ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 9417
ที่อยู่: Bangkok
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 3:55 pm
[บทความ-แปล] ทำไมเยอรมันถึงพลิกฟื้นจากความล้มเหลวในปี 1998
ออกตัวก่อนว่าบทความนี้ผมแปลเองดำน้ำเอง และผมตัดช่วงแรกเกินกว่าครึ่งออกไปเนื่องจากมันเป็นเหมือนกับประวัติส่วนตัวของ มร.ไดทริช ไวส์ และเป็นช่วงที่แกตระเวณค้นหาเยาวชนตั้งแต่สมัยเยอรมันยังแบ่งเป็นตะวันออกและตะวันตก เพราะเยอรมันสมัยก่อนเป็นมหาอำนาจลูกหนังแต่ในระดับเยาวชนกลับไม่ประสบความสำเร็จ เรื่องก็ประมาณว่าแกไปค้นหาเด็ก เดินทางไปทั่วประเทศนั่งดูเกมของเด็กกว่า 100 เกมและจดบันทึกเด็กๆที่น่าสนใจซึ่งบางคนแกตามดูฟอร์มอยู่ในชนบทถึง 5 เกมติดๆ จากนั้นแกก็ส่งรายชื่อให้กับ FA ของเยอรมันและเด็กๆพวกนั้นก็มีคนถูกเรียกไปติดทีมชาติ ผลงานระดับเยาวชนของเยอรมันก็ดีขึ้นแต่นั่นเป็นเพียงการทำงานแค่คนเดียว

ต้นฉบับ >> https://www.theguardian.com/football/2015/sep/05/germany-football-team-youth-development-to-world-cup-win-2014

เครดิต >> แปลเอง

****************************************


ทำไมเยอรมันถึงพลิกฟื้นจากความล้มเหลวในปี 1998 กลายเป็นทีมที่ดีที่สุดในโลก




Looking back, 1998 was the pivotal turning point, not 2000. The changes were formalised in October 2000, when the DFL, a body of the 36 Bundesliga clubs in divisions one and two with a large (but not total) degree of financial and regulatory independence from the German FA, was formed.
เมื่อมองย้อนกลับไปในปี 1998 นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงไม่ใช่ปี 2000 ทว่าการเริ่มต้นอย่างเป็นทางการนั้นเริ่มในปี 2000 เดือนตุลาคม เมื่อ DFL ซึ่งประกอบไปด้วยทีมต่างๆ 36 ทีมในบุนเดสลีก้า ดิวิชั่น 1 และ ดิวิชั่น 2 ได้จับมือร่วมกัน
*** DFL น่าจะเป็นองค์กรอะไรของวงการฟุตบอลเยอรมัน ใครรู้บอกที คงไม่ใช่ตัวย่อที่แปลว่าความเสี่ยงทางธุรกิจนะ (ฮา)***

The Bundesliga 2 clubs at first resisted the academy system, due to its high cost, but they, too, were eventually persuaded. Running an academy became a condition of obtaining a licence to play professional football in both divisions from 2002–03 onwards. In the first two years of the new regimes, the 36 clubs invested a combined €114m (£77.5m) into their elite schooling.
มี 2 ทีมจากบุนเดสลีก้าที่ไม่เห็นด้วยในตอนแรก เนื่องจากแผนการณ์นี้มีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่สุดก็ถูกชักจูงและได้เข้าร่วมในท้ายที่สุด การสร้างอาคาเดมี่กลายเป็นเงื่อนไขสำหรับการขอไลน์เซ็นต์ในลีคซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ฤดูกาล 2002 ถึง 03 เป็นต้นมา ซึ่งในช่วงแรกนั้นทั้ง 36 สโมสรมีการลงทุนสำหรับโครงการนี้สูงถึง 114 ล้านยูโร

It was the German FA’s turn to improve their own infrastructure again. The Stützpunkt education for 11 and 12-year-olds was taken out of the hands of the federal associations and centralised: the national network was increased to 366 locations; 600,000 talents could now be seen at least once by the 1,300 FA coaches each year. The annual budget was raised to €14m. Weise: “A million more or less – suddenly it wasn’t a problem any more.”
สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ทำการปรับปรุงโครงสร้างของพวกเขาอีกครั้ง Stützpunkt นั้นกลายเป็นที่เรียนรู้สำหรับเยาวชนตั้งแต่อายุ 11 และ 12 ปี ระบบเครือข่ายของเยาวชนถูกเพิ่มจนครอบคลุมพื้นที่ 366 แห่ง เยาวชนกว่า 600,000 คนจะถูกประเมินอย่างน้อยหนึ่งครั้งจากโค้ชจำนวน 1,300 คนของสมาคมฟุตบอลในทุกปี ซึ่งมันมีค่าใช้จ่ายที่ถูกประกาศออกมาราว 14 ล้านยูโร "เงินเป็นล้าน จะมากหรือน้อยกว่านั้นมันก็ไม่ใช่ปัญหา" มร.ไดทริช ไวส์ กล่าวไว้

“Youth development must be the focal point of our work,” said the new DFB president Gerhard Mayer-Vorfelder, “everything needs to be done in order for us to have a team that can challenge the world’s great [sides] in 2006.”
"เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชน" คำพูดจาก เจอฮาร์ด เมเยอร์ โวเฟลเดอร์ ประธานของ DFB เขายังพูดอีกว่า "ทุกอย่างจะเรียบร้อยตามที่เราวางแผน เราจะมีทีมที่พร้อมสำหรับการชิงชัยในปี 2006"

