ผู้ตั้ง
ข้อความ
เข้าร่วม: 28 Feb 2015
ตอบ: 305
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 2:44 pm
ที่มาของ El Classico
คำ ว่า “เอล กลาสิโก้” ได้ถูกบัญญัติมานานแล้ว และถูกขนานนามแทนการพบกันระหว่าง บาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด สองทีมตัวแทนจากแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า แน่นอนที่สุดหากใครเป็นคอบอลพันธุ์แท้ย่อมรู้ว่าฟุตบอลเกมนี้ยิ่งใหญ่กว่า ทีมคู่อริในหลายๆประเทศมาพบกัน ด้วยเหตุที่ว่าเกมฟุตบอลคู่นี้มีเดิมพันที่ไม่ใช่ตัวเงิน และเป็นการเดิมพันธุ์ที่มีค่ามากกว่าศักดิ์ศรี แต่มันหมายถึงการเดิมพันธุ์ด้วยชาติกำเนิด การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ที่ล้วนแต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลึกซึ้งเป็นอย่างมาก


ในอดีตนั้นแคว้นกาตาลุนย่า ซึ่งมีบาร์เซโลน่าเป็นเมืองหลวง ได้ถูกทั้งฝรั่งเศส และ สเปน ข่มเหงมาโดยตลอด แต่ก็พยายามต่อสู้ยืนหยัดจนมีทุกวันนี้ได้ ปัจจุบันแคว้นกาตาลุนย่าก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลสเปน ให้มีรัฐบาลท้องถิ่นที่สามารถปกครองตนเองได้


คำ ว่า “กาตาลุนย่า” ก็อาจถือเป็นความขัดแย้งได้เช่นกันระหว่างแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า ที่มีมาดริดเป็นเมืองหลวง คำว่า “กาตาลุนย่า” ซึ่งเป็นภาษากาตาลันนั้น มีการสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์และความหมายเดียวกับ “กาสตีย่า” ซึ่งแปลเป็นไทยแล้วหมายความว่า “เมืองแห่งคฤหาสน์” ซึ่งทำให้พอรู้ได้ว่าในอดีตทั้งสองแคว้นก็มีความเจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว


ใน ปี 1928 สมาชิกผู้ก่อตั้งฟุตบอลลีกของสเปน จำนวน 10 ทีม ได้เริ่มแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสเปน และก็เป็นบาร์เซโลน่าที่คว้าแชมป์ไป นั่นก็เป็นการคว้าแชมป์ในรายการที่ใหญ่ที่สุดในแผ่นดินสเปนของทีมที่ก่อตั้ง มานับแต่ปี 1899 หลังจากนั้นก็เป็นการเรืองอำนาจของแอธเลติก บิลเบา ทีมที่เก่าแก่ในลา ลีกาที่ฟาดแชมป์เป็นว่าเล่น


อย่าง ไรก็ตาม เหตุการณ์ไม่คาดฝันของโลกก็เกิดขึ้นเมื่อเกิดสงครามการเมืองของสเปน และก็เป็นฝ่ายเผด็จการของนายพลฟรังโก้ที่ได้ครองอำนาจไป นับแต่ยุคเรืองอำนาจของนายพลฟรานซิสโก้ ฟรังโก้ อดีตผู้นำเผด็จการของสเปน ก็เป็นยุคที่มีการจุดประกายให้ฟุตบอลคู่นี้ดุเดือดเป็นต้นมา เนื่องจากบาร์เซโลน่าถูกนายพลฟรังโก้จ้องทำลายนับแต่ได้เรืองอำนาจภายใต้ นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” นโยบายนี้ได้พยายามรวมหลายแคว้นให้หลายเป็นสเปนเดียว โดยมุ่งให้แคว้นกาสตีย่าเป็นแดนสวรรค์ แต่นโยบายที่เดินไปผิดทางที่นำหน้าด้วยการกดขี่ข่มเห่งประชาชน การละเมิดสิทธิต่างๆ รวมทั้งการห้ามพูดภาษาท้องถิ่นและห้ามให้ธงประจำแคว้น ทำให้ 2 แคว้นที่มีความเป็นชาตินิยมสูงอย่าง กาตาลุนย่า และ บาสก์ ได้พยายามต่อสู้มาโดยตลอด จนกระทั่งการต่อสู้จบลงด้วยสิ้นลมของนายพลฟรังโก้ และการอัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์


เหตุการณ์ จุดชนวนครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1936 เมื่อโฆเซป ซูโยล อดีตประธานสโมสรของบาร์เซโลน่า ถูกลูกสมุนในกองทัพของนายพลฟรังโก้ลอบสังหาร นั่นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้แฟนฟุตบอลสะเทือนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้นายพลฟรังโก้ได้แต่งตั้งคนใกล้ชิดเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร บาร์เซโลน่าเพื่อที่จะทำลายสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ จนเกือบทำให้สโมสรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้เกือบล้มละลายเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์สโมสร อย่างไรก็ตามคนสนิทของนายพลฟรังโก้ก็ทนแรงกดดันของชาวกาตาลุนย่าไม่ไหว ยอมหลีกทางให้กับเอนริค ปีเนย์โร่ เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน สำหรับชื่อของคนสนิทนายพลฟรังโก้นั้นในอดีตสโมสรเคยจารึกชื่อไว้ว่าดำรง ตำแหน่งประธานสโมสร แต่ปัจจุบันได้มีการลบทิ้งไปแล้ว ส่วนปัญหาการเงินของบาร์เซโลน่าในเวลานั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศ เม็กซิโกทำให้รอดพ้นวิกฤตทางการเงินคราวนั้น ทุกวันนี้บาร์เซโลน่าก็ยังไม่ลืมบุญคุณของชาวเม็กซิกัน


ใน แง่ของการย้ายทีมจากบาร์เซโลน่าไปเรอัล มาดริด จากประวัติศาสตร์แล้ว มีนักเตะเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ชาวเบลากราน่ายังอ้าแขนต้อนรับอยู่ แม้ว่าจะย้ายไปอยู่กับเรอัล มาดริด ที่แฟนบอลทีมอื่นต่างตราหน้าว่าเป็น “ทีมรัฐบาล” เนื่องจากนายพลฟรังโก้พยายามทำทุกวิถีทางที่ทำให้เรอัล มาดริด ได้แชมป์ลา ลีกา นักเตะคนเดียวที่ว่านั้นคือ โฆเซป ซามิติเอร์ อดีตมิดฟิลด์ ที่ถูกรัฐบาลของนายพลฟรังโก้ทรยศหลังจากย้ายไปเรอัล มาดริด ด้วยการเนรเทศไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นโฆเซป ซามิติเอร์ ก็ได้กลับมาช่วยบาร์เซโลน่าด้วยการทำหน้าที่ผู้จัดการทีมในช่วง 1944-1947 รวมทั้งเป็นแกนนำในการพาตัวลาดิสเลา คูบาล่า ตำนานของบาร์เซโลน่าให้มาค้าแข้งในรั้วเลือดหมู-น้ำเงิน


หากว่า ชาวเบลากราน่าจะคิดว่าชาวกาสตีย่าได้ทำให้แฟนบาร์เซโลน่าขุ่นเคืองใจ โกรธแค้น เกลียดชังฝ่ายเดียวเลยหรือ? คำตอบจริงๆของเรื่องนี้คือ ไม่ใช่ ชาวกาตาลุนย่าก็เคยทำให้แฟนบอลมาดริดโกรธแค้นเช่นกัน เพียงแต่เมื่อเทียบเหตุการณ์และความรุนแรงแล้วนั้น บาร์เซโลน่าเป็นฝ่ายถูกกระทำบ่อยครั้งกว่าและรุนแรงกว่ามาก
เหตุการณ์ที่ชาวกาตาลุนย่าทำให้แฟนเรอัล มาดริดโกรธแค้นก็คงจะมี 2 เหตุการณ์หลักๆ คือ ในปี 1916 มีรายงานจากทางการสเปนว่านักเตะรายหนึ่งของเรอัล มาดริด ถูกยิงเสียชีวิตในแผ่นดินกาตาลุนย่า แต่ก็ไร้หลักฐานว่าถูกยิงด้วยสาเหตุใด เหตุการณ์ต่อมาเกิดขึ้นในปี 1930 ในเกมฟุตบอลถ้วยรอบชิงชนะเลิศระหว่างเรอัล มาดริด พบกับ แอธเลติก บิลเบา ผลคือเรอัล มาดริดพ่ายทีมเลือดข้นจากแคว้นบาสก์ไปด้วยน้ำมือของผู้ตัดสินชาวกาตาลัน และนี่คือเรื่องจริงที่กรรมการชาวกาตาลันคนนั้นได้ตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม อย่างน่าเกลียด


ในยุคสมัยของนายพลฟรังโก้ ผู้นำเผด็จการรายนี้พยายามที่จะเชิดชูทีมจากเมืองหลวงเพื่อจะเป็นสัญลักษณ์ ในการประชาสัมพันธ์นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” แต่การดำเนินนโยบายนั้นเน้นการใช้ความลำเอียงเป็นหลัก แม้ว่าในช่วงแรกเรอัล มาดริดจะไม่ได้รับการเหลียวแลจากนายพลฟรังโก้เท่าที่ควรเนื่อจากอดีตผู้นำ สเปนให้ความสำคัญกับแอตเลติโก มาดริด มากกว่า


แต่ สายน้ำได้เปลี่ยนกระแสชนิดที่ไม่มีวันไหลย้อนกลับเมื่อเรอัล มาดริดได้มีผู้นำที่ชื่อซานติอาโก้ เบอร์นาเบว อดีตประธานสโมสรผู้ยิ่งใหญ่ของเรอัล มาดริด จนทำให้สโมสรได้ตั้งชื่อสนามเหย้าของตัวเองเป็นชื่อของอดีตประธานท่านนี้ ในปี1945 เบอร์นาเบวได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำสูงสุดของทีมราชันชุดขาว นายพลฟรังโก้จึงหันมาสนับสนุนเรอัล มาดริดเป็นการตอบแทนความดีความชอบที่ประธานในตำนานคนนี้เคยร่วมรบเคียงบ่า เคียงไหล่กับนายพลฟรังโก้สมัยสงครามกลางเมืองสเปน หลังจากนั้นเป็นต้นมาเรอัล มาดริดก็ได้รับการสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า


ต่อ จากนี้คือเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างอดีตจนถึงปัจจุบันที่ทำให้บาร์เซโล น่าโกรธแค้นเรอัล มาดริดชนิดที่ไม่อาจลืมได้จนถึงปัจจุบัน ด้วยพฤติกรรมที่หลอกหลวงของผู้นำเรอัล มาดริด


เมื่อ ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เป็นใหญ่ในเรอัล มาดริด เหตุการณ์สำคัญครั้งแรกที่เขาได้ทำคือ การส่งสาสน์แสดงความรู้สึกต่อบาร์เซโลน่า ทีมคู่อริตลอดการ เนื้อหาในสาสน์นั้นกล่าวในทำนองที่ว่า เขาหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรอัล และ บาร์เซโลน่า จะดีขึ้นในเร็ววัน อย่างไรก็ตามคำพูดกับการกระทำของผู้นำเรอัล มาดริด มักจะเป็นเรื่องตรงกันข้ามเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำหลายทีมต่างรู้กันเป็นอย่างดี และบาร์เซโลน่าก็เป็นทีมที่รู้เรื่องดีที่สุดเสมอ


ใน ปี 1953 มาร์ตี้ การ์เรตโต้ อดีตประธานสโมสรบาร์เซโลน่าเดินทางไปเจรจากับทีมมิลิโอนาริออส ทีมจากประเทศโคลัมเบีย เพื่อเจรจาคว้าตัวอัลเฟรโด ดิ สเตฟาโน่ แต่ด้วยข้อตกลงที่บรรลุผลยากเหลือเกินจึงทำให้ใช้เวลานานกว่าการเจรจาจะ สำเร็จ ด้วยเหตุที่ว่าดิ สเตฟาโน่ ได้ติดหนี้กับต้นสังกัดอยู่จึงทำให้มีปัญหาวุ่นวายหลายเรื่องในการเจรจา มิลิโอนาริออสจึงยื่นคำขาดด้วยค่าตัว 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ประธานบาร์เซโลน่าต้องการจ่าย 1 หมื่นเหรียญยูโรพร้อมกับปลดหนี้ของดิ สเตฟาโน่ทั้งหมด แม้ว่าราม่อน ตริอาส ฟรากาส ประธานของมิลิโอนาริออสจะไม่เต็มใจสักเท่าไหร่ แต่ก็ตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากริเวอร์เพลทหุ้นส่วนในตัวดิ สเตฟาโน่ก็เห็นด้วยในการรับข้อเสนอ


เ หตุการณ์วุ่นๆได้เกิดขึ้นเมื่อดิ สเตฟาโน่เซ็นสัญญากับบาร์เซโลน่าเรียบร้อย และฟีฟ่าได้อนุมัติการย้ายทีมในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในการควบคุมของนายพลฟรังโก้ไม่ยอมรับการย้าย ทีมดังกล่าว พร้อมจัดการเจรจาให้เรอัล มาดริด กับ มิลิโอนาริออส แต่ติดที่ว่าดิ สเตฟาโนเซ็นสัญญากับบาร์เซโลน่าไปแล้ว ทางสหพันธ์ฟุตบอลสเปน ซึ่งในเวลานั้นนายพลมอสการ์โด ลูกน้องของนายพลฟรังโก้เป็นใหญ่อยู่ได้ออกกฎหมายห้ามซื้อนักเตะต่างชาติขึ้น เพื่อสกัดการย้ายร่วมทีมของดิ สเตฟาโน่


แน่ นอนที่สุดบาร์เซโลน่าย่อมไม่พอใจเป็นอย่างมาก ที่ถูกสหพันธ์ฟุตบอลสเปนแทรกแซงและกลั่นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรม จนทำให้สโมสรและแฟนบอลออกมาประท้วงสหพันธ์ฟุตบอลสเปน ทางสหพันธ์จึงแก้เกี้ยวด้วยการประกาศว่าบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริดบรรลุข้อตกลงในตัวของดิ สเตฟาโน่ ด้วยระยะเวลา 4 ปี แต่เป็นสัญญาการเล่นกับเรอัล มาดริด 2 ปีแรก และบาร์เซโลน่า 2 ปีหลัง ทำให้มาร์ตี้ การ์เรตโต้ ต้องแสดงสปิริตลาออกด้วยความเอือมระอาต่อทางการสเปนและเรอัล มาดริด หลังจากนั้นไม่นานบาร์เซโลน่าจึงประกาศด้วยศักดิ์ศรีว่าทางสโมสรยอมสละ สิทธิ์ในตัวของดิ สเตฟาโน่ เนื่องจากทางสโมสรรับไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางเรอัล มาดริดจึงสบโอกาสใช้คำพูดนี้ยืนยันกระต่ายขาเดียวเสมอมาว่า “บาร์เซโลน่าสมัครใจสละสิทธิ์เอง”


เหตุการณ์ การย้ายทีมพิลึกพิลั่นแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย จนฟีฟ่าได้ทำเรื่องศึกษาการย้ายทีมครั้งนี้ว่าเป็น “กรณีศึกษาเรื่องการย้ายทีม” ด้วยเหตุผลที่ว่าการเมืองแทรกแซงเกมกีฬา และนั่นก็เป็นการย้ายทีมครั้งประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกไม่เลือนในวงการ ฟุตบอลสเปน และในพงศาวดารของบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด หลังจากนั้นดิ สเตฟาโน่ก็คว้าแชมป์กับเรอัล มาดริดเป็นกอบเป็นกำ แต่ก็ไม่มีใครกล้าเถียงว่าความสำเร็จนั้นได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล


รัฐบาล สเปนในสมัยนายพลฟรังโก้ ได้พยายามกดขี่ข่มเหงแคว้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ หรือ แม้แต่แคว้นที่ยังให้ความสำคัญกับภาษา วัฒนธรรม สัญลักษณ์ของแต่ละแคว้น แน่นอนที่สุดทีมฟุตบอลที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักคือแอธเลติก บิลเบา และ บาร์เซโลน่า ในส่วนของบาร์เซโลน่านั้นถูกบังคับให้เปลี่ยนชื่อสโมสรจาก Futbal Club Barcelona เป็น Spanish Club de Futbal Barcelona (ชื่อแบบเต็ม) ทำให้แฟนบอลชาวกาตาลันไม่ชอบใจกับคำว่า “สแปนิช” แต่ก็ต้องจำยอมเพราะมิฉะนั้นอาจจะถูกอำนาจมืดทำลายสโมสร แม้ว่าภายหลังจะมีการเปลี่ยนชื่อกลับตามเดิมก็ตาม แต่ความทรงจำอันเลวร้ายก็ยังไม่อาจลืมเลือนในหัวของชาวเบลากราน่า


นายพลฟรังโก้ ก็เคยห้ามบาร์เซโลน่าลงเล่นในสนามเหย้าของตนเองมาแล้วหลังจากที่แฟนบอลบาร์ เซโลน่าโห่ใส่เพลงชาติสเปนจึงทำให้ทางการสเปนแสดงความไม่พอใจออกมาด้วยการ สั่งปิดสนามเหย้าเป็นเวลา 6 เดือนด้วยกัน นอกจากนี้ทางการสเปนยังเคยวางระเบิดในสมาคมแฟนบอลของบาร์เซโลน่า (สมาคมนี้ไม่เกี่ยวกับบอยซอส โนอิส) จึงทำให้เกิดความเสียหายและผู้คนบาดเจ็บ ผลที่ตามมาคือยอดสมาชิกอย่างเป็นทางการของสโมสรได้ลดลงอย่างน่าใจหาย ด้วยความหวาดกลัวที่ว่าหากเป็นสมาชิกของสโมสรแล้วจะถูกทางการสเปนลอบทำร้าย


โจน กัมเปร์ ผู้ก่อตั้งสโมสรบาร์เซโลน่าย่อมหลีกหนีไม่พ้นเรื่องเลวร้ายแบบนี้เช่นกัน อดีตประธานสโมสรชาวสวิสได้ถูกบีบบังคับให้ออกจากการเป็นประธานและบอร์ด บริหารของบาร์เซโลน่า กอปรกับปัญหาส่วนตัวและปัญหาทางการเงิน โจน กัมเปร์จึงตัดสินใจจบชีวิตของตนเองลงในปี 1930


อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในพงศาวดารของบาร์เซโลน่าได้ถูกจารึก ไว้ในปี 1943 ในศึกโกปปา เดล เรย์ รอบรองชนะเลิศ เกมนัดแรกในสนามเลส กอร์ต (อดีตสนามเหย้าของบาร์เซโลน่า) ผลปรากฏว่าบาร์เซโลน่าเอาชนะไปได้ 3-0 ในเกมที่สองนั้นต้องกลับไปเล่นที่สนามเหย้าของเรอัล มาดริด นายพลฟรังโก้ได้ประกาศทั่วแผ่นพร้อมพูดอย่างเป็นลางว่า “ฟุตบอลคู่นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพราะความกรุณาของทางการ” นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าเกมคู่นี้ไร้ความยุติธรรมอย่างแน่นอน
และผลการแข่งขันก็เป็นไปอย่างที่บาร์เซโลน่าคาดการณ์ นายพลฟรังโก้ส่งผู้ปกครองแคว้นกาสตีย่ามาต้อนรับบาร์เซโลน่าด้วยกำลังทหาร ถึงในห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว และมันก็เป็นอีกครั้งที่ “ฟุตบอลการเมือง”มีอิทธิพลเหนือเกมฟุตบอลที่ยุติธรรม ฟุตบอลโคตรมหาโกงครั้งนี้มีทั้งทหาร กรรมการ เด็กเก็บบอล แฟนบอล ผู้เล่นมาดริด ต่างมีเอี่ยวทั้งสิ้น ผลจบด้วยการปราชัยต่อมาดริด 11-1 แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือเรอัล มาดริด จารึกแมตช์อัปยศในวงการฟุตบอลได้อย่างสวยหรู มีการกล่าวขานชัยชนะในนัดนี้ว่า “ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่” ส่วนผู้เล่นเรอัลในเกมนั้นต่างถูกเรียกว่า “ฮีโร่” ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดกับความรู้สึกของแฟนบอลสเปนเป็นอย่างมาก


ใน ยุคของนายพลฟรังโก้นั้นนอกจากจะมีการแทรงแซงกีฬาด้วยการเมือง ยังมีการย่ำยีชนพื้นเมืองของแต่ละแคว้น นอกจากนี้ยังไม่ให้เกียรติกษัตริย์แห่งสเปนด้วยการยึดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อฟุตบอลถ้วยโกปปา เด เอสปันญ่า เป็น โกปปา เดล เกเนโรลลิสโม่ หรือ ถ้วยของท่านนายพล หลังจากสิ้นลมของนายพลฟรังโก้เพียง 2 วัน ประชาชนสเปนทั้งประเทศได้อัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์เมื่อวางรากฐานของประชาธิปไตยที่ดี หลังจากประชาชนส่วนใหญ่ถูกกดขี่โดยนายพลฟรังโก้ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนชื่อฟุตบอลโกปปา เดล เกเนโรลลิสโม่ เป็น โกปปา เดล เรย์ หรือ ถ้วยพระราชทานจากพระราชา


การ กวาดแชมป์ของเรอัล มาดริดในยุคของนายพลฟรังโก้ ยังคงเป็นที่โต้แย้งในปัจจุบันมากมาย รวมทั้งการคว้าแชมป์ยูโรเOยนส์ คัพ 5 สมัยซ้อนในช่วงปี 1955-1960 ความสำเร็จในยุคนั้นแฟนบอลทั่วยุโรปไม่ได้ให้ความสำคัญและความสนใจเท่าที่ ควรเนื่องจากในเวลานั้นมีทีมเข้าแข่งขันเพียง16 ทีมเท่านั้น ทีมที่เทียบชื่อชั้นกับเรอัล มาดริด ก็มีเพียงเอซี มิลานเท่านั้นส่วนทีมอื่นๆยังไม่มีส่วนร่วมเหมือนในปัจจุบัน สาเหตุหนึ่งที่แฟนบอลชาวยุโรปทราบดีคือ ฟุตบอลยูฟ่า แชมป์เOยนส์ ลีก หรือยูโรเOยนส์ คัพ ในเวลานั้น มีหนังสือพิมพ์ เล กิ๊ปเป็นผู้ก่อตั้ง และมีซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ ประกอบกับการที่เป็นการแข่งขันรายการใหม่ในเวลานั้น จึงเป็นที่กังขาของแฟนบอล โดยเฉพาะแฟนบอลเอซี มิลานรุ่นเก่าที่ได้แชมป์มาด้วยความยากลำบาก แต่ตามหลังเรอัล มาดริดอยู่ถึง 2 สมัยด้วยกัน


หาก พูดถึงเรื่องการซื้อตัวผู้เล่นที่ทำให้บาร์เซโลน่าโกรธแค้นเป็นอย่างมากคง หนีไม่พ้นกรณีของอัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ส่วนกรณีที่ทำให้เรอัล มาดริดไม่พอใจคงจะหนีไม่พ้นกรณีของ โยฮัน ครัฟฟ์ เรอัล มาดริดไม่พอใจเป็นอย่างมากด้วยเหตุที่ว่าเรอัลกำลังติดต่อกับโยฮัน ครัฟฟ์อยู่ในปี1973 หลังจากที่ครัฟฟ์พาอาแจ็กซ์ทุบเรอัล มาดริดในเกมฟุตบอลยุโรป แต่บาร์เซโลน่าก็มาตัดหน้าคว้าตัวตำนานนักเตะเทวดารายนี้ไป สาเหตุสำคัญคือบาร์เซโลน่าไม่ได้ใช้เงินของสโมสรในการคว้าตัวครัฟฟ์ แต่เป็นเพราะการช่วยเหลือของบังก้า กาตาลาน่า(สถาบันการเงินในแคว้นกาตาลุนย่า) นั่นทำให้เรอัล มาดริดรู้สึกว่าเสียผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม


อย่างไรก็ตามสาวกบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ก็ต่างพยายามหลบหนีความจริงที่ว่าสโมสรทั้งสองต่างพึ่งพากำลังนักเตะต่าง ชาติในการกวาดต้อนความสำเร็จเข้าสู่สโมสร นับแต่อดีตเป็นต้นมาทั้งสองสโมสรคู่อริแข่งกันชิงดีชิงเด่นด้านความสำเร็จ ของสโมสรเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก การเสริมทัพอย่างบ้าเลือดได้นำไปสู่การฉกนักเตะข้ามค่ายของทั้งสองสโมสร


นัก เตะรายแรกที่ย้ายข้ามถิ่นคือ ลูเซียโน่ ลิส ราก้า ย้ายจากเรอัล มาดริด มาสู่บาร์เซโลน่าในปี 1905 แน่นอนที่สุดว่าบาร์เซโลน่าเป็นฝ่ายเริ่มการเจรจาคว้าตัวข้ามค่ายก่อนเป็น ฝ่ายแรก หลังจากนั้นก็เป็นการย้ายแบบฝุ่นตลบกันเป็นต้นมา แต่การฉกครั้งสำคัญนั้นคงหนีไม่พ้นอัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ส่วนรายอื่นๆที่โด่งดังนั้นมีความเป็นมาคร่าวๆดังต่อไปนี้


แบ รนด์ ชูสเตอร์ ต้นฉบับขบถลูกหนังเป็นที่รู้จักกันในเยอรมันเป็นอย่างดี โดยจุดพลิกผันในชีวิตของเขาคือการเลือกภรรยาที่ชื่อว่า “กาบี” มาเป็นคู่ชีวิต คนเยอรมันส่วนใหญ่รู้จักสตรีรายนี้ในทางเสื่อมเสียและตราหน้าว่าเป็น “ช้างตัวเมียเท้าหน้า” เนื่องจากกาบีมักจูงจมูกชูสเตอร์ไปซะทุกเรื่อง เมื่อบาร์เซโลน่าซื้อตัวชูสเตอร์มาในปี 1980 จาก เอฟซี โคโลญจน์ ซึ่งชูสเตอร์ก็โชว์ฟอร์มได้สมราคาค่าตัวแต่ คุณนายกาบีมักทำตัวมีปัญหากับฝ่ายบริหารของบาร์เซโลน่าเสมอ และพยายามบงการชูสเตอร์มาโดยตลอด จนเป็นเหตุไปสู่การย้ายทีมไปค้าแข้งกับเรอัล มาดริดเป็นเวลา 2 ปี


ไม เคิล เลาดรู๊ป อดีตดาวเตะหน้าหยกชาวเดนมาร์กได้ค้าแข้งกับบาร์เซโลน่าเป็นเวลา 5 ปีด้วยกันโดยมีความสามารถสุดยอดเรื่องการผ่านบอล และยังเป็นกุญแจสำคัญช่วยให้ฟุตบอลในยุคเอล ดรีมทีมโด่งดังไปทั่วโลก แต่แล้วเมื่อความขัดแย้งกับตัวทำเกมทีมชาติเดนมาร์กกับโยฮัน ครัฟฟ์ กุนซือเทวดาต้องมาถึงจุดแตกหัก ทำให้เรอัล มาดริดจัดการคว้าตัวไมเคิล เลาดรู๊ปไปครอบครองจนนำไปสู่จุดจบของเอล ดรีมทีมของโยฮัน ครัฟฟ์
หลุยส์ เอนริเก้ มิดฟิลด์จุดเดือดต่ำย้ายจากสปอร์ติ้ง กิฆอน มาค้าแข้งกับยักษ์เมืองหลวงอย่างเรอัล มาดริดเป็นเวลา 5 ฤดูกาลเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นเป็นยุคของเอล ดรีมทีมจึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เขาจึงกลายเป็นแพะรับบาปของบอร์ดบริหารเรอัล มาดริดในเวลานั้นด้วยการละเลยการต่อสัญญา จึงทำให้หลุยส์ เอนริเก้ แก้เผ็ดด้วยการย้ายข้ามฝั่งไปอยู่กับบาร์เซโลน่า แม้ว่าในช่วงแรกจะถูกเหยียดหยามจากแฟนบอลและผู้เล่นของเจ้าบุญทุ่มว่าฝีเท้า ไม่ถึงขั้น แต่กองกลางชาวอัสตูเรียนก็ใช้เวลาไม่นานในการพิสูจน์ตนเองจนเป็นที่รักของ แฟนบอลบาร์เซโลน่าและเป็นที่เกลียดชังของแฟนบอลเรอัล มาดริดในเวลาไม่นาน เมื่อกองกลางหมายเลข 21 เดินทางไปที่ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว จึงมักถูกร้องเพลงถากถางว่า “หลุยส์ เอนริเก้ ลูกอีตัว” กองกลางดีเดือดจึงมักให้สัมภาษณ์เสมอว่าเขารู้สึกขยะแขยงตนเองเมื่อได้สวมยู นิฟอร์มเรอัลทุกครั้งเมื่อลงสนาม


หลุยส์ ฟิโก้ ปีกพรสวรรค์ชาวโปรตุกีส ผู้ได้กลายเป็นแบบอย่างกับเยาวชนในโปรตุเกสหลายคนจนเป็นแรงบันดาลในของเด็ก เหล่านั้น ฟิโก้ก็มีความฝันเหมือนเด็กทั่วไปเมื่อสมัยค้าแข้งกับสปอร์ติ้ง ลิสบอน เขาอยากจะมีชื่อเสียง อยากมีเงิน ด้วยความโลภในวัยเด็กจึงทำให้เขาเซ็นสัญญากับยูเวนตุส และ ปาร์มา ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้เขาต้องรับโทษห้ามลงแข่งขันในอิตาลีเป็นเวลา 2 ปีเต็ม อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ต่างๆก็คลี่คลายเมื่อยักษ์ใหญ่แห่งสเปน บาร์เซโลน่า อาสาพาตัวปีกดาวรุ่งมาชุบเลี้ยงกับทีมภายใต้การทำทีมของโยฮัน ครัฟฟ์ในเวลานั้น พร้อมให้โอกาสลบชื่อเสียงเหม็นโฉ่ในวงการฟุตบอลด้วยการเปิดทางให้สำแดง ฝีเท้า หลังจาก 5 ฤดูกาลที่บาร์เซโลน่า ฟิโก้จึงได้ก่อเรื่องเหม็นโฉ่อีกครั้งด้วยการทรยศบาร์เซโลน่าทีมที่ครั้ง หนึ่งเคยให้ที่ซุกหัวนอนด้วยการไปซบอกเรอัล มาดริด ด้วยเหตุผลเรื่องเงิน จึงทำให้ชาวเบลากราน่าจงเกลียดจงชังปีกทรยศรายนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะ “จิมมี่ จัมพ์” แฟนบอลชาวกาตาลันที่ประกาศศักดาไปทั่วโลกด้วยการปาธงบาร์เซโลน่าในฟิโก้ใน ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 ระหว่างกรีซ พบกับโปรตุเกส นอกจากนี้ยังเป็นที่จดจำของชาวเบลากราน่าในชื่อว่า “เปเซเตโร่” หรือแปลเป็นไทยว่า “โสเภณีหน้าเงิน”


หลัง จากการคว้าตัวหลุยส์ ฟิโก้ผ่านไป ทำให้เกิดความเกลียดชังเป็นอย่างมากระหว่างบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ทั้งสองสโมสรจึงทำสัญญาใจในยุคของโจน ลาปอร์ต้า และ ฟลอเรนติโน่ เปเรซ ว่าจะไม่มีการซื้อขายผู้เล่นจนทำให้บาดหมางใจกันอีกต่อไป(หมายถึงการซื้อผู้ เล่นย้ายทีมระหว่างทั้ง 2 ทีมโดยตรง) อย่างไรก็ตามสัญญาใจนี้ก็เริ่มสั่นคลอนเมื่อบาร์เซโลน่าบีบให้เรอัล มาดริดต้องขายซามูเอล เอโต้ เพชฌฆาตชาวแคเมอรูน แม้ว่าจะไม่ผิดสัญญาใจ แต่ก็ทำให้เสียความรู้สึกและผิดมารยาทเช่นกัน


อย่าง ไรก็ตามเรอัล มาดริด ก็เอาคืนด้วยการเซ็นคว้าตัวฮาเวียร์ ซาวิโอล่า กองหน้าร่างเล็กชาวอาร์เจนตินาโดยกองหน้าทีมชาติอาร์เจนตินาได้ให้สัมภาษณ์ ว่าเขาต้องการย้ายเพราะเหตุผลเรื่องฟุตบอลไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ฟุตบอลในสเปนได้ให้ความเห็นในแนวเดียวกันที่ว่า ซาวิโอล่าถูกหลอกให้ย้ายไปเรอัล มาดริด เพื่อไปเป็นเพียงสัญลักษณ์ในการสร้างเครื่องหมายการ “แอนตี้บาร์เซโลนิสต้า” จึงไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใดซาวิโอล่าจึงไม่ได้ลงเล่น อย่างที่เขาอ้างว่าย้ายไปเพื่อเหตุผลทางฟุตบอล สิ่งสำคัญคือต้องติดตามดูปฏิกิริยาแฟนบอลในคัมป์ นูว่า ความสัมพันธ์ระหว่างซาวิโอล่า และ ชาวเบลากราน่า จะยังดีเหมือนเดิมหรือไม่


อดีต นักเตะของบาร์เซโลน่าที่เป็นแอนตี้ มาดริดนิสต้า ที่เคยสร้างวีรกรรมไว้ที่ซานติอาโก้ เบอร์นาเบวคงหนีไม่พ้น จิโอวานนี่ ในฤดูกาล 1997-98 เมื่อกองกลางทีมชาติบราซิลซัดประตูชัยแล้วไปฉลองการดีใจด้วยการแจกนิ้ว สัญลักษณ์ให้กับแฟนบอลชุดขาว นอกจากนี้มาร์ค ฟาน บอมเมล ที่ย้ายไปอยู่กับบาเยิร์น มิวนิคก็ชูนิ้วสัญลักษณ์ใส่แฟนบอลเรอัล มาดริดเช่นกันหลังจากเจาะตาข่ายได้ในปี 2006

ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ เอล กลาสิโก้ มีนักเตะที่ย้ายจากเรอัล มาดริดไปบาร์เซโลน่าทั้งแบบโดยตรงและผ่านทีมอื่น มีทั้งสิ้น 15 รายด้วยกัน ส่วนผู้เล่นของบาร์เซโลน่าที่ย้ายไปเรอัล มาดริดแบบโดยตรงและผ่านทีมอื่นมีทั้งสิ้น 22 ราย


แหล่ง เงินหลักของเรอัล มาดริดนับแต่อดีตจนถึงเมื่อไม่นานมีนี้มักจากรัฐบาลและสภาเมืองมาดริด ในยุคของฟลอเรนติโน่ที่สภาเมืองมาดริดอาสาปลดหนี้ด้วยการรับซื้อสนามซ้อมของ เรอัล มาดริดด้วยเงินกว่า 300 ล้านยูโร แม้ว่าราคาตลาดในถิ่นดินแถบนั้นเพียง 200 กว่าล้านยูโรเท่านั้น จึงทำให้เรอัล มาดริดปลดหนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น ส่วนทางฝั่งบาร์เซโลน่าได้แหล่งเงินหลักมาจากโซซีโอส หรือ สมาชิกอย่างเป็นทางการของสโมสรที่พร้อมจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนทีม ด้วยเหตุที่ว่าบาร์เซโลน่ามีแฟนบอลอย่างเป็นทางการมากที่สุดในโลกจึงสามารถ เป็นสโมสรยักษ์ใหญ่ได้อย่างไม่ยากเย็น


รอัล มาดริดภายใต้การนำของฟลอเรนติโน่ เปเรซ มักพูดเสมอว่าหลายแคว้นของสเปนมักมีแฟนบอลเรอัล มาดริดกระจายไปทั่ว และนั่นก็เป็นเรื่องจริงแต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากในยุคราว 1960-1970 ชาวมาดริดได้อพยพจากมาดริดกระจายไปหางานทำตามแคว้นต่างๆด้วยสาเหตุเศรษฐกิจ ตกต่ำทั่วแผ่นดินสเปนภายใต้การนำของนายพลฟรังโก้ ชาวมาดริดก็ได้อพยพมาที่กาตาลุนย่าเช่นกัน


หาก ได้นั่งแท็กซี่ในกาตาลุนย่า คนขับแท็กซี่มักจะเชียร์เรอัล มาดริด ออกหน้าออกตาก็ไม่ต้องน่าแปลกใจสำหรับแฟนบอลบาร์เซโลน่า เพราะพวกนั้นคือแฟนบอลเรอัล มาดริด และ เอสปันญ่อล ที่ย้ายมาจากมาดริดเมื่อหลายปีมาแล้ว แฟนบอลเอสปันญ่อลคือชนชั้นล่างในแคว้นกาตาลุนย่า และได้รับการขนานนามว่าเรอัล มาดริดน้อยๆนั่นเอง


ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก http://www.thailandsusu.com/webboard/index.php?topic=78675.0;wap2
chewbacca photo: chewbacca tumblr_lolr8f9EN01qzf32ko1_500.gif
เข้าร่วม: 12 Jul 2014
ตอบ: 6269
ที่อยู่: Wall Street SS
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 2:51 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
ยาวไป #จบข่าว
0
0

VICTORIA CONCORDIA CRESCIT.
เข้าร่วม: 04 May 2007
ตอบ: 6804
ที่อยู่: Holloway, London
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 2:53 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
สรุปให้นะครับ สำหรับคนขี้เกียจอ่าน

Spoil
เอล กลาสิโก้ ชื่อแทนการพบกันระหว่าง บาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด  

เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 8620
ที่อยู่: ดาวโลก :]
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 2:53 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]


ผมว่าน่าจะสรุปประเด็นสำคัญๆ มา

หรือไม่ก็เน้นข้อความ ใส่สีบ้าง 555
0
0
เข้าร่วม: 04 Sep 2013
ตอบ: 4606
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 2:55 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
อ่านมาหลายรอบแล้ว ใครยังไม่อ่านแนะนำให้อ่านครับ มันส์มาก

อ่านแล้วจะรักบาซ่า
1
0
เข้าร่วม: 22 Jul 2010
ตอบ: 2641
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 2:58 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
นั่นมันเรื่องของสมัยก่อน เดี๋ยวนี้ชอบมากเวลา 2 ทีมนี้แข่งขันกันทั้งในแล้วนอกสนาม
0
0
เข้าร่วม: 28 Feb 2015
ตอบ: 305
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 3:03 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
NUDIEJEANS พิมพ์ว่า:
ยาวไป #จบข่าว  


ยาวจริงครับ แต่ผมว่าจะอ่านฆ่าเวลา แม่งอ่านจบเฉย เพลินๆเลย
chewbacca photo: chewbacca tumblr_lolr8f9EN01qzf32ko1_500.gif
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 1788
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 3:26 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
เอาแบบเข้าใจง่ายคือ

Spoil
คำ ว่า “เอล กลาสิโก้” ได้ถูกบัญญัติมานานแล้ว และถูกขนานนามแทนการพบกันระหว่าง บาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด สองทีมตัวแทนจากแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า แน่นอนที่สุดหากใครเป็นคอบอลพันธุ์แท้ย่อมรู้ว่าฟุตบอลเกมนี้ยิ่งใหญ่กว่า ทีมคู่อริในหลายๆประเทศมาพบกัน ด้วยเหตุที่ว่าเกมฟุตบอลคู่นี้มีเดิมพันที่ไม่ใช่ตัวเงิน และเป็นการเดิมพันธุ์ที่มีค่ามากกว่าศักดิ์ศรี แต่มันหมายถึงการเดิมพันธุ์ด้วยชาติกำเนิด การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ที่ล้วนแต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลึกซึ้งเป็นอย่างมาก


ในอดีตนั้นแคว้นกาตาลุนย่า ซึ่งมีบาร์เซโลน่าเป็นเมืองหลวง ได้ถูกทั้งฝรั่งเศส และ สเปน ข่มเหงมาโดยตลอด แต่ก็พยายามต่อสู้ยืนหยัดจนมีทุกวันนี้ได้ ปัจจุบันแคว้นกาตาลุนย่าก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลสเปน ให้มีรัฐบาลท้องถิ่นที่สามารถปกครองตนเองได้


คำ ว่า “กาตาลุนย่า” ก็อาจถือเป็นความขัดแย้งได้เช่นกันระหว่างแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า ที่มีมาดริดเป็นเมืองหลวง คำว่า “กาตาลุนย่า” ซึ่งเป็นภาษากาตาลันนั้น มีการสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์และความหมายเดียวกับ “กาสตีย่า” ซึ่งแปลเป็นไทยแล้วหมายความว่า “เมืองแห่งคฤหาสน์” ซึ่งทำให้พอรู้ได้ว่าในอดีตทั้งสองแคว้นก็มีความเจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว


ใน ปี 1928 สมาชิกผู้ก่อตั้งฟุตบอลลีกของสเปน จำนวน 10 ทีม ได้เริ่มแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสเปน และก็เป็นบาร์เซโลน่าที่คว้าแชมป์ไป นั่นก็เป็นการคว้าแชมป์ในรายการที่ใหญ่ที่สุดในแผ่นดินสเปนของทีมที่ก่อตั้ง มานับแต่ปี 1899 หลังจากนั้นก็เป็นการเรืองอำนาจของแอธเลติก บิลเบา ทีมที่เก่าแก่ในลา ลีกาที่ฟาดแชมป์เป็นว่าเล่น


อย่าง ไรก็ตาม เหตุการณ์ไม่คาดฝันของโลกก็เกิดขึ้นเมื่อเกิดสงครามการเมืองของสเปน และก็เป็นฝ่ายเผด็จการของนายพลฟรังโก้ที่ได้ครองอำนาจไป นับแต่ยุคเรืองอำนาจของนายพลฟรานซิสโก้ ฟรังโก้ อดีตผู้นำเผด็จการของสเปน ก็เป็นยุคที่มีการจุดประกายให้ฟุตบอลคู่นี้ดุเดือดเป็นต้นมา เนื่องจากบาร์เซโลน่าถูกนายพลฟรังโก้จ้องทำลายนับแต่ได้เรืองอำนาจภายใต้ นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” นโยบายนี้ได้พยายามรวมหลายแคว้นให้หลายเป็นสเปนเดียว โดยมุ่งให้แคว้นกาสตีย่าเป็นแดนสวรรค์ แต่นโยบายที่เดินไปผิดทางที่นำหน้าด้วยการกดขี่ข่มเห่งประชาชน การละเมิดสิทธิต่างๆ รวมทั้งการห้ามพูดภาษาท้องถิ่นและห้ามให้ธงประจำแคว้น ทำให้ 2 แคว้นที่มีความเป็นชาตินิยมสูงอย่าง กาตาลุนย่า และ บาสก์ ได้พยายามต่อสู้มาโดยตลอด จนกระทั่งการต่อสู้จบลงด้วยสิ้นลมของนายพลฟรังโก้ และการอัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์


เหตุการณ์ จุดชนวนครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1936 เมื่อโฆเซป ซูโยล อดีตประธานสโมสรของบาร์เซโลน่า ถูกลูกสมุนในกองทัพของนายพลฟรังโก้ลอบสังหาร นั่นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้แฟนฟุตบอลสะเทือนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้นายพลฟรังโก้ได้แต่งตั้งคนใกล้ชิดเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร บาร์เซโลน่าเพื่อที่จะทำลายสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ จนเกือบทำให้สโมสรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้เกือบล้มละลายเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์สโมสร อย่างไรก็ตามคนสนิทของนายพลฟรังโก้ก็ทนแรงกดดันของชาวกาตาลุนย่าไม่ไหว ยอมหลีกทางให้กับเอนริค ปีเนย์โร่ เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน สำหรับชื่อของคนสนิทนายพลฟรังโก้นั้นในอดีตสโมสรเคยจารึกชื่อไว้ว่าดำรง ตำแหน่งประธานสโมสร แต่ปัจจุบันได้มีการลบทิ้งไปแล้ว ส่วนปัญหาการเงินของบาร์เซโลน่าในเวลานั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศ เม็กซิโกทำให้รอดพ้นวิกฤตทางการเงินคราวนั้น ทุกวันนี้บาร์เซโลน่าก็ยังไม่ลืมบุญคุณของชาวเม็กซิกัน


ใน แง่ของการย้ายทีมจากบาร์เซโลน่าไปเรอัล มาดริด จากประวัติศาสตร์แล้ว มีนักเตะเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ชาวเบลากราน่ายังอ้าแขนต้อนรับอยู่ แม้ว่าจะย้ายไปอยู่กับเรอัล มาดริด ที่แฟนบอลทีมอื่นต่างตราหน้าว่าเป็น “ทีมรัฐบาล” เนื่องจากนายพลฟรังโก้พยายามทำทุกวิถีทางที่ทำให้เรอัล มาดริด ได้แชมป์ลา ลีกา นักเตะคนเดียวที่ว่านั้นคือ โฆเซป ซามิติเอร์ อดีตมิดฟิลด์ ที่ถูกรัฐบาลของนายพลฟรังโก้ทรยศหลังจากย้ายไปเรอัล มาดริด ด้วยการเนรเทศไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นโฆเซป ซามิติเอร์ ก็ได้กลับมาช่วยบาร์เซโลน่าด้วยการทำหน้าที่ผู้จัดการทีมในช่วง 1944-1947 รวมทั้งเป็นแกนนำในการพาตัวลาดิสเลา คูบาล่า ตำนานของบาร์เซโลน่าให้มาค้าแข้งในรั้วเลือดหมู-น้ำเงิน


หากว่า ชาวเบลากราน่าจะคิดว่าชาวกาสตีย่าได้ทำให้แฟนบาร์เซโลน่าขุ่นเคืองใจ โกรธแค้น เกลียดชังฝ่ายเดียวเลยหรือ? คำตอบจริงๆของเรื่องนี้คือ ไม่ใช่ ชาวกาตาลุนย่าก็เคยทำให้แฟนบอลมาดริดโกรธแค้นเช่นกัน เพียงแต่เมื่อเทียบเหตุการณ์และความรุนแรงแล้วนั้น บาร์เซโลน่าเป็นฝ่ายถูกกระทำบ่อยครั้งกว่าและรุนแรงกว่ามาก
เหตุการณ์ที่ชาวกาตาลุนย่าทำให้แฟนเรอัล มาดริดโกรธแค้นก็คงจะมี 2 เหตุการณ์หลักๆ คือ ในปี 1916 มีรายงานจากทางการสเปนว่านักเตะรายหนึ่งของเรอัล มาดริด ถูกยิงเสียชีวิตในแผ่นดินกาตาลุนย่า แต่ก็ไร้หลักฐานว่าถูกยิงด้วยสาเหตุใด เหตุการณ์ต่อมาเกิดขึ้นในปี 1930 ในเกมฟุตบอลถ้วยรอบชิงชนะเลิศระหว่างเรอัล มาดริด พบกับ แอธเลติก บิลเบา ผลคือเรอัล มาดริดพ่ายทีมเลือดข้นจากแคว้นบาสก์ไปด้วยน้ำมือของผู้ตัดสินชาวกาตาลัน และนี่คือเรื่องจริงที่กรรมการชาวกาตาลันคนนั้นได้ตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม อย่างน่าเกลียด


ในยุคสมัยของนายพลฟรังโก้ ผู้นำเผด็จการรายนี้พยายามที่จะเชิดชูทีมจากเมืองหลวงเพื่อจะเป็นสัญลักษณ์ ในการประชาสัมพันธ์นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” แต่การดำเนินนโยบายนั้นเน้นการใช้ความลำเอียงเป็นหลัก แม้ว่าในช่วงแรกเรอัล มาดริดจะไม่ได้รับการเหลียวแลจากนายพลฟรังโก้เท่าที่ควรเนื่อจากอดีตผู้นำ สเปนให้ความสำคัญกับแอตเลติโก มาดริด มากกว่า


แต่ สายน้ำได้เปลี่ยนกระแสชนิดที่ไม่มีวันไหลย้อนกลับเมื่อเรอัล มาดริดได้มีผู้นำที่ชื่อซานติอาโก้ เบอร์นาเบว อดีตประธานสโมสรผู้ยิ่งใหญ่ของเรอัล มาดริด จนทำให้สโมสรได้ตั้งชื่อสนามเหย้าของตัวเองเป็นชื่อของอดีตประธานท่านนี้ ในปี1945 เบอร์นาเบวได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำสูงสุดของทีมราชันชุดขาว นายพลฟรังโก้จึงหันมาสนับสนุนเรอัล มาดริดเป็นการตอบแทนความดีความชอบที่ประธานในตำนานคนนี้เคยร่วมรบเคียงบ่า เคียงไหล่กับนายพลฟรังโก้สมัยสงครามกลางเมืองสเปน หลังจากนั้นเป็นต้นมาเรอัล มาดริดก็ได้รับการสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า


ต่อ จากนี้คือเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างอดีตจนถึงปัจจุบันที่ทำให้บาร์เซโล น่าโกรธแค้นเรอัล มาดริดชนิดที่ไม่อาจลืมได้จนถึงปัจจุบัน ด้วยพฤติกรรมที่หลอกหลวงของผู้นำเรอัล มาดริด


เมื่อ ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เป็นใหญ่ในเรอัล มาดริด เหตุการณ์สำคัญครั้งแรกที่เขาได้ทำคือ การส่งสาสน์แสดงความรู้สึกต่อบาร์เซโลน่า ทีมคู่อริตลอดการ เนื้อหาในสาสน์นั้นกล่าวในทำนองที่ว่า เขาหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรอัล และ บาร์เซโลน่า จะดีขึ้นในเร็ววัน อย่างไรก็ตามคำพูดกับการกระทำของผู้นำเรอัล มาดริด มักจะเป็นเรื่องตรงกันข้ามเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำหลายทีมต่างรู้กันเป็นอย่างดี และบาร์เซโลน่าก็เป็นทีมที่รู้เรื่องดีที่สุดเสมอ


ใน ปี 1953 มาร์ตี้ การ์เรตโต้ อดีตประธานสโมสรบาร์เซโลน่าเดินทางไปเจรจากับทีมมิลิโอนาริออส ทีมจากประเทศโคลัมเบีย เพื่อเจรจาคว้าตัวอัลเฟรโด ดิ สเตฟาโน่ แต่ด้วยข้อตกลงที่บรรลุผลยากเหลือเกินจึงทำให้ใช้เวลานานกว่าการเจรจาจะ สำเร็จ ด้วยเหตุที่ว่าดิ สเตฟาโน่ ได้ติดหนี้กับต้นสังกัดอยู่จึงทำให้มีปัญหาวุ่นวายหลายเรื่องในการเจรจา มิลิโอนาริออสจึงยื่นคำขาดด้วยค่าตัว 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ประธานบาร์เซโลน่าต้องการจ่าย 1 หมื่นเหรียญยูโรพร้อมกับปลดหนี้ของดิ สเตฟาโน่ทั้งหมด แม้ว่าราม่อน ตริอาส ฟรากาส ประธานของมิลิโอนาริออสจะไม่เต็มใจสักเท่าไหร่ แต่ก็ตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากริเวอร์เพลทหุ้นส่วนในตัวดิ สเตฟาโน่ก็เห็นด้วยในการรับข้อเสนอ


เ หตุการณ์วุ่นๆได้เกิดขึ้นเมื่อดิ สเตฟาโน่เซ็นสัญญากับบาร์เซโลน่าเรียบร้อย และฟีฟ่าได้อนุมัติการย้ายทีมในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในการควบคุมของนายพลฟรังโก้ไม่ยอมรับการย้าย ทีมดังกล่าว พร้อมจัดการเจรจาให้เรอัล มาดริด กับ มิลิโอนาริออส แต่ติดที่ว่าดิ สเตฟาโนเซ็นสัญญากับบาร์เซโลน่าไปแล้ว ทางสหพันธ์ฟุตบอลสเปน ซึ่งในเวลานั้นนายพลมอสการ์โด ลูกน้องของนายพลฟรังโก้เป็นใหญ่อยู่ได้ออกกฎหมายห้ามซื้อนักเตะต่างชาติขึ้น เพื่อสกัดการย้ายร่วมทีมของดิ สเตฟาโน่


แน่ นอนที่สุดบาร์เซโลน่าย่อมไม่พอใจเป็นอย่างมาก ที่ถูกสหพันธ์ฟุตบอลสเปนแทรกแซงและกลั่นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรม จนทำให้สโมสรและแฟนบอลออกมาประท้วงสหพันธ์ฟุตบอลสเปน ทางสหพันธ์จึงแก้เกี้ยวด้วยการประกาศว่าบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริดบรรลุข้อตกลงในตัวของดิ สเตฟาโน่ ด้วยระยะเวลา 4 ปี แต่เป็นสัญญาการเล่นกับเรอัล มาดริด 2 ปีแรก และบาร์เซโลน่า 2 ปีหลัง ทำให้มาร์ตี้ การ์เรตโต้ ต้องแสดงสปิริตลาออกด้วยความเอือมระอาต่อทางการสเปนและเรอัล มาดริด หลังจากนั้นไม่นานบาร์เซโลน่าจึงประกาศด้วยศักดิ์ศรีว่าทางสโมสรยอมสละ สิทธิ์ในตัวของดิ สเตฟาโน่ เนื่องจากทางสโมสรรับไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางเรอัล มาดริดจึงสบโอกาสใช้คำพูดนี้ยืนยันกระต่ายขาเดียวเสมอมาว่า “บาร์เซโลน่าสมัครใจสละสิทธิ์เอง”


เหตุการณ์ การย้ายทีมพิลึกพิลั่นแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย จนฟีฟ่าได้ทำเรื่องศึกษาการย้ายทีมครั้งนี้ว่าเป็น “กรณีศึกษาเรื่องการย้ายทีม” ด้วยเหตุผลที่ว่าการเมืองแทรกแซงเกมกีฬา และนั่นก็เป็นการย้ายทีมครั้งประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกไม่เลือนในวงการ ฟุตบอลสเปน และในพงศาวดารของบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด หลังจากนั้นดิ สเตฟาโน่ก็คว้าแชมป์กับเรอัล มาดริดเป็นกอบเป็นกำ แต่ก็ไม่มีใครกล้าเถียงว่าความสำเร็จนั้นได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล


รัฐบาล สเปนในสมัยนายพลฟรังโก้ ได้พยายามกดขี่ข่มเหงแคว้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ หรือ แม้แต่แคว้นที่ยังให้ความสำคัญกับภาษา วัฒนธรรม สัญลักษณ์ของแต่ละแคว้น แน่นอนที่สุดทีมฟุตบอลที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักคือแอธเลติก บิลเบา และ บาร์เซโลน่า ในส่วนของบาร์เซโลน่านั้นถูกบังคับให้เปลี่ยนชื่อสโมสรจาก Futbal Club Barcelona เป็น Spanish Club de Futbal Barcelona (ชื่อแบบเต็ม) ทำให้แฟนบอลชาวกาตาลันไม่ชอบใจกับคำว่า “สแปนิช” แต่ก็ต้องจำยอมเพราะมิฉะนั้นอาจจะถูกอำนาจมืดทำลายสโมสร แม้ว่าภายหลังจะมีการเปลี่ยนชื่อกลับตามเดิมก็ตาม แต่ความทรงจำอันเลวร้ายก็ยังไม่อาจลืมเลือนในหัวของชาวเบลากราน่า


นายพลฟรังโก้ ก็เคยห้ามบาร์เซโลน่าลงเล่นในสนามเหย้าของตนเองมาแล้วหลังจากที่แฟนบอลบาร์ เซโลน่าโห่ใส่เพลงชาติสเปนจึงทำให้ทางการสเปนแสดงความไม่พอใจออกมาด้วยการ สั่งปิดสนามเหย้าเป็นเวลา 6 เดือนด้วยกัน นอกจากนี้ทางการสเปนยังเคยวางระเบิดในสมาคมแฟนบอลของบาร์เซโลน่า (สมาคมนี้ไม่เกี่ยวกับบอยซอส โนอิส) จึงทำให้เกิดความเสียหายและผู้คนบาดเจ็บ ผลที่ตามมาคือยอดสมาชิกอย่างเป็นทางการของสโมสรได้ลดลงอย่างน่าใจหาย ด้วยความหวาดกลัวที่ว่าหากเป็นสมาชิกของสโมสรแล้วจะถูกทางการสเปนลอบทำร้าย


โจน กัมเปร์ ผู้ก่อตั้งสโมสรบาร์เซโลน่าย่อมหลีกหนีไม่พ้นเรื่องเลวร้ายแบบนี้เช่นกัน อดีตประธานสโมสรชาวสวิสได้ถูกบีบบังคับให้ออกจากการเป็นประธานและบอร์ด บริหารของบาร์เซโลน่า กอปรกับปัญหาส่วนตัวและปัญหาทางการเงิน โจน กัมเปร์จึงตัดสินใจจบชีวิตของตนเองลงในปี 1930


อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในพงศาวดารของบาร์เซโลน่าได้ถูกจารึก ไว้ในปี 1943 ในศึกโกปปา เดล เรย์ รอบรองชนะเลิศ เกมนัดแรกในสนามเลส กอร์ต (อดีตสนามเหย้าของบาร์เซโลน่า) ผลปรากฏว่าบาร์เซโลน่าเอาชนะไปได้ 3-0 ในเกมที่สองนั้นต้องกลับไปเล่นที่สนามเหย้าของเรอัล มาดริด นายพลฟรังโก้ได้ประกาศทั่วแผ่นพร้อมพูดอย่างเป็นลางว่า “ฟุตบอลคู่นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพราะความกรุณาของทางการ” นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าเกมคู่นี้ไร้ความยุติธรรมอย่างแน่นอน
และผลการแข่งขันก็เป็นไปอย่างที่บาร์เซโลน่าคาดการณ์ นายพลฟรังโก้ส่งผู้ปกครองแคว้นกาสตีย่ามาต้อนรับบาร์เซโลน่าด้วยกำลังทหาร ถึงในห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว และมันก็เป็นอีกครั้งที่ “ฟุตบอลการเมือง”มีอิทธิพลเหนือเกมฟุตบอลที่ยุติธรรม ฟุตบอลโคตรมหาโกงครั้งนี้มีทั้งทหาร กรรมการ เด็กเก็บบอล แฟนบอล ผู้เล่นมาดริด ต่างมีเอี่ยวทั้งสิ้น ผลจบด้วยการปราชัยต่อมาดริด 11-1 แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือเรอัล มาดริด จารึกแมตช์อัปยศในวงการฟุตบอลได้อย่างสวยหรู มีการกล่าวขานชัยชนะในนัดนี้ว่า “ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่” ส่วนผู้เล่นเรอัลในเกมนั้นต่างถูกเรียกว่า “ฮีโร่” ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดกับความรู้สึกของแฟนบอลสเปนเป็นอย่างมาก


ใน ยุคของนายพลฟรังโก้นั้นนอกจากจะมีการแทรงแซงกีฬาด้วยการเมือง ยังมีการย่ำยีชนพื้นเมืองของแต่ละแคว้น นอกจากนี้ยังไม่ให้เกียรติกษัตริย์แห่งสเปนด้วยการยึดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อฟุตบอลถ้วยโกปปา เด เอสปันญ่า เป็น โกปปา เดล เกเนโรลลิสโม่ หรือ ถ้วยของท่านนายพล หลังจากสิ้นลมของนายพลฟรังโก้เพียง 2 วัน ประชาชนสเปนทั้งประเทศได้อัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์เมื่อวางรากฐานของประชาธิปไตยที่ดี หลังจากประชาชนส่วนใหญ่ถูกกดขี่โดยนายพลฟรังโก้ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนชื่อฟุตบอลโกปปา เดล เกเนโรลลิสโม่ เป็น โกปปา เดล เรย์ หรือ ถ้วยพระราชทานจากพระราชา


การ กวาดแชมป์ของเรอัล มาดริดในยุคของนายพลฟรังโก้ ยังคงเป็นที่โต้แย้งในปัจจุบันมากมาย รวมทั้งการคว้าแชมป์ยูโรเOยนส์ คัพ 5 สมัยซ้อนในช่วงปี 1955-1960 ความสำเร็จในยุคนั้นแฟนบอลทั่วยุโรปไม่ได้ให้ความสำคัญและความสนใจเท่าที่ ควรเนื่องจากในเวลานั้นมีทีมเข้าแข่งขันเพียง16 ทีมเท่านั้น ทีมที่เทียบชื่อชั้นกับเรอัล มาดริด ก็มีเพียงเอซี มิลานเท่านั้นส่วนทีมอื่นๆยังไม่มีส่วนร่วมเหมือนในปัจจุบัน สาเหตุหนึ่งที่แฟนบอลชาวยุโรปทราบดีคือ ฟุตบอลยูฟ่า แชมป์เOยนส์ ลีก หรือยูโรเOยนส์ คัพ ในเวลานั้น มีหนังสือพิมพ์ เล กิ๊ปเป็นผู้ก่อตั้ง และมีซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ ประกอบกับการที่เป็นการแข่งขันรายการใหม่ในเวลานั้น จึงเป็นที่กังขาของแฟนบอล โดยเฉพาะแฟนบอลเอซี มิลานรุ่นเก่าที่ได้แชมป์มาด้วยความยากลำบาก แต่ตามหลังเรอัล มาดริดอยู่ถึง 2 สมัยด้วยกัน


หาก พูดถึงเรื่องการซื้อตัวผู้เล่นที่ทำให้บาร์เซโลน่าโกรธแค้นเป็นอย่างมากคง หนีไม่พ้นกรณีของอัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ส่วนกรณีที่ทำให้เรอัล มาดริดไม่พอใจคงจะหนีไม่พ้นกรณีของ โยฮัน ครัฟฟ์ เรอัล มาดริดไม่พอใจเป็นอย่างมากด้วยเหตุที่ว่าเรอัลกำลังติดต่อกับโยฮัน ครัฟฟ์อยู่ในปี1973 หลังจากที่ครัฟฟ์พาอาแจ็กซ์ทุบเรอัล มาดริดในเกมฟุตบอลยุโรป แต่บาร์เซโลน่าก็มาตัดหน้าคว้าตัวตำนานนักเตะเทวดารายนี้ไป สาเหตุสำคัญคือบาร์เซโลน่าไม่ได้ใช้เงินของสโมสรในการคว้าตัวครัฟฟ์ แต่เป็นเพราะการช่วยเหลือของบังก้า กาตาลาน่า(สถาบันการเงินในแคว้นกาตาลุนย่า) นั่นทำให้เรอัล มาดริดรู้สึกว่าเสียผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม


อย่างไรก็ตามสาวกบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ก็ต่างพยายามหลบหนีความจริงที่ว่าสโมสรทั้งสองต่างพึ่งพากำลังนักเตะต่าง ชาติในการกวาดต้อนความสำเร็จเข้าสู่สโมสร นับแต่อดีตเป็นต้นมาทั้งสองสโมสรคู่อริแข่งกันชิงดีชิงเด่นด้านความสำเร็จ ของสโมสรเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก การเสริมทัพอย่างบ้าเลือดได้นำไปสู่การฉกนักเตะข้ามค่ายของทั้งสองสโมสร


นัก เตะรายแรกที่ย้ายข้ามถิ่นคือ ลูเซียโน่ ลิส ราก้า ย้ายจากเรอัล มาดริด มาสู่บาร์เซโลน่าในปี 1905 แน่นอนที่สุดว่าบาร์เซโลน่าเป็นฝ่ายเริ่มการเจรจาคว้าตัวข้ามค่ายก่อนเป็น ฝ่ายแรก หลังจากนั้นก็เป็นการย้ายแบบฝุ่นตลบกันเป็นต้นมา แต่การฉกครั้งสำคัญนั้นคงหนีไม่พ้นอัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ส่วนรายอื่นๆที่โด่งดังนั้นมีความเป็นมาคร่าวๆดังต่อไปนี้


แบ รนด์ ชูสเตอร์ ต้นฉบับขบถลูกหนังเป็นที่รู้จักกันในเยอรมันเป็นอย่างดี โดยจุดพลิกผันในชีวิตของเขาคือการเลือกภรรยาที่ชื่อว่า “กาบี” มาเป็นคู่ชีวิต คนเยอรมันส่วนใหญ่รู้จักสตรีรายนี้ในทางเสื่อมเสียและตราหน้าว่าเป็น “ช้างตัวเมียเท้าหน้า” เนื่องจากกาบีมักจูงจมูกชูสเตอร์ไปซะทุกเรื่อง เมื่อบาร์เซโลน่าซื้อตัวชูสเตอร์มาในปี 1980 จาก เอฟซี โคโลญจน์ ซึ่งชูสเตอร์ก็โชว์ฟอร์มได้สมราคาค่าตัวแต่ คุณนายกาบีมักทำตัวมีปัญหากับฝ่ายบริหารของบาร์เซโลน่าเสมอ และพยายามบงการชูสเตอร์มาโดยตลอด จนเป็นเหตุไปสู่การย้ายทีมไปค้าแข้งกับเรอัล มาดริดเป็นเวลา 2 ปี


ไม เคิล เลาดรู๊ป อดีตดาวเตะหน้าหยกชาวเดนมาร์กได้ค้าแข้งกับบาร์เซโลน่าเป็นเวลา 5 ปีด้วยกันโดยมีความสามารถสุดยอดเรื่องการผ่านบอล และยังเป็นกุญแจสำคัญช่วยให้ฟุตบอลในยุคเอล ดรีมทีมโด่งดังไปทั่วโลก แต่แล้วเมื่อความขัดแย้งกับตัวทำเกมทีมชาติเดนมาร์กกับโยฮัน ครัฟฟ์ กุนซือเทวดาต้องมาถึงจุดแตกหัก ทำให้เรอัล มาดริดจัดการคว้าตัวไมเคิล เลาดรู๊ปไปครอบครองจนนำไปสู่จุดจบของเอล ดรีมทีมของโยฮัน ครัฟฟ์
หลุยส์ เอนริเก้ มิดฟิลด์จุดเดือดต่ำย้ายจากสปอร์ติ้ง กิฆอน มาค้าแข้งกับยักษ์เมืองหลวงอย่างเรอัล มาดริดเป็นเวลา 5 ฤดูกาลเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นเป็นยุคของเอล ดรีมทีมจึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เขาจึงกลายเป็นแพะรับบาปของบอร์ดบริหารเรอัล มาดริดในเวลานั้นด้วยการละเลยการต่อสัญญา จึงทำให้หลุยส์ เอนริเก้ แก้เผ็ดด้วยการย้ายข้ามฝั่งไปอยู่กับบาร์เซโลน่า แม้ว่าในช่วงแรกจะถูกเหยียดหยามจากแฟนบอลและผู้เล่นของเจ้าบุญทุ่มว่าฝีเท้า ไม่ถึงขั้น แต่กองกลางชาวอัสตูเรียนก็ใช้เวลาไม่นานในการพิสูจน์ตนเองจนเป็นที่รักของ แฟนบอลบาร์เซโลน่าและเป็นที่เกลียดชังของแฟนบอลเรอัล มาดริดในเวลาไม่นาน เมื่อกองกลางหมายเลข 21 เดินทางไปที่ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว จึงมักถูกร้องเพลงถากถางว่า “หลุยส์ เอนริเก้ ลูกอีตัว” กองกลางดีเดือดจึงมักให้สัมภาษณ์เสมอว่าเขารู้สึกขยะแขยงตนเองเมื่อได้สวมยู นิฟอร์มเรอัลทุกครั้งเมื่อลงสนาม


หลุยส์ ฟิโก้ ปีกพรสวรรค์ชาวโปรตุกีส ผู้ได้กลายเป็นแบบอย่างกับเยาวชนในโปรตุเกสหลายคนจนเป็นแรงบันดาลในของเด็ก เหล่านั้น ฟิโก้ก็มีความฝันเหมือนเด็กทั่วไปเมื่อสมัยค้าแข้งกับสปอร์ติ้ง ลิสบอน เขาอยากจะมีชื่อเสียง อยากมีเงิน ด้วยความโลภในวัยเด็กจึงทำให้เขาเซ็นสัญญากับยูเวนตุส และ ปาร์มา ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้เขาต้องรับโทษห้ามลงแข่งขันในอิตาลีเป็นเวลา 2 ปีเต็ม อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ต่างๆก็คลี่คลายเมื่อยักษ์ใหญ่แห่งสเปน บาร์เซโลน่า อาสาพาตัวปีกดาวรุ่งมาชุบเลี้ยงกับทีมภายใต้การทำทีมของโยฮัน ครัฟฟ์ในเวลานั้น พร้อมให้โอกาสลบชื่อเสียงเหม็นโฉ่ในวงการฟุตบอลด้วยการเปิดทางให้สำแดง ฝีเท้า หลังจาก 5 ฤดูกาลที่บาร์เซโลน่า ฟิโก้จึงได้ก่อเรื่องเหม็นโฉ่อีกครั้งด้วยการทรยศบาร์เซโลน่าทีมที่ครั้ง หนึ่งเคยให้ที่ซุกหัวนอนด้วยการไปซบอกเรอัล มาดริด ด้วยเหตุผลเรื่องเงิน จึงทำให้ชาวเบลากราน่าจงเกลียดจงชังปีกทรยศรายนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะ “จิมมี่ จัมพ์” แฟนบอลชาวกาตาลันที่ประกาศศักดาไปทั่วโลกด้วยการปาธงบาร์เซโลน่าในฟิโก้ใน ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 ระหว่างกรีซ พบกับโปรตุเกส นอกจากนี้ยังเป็นที่จดจำของชาวเบลากราน่าในชื่อว่า “เปเซเตโร่” หรือแปลเป็นไทยว่า “โสเภณีหน้าเงิน”


หลัง จากการคว้าตัวหลุยส์ ฟิโก้ผ่านไป ทำให้เกิดความเกลียดชังเป็นอย่างมากระหว่างบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ทั้งสองสโมสรจึงทำสัญญาใจในยุคของโจน ลาปอร์ต้า และ ฟลอเรนติโน่ เปเรซ ว่าจะไม่มีการซื้อขายผู้เล่นจนทำให้บาดหมางใจกันอีกต่อไป(หมายถึงการซื้อผู้ เล่นย้ายทีมระหว่างทั้ง 2 ทีมโดยตรง) อย่างไรก็ตามสัญญาใจนี้ก็เริ่มสั่นคลอนเมื่อบาร์เซโลน่าบีบให้เรอัล มาดริดต้องขายซามูเอล เอโต้ เพชฌฆาตชาวแคเมอรูน แม้ว่าจะไม่ผิดสัญญาใจ แต่ก็ทำให้เสียความรู้สึกและผิดมารยาทเช่นกัน


อย่าง ไรก็ตามเรอัล มาดริด ก็เอาคืนด้วยการเซ็นคว้าตัวฮาเวียร์ ซาวิโอล่า กองหน้าร่างเล็กชาวอาร์เจนตินาโดยกองหน้าทีมชาติอาร์เจนตินาได้ให้สัมภาษณ์ ว่าเขาต้องการย้ายเพราะเหตุผลเรื่องฟุตบอลไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ฟุตบอลในสเปนได้ให้ความเห็นในแนวเดียวกันที่ว่า ซาวิโอล่าถูกหลอกให้ย้ายไปเรอัล มาดริด เพื่อไปเป็นเพียงสัญลักษณ์ในการสร้างเครื่องหมายการ “แอนตี้บาร์เซโลนิสต้า” จึงไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใดซาวิโอล่าจึงไม่ได้ลงเล่น อย่างที่เขาอ้างว่าย้ายไปเพื่อเหตุผลทางฟุตบอล สิ่งสำคัญคือต้องติดตามดูปฏิกิริยาแฟนบอลในคัมป์ นูว่า ความสัมพันธ์ระหว่างซาวิโอล่า และ ชาวเบลากราน่า จะยังดีเหมือนเดิมหรือไม่


อดีต นักเตะของบาร์เซโลน่าที่เป็นแอนตี้ มาดริดนิสต้า ที่เคยสร้างวีรกรรมไว้ที่ซานติอาโก้ เบอร์นาเบวคงหนีไม่พ้น จิโอวานนี่ ในฤดูกาล 1997-98 เมื่อกองกลางทีมชาติบราซิลซัดประตูชัยแล้วไปฉลองการดีใจด้วยการแจกนิ้ว สัญลักษณ์ให้กับแฟนบอลชุดขาว นอกจากนี้มาร์ค ฟาน บอมเมล ที่ย้ายไปอยู่กับบาเยิร์น มิวนิคก็ชูนิ้วสัญลักษณ์ใส่แฟนบอลเรอัล มาดริดเช่นกันหลังจากเจาะตาข่ายได้ในปี 2006

ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ เอล กลาสิโก้ มีนักเตะที่ย้ายจากเรอัล มาดริดไปบาร์เซโลน่าทั้งแบบโดยตรงและผ่านทีมอื่น มีทั้งสิ้น 15 รายด้วยกัน ส่วนผู้เล่นของบาร์เซโลน่าที่ย้ายไปเรอัล มาดริดแบบโดยตรงและผ่านทีมอื่นมีทั้งสิ้น 22 ราย


แหล่ง เงินหลักของเรอัล มาดริดนับแต่อดีตจนถึงเมื่อไม่นานมีนี้มักจากรัฐบาลและสภาเมืองมาดริด ในยุคของฟลอเรนติโน่ที่สภาเมืองมาดริดอาสาปลดหนี้ด้วยการรับซื้อสนามซ้อมของ เรอัล มาดริดด้วยเงินกว่า 300 ล้านยูโร แม้ว่าราคาตลาดในถิ่นดินแถบนั้นเพียง 200 กว่าล้านยูโรเท่านั้น จึงทำให้เรอัล มาดริดปลดหนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น ส่วนทางฝั่งบาร์เซโลน่าได้แหล่งเงินหลักมาจากโซซีโอส หรือ สมาชิกอย่างเป็นทางการของสโมสรที่พร้อมจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนทีม ด้วยเหตุที่ว่าบาร์เซโลน่ามีแฟนบอลอย่างเป็นทางการมากที่สุดในโลกจึงสามารถ เป็นสโมสรยักษ์ใหญ่ได้อย่างไม่ยากเย็น


รอัล มาดริดภายใต้การนำของฟลอเรนติโน่ เปเรซ มักพูดเสมอว่าหลายแคว้นของสเปนมักมีแฟนบอลเรอัล มาดริดกระจายไปทั่ว และนั่นก็เป็นเรื่องจริงแต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากในยุคราว 1960-1970 ชาวมาดริดได้อพยพจากมาดริดกระจายไปหางานทำตามแคว้นต่างๆด้วยสาเหตุเศรษฐกิจ ตกต่ำทั่วแผ่นดินสเปนภายใต้การนำของนายพลฟรังโก้ ชาวมาดริดก็ได้อพยพมาที่กาตาลุนย่าเช่นกัน


หาก ได้นั่งแท็กซี่ในกาตาลุนย่า คนขับแท็กซี่มักจะเชียร์เรอัล มาดริด ออกหน้าออกตาก็ไม่ต้องน่าแปลกใจสำหรับแฟนบอลบาร์เซโลน่า เพราะพวกนั้นคือแฟนบอลเรอัล มาดริด และ เอสปันญ่อล ที่ย้ายมาจากมาดริดเมื่อหลายปีมาแล้ว แฟนบอลเอสปันญ่อลคือชนชั้นล่างในแคว้นกาตาลุนย่า และได้รับการขนานนามว่าเรอัล มาดริดน้อยๆนั่นเอง  
0
0


เข้าร่วม: 27 Feb 2011
ตอบ: 4596
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 3:36 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]

0
0
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 3237
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 3:52 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
RockshiT_Devil พิมพ์ว่า:
เอาแบบเข้าใจง่ายคือ

Spoil
คำ ว่า “เอล กลาสิโก้” ได้ถูกบัญญัติมานานแล้ว และถูกขนานนามแทนการพบกันระหว่าง บาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด สองทีมตัวแทนจากแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า แน่นอนที่สุดหากใครเป็นคอบอลพันธุ์แท้ย่อมรู้ว่าฟุตบอลเกมนี้ยิ่งใหญ่กว่า ทีมคู่อริในหลายๆประเทศมาพบกัน ด้วยเหตุที่ว่าเกมฟุตบอลคู่นี้มีเดิมพันที่ไม่ใช่ตัวเงิน และเป็นการเดิมพันธุ์ที่มีค่ามากกว่าศักดิ์ศรี แต่มันหมายถึงการเดิมพันธุ์ด้วยชาติกำเนิด การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ที่ล้วนแต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลึกซึ้งเป็นอย่างมาก


ในอดีตนั้นแคว้นกาตาลุนย่า ซึ่งมีบาร์เซโลน่าเป็นเมืองหลวง ได้ถูกทั้งฝรั่งเศส และ สเปน ข่มเหงมาโดยตลอด แต่ก็พยายามต่อสู้ยืนหยัดจนมีทุกวันนี้ได้ ปัจจุบันแคว้นกาตาลุนย่าก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลสเปน ให้มีรัฐบาลท้องถิ่นที่สามารถปกครองตนเองได้


คำ ว่า “กาตาลุนย่า” ก็อาจถือเป็นความขัดแย้งได้เช่นกันระหว่างแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า ที่มีมาดริดเป็นเมืองหลวง คำว่า “กาตาลุนย่า” ซึ่งเป็นภาษากาตาลันนั้น มีการสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์และความหมายเดียวกับ “กาสตีย่า” ซึ่งแปลเป็นไทยแล้วหมายความว่า “เมืองแห่งคฤหาสน์” ซึ่งทำให้พอรู้ได้ว่าในอดีตทั้งสองแคว้นก็มีความเจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว


ใน ปี 1928 สมาชิกผู้ก่อตั้งฟุตบอลลีกของสเปน จำนวน 10 ทีม ได้เริ่มแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสเปน และก็เป็นบาร์เซโลน่าที่คว้าแชมป์ไป นั่นก็เป็นการคว้าแชมป์ในรายการที่ใหญ่ที่สุดในแผ่นดินสเปนของทีมที่ก่อตั้ง มานับแต่ปี 1899 หลังจากนั้นก็เป็นการเรืองอำนาจของแอธเลติก บิลเบา ทีมที่เก่าแก่ในลา ลีกาที่ฟาดแชมป์เป็นว่าเล่น


อย่าง ไรก็ตาม เหตุการณ์ไม่คาดฝันของโลกก็เกิดขึ้นเมื่อเกิดสงครามการเมืองของสเปน และก็เป็นฝ่ายเผด็จการของนายพลฟรังโก้ที่ได้ครองอำนาจไป นับแต่ยุคเรืองอำนาจของนายพลฟรานซิสโก้ ฟรังโก้ อดีตผู้นำเผด็จการของสเปน ก็เป็นยุคที่มีการจุดประกายให้ฟุตบอลคู่นี้ดุเดือดเป็นต้นมา เนื่องจากบาร์เซโลน่าถูกนายพลฟรังโก้จ้องทำลายนับแต่ได้เรืองอำนาจภายใต้ นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” นโยบายนี้ได้พยายามรวมหลายแคว้นให้หลายเป็นสเปนเดียว โดยมุ่งให้แคว้นกาสตีย่าเป็นแดนสวรรค์ แต่นโยบายที่เดินไปผิดทางที่นำหน้าด้วยการกดขี่ข่มเห่งประชาชน การละเมิดสิทธิต่างๆ รวมทั้งการห้ามพูดภาษาท้องถิ่นและห้ามให้ธงประจำแคว้น ทำให้ 2 แคว้นที่มีความเป็นชาตินิยมสูงอย่าง กาตาลุนย่า และ บาสก์ ได้พยายามต่อสู้มาโดยตลอด จนกระทั่งการต่อสู้จบลงด้วยสิ้นลมของนายพลฟรังโก้ และการอัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์


เหตุการณ์ จุดชนวนครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1936 เมื่อโฆเซป ซูโยล อดีตประธานสโมสรของบาร์เซโลน่า ถูกลูกสมุนในกองทัพของนายพลฟรังโก้ลอบสังหาร นั่นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้แฟนฟุตบอลสะเทือนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้นายพลฟรังโก้ได้แต่งตั้งคนใกล้ชิดเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร บาร์เซโลน่าเพื่อที่จะทำลายสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ จนเกือบทำให้สโมสรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้เกือบล้มละลายเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์สโมสร อย่างไรก็ตามคนสนิทของนายพลฟรังโก้ก็ทนแรงกดดันของชาวกาตาลุนย่าไม่ไหว ยอมหลีกทางให้กับเอนริค ปีเนย์โร่ เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน สำหรับชื่อของคนสนิทนายพลฟรังโก้นั้นในอดีตสโมสรเคยจารึกชื่อไว้ว่าดำรง ตำแหน่งประธานสโมสร แต่ปัจจุบันได้มีการลบทิ้งไปแล้ว ส่วนปัญหาการเงินของบาร์เซโลน่าในเวลานั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศ เม็กซิโกทำให้รอดพ้นวิกฤตทางการเงินคราวนั้น ทุกวันนี้บาร์เซโลน่าก็ยังไม่ลืมบุญคุณของชาวเม็กซิกัน


ใน แง่ของการย้ายทีมจากบาร์เซโลน่าไปเรอัล มาดริด จากประวัติศาสตร์แล้ว มีนักเตะเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ชาวเบลากราน่ายังอ้าแขนต้อนรับอยู่ แม้ว่าจะย้ายไปอยู่กับเรอัล มาดริด ที่แฟนบอลทีมอื่นต่างตราหน้าว่าเป็น “ทีมรัฐบาล” เนื่องจากนายพลฟรังโก้พยายามทำทุกวิถีทางที่ทำให้เรอัล มาดริด ได้แชมป์ลา ลีกา นักเตะคนเดียวที่ว่านั้นคือ โฆเซป ซามิติเอร์ อดีตมิดฟิลด์ ที่ถูกรัฐบาลของนายพลฟรังโก้ทรยศหลังจากย้ายไปเรอัล มาดริด ด้วยการเนรเทศไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นโฆเซป ซามิติเอร์ ก็ได้กลับมาช่วยบาร์เซโลน่าด้วยการทำหน้าที่ผู้จัดการทีมในช่วง 1944-1947 รวมทั้งเป็นแกนนำในการพาตัวลาดิสเลา คูบาล่า ตำนานของบาร์เซโลน่าให้มาค้าแข้งในรั้วเลือดหมู-น้ำเงิน


หากว่า ชาวเบลากราน่าจะคิดว่าชาวกาสตีย่าได้ทำให้แฟนบาร์เซโลน่าขุ่นเคืองใจ โกรธแค้น เกลียดชังฝ่ายเดียวเลยหรือ? คำตอบจริงๆของเรื่องนี้คือ ไม่ใช่ ชาวกาตาลุนย่าก็เคยทำให้แฟนบอลมาดริดโกรธแค้นเช่นกัน เพียงแต่เมื่อเทียบเหตุการณ์และความรุนแรงแล้วนั้น บาร์เซโลน่าเป็นฝ่ายถูกกระทำบ่อยครั้งกว่าและรุนแรงกว่ามาก
เหตุการณ์ที่ชาวกาตาลุนย่าทำให้แฟนเรอัล มาดริดโกรธแค้นก็คงจะมี 2 เหตุการณ์หลักๆ คือ ในปี 1916 มีรายงานจากทางการสเปนว่านักเตะรายหนึ่งของเรอัล มาดริด ถูกยิงเสียชีวิตในแผ่นดินกาตาลุนย่า แต่ก็ไร้หลักฐานว่าถูกยิงด้วยสาเหตุใด เหตุการณ์ต่อมาเกิดขึ้นในปี 1930 ในเกมฟุตบอลถ้วยรอบชิงชนะเลิศระหว่างเรอัล มาดริด พบกับ แอธเลติก บิลเบา ผลคือเรอัล มาดริดพ่ายทีมเลือดข้นจากแคว้นบาสก์ไปด้วยน้ำมือของผู้ตัดสินชาวกาตาลัน และนี่คือเรื่องจริงที่กรรมการชาวกาตาลันคนนั้นได้ตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม อย่างน่าเกลียด


ในยุคสมัยของนายพลฟรังโก้ ผู้นำเผด็จการรายนี้พยายามที่จะเชิดชูทีมจากเมืองหลวงเพื่อจะเป็นสัญลักษณ์ ในการประชาสัมพันธ์นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” แต่การดำเนินนโยบายนั้นเน้นการใช้ความลำเอียงเป็นหลัก แม้ว่าในช่วงแรกเรอัล มาดริดจะไม่ได้รับการเหลียวแลจากนายพลฟรังโก้เท่าที่ควรเนื่อจากอดีตผู้นำ สเปนให้ความสำคัญกับแอตเลติโก มาดริด มากกว่า


แต่ สายน้ำได้เปลี่ยนกระแสชนิดที่ไม่มีวันไหลย้อนกลับเมื่อเรอัล มาดริดได้มีผู้นำที่ชื่อซานติอาโก้ เบอร์นาเบว อดีตประธานสโมสรผู้ยิ่งใหญ่ของเรอัล มาดริด จนทำให้สโมสรได้ตั้งชื่อสนามเหย้าของตัวเองเป็นชื่อของอดีตประธานท่านนี้ ในปี1945 เบอร์นาเบวได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำสูงสุดของทีมราชันชุดขาว นายพลฟรังโก้จึงหันมาสนับสนุนเรอัล มาดริดเป็นการตอบแทนความดีความชอบที่ประธานในตำนานคนนี้เคยร่วมรบเคียงบ่า เคียงไหล่กับนายพลฟรังโก้สมัยสงครามกลางเมืองสเปน หลังจากนั้นเป็นต้นมาเรอัล มาดริดก็ได้รับการสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า


ต่อ จากนี้คือเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างอดีตจนถึงปัจจุบันที่ทำให้บาร์เซโล น่าโกรธแค้นเรอัล มาดริดชนิดที่ไม่อาจลืมได้จนถึงปัจจุบัน ด้วยพฤติกรรมที่หลอกหลวงของผู้นำเรอัล มาดริด


เมื่อ ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เป็นใหญ่ในเรอัล มาดริด เหตุการณ์สำคัญครั้งแรกที่เขาได้ทำคือ การส่งสาสน์แสดงความรู้สึกต่อบาร์เซโลน่า ทีมคู่อริตลอดการ เนื้อหาในสาสน์นั้นกล่าวในทำนองที่ว่า เขาหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรอัล และ บาร์เซโลน่า จะดีขึ้นในเร็ววัน อย่างไรก็ตามคำพูดกับการกระทำของผู้นำเรอัล มาดริด มักจะเป็นเรื่องตรงกันข้ามเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำหลายทีมต่างรู้กันเป็นอย่างดี และบาร์เซโลน่าก็เป็นทีมที่รู้เรื่องดีที่สุดเสมอ


ใน ปี 1953 มาร์ตี้ การ์เรตโต้ อดีตประธานสโมสรบาร์เซโลน่าเดินทางไปเจรจากับทีมมิลิโอนาริออส ทีมจากประเทศโคลัมเบีย เพื่อเจรจาคว้าตัวอัลเฟรโด ดิ สเตฟาโน่ แต่ด้วยข้อตกลงที่บรรลุผลยากเหลือเกินจึงทำให้ใช้เวลานานกว่าการเจรจาจะ สำเร็จ ด้วยเหตุที่ว่าดิ สเตฟาโน่ ได้ติดหนี้กับต้นสังกัดอยู่จึงทำให้มีปัญหาวุ่นวายหลายเรื่องในการเจรจา มิลิโอนาริออสจึงยื่นคำขาดด้วยค่าตัว 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ประธานบาร์เซโลน่าต้องการจ่าย 1 หมื่นเหรียญยูโรพร้อมกับปลดหนี้ของดิ สเตฟาโน่ทั้งหมด แม้ว่าราม่อน ตริอาส ฟรากาส ประธานของมิลิโอนาริออสจะไม่เต็มใจสักเท่าไหร่ แต่ก็ตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากริเวอร์เพลทหุ้นส่วนในตัวดิ สเตฟาโน่ก็เห็นด้วยในการรับข้อเสนอ


เ หตุการณ์วุ่นๆได้เกิดขึ้นเมื่อดิ สเตฟาโน่เซ็นสัญญากับบาร์เซโลน่าเรียบร้อย และฟีฟ่าได้อนุมัติการย้ายทีมในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในการควบคุมของนายพลฟรังโก้ไม่ยอมรับการย้าย ทีมดังกล่าว พร้อมจัดการเจรจาให้เรอัล มาดริด กับ มิลิโอนาริออส แต่ติดที่ว่าดิ สเตฟาโนเซ็นสัญญากับบาร์เซโลน่าไปแล้ว ทางสหพันธ์ฟุตบอลสเปน ซึ่งในเวลานั้นนายพลมอสการ์โด ลูกน้องของนายพลฟรังโก้เป็นใหญ่อยู่ได้ออกกฎหมายห้ามซื้อนักเตะต่างชาติขึ้น เพื่อสกัดการย้ายร่วมทีมของดิ สเตฟาโน่


แน่ นอนที่สุดบาร์เซโลน่าย่อมไม่พอใจเป็นอย่างมาก ที่ถูกสหพันธ์ฟุตบอลสเปนแทรกแซงและกลั่นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรม จนทำให้สโมสรและแฟนบอลออกมาประท้วงสหพันธ์ฟุตบอลสเปน ทางสหพันธ์จึงแก้เกี้ยวด้วยการประกาศว่าบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริดบรรลุข้อตกลงในตัวของดิ สเตฟาโน่ ด้วยระยะเวลา 4 ปี แต่เป็นสัญญาการเล่นกับเรอัล มาดริด 2 ปีแรก และบาร์เซโลน่า 2 ปีหลัง ทำให้มาร์ตี้ การ์เรตโต้ ต้องแสดงสปิริตลาออกด้วยความเอือมระอาต่อทางการสเปนและเรอัล มาดริด หลังจากนั้นไม่นานบาร์เซโลน่าจึงประกาศด้วยศักดิ์ศรีว่าทางสโมสรยอมสละ สิทธิ์ในตัวของดิ สเตฟาโน่ เนื่องจากทางสโมสรรับไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางเรอัล มาดริดจึงสบโอกาสใช้คำพูดนี้ยืนยันกระต่ายขาเดียวเสมอมาว่า “บาร์เซโลน่าสมัครใจสละสิทธิ์เอง”


เหตุการณ์ การย้ายทีมพิลึกพิลั่นแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย จนฟีฟ่าได้ทำเรื่องศึกษาการย้ายทีมครั้งนี้ว่าเป็น “กรณีศึกษาเรื่องการย้ายทีม” ด้วยเหตุผลที่ว่าการเมืองแทรกแซงเกมกีฬา และนั่นก็เป็นการย้ายทีมครั้งประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกไม่เลือนในวงการ ฟุตบอลสเปน และในพงศาวดารของบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด หลังจากนั้นดิ สเตฟาโน่ก็คว้าแชมป์กับเรอัล มาดริดเป็นกอบเป็นกำ แต่ก็ไม่มีใครกล้าเถียงว่าความสำเร็จนั้นได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล


รัฐบาล สเปนในสมัยนายพลฟรังโก้ ได้พยายามกดขี่ข่มเหงแคว้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ หรือ แม้แต่แคว้นที่ยังให้ความสำคัญกับภาษา วัฒนธรรม สัญลักษณ์ของแต่ละแคว้น แน่นอนที่สุดทีมฟุตบอลที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักคือแอธเลติก บิลเบา และ บาร์เซโลน่า ในส่วนของบาร์เซโลน่านั้นถูกบังคับให้เปลี่ยนชื่อสโมสรจาก Futbal Club Barcelona เป็น Spanish Club de Futbal Barcelona (ชื่อแบบเต็ม) ทำให้แฟนบอลชาวกาตาลันไม่ชอบใจกับคำว่า “สแปนิช” แต่ก็ต้องจำยอมเพราะมิฉะนั้นอาจจะถูกอำนาจมืดทำลายสโมสร แม้ว่าภายหลังจะมีการเปลี่ยนชื่อกลับตามเดิมก็ตาม แต่ความทรงจำอันเลวร้ายก็ยังไม่อาจลืมเลือนในหัวของชาวเบลากราน่า


นายพลฟรังโก้ ก็เคยห้ามบาร์เซโลน่าลงเล่นในสนามเหย้าของตนเองมาแล้วหลังจากที่แฟนบอลบาร์ เซโลน่าโห่ใส่เพลงชาติสเปนจึงทำให้ทางการสเปนแสดงความไม่พอใจออกมาด้วยการ สั่งปิดสนามเหย้าเป็นเวลา 6 เดือนด้วยกัน นอกจากนี้ทางการสเปนยังเคยวางระเบิดในสมาคมแฟนบอลของบาร์เซโลน่า (สมาคมนี้ไม่เกี่ยวกับบอยซอส โนอิส) จึงทำให้เกิดความเสียหายและผู้คนบาดเจ็บ ผลที่ตามมาคือยอดสมาชิกอย่างเป็นทางการของสโมสรได้ลดลงอย่างน่าใจหาย ด้วยความหวาดกลัวที่ว่าหากเป็นสมาชิกของสโมสรแล้วจะถูกทางการสเปนลอบทำร้าย


โจน กัมเปร์ ผู้ก่อตั้งสโมสรบาร์เซโลน่าย่อมหลีกหนีไม่พ้นเรื่องเลวร้ายแบบนี้เช่นกัน อดีตประธานสโมสรชาวสวิสได้ถูกบีบบังคับให้ออกจากการเป็นประธานและบอร์ด บริหารของบาร์เซโลน่า กอปรกับปัญหาส่วนตัวและปัญหาทางการเงิน โจน กัมเปร์จึงตัดสินใจจบชีวิตของตนเองลงในปี 1930


อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในพงศาวดารของบาร์เซโลน่าได้ถูกจารึก ไว้ในปี 1943 ในศึกโกปปา เดล เรย์ รอบรองชนะเลิศ เกมนัดแรกในสนามเลส กอร์ต (อดีตสนามเหย้าของบาร์เซโลน่า) ผลปรากฏว่าบาร์เซโลน่าเอาชนะไปได้ 3-0 ในเกมที่สองนั้นต้องกลับไปเล่นที่สนามเหย้าของเรอัล มาดริด นายพลฟรังโก้ได้ประกาศทั่วแผ่นพร้อมพูดอย่างเป็นลางว่า “ฟุตบอลคู่นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพราะความกรุณาของทางการ” นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าเกมคู่นี้ไร้ความยุติธรรมอย่างแน่นอน
และผลการแข่งขันก็เป็นไปอย่างที่บาร์เซโลน่าคาดการณ์ นายพลฟรังโก้ส่งผู้ปกครองแคว้นกาสตีย่ามาต้อนรับบาร์เซโลน่าด้วยกำลังทหาร ถึงในห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว และมันก็เป็นอีกครั้งที่ “ฟุตบอลการเมือง”มีอิทธิพลเหนือเกมฟุตบอลที่ยุติธรรม ฟุตบอลโคตรมหาโกงครั้งนี้มีทั้งทหาร กรรมการ เด็กเก็บบอล แฟนบอล ผู้เล่นมาดริด ต่างมีเอี่ยวทั้งสิ้น ผลจบด้วยการปราชัยต่อมาดริด 11-1 แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือเรอัล มาดริด จารึกแมตช์อัปยศในวงการฟุตบอลได้อย่างสวยหรู มีการกล่าวขานชัยชนะในนัดนี้ว่า “ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่” ส่วนผู้เล่นเรอัลในเกมนั้นต่างถูกเรียกว่า “ฮีโร่” ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดกับความรู้สึกของแฟนบอลสเปนเป็นอย่างมาก


ใน ยุคของนายพลฟรังโก้นั้นนอกจากจะมีการแทรงแซงกีฬาด้วยการเมือง ยังมีการย่ำยีชนพื้นเมืองของแต่ละแคว้น นอกจากนี้ยังไม่ให้เกียรติกษัตริย์แห่งสเปนด้วยการยึดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อฟุตบอลถ้วยโกปปา เด เอสปันญ่า เป็น โกปปา เดล เกเนโรลลิสโม่ หรือ ถ้วยของท่านนายพล หลังจากสิ้นลมของนายพลฟรังโก้เพียง 2 วัน ประชาชนสเปนทั้งประเทศได้อัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์เมื่อวางรากฐานของประชาธิปไตยที่ดี หลังจากประชาชนส่วนใหญ่ถูกกดขี่โดยนายพลฟรังโก้ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนชื่อฟุตบอลโกปปา เดล เกเนโรลลิสโม่ เป็น โกปปา เดล เรย์ หรือ ถ้วยพระราชทานจากพระราชา


การ กวาดแชมป์ของเรอัล มาดริดในยุคของนายพลฟรังโก้ ยังคงเป็นที่โต้แย้งในปัจจุบันมากมาย รวมทั้งการคว้าแชมป์ยูโรเOยนส์ คัพ 5 สมัยซ้อนในช่วงปี 1955-1960 ความสำเร็จในยุคนั้นแฟนบอลทั่วยุโรปไม่ได้ให้ความสำคัญและความสนใจเท่าที่ ควรเนื่องจากในเวลานั้นมีทีมเข้าแข่งขันเพียง16 ทีมเท่านั้น ทีมที่เทียบชื่อชั้นกับเรอัล มาดริด ก็มีเพียงเอซี มิลานเท่านั้นส่วนทีมอื่นๆยังไม่มีส่วนร่วมเหมือนในปัจจุบัน สาเหตุหนึ่งที่แฟนบอลชาวยุโรปทราบดีคือ ฟุตบอลยูฟ่า แชมป์เOยนส์ ลีก หรือยูโรเOยนส์ คัพ ในเวลานั้น มีหนังสือพิมพ์ เล กิ๊ปเป็นผู้ก่อตั้ง และมีซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ ประกอบกับการที่เป็นการแข่งขันรายการใหม่ในเวลานั้น จึงเป็นที่กังขาของแฟนบอล โดยเฉพาะแฟนบอลเอซี มิลานรุ่นเก่าที่ได้แชมป์มาด้วยความยากลำบาก แต่ตามหลังเรอัล มาดริดอยู่ถึง 2 สมัยด้วยกัน


หาก พูดถึงเรื่องการซื้อตัวผู้เล่นที่ทำให้บาร์เซโลน่าโกรธแค้นเป็นอย่างมากคง หนีไม่พ้นกรณีของอัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ส่วนกรณีที่ทำให้เรอัล มาดริดไม่พอใจคงจะหนีไม่พ้นกรณีของ โยฮัน ครัฟฟ์ เรอัล มาดริดไม่พอใจเป็นอย่างมากด้วยเหตุที่ว่าเรอัลกำลังติดต่อกับโยฮัน ครัฟฟ์อยู่ในปี1973 หลังจากที่ครัฟฟ์พาอาแจ็กซ์ทุบเรอัล มาดริดในเกมฟุตบอลยุโรป แต่บาร์เซโลน่าก็มาตัดหน้าคว้าตัวตำนานนักเตะเทวดารายนี้ไป สาเหตุสำคัญคือบาร์เซโลน่าไม่ได้ใช้เงินของสโมสรในการคว้าตัวครัฟฟ์ แต่เป็นเพราะการช่วยเหลือของบังก้า กาตาลาน่า(สถาบันการเงินในแคว้นกาตาลุนย่า) นั่นทำให้เรอัล มาดริดรู้สึกว่าเสียผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม


อย่างไรก็ตามสาวกบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ก็ต่างพยายามหลบหนีความจริงที่ว่าสโมสรทั้งสองต่างพึ่งพากำลังนักเตะต่าง ชาติในการกวาดต้อนความสำเร็จเข้าสู่สโมสร นับแต่อดีตเป็นต้นมาทั้งสองสโมสรคู่อริแข่งกันชิงดีชิงเด่นด้านความสำเร็จ ของสโมสรเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก การเสริมทัพอย่างบ้าเลือดได้นำไปสู่การฉกนักเตะข้ามค่ายของทั้งสองสโมสร


นัก เตะรายแรกที่ย้ายข้ามถิ่นคือ ลูเซียโน่ ลิส ราก้า ย้ายจากเรอัล มาดริด มาสู่บาร์เซโลน่าในปี 1905 แน่นอนที่สุดว่าบาร์เซโลน่าเป็นฝ่ายเริ่มการเจรจาคว้าตัวข้ามค่ายก่อนเป็น ฝ่ายแรก หลังจากนั้นก็เป็นการย้ายแบบฝุ่นตลบกันเป็นต้นมา แต่การฉกครั้งสำคัญนั้นคงหนีไม่พ้นอัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ส่วนรายอื่นๆที่โด่งดังนั้นมีความเป็นมาคร่าวๆดังต่อไปนี้


แบ รนด์ ชูสเตอร์ ต้นฉบับขบถลูกหนังเป็นที่รู้จักกันในเยอรมันเป็นอย่างดี โดยจุดพลิกผันในชีวิตของเขาคือการเลือกภรรยาที่ชื่อว่า “กาบี” มาเป็นคู่ชีวิต คนเยอรมันส่วนใหญ่รู้จักสตรีรายนี้ในทางเสื่อมเสียและตราหน้าว่าเป็น “ช้างตัวเมียเท้าหน้า” เนื่องจากกาบีมักจูงจมูกชูสเตอร์ไปซะทุกเรื่อง เมื่อบาร์เซโลน่าซื้อตัวชูสเตอร์มาในปี 1980 จาก เอฟซี โคโลญจน์ ซึ่งชูสเตอร์ก็โชว์ฟอร์มได้สมราคาค่าตัวแต่ คุณนายกาบีมักทำตัวมีปัญหากับฝ่ายบริหารของบาร์เซโลน่าเสมอ และพยายามบงการชูสเตอร์มาโดยตลอด จนเป็นเหตุไปสู่การย้ายทีมไปค้าแข้งกับเรอัล มาดริดเป็นเวลา 2 ปี


ไม เคิล เลาดรู๊ป อดีตดาวเตะหน้าหยกชาวเดนมาร์กได้ค้าแข้งกับบาร์เซโลน่าเป็นเวลา 5 ปีด้วยกันโดยมีความสามารถสุดยอดเรื่องการผ่านบอล และยังเป็นกุญแจสำคัญช่วยให้ฟุตบอลในยุคเอล ดรีมทีมโด่งดังไปทั่วโลก แต่แล้วเมื่อความขัดแย้งกับตัวทำเกมทีมชาติเดนมาร์กกับโยฮัน ครัฟฟ์ กุนซือเทวดาต้องมาถึงจุดแตกหัก ทำให้เรอัล มาดริดจัดการคว้าตัวไมเคิล เลาดรู๊ปไปครอบครองจนนำไปสู่จุดจบของเอล ดรีมทีมของโยฮัน ครัฟฟ์
หลุยส์ เอนริเก้ มิดฟิลด์จุดเดือดต่ำย้ายจากสปอร์ติ้ง กิฆอน มาค้าแข้งกับยักษ์เมืองหลวงอย่างเรอัล มาดริดเป็นเวลา 5 ฤดูกาลเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นเป็นยุคของเอล ดรีมทีมจึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เขาจึงกลายเป็นแพะรับบาปของบอร์ดบริหารเรอัล มาดริดในเวลานั้นด้วยการละเลยการต่อสัญญา จึงทำให้หลุยส์ เอนริเก้ แก้เผ็ดด้วยการย้ายข้ามฝั่งไปอยู่กับบาร์เซโลน่า แม้ว่าในช่วงแรกจะถูกเหยียดหยามจากแฟนบอลและผู้เล่นของเจ้าบุญทุ่มว่าฝีเท้า ไม่ถึงขั้น แต่กองกลางชาวอัสตูเรียนก็ใช้เวลาไม่นานในการพิสูจน์ตนเองจนเป็นที่รักของ แฟนบอลบาร์เซโลน่าและเป็นที่เกลียดชังของแฟนบอลเรอัล มาดริดในเวลาไม่นาน เมื่อกองกลางหมายเลข 21 เดินทางไปที่ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว จึงมักถูกร้องเพลงถากถางว่า “หลุยส์ เอนริเก้ ลูกอีตัว” กองกลางดีเดือดจึงมักให้สัมภาษณ์เสมอว่าเขารู้สึกขยะแขยงตนเองเมื่อได้สวมยู นิฟอร์มเรอัลทุกครั้งเมื่อลงสนาม


หลุยส์ ฟิโก้ ปีกพรสวรรค์ชาวโปรตุกีส ผู้ได้กลายเป็นแบบอย่างกับเยาวชนในโปรตุเกสหลายคนจนเป็นแรงบันดาลในของเด็ก เหล่านั้น ฟิโก้ก็มีความฝันเหมือนเด็กทั่วไปเมื่อสมัยค้าแข้งกับสปอร์ติ้ง ลิสบอน เขาอยากจะมีชื่อเสียง อยากมีเงิน ด้วยความโลภในวัยเด็กจึงทำให้เขาเซ็นสัญญากับยูเวนตุส และ ปาร์มา ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้เขาต้องรับโทษห้ามลงแข่งขันในอิตาลีเป็นเวลา 2 ปีเต็ม อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ต่างๆก็คลี่คลายเมื่อยักษ์ใหญ่แห่งสเปน บาร์เซโลน่า อาสาพาตัวปีกดาวรุ่งมาชุบเลี้ยงกับทีมภายใต้การทำทีมของโยฮัน ครัฟฟ์ในเวลานั้น พร้อมให้โอกาสลบชื่อเสียงเหม็นโฉ่ในวงการฟุตบอลด้วยการเปิดทางให้สำแดง ฝีเท้า หลังจาก 5 ฤดูกาลที่บาร์เซโลน่า ฟิโก้จึงได้ก่อเรื่องเหม็นโฉ่อีกครั้งด้วยการทรยศบาร์เซโลน่าทีมที่ครั้ง หนึ่งเคยให้ที่ซุกหัวนอนด้วยการไปซบอกเรอัล มาดริด ด้วยเหตุผลเรื่องเงิน จึงทำให้ชาวเบลากราน่าจงเกลียดจงชังปีกทรยศรายนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะ “จิมมี่ จัมพ์” แฟนบอลชาวกาตาลันที่ประกาศศักดาไปทั่วโลกด้วยการปาธงบาร์เซโลน่าในฟิโก้ใน ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 ระหว่างกรีซ พบกับโปรตุเกส นอกจากนี้ยังเป็นที่จดจำของชาวเบลากราน่าในชื่อว่า “เปเซเตโร่” หรือแปลเป็นไทยว่า “โสเภณีหน้าเงิน”


หลัง จากการคว้าตัวหลุยส์ ฟิโก้ผ่านไป ทำให้เกิดความเกลียดชังเป็นอย่างมากระหว่างบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ทั้งสองสโมสรจึงทำสัญญาใจในยุคของโจน ลาปอร์ต้า และ ฟลอเรนติโน่ เปเรซ ว่าจะไม่มีการซื้อขายผู้เล่นจนทำให้บาดหมางใจกันอีกต่อไป(หมายถึงการซื้อผู้ เล่นย้ายทีมระหว่างทั้ง 2 ทีมโดยตรง) อย่างไรก็ตามสัญญาใจนี้ก็เริ่มสั่นคลอนเมื่อบาร์เซโลน่าบีบให้เรอัล มาดริดต้องขายซามูเอล เอโต้ เพชฌฆาตชาวแคเมอรูน แม้ว่าจะไม่ผิดสัญญาใจ แต่ก็ทำให้เสียความรู้สึกและผิดมารยาทเช่นกัน


อย่าง ไรก็ตามเรอัล มาดริด ก็เอาคืนด้วยการเซ็นคว้าตัวฮาเวียร์ ซาวิโอล่า กองหน้าร่างเล็กชาวอาร์เจนตินาโดยกองหน้าทีมชาติอาร์เจนตินาได้ให้สัมภาษณ์ ว่าเขาต้องการย้ายเพราะเหตุผลเรื่องฟุตบอลไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ฟุตบอลในสเปนได้ให้ความเห็นในแนวเดียวกันที่ว่า ซาวิโอล่าถูกหลอกให้ย้ายไปเรอัล มาดริด เพื่อไปเป็นเพียงสัญลักษณ์ในการสร้างเครื่องหมายการ “แอนตี้บาร์เซโลนิสต้า” จึงไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใดซาวิโอล่าจึงไม่ได้ลงเล่น อย่างที่เขาอ้างว่าย้ายไปเพื่อเหตุผลทางฟุตบอล สิ่งสำคัญคือต้องติดตามดูปฏิกิริยาแฟนบอลในคัมป์ นูว่า ความสัมพันธ์ระหว่างซาวิโอล่า และ ชาวเบลากราน่า จะยังดีเหมือนเดิมหรือไม่


อดีต นักเตะของบาร์เซโลน่าที่เป็นแอนตี้ มาดริดนิสต้า ที่เคยสร้างวีรกรรมไว้ที่ซานติอาโก้ เบอร์นาเบวคงหนีไม่พ้น จิโอวานนี่ ในฤดูกาล 1997-98 เมื่อกองกลางทีมชาติบราซิลซัดประตูชัยแล้วไปฉลองการดีใจด้วยการแจกนิ้ว สัญลักษณ์ให้กับแฟนบอลชุดขาว นอกจากนี้มาร์ค ฟาน บอมเมล ที่ย้ายไปอยู่กับบาเยิร์น มิวนิคก็ชูนิ้วสัญลักษณ์ใส่แฟนบอลเรอัล มาดริดเช่นกันหลังจากเจาะตาข่ายได้ในปี 2006

ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ เอล กลาสิโก้ มีนักเตะที่ย้ายจากเรอัล มาดริดไปบาร์เซโลน่าทั้งแบบโดยตรงและผ่านทีมอื่น มีทั้งสิ้น 15 รายด้วยกัน ส่วนผู้เล่นของบาร์เซโลน่าที่ย้ายไปเรอัล มาดริดแบบโดยตรงและผ่านทีมอื่นมีทั้งสิ้น 22 ราย


แหล่ง เงินหลักของเรอัล มาดริดนับแต่อดีตจนถึงเมื่อไม่นานมีนี้มักจากรัฐบาลและสภาเมืองมาดริด ในยุคของฟลอเรนติโน่ที่สภาเมืองมาดริดอาสาปลดหนี้ด้วยการรับซื้อสนามซ้อมของ เรอัล มาดริดด้วยเงินกว่า 300 ล้านยูโร แม้ว่าราคาตลาดในถิ่นดินแถบนั้นเพียง 200 กว่าล้านยูโรเท่านั้น จึงทำให้เรอัล มาดริดปลดหนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น ส่วนทางฝั่งบาร์เซโลน่าได้แหล่งเงินหลักมาจากโซซีโอส หรือ สมาชิกอย่างเป็นทางการของสโมสรที่พร้อมจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนทีม ด้วยเหตุที่ว่าบาร์เซโลน่ามีแฟนบอลอย่างเป็นทางการมากที่สุดในโลกจึงสามารถ เป็นสโมสรยักษ์ใหญ่ได้อย่างไม่ยากเย็น


รอัล มาดริดภายใต้การนำของฟลอเรนติโน่ เปเรซ มักพูดเสมอว่าหลายแคว้นของสเปนมักมีแฟนบอลเรอัล มาดริดกระจายไปทั่ว และนั่นก็เป็นเรื่องจริงแต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากในยุคราว 1960-1970 ชาวมาดริดได้อพยพจากมาดริดกระจายไปหางานทำตามแคว้นต่างๆด้วยสาเหตุเศรษฐกิจ ตกต่ำทั่วแผ่นดินสเปนภายใต้การนำของนายพลฟรังโก้ ชาวมาดริดก็ได้อพยพมาที่กาตาลุนย่าเช่นกัน


หาก ได้นั่งแท็กซี่ในกาตาลุนย่า คนขับแท็กซี่มักจะเชียร์เรอัล มาดริด ออกหน้าออกตาก็ไม่ต้องน่าแปลกใจสำหรับแฟนบอลบาร์เซโลน่า เพราะพวกนั้นคือแฟนบอลเรอัล มาดริด และ เอสปันญ่อล ที่ย้ายมาจากมาดริดเมื่อหลายปีมาแล้ว แฟนบอลเอสปันญ่อลคือชนชั้นล่างในแคว้นกาตาลุนย่า และได้รับการขนานนามว่าเรอัล มาดริดน้อยๆนั่นเอง  
 
0
0
........................Buffon............................
Cafu Beckenbauer bobby moore Maldini
.......................Robson...........................
.......Maradona...Zidane...Ronaldinho .......
................... Pele Messi......................
เข้าร่วม: 26 Oct 2010
ตอบ: 326
ที่อยู่: ณ ที่แห่งเทพ
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 3:55 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
อ่านเถอะครับ สมองจะได้ไม่กลวง มัวแต่บ่น ยาวไป สรุป คุณก็รู้ไม่จริง ฟุตบอลลาลีกา สเหน่ห์มาจากการเมืองและเรื่องราวอันซับซ้อน

ผมกำลังศึกษาในความรู้ขั้นสูงระดับต่ำ
เข้าร่วม: 27 May 2010
ตอบ: 11445
ที่อยู่: ฺฺ [ stadio olimpico ]
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 3:56 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
ยาวเกินเดี๋ยวมาอ่าน
0
0
"I'm the man with a plan"


เข้าร่วม: 21 Feb 2011
ตอบ: 1622
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 3:58 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
อ่านจบละ
0
0
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 10200
ที่อยู่: ดาวเสาร์
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 4:06 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
0
0

เข้าร่วม: 06 Apr 2010
ตอบ: 445
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 4:14 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
อ่านจบเฉย เพลินดี ฆ่าเวลา อู้งานมานั่งอ่าน

#จบข่าว
0
0
เข้าร่วม: 07 Sep 2013
ตอบ: 1760
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 4:14 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
ใครที่คิดว่ายาวลองอ่าน สัก 3 ย่อหน้าดูครับ

ผมว่าสนุกมาก เอาไปสร้างหนังได้เลย
0
0
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 15128
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 4:16 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
ผมเคยอ่านละ ยาวมากแต่สนุก อ่านจบแล้วรักบาเซโลน่าขึ้นเยอะ ถึงจะไม่ได้เชียร์สโมสรนี้

อีีกแง่สำหรับอดีตของมาดริดก็...
0
0
เข้าร่วม: 14 Aug 2012
ตอบ: 584
ที่อยู่: Old trafford
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 4:29 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
อ่านเพลินดีครับ ขอบคุณมากๆ

ปล.อ่านไปรู้สึกว่าไมไม่จบซะที แอบเลื่อนมา ยาวจริง แต่ก็เพลิน 555+
0
0


ชมรมคลังความรู้ประวัติศาสตร์ - นิยายทั่วทุกมุมโลก คับผม
http://www.soccersuck.com/clubs/detail/64
เข้าร่วม: 25 Jan 2015
ตอบ: 3091
ที่อยู่: Madrid, Spain
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 4:36 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
RockshiT_Devil พิมพ์ว่า:
เอาแบบเข้าใจง่ายคือ

Spoil
คำ ว่า “เอล กลาสิโก้” ได้ถูกบัญญัติมานานแล้ว และถูกขนานนามแทนการพบกันระหว่าง บาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด สองทีมตัวแทนจากแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า แน่นอนที่สุดหากใครเป็นคอบอลพันธุ์แท้ย่อมรู้ว่าฟุตบอลเกมนี้ยิ่งใหญ่กว่า ทีมคู่อริในหลายๆประเทศมาพบกัน ด้วยเหตุที่ว่าเกมฟุตบอลคู่นี้มีเดิมพันที่ไม่ใช่ตัวเงิน และเป็นการเดิมพันธุ์ที่มีค่ามากกว่าศักดิ์ศรี แต่มันหมายถึงการเดิมพันธุ์ด้วยชาติกำเนิด การเมือง วัฒนธรรม ประเพณี ภาษา ที่ล้วนแต่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนและลึกซึ้งเป็นอย่างมาก


ในอดีตนั้นแคว้นกาตาลุนย่า ซึ่งมีบาร์เซโลน่าเป็นเมืองหลวง ได้ถูกทั้งฝรั่งเศส และ สเปน ข่มเหงมาโดยตลอด แต่ก็พยายามต่อสู้ยืนหยัดจนมีทุกวันนี้ได้ ปัจจุบันแคว้นกาตาลุนย่าก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลสเปน ให้มีรัฐบาลท้องถิ่นที่สามารถปกครองตนเองได้


คำ ว่า “กาตาลุนย่า” ก็อาจถือเป็นความขัดแย้งได้เช่นกันระหว่างแคว้นกาตาลุนย่า และ กาสตีย่า ที่มีมาดริดเป็นเมืองหลวง คำว่า “กาตาลุนย่า” ซึ่งเป็นภาษากาตาลันนั้น มีการสันนิษฐานว่ามีรากศัพท์และความหมายเดียวกับ “กาสตีย่า” ซึ่งแปลเป็นไทยแล้วหมายความว่า “เมืองแห่งคฤหาสน์” ซึ่งทำให้พอรู้ได้ว่าในอดีตทั้งสองแคว้นก็มีความเจริญรุ่งเรืองมานานแล้ว


ใน ปี 1928 สมาชิกผู้ก่อตั้งฟุตบอลลีกของสเปน จำนวน 10 ทีม ได้เริ่มแข่งขันฟุตบอลอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสเปน และก็เป็นบาร์เซโลน่าที่คว้าแชมป์ไป นั่นก็เป็นการคว้าแชมป์ในรายการที่ใหญ่ที่สุดในแผ่นดินสเปนของทีมที่ก่อตั้ง มานับแต่ปี 1899 หลังจากนั้นก็เป็นการเรืองอำนาจของแอธเลติก บิลเบา ทีมที่เก่าแก่ในลา ลีกาที่ฟาดแชมป์เป็นว่าเล่น


อย่าง ไรก็ตาม เหตุการณ์ไม่คาดฝันของโลกก็เกิดขึ้นเมื่อเกิดสงครามการเมืองของสเปน และก็เป็นฝ่ายเผด็จการของนายพลฟรังโก้ที่ได้ครองอำนาจไป นับแต่ยุคเรืองอำนาจของนายพลฟรานซิสโก้ ฟรังโก้ อดีตผู้นำเผด็จการของสเปน ก็เป็นยุคที่มีการจุดประกายให้ฟุตบอลคู่นี้ดุเดือดเป็นต้นมา เนื่องจากบาร์เซโลน่าถูกนายพลฟรังโก้จ้องทำลายนับแต่ได้เรืองอำนาจภายใต้ นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” นโยบายนี้ได้พยายามรวมหลายแคว้นให้หลายเป็นสเปนเดียว โดยมุ่งให้แคว้นกาสตีย่าเป็นแดนสวรรค์ แต่นโยบายที่เดินไปผิดทางที่นำหน้าด้วยการกดขี่ข่มเห่งประชาชน การละเมิดสิทธิต่างๆ รวมทั้งการห้ามพูดภาษาท้องถิ่นและห้ามให้ธงประจำแคว้น ทำให้ 2 แคว้นที่มีความเป็นชาตินิยมสูงอย่าง กาตาลุนย่า และ บาสก์ ได้พยายามต่อสู้มาโดยตลอด จนกระทั่งการต่อสู้จบลงด้วยสิ้นลมของนายพลฟรังโก้ และการอัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์


เหตุการณ์ จุดชนวนครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1936 เมื่อโฆเซป ซูโยล อดีตประธานสโมสรของบาร์เซโลน่า ถูกลูกสมุนในกองทัพของนายพลฟรังโก้ลอบสังหาร นั่นเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้แฟนฟุตบอลสะเทือนใจเป็นอย่างมาก นอกจากนี้นายพลฟรังโก้ได้แต่งตั้งคนใกล้ชิดเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสร บาร์เซโลน่าเพื่อที่จะทำลายสโมสรฟุตบอลแห่งนี้ จนเกือบทำให้สโมสรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้เกือบล้มละลายเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์สโมสร อย่างไรก็ตามคนสนิทของนายพลฟรังโก้ก็ทนแรงกดดันของชาวกาตาลุนย่าไม่ไหว ยอมหลีกทางให้กับเอนริค ปีเนย์โร่ เข้ามาดำรงตำแหน่งแทน สำหรับชื่อของคนสนิทนายพลฟรังโก้นั้นในอดีตสโมสรเคยจารึกชื่อไว้ว่าดำรง ตำแหน่งประธานสโมสร แต่ปัจจุบันได้มีการลบทิ้งไปแล้ว ส่วนปัญหาการเงินของบาร์เซโลน่าในเวลานั้นก็ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศ เม็กซิโกทำให้รอดพ้นวิกฤตทางการเงินคราวนั้น ทุกวันนี้บาร์เซโลน่าก็ยังไม่ลืมบุญคุณของชาวเม็กซิกัน


ใน แง่ของการย้ายทีมจากบาร์เซโลน่าไปเรอัล มาดริด จากประวัติศาสตร์แล้ว มีนักเตะเพียงคนเดียวเท่านั้นที่ชาวเบลากราน่ายังอ้าแขนต้อนรับอยู่ แม้ว่าจะย้ายไปอยู่กับเรอัล มาดริด ที่แฟนบอลทีมอื่นต่างตราหน้าว่าเป็น “ทีมรัฐบาล” เนื่องจากนายพลฟรังโก้พยายามทำทุกวิถีทางที่ทำให้เรอัล มาดริด ได้แชมป์ลา ลีกา นักเตะคนเดียวที่ว่านั้นคือ โฆเซป ซามิติเอร์ อดีตมิดฟิลด์ ที่ถูกรัฐบาลของนายพลฟรังโก้ทรยศหลังจากย้ายไปเรอัล มาดริด ด้วยการเนรเทศไปอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส หลังจากนั้นโฆเซป ซามิติเอร์ ก็ได้กลับมาช่วยบาร์เซโลน่าด้วยการทำหน้าที่ผู้จัดการทีมในช่วง 1944-1947 รวมทั้งเป็นแกนนำในการพาตัวลาดิสเลา คูบาล่า ตำนานของบาร์เซโลน่าให้มาค้าแข้งในรั้วเลือดหมู-น้ำเงิน


หากว่า ชาวเบลากราน่าจะคิดว่าชาวกาสตีย่าได้ทำให้แฟนบาร์เซโลน่าขุ่นเคืองใจ โกรธแค้น เกลียดชังฝ่ายเดียวเลยหรือ? คำตอบจริงๆของเรื่องนี้คือ ไม่ใช่ ชาวกาตาลุนย่าก็เคยทำให้แฟนบอลมาดริดโกรธแค้นเช่นกัน เพียงแต่เมื่อเทียบเหตุการณ์และความรุนแรงแล้วนั้น บาร์เซโลน่าเป็นฝ่ายถูกกระทำบ่อยครั้งกว่าและรุนแรงกว่ามาก
เหตุการณ์ที่ชาวกาตาลุนย่าทำให้แฟนเรอัล มาดริดโกรธแค้นก็คงจะมี 2 เหตุการณ์หลักๆ คือ ในปี 1916 มีรายงานจากทางการสเปนว่านักเตะรายหนึ่งของเรอัล มาดริด ถูกยิงเสียชีวิตในแผ่นดินกาตาลุนย่า แต่ก็ไร้หลักฐานว่าถูกยิงด้วยสาเหตุใด เหตุการณ์ต่อมาเกิดขึ้นในปี 1930 ในเกมฟุตบอลถ้วยรอบชิงชนะเลิศระหว่างเรอัล มาดริด พบกับ แอธเลติก บิลเบา ผลคือเรอัล มาดริดพ่ายทีมเลือดข้นจากแคว้นบาสก์ไปด้วยน้ำมือของผู้ตัดสินชาวกาตาลัน และนี่คือเรื่องจริงที่กรรมการชาวกาตาลันคนนั้นได้ตัดสินอย่างไม่เป็นธรรม อย่างน่าเกลียด


ในยุคสมัยของนายพลฟรังโก้ ผู้นำเผด็จการรายนี้พยายามที่จะเชิดชูทีมจากเมืองหลวงเพื่อจะเป็นสัญลักษณ์ ในการประชาสัมพันธ์นโยบาย “สเปนหนึ่งเดียว” แต่การดำเนินนโยบายนั้นเน้นการใช้ความลำเอียงเป็นหลัก แม้ว่าในช่วงแรกเรอัล มาดริดจะไม่ได้รับการเหลียวแลจากนายพลฟรังโก้เท่าที่ควรเนื่อจากอดีตผู้นำ สเปนให้ความสำคัญกับแอตเลติโก มาดริด มากกว่า


แต่ สายน้ำได้เปลี่ยนกระแสชนิดที่ไม่มีวันไหลย้อนกลับเมื่อเรอัล มาดริดได้มีผู้นำที่ชื่อซานติอาโก้ เบอร์นาเบว อดีตประธานสโมสรผู้ยิ่งใหญ่ของเรอัล มาดริด จนทำให้สโมสรได้ตั้งชื่อสนามเหย้าของตัวเองเป็นชื่อของอดีตประธานท่านนี้ ในปี1945 เบอร์นาเบวได้เข้ารับตำแหน่งผู้นำสูงสุดของทีมราชันชุดขาว นายพลฟรังโก้จึงหันมาสนับสนุนเรอัล มาดริดเป็นการตอบแทนความดีความชอบที่ประธานในตำนานคนนี้เคยร่วมรบเคียงบ่า เคียงไหล่กับนายพลฟรังโก้สมัยสงครามกลางเมืองสเปน หลังจากนั้นเป็นต้นมาเรอัล มาดริดก็ได้รับการสนับสนุนอย่างออกนอกหน้า


ต่อ จากนี้คือเหตุการณ์ที่เชื่อมโยงระหว่างอดีตจนถึงปัจจุบันที่ทำให้บาร์เซโล น่าโกรธแค้นเรอัล มาดริดชนิดที่ไม่อาจลืมได้จนถึงปัจจุบัน ด้วยพฤติกรรมที่หลอกหลวงของผู้นำเรอัล มาดริด


เมื่อ ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เป็นใหญ่ในเรอัล มาดริด เหตุการณ์สำคัญครั้งแรกที่เขาได้ทำคือ การส่งสาสน์แสดงความรู้สึกต่อบาร์เซโลน่า ทีมคู่อริตลอดการ เนื้อหาในสาสน์นั้นกล่าวในทำนองที่ว่า เขาหวังว่าความสัมพันธ์ระหว่างเรอัล และ บาร์เซโลน่า จะดีขึ้นในเร็ววัน อย่างไรก็ตามคำพูดกับการกระทำของผู้นำเรอัล มาดริด มักจะเป็นเรื่องตรงกันข้ามเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้นำหลายทีมต่างรู้กันเป็นอย่างดี และบาร์เซโลน่าก็เป็นทีมที่รู้เรื่องดีที่สุดเสมอ


ใน ปี 1953 มาร์ตี้ การ์เรตโต้ อดีตประธานสโมสรบาร์เซโลน่าเดินทางไปเจรจากับทีมมิลิโอนาริออส ทีมจากประเทศโคลัมเบีย เพื่อเจรจาคว้าตัวอัลเฟรโด ดิ สเตฟาโน่ แต่ด้วยข้อตกลงที่บรรลุผลยากเหลือเกินจึงทำให้ใช้เวลานานกว่าการเจรจาจะ สำเร็จ ด้วยเหตุที่ว่าดิ สเตฟาโน่ ได้ติดหนี้กับต้นสังกัดอยู่จึงทำให้มีปัญหาวุ่นวายหลายเรื่องในการเจรจา มิลิโอนาริออสจึงยื่นคำขาดด้วยค่าตัว 2 หมื่นเหรียญสหรัฐ แต่ประธานบาร์เซโลน่าต้องการจ่าย 1 หมื่นเหรียญยูโรพร้อมกับปลดหนี้ของดิ สเตฟาโน่ทั้งหมด แม้ว่าราม่อน ตริอาส ฟรากาส ประธานของมิลิโอนาริออสจะไม่เต็มใจสักเท่าไหร่ แต่ก็ตกลงรับเงินจำนวนดังกล่าว เนื่องจากริเวอร์เพลทหุ้นส่วนในตัวดิ สเตฟาโน่ก็เห็นด้วยในการรับข้อเสนอ


เ หตุการณ์วุ่นๆได้เกิดขึ้นเมื่อดิ สเตฟาโน่เซ็นสัญญากับบาร์เซโลน่าเรียบร้อย และฟีฟ่าได้อนุมัติการย้ายทีมในครั้งนี้ อย่างไรก็ตามสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในการควบคุมของนายพลฟรังโก้ไม่ยอมรับการย้าย ทีมดังกล่าว พร้อมจัดการเจรจาให้เรอัล มาดริด กับ มิลิโอนาริออส แต่ติดที่ว่าดิ สเตฟาโนเซ็นสัญญากับบาร์เซโลน่าไปแล้ว ทางสหพันธ์ฟุตบอลสเปน ซึ่งในเวลานั้นนายพลมอสการ์โด ลูกน้องของนายพลฟรังโก้เป็นใหญ่อยู่ได้ออกกฎหมายห้ามซื้อนักเตะต่างชาติขึ้น เพื่อสกัดการย้ายร่วมทีมของดิ สเตฟาโน่


แน่ นอนที่สุดบาร์เซโลน่าย่อมไม่พอใจเป็นอย่างมาก ที่ถูกสหพันธ์ฟุตบอลสเปนแทรกแซงและกลั่นแกล้งอย่างไม่เป็นธรรม จนทำให้สโมสรและแฟนบอลออกมาประท้วงสหพันธ์ฟุตบอลสเปน ทางสหพันธ์จึงแก้เกี้ยวด้วยการประกาศว่าบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริดบรรลุข้อตกลงในตัวของดิ สเตฟาโน่ ด้วยระยะเวลา 4 ปี แต่เป็นสัญญาการเล่นกับเรอัล มาดริด 2 ปีแรก และบาร์เซโลน่า 2 ปีหลัง ทำให้มาร์ตี้ การ์เรตโต้ ต้องแสดงสปิริตลาออกด้วยความเอือมระอาต่อทางการสเปนและเรอัล มาดริด หลังจากนั้นไม่นานบาร์เซโลน่าจึงประกาศด้วยศักดิ์ศรีว่าทางสโมสรยอมสละ สิทธิ์ในตัวของดิ สเตฟาโน่ เนื่องจากทางสโมสรรับไม่ได้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทางเรอัล มาดริดจึงสบโอกาสใช้คำพูดนี้ยืนยันกระต่ายขาเดียวเสมอมาว่า “บาร์เซโลน่าสมัครใจสละสิทธิ์เอง”


เหตุการณ์ การย้ายทีมพิลึกพิลั่นแบบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย จนฟีฟ่าได้ทำเรื่องศึกษาการย้ายทีมครั้งนี้ว่าเป็น “กรณีศึกษาเรื่องการย้ายทีม” ด้วยเหตุผลที่ว่าการเมืองแทรกแซงเกมกีฬา และนั่นก็เป็นการย้ายทีมครั้งประวัติศาสตร์ที่มีการจารึกไม่เลือนในวงการ ฟุตบอลสเปน และในพงศาวดารของบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด หลังจากนั้นดิ สเตฟาโน่ก็คว้าแชมป์กับเรอัล มาดริดเป็นกอบเป็นกำ แต่ก็ไม่มีใครกล้าเถียงว่าความสำเร็จนั้นได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาล


รัฐบาล สเปนในสมัยนายพลฟรังโก้ ได้พยายามกดขี่ข่มเหงแคว้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ หรือ แม้แต่แคว้นที่ยังให้ความสำคัญกับภาษา วัฒนธรรม สัญลักษณ์ของแต่ละแคว้น แน่นอนที่สุดทีมฟุตบอลที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักคือแอธเลติก บิลเบา และ บาร์เซโลน่า ในส่วนของบาร์เซโลน่านั้นถูกบังคับให้เปลี่ยนชื่อสโมสรจาก Futbal Club Barcelona เป็น Spanish Club de Futbal Barcelona (ชื่อแบบเต็ม) ทำให้แฟนบอลชาวกาตาลันไม่ชอบใจกับคำว่า “สแปนิช” แต่ก็ต้องจำยอมเพราะมิฉะนั้นอาจจะถูกอำนาจมืดทำลายสโมสร แม้ว่าภายหลังจะมีการเปลี่ยนชื่อกลับตามเดิมก็ตาม แต่ความทรงจำอันเลวร้ายก็ยังไม่อาจลืมเลือนในหัวของชาวเบลากราน่า


นายพลฟรังโก้ ก็เคยห้ามบาร์เซโลน่าลงเล่นในสนามเหย้าของตนเองมาแล้วหลังจากที่แฟนบอลบาร์ เซโลน่าโห่ใส่เพลงชาติสเปนจึงทำให้ทางการสเปนแสดงความไม่พอใจออกมาด้วยการ สั่งปิดสนามเหย้าเป็นเวลา 6 เดือนด้วยกัน นอกจากนี้ทางการสเปนยังเคยวางระเบิดในสมาคมแฟนบอลของบาร์เซโลน่า (สมาคมนี้ไม่เกี่ยวกับบอยซอส โนอิส) จึงทำให้เกิดความเสียหายและผู้คนบาดเจ็บ ผลที่ตามมาคือยอดสมาชิกอย่างเป็นทางการของสโมสรได้ลดลงอย่างน่าใจหาย ด้วยความหวาดกลัวที่ว่าหากเป็นสมาชิกของสโมสรแล้วจะถูกทางการสเปนลอบทำร้าย


โจน กัมเปร์ ผู้ก่อตั้งสโมสรบาร์เซโลน่าย่อมหลีกหนีไม่พ้นเรื่องเลวร้ายแบบนี้เช่นกัน อดีตประธานสโมสรชาวสวิสได้ถูกบีบบังคับให้ออกจากการเป็นประธานและบอร์ด บริหารของบาร์เซโลน่า กอปรกับปัญหาส่วนตัวและปัญหาทางการเงิน โจน กัมเปร์จึงตัดสินใจจบชีวิตของตนเองลงในปี 1930


อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในพงศาวดารของบาร์เซโลน่าได้ถูกจารึก ไว้ในปี 1943 ในศึกโกปปา เดล เรย์ รอบรองชนะเลิศ เกมนัดแรกในสนามเลส กอร์ต (อดีตสนามเหย้าของบาร์เซโลน่า) ผลปรากฏว่าบาร์เซโลน่าเอาชนะไปได้ 3-0 ในเกมที่สองนั้นต้องกลับไปเล่นที่สนามเหย้าของเรอัล มาดริด นายพลฟรังโก้ได้ประกาศทั่วแผ่นพร้อมพูดอย่างเป็นลางว่า “ฟุตบอลคู่นี้ได้ถูกจัดขึ้นเพราะความกรุณาของทางการ” นั่นเป็นสัญญาณบอกเหตุว่าเกมคู่นี้ไร้ความยุติธรรมอย่างแน่นอน
และผลการแข่งขันก็เป็นไปอย่างที่บาร์เซโลน่าคาดการณ์ นายพลฟรังโก้ส่งผู้ปกครองแคว้นกาสตีย่ามาต้อนรับบาร์เซโลน่าด้วยกำลังทหาร ถึงในห้องเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว และมันก็เป็นอีกครั้งที่ “ฟุตบอลการเมือง”มีอิทธิพลเหนือเกมฟุตบอลที่ยุติธรรม ฟุตบอลโคตรมหาโกงครั้งนี้มีทั้งทหาร กรรมการ เด็กเก็บบอล แฟนบอล ผู้เล่นมาดริด ต่างมีเอี่ยวทั้งสิ้น ผลจบด้วยการปราชัยต่อมาดริด 11-1 แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจคือเรอัล มาดริด จารึกแมตช์อัปยศในวงการฟุตบอลได้อย่างสวยหรู มีการกล่าวขานชัยชนะในนัดนี้ว่า “ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่” ส่วนผู้เล่นเรอัลในเกมนั้นต่างถูกเรียกว่า “ฮีโร่” ซึ่งเป็นเรื่องที่ขัดกับความรู้สึกของแฟนบอลสเปนเป็นอย่างมาก


ใน ยุคของนายพลฟรังโก้นั้นนอกจากจะมีการแทรงแซงกีฬาด้วยการเมือง ยังมีการย่ำยีชนพื้นเมืองของแต่ละแคว้น นอกจากนี้ยังไม่ให้เกียรติกษัตริย์แห่งสเปนด้วยการยึดอำนาจอย่างเบ็ดเสร็จ พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อฟุตบอลถ้วยโกปปา เด เอสปันญ่า เป็น โกปปา เดล เกเนโรลลิสโม่ หรือ ถ้วยของท่านนายพล หลังจากสิ้นลมของนายพลฟรังโก้เพียง 2 วัน ประชาชนสเปนทั้งประเทศได้อัญเชิญกษัตริย์ฮวน การ์ลอส ขึ้นครองราชย์เมื่อวางรากฐานของประชาธิปไตยที่ดี หลังจากประชาชนส่วนใหญ่ถูกกดขี่โดยนายพลฟรังโก้ นอกจากนี้ยังเปลี่ยนชื่อฟุตบอลโกปปา เดล เกเนโรลลิสโม่ เป็น โกปปา เดล เรย์ หรือ ถ้วยพระราชทานจากพระราชา


การ กวาดแชมป์ของเรอัล มาดริดในยุคของนายพลฟรังโก้ ยังคงเป็นที่โต้แย้งในปัจจุบันมากมาย รวมทั้งการคว้าแชมป์ยูโรเOยนส์ คัพ 5 สมัยซ้อนในช่วงปