมชาวนาญี่ปุ่นถึงขายข้าวได้ราคาแพงจัง”
“ประเทศญี่ปุ่นดีจังเลย ชาวนาเขาร่ำรวยมาก ไม่ยากจนเหมือนชาวนาไทย”
“ข้าวเขาคุณภาพดีจัง ชาวนาเขามีความรู้ แพ็กเกจจิ้งข้าวก็สวย เกษตรกรบ้านเราน่าเอาเยี่ยงอย่าง”
ฯลฯ


อะไรทำให้ข้าวญี่ปุ่นเป็นเช่นนั้น?

Spoil
กลุ่มสหกรณ์ชาวนา ฐานเสียง และอำนาจการต่อรอง
นับตั้งแต่ญี่ปุ่นปลดแอกตัวเองออกมาจากระบบศักดินา ด้วยกฎหมายการปฏิรูปที่ดินในปี 1946 ที่ทำให้ที่ดินหลุดออกมาจากมือตระกูลเจ้าที่ดิน ขุนนาง สู่มือของชาวนาสามัญชน พร้อมๆ กับการมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง กำเนิดของพรรคการเมือง การรวมกลุ่มของชาวนาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่สองได้พัฒนาขึ้นมาเป็นกลุ่มสหกรณ์ชาวนาที่รู้จักกันในนามของ JA หรือ Japanese Agricultural Coopertives
กลุ่ม JA ปัจจุบัน บริหารสหกรณ์ 694 แห่งทั่วประเทศ มีสมาชิกอย่างเป็นทางการ 4.6 ล้านคน และสมาชิกเครือข่ายรวมแล้ว 5.4 ล้านคน บริหารสหกรณ์ระดับ เทศบาล และจังหวัดทั่วประเทศ มีธนาคารเครดิตยูเนียน และธุรกิจประกันเป็นของตนเอง และจำนวนสมาชิกของ JA คือฐานเสียงสำคัญของพรรค LDP มาตั้งแต่ปี 1955
JA คือกลุ่มสหกรณ์การเกษตรระดับชาติที่มีอำนาจในการต่อรอง ล็อบบี้ นโยบายของรัฐได้ทุกยุค เนื่องจากกุมเสียงที่เป็นปัจจัยชี้เป็นชี้ตายของอนาคตพรรคการเมืองได้ จึงไม่ต้องแปลกใจที่รัฐบาลญี่ปุ่นมีการอุดหนุนเกษตรกร โดยเฉพาะชาวนา ทั้งการตั้งกำแพงภาษีนำเข้าข้าวสูงถึง 777% การควบคุมผลผลิตข้าว เพื่อรักษาระดับราคาข้าวให้แพงไว้อย่างสม่ำเสมอ ด้วยการจ่ายเงินชดเชยสำหรับเกษตรกรที่งดปลูกข้าว เพื่อป้องกันข้าวล้นตลาด
เพราะฉะนั้นราคาข้าวอันสูงลิ่วในญี่ปุ่นจึงมาจากพลังการล็อบบี้ทางการเมืองของกลุ่มสหกรณ์ชาวนาในฐานะหัวคะแนนของ ส.ส. และความพยายามยึดกุมอำนาจในการบริหารกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ผ่านการกุมคะแนนเสียงเลือกตั้งของกลุ่มสหกรณ์นั่นเอง หาใช่เกิดจากความดีความอันเหลือเชื่อใดๆ  


‘ข้าว’ พลังวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และชาตินิยม

Spoil
ไม่เพียงแต่พลังทางการเมือง ยังมีพลังทางวัฒนธรรมด้วย
ขอยกตัวอย่าง บทสัมภาษณ์ Tetsuhiro Yamaguchi เจ้าของร้านอาหารชื่อ Kokoromai (Heart of Rice) จากบทความ ‘You are what you eat: Can a country as modern as Japan cling onto a culture as ancient as rice’ ของ The Economist (http://www.economist.com/node/15108648)
บทความนี้พูดถึงประวัติศาสตร์ ‘ข้าว’ ในสังคมญี่ปุ่น และพูดถึงภาวะ ‘ขาลง’ ของชาวนา และข้าวในญี่ปุ่น แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีคนแบบ Tetsuhiro Yamaguchi ที่พยายามอย่างสุดความสามารถในการยื้อ ‘ชีวิต’ ของข้าวญี่ปุ่นเอาไว้
ยามากุจิ ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่เชื่อว่า จิตวิญญาณของข้าวคือส่วนหนึ่งแห่งดีเอ็นเอของความเป็นญี่ปุ่น และปรารถนาให้การกินข้าวนั้นละเมียดละไมไม่ต่างจากการชิมไวน์
ยามากุจิทำให้ประสบการณ์การกิน ‘ข้าว’ ในร้านอาหารของเขาเป็นประหนึ่งสุนทรียะแห่งนาฏศิลป์ ด้วยการตกแต่งร้านด้วยโทนแสงค่อนข้างมืด มีข้าวหุงสุกในหม้อดินวางเรียง และรายล้อมด้วยจานซาชิมิที่ทำจากดินเผา เขาค่อยๆ เปิดฝาหม้อข้าวให้ไอร้อนพวยพุ่งออกมา ข้าวสวยในหม้อเรียงเมล็ดอวบสีขาวกระจ่างงามราวกับไข่มุกเนื้อดี
“ข้าวเหมือนแบ็กดรอปบนเวทีโรงละคร เวทีนี้ต้องการดาราและตัวละคร ตรงนั้นแหละที่ซาชิมิจะปรากฏตัว”
ยามากุจิไม่ใช่คนเดียวที่พรมบทกวีลงบนเมล็ดข้าว คนญี่ปุ่นจำนวนมากเปรียบเทียบสีขาวบริสุทธิ์ของเมล็ดข้าวกับจิตวิญญาณแบบญี่ปุ่นแท้ และความขาวบริสุทธิ์นี้ไม่พึงจะถูกแปดเปื้อนด้วยหยดของโชยุแม้แต่หยดเดียว
การกินข้าวกับปลาสะท้อนความสัมพันธ์ของข้าวกับน้ำในท้องทุ่ง คือแนวคิดว่าด้วยความกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวแห่งธรรมชาติที่คนญี่ปุ่นเห็นว่าสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด และมีสุภาษิตญี่ปุ่นที่บอกว่า
“รวงข้าวที่หนักเท่าไร ก็ยิ่งค้อมลงต่ำมากเท่านั้น”
 


เพิ่มเติม
http://themomentum.co/momentum-opinion-japan-rice

- http://www.japantimes.co.jp/life/2016/01/29/food/the-future-of-rice-farming-in-japan/#.WBhCMy2LTIU
- https://en.wikipedia.org/wiki/Japan_Agricultural_Cooperatives
- http://www.economist.com/node/15108648
- https://asiapacificpolicy.wordpress.com/2015/02/05/the-problem-with-japanese-rice-policy/


ผมว่าน่าสนใจดีถ้ามีเวลาก็ลองอ่านดูเพลินๆครับ


เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 41773
ที่อยู่: Forbidden Siren
โพสเมื่อ: Wed Nov 02, 2016 5:22 pm
[RE: เจ๊แกมาว่ะ..สตอรีแห่งข้าวญี่ปุ่น]
แก้ยากนะ ชาวนาต้องรวมใจกันแบบทั้งประเทศจริงๆอ่ะ
แต่พูดตรงๆ เกษตรกรบ้านเราส่วนมากความรู้น้อย มักโดนหลอกและชักจูงง่าย
นี่พูดจากที่เจอมากับตัวนะ บ้านยายผมทำไร่ ทำนา
1
0
เข้าร่วม: 02 Oct 2010
ตอบ: 5995
ที่อยู่: 16
โพสเมื่อ: Wed Nov 02, 2016 5:30 pm
[RE: เจ๊แกมาว่ะ..สตอรีแห่งข้าวญี่ปุ่น]
ไม่ได้อ่านนะ ขี้เกียจ รู้แค่ว่า รัฐบาล เค้าช่วย ดูแล ตลอด
1
0
หาเพื่อนเตะบอลได้ที่


www.liketaeball.com หรือ www.facebook.com/liketaeball
เข้าร่วม: 19 May 2011
ตอบ: 9802
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Nov 02, 2016 5:30 pm
[RE]เจ๊แกมาว่ะ..สตอรีแห่งข้าวญี่ปุ่น
เคยคิดเล่นๆ อีกโมเดลคือ

ผันชาวนา ไปเป็นลูกจ้าง บริษัทข้าวยักษ์ใหญ่

คือกินเงินเดือนแน่นอนไปเลย

นาทุกผืนเป็นของบริษัทหมด จะได้ไม่ต้องเครียด กับราคา

ถ้าใครรับความเสี่ยงได้ ก็ออกไปทำเอง
1
0

เข้าร่วม: 01 Jun 2016
ตอบ: 1172
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Nov 02, 2016 5:59 pm
[RE: เจ๊แกมาว่ะ..สตอรีแห่งข้าวญี่ปุ่น]
ชาวนาไทย ปลูกกันมายังไงก็ยังเป็นอย่างนั้น

น้อยรายมากที่จะปรับเปลี่ยนให้ทันกับสมัย
1
0
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 5293
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Wed Nov 02, 2016 6:12 pm
[RE: เจ๊แกมาว่ะ..สตอรีแห่งข้าวญี่ปุ่น]
ถ้ามีที่เยอะลองกระจายความเสี่ยงไปทำอย่างอื่นควบคู่ไปดีไหม

เดี๋ยวนี้องค์ความรู้เข้าถึงได้ง่ายกว่าแต่ก่อนเยอะมาก

ฝั่งชาวนาก็ควรปรับตัวดู จะให้ภาครัฐมาเทคแอคชั่นฝ่ายเดียวมันไม่ยั่งยืนหรอก
1
0
เข้าร่วม: 13 Mar 2008
ตอบ: 4076
ที่อยู่: League 1 แล้วครัชชช
โพสเมื่อ: Wed Nov 02, 2016 6:24 pm
เจ๊แกมาว่ะ..สตอรีแห่งข้าวญี่ปุ่น
ไม่ต้องไปดูที่ไหนไกลเลย สำหรับบ้านเราหลักความพอเพียงกับไร่นาสวนผสมของในหลวงตอบโจทย์อยู่แล้ว

ให้ไปตั้งสมาคมรวมกลุ่มแบบเค้าไม่รอดหรอก ทะเลาะกันตาย สุดท้ายก็เป็นที่้พราะพันธ์พวกการเมืองท้องถิ่นพวกเหลือบไรกินหัวคิวเปล่าๆ ไอ้แบบคดีคืนเงินสามพันน่ะแหละ
1
0
"identity of a football club is implicitly bound up in its community". The club regards itself as Wimbledon F.C.'s spiritual continuation to this day, holding that the community maintaining and backing AFC Wimbledon is the same one which originally formed Wimbledon Old Centrals (later Wimbledon F.C.) in 1889, "and kept Wimbledon Football Club alive until May 2002"