In 2003, the German FA introduced a special licence for youth coaches to ensure a uniform level of competence. A year later, a nationwide U19 Bundesliga, split into three geographical tranches, came into being. The B-Junioren (U17) got their own national league in 2007.
ในปี 2003 สมาคมฟุตบอลเยอรมันได้ริเริ่มไลน์เซ็นต์แบบพิเศษสำหรับโค้ชที่ฝึกสอนเยาวชนขึ้นมาโดยเฉพาะ ในปีถัดพวกเขายังได้ทำแผนการแยกย่อยโครงสร้างลีคมันลงไปอีกให้มี 3 ระดับ นอกจากบุนเดสลีก้าและลีคเยาวชน U19 มันชื่อว่า B-Junioren ลีคสำหรับเยาวชนรุ่น U17 ได้กำเนิดขึ้นในปี 2007
*** ประโยคนี้ค่อนข้างมึนๆนิดหน่อยกับรูปประโยคแต่ความหมายไม่น่าจะผิดนัก ***

“People don’t really talk about it that much but I believe the introduction of the junior Bundesligas was a vital part of the reform process,” says Ralf Rangnick, a former youth coach at VfB Stuttgart who went on to become one of the country’s most respected managers. “Pitting the best of the best nationwide against each made it possible to compare players and increase the quality. It also, indirectly, forced clubs into spending more money on youth coaches.”
"ผู้คนไม่ได้พูดถึงมันมากนัก แต่ผมเชื่อว่าการริเริ่มลีคเยาชนนั้นคือส่วนหนึ่งของการปฏิรูป" ราล์ฟ ลังนิค ได้พูดให้ความคิดเห็น เขาคือโค้ชเยาวชนของสโมสรสตุ๊ดการ์ด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับการยอมรับอย่างมาก เขายังกล่าวอีกว่า "เมื่อวางสิ่งที่ดีทั้งหมดเข้าด้วยกัน คุณก็สามารถเปรียบเทียบนักเตะและเพิ่มคุณภาพให้กับพวกเขาได้ มันยังเป็นการบังคับบรรดาสโมสรแบบทางอ้อมให้พวกเขาต้องลงทุนเม็ดเงินไปกับบรรดาโค้ชระดับเยาวชนด้วย"
*** Pitting the best of the best nationwide against each น่าจะเป็นการเล่นคำ คือมันเป็นการขุดหลุมแล้วเอาของมาวางรวมๆกันไว้ประมาณนั้น หรือก็คือการสร้างลีคเยาวชนจะทำให้เยาวชนชั้นดีมาแข่งขันกันนั่นแหละ ***

Weise retired in 2001, aged 67. “I didn’t want to hear any whispers in the hallways: ‘What is that old man still doing here?’” His work was done.
มร.ไดทริช ไวส์ ได้เกษียณตัวเองในปี 2001 เมื่อเขาอายุ 67 ปี "ผมไม่อยากจะได้ยินผู้คนนินทากันว่า 'ไอ้แก่นั่นมันยังอยู่ที่นี่อีกรึ ?'" งานของเขาได้จบลงแล้ว

“When I saw the Löw team triumph at the World Cup in the summer of the 2014, I thought now and again: ‘oh man, oh man, oh man. You have had a small in part in that, you’ve worked on that.’ The football we are playing today is based on those ideas. At least 10 players who are involved in the national team today we would have never found otherwise. Think of Toni Kroos. He hails from a small place in Mecklenburg-Vorpommern. No one would have looked at him.”
"เมื่อผมได้เห็นทีมประสบความสำเร็จในฟุตบอลโลกช่วงหน้าร้อนในปี 2014 ผมก็คิดขึ้นมาอีกครั้ง ' เฮ้ย เฮ้ย เฮ้ย ผมได้มีส่วนร่วมเล็กๆกับสิ่งที่เกิดขึ้นนะ ผมเคยทำสิ่งนั้น ' ฟุตบอลที่พวกเราเล่นในทุกวันนี้มันอยู่บนพื้นฐานทางความคิด ไม่เช่นนั้นอย่างน้อยก็ 10 คนจากรายชื่อในทีมชาติที่พวกเราคงจะไม่ได้เห็นหรือรู้จักพวกเขา ลองคิดดูสิ โทนี่ โครส ผู้มาจากเมืองเล็กๆอย่าง เมคเคนเบิร์ก - โวลโพมเมอร์ คงจะไม่มีใครทีได้เห็นเขาแน่นอน"
*** คือประมาณว่า ถ้าไม่วางแผนกระจายเครือข่ายให้กว้างใหญ่แบบที่เป็นอยู่ พวกนักเตะพรสวรรค์ในซอกมุมห่างไกลก็คงจะไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนอย่างแน่นอน ***
เข้าร่วม: 27 Mar 2007
ตอบ: 3507
ที่อยู่: Signal Iduna Park
โพสเมื่อ: Fri Sep 23, 2016 4:09 pm
[RE: [บทความ-แปล] ทำไมเยอรมันถึงพลิกฟื้นจากความล้มเหลวในปี 1998]
DFL Deutsche Fußball Liga ที่ลองอ่านๆดูเหมือนจะเป็นหน่วยงานที่จัดการ
แข่งขันบุนเดส แต่เจ้าของบุนเดสก็คือ DFB ที่เรารู้จักกัน (มั้งนะ 55+)
0
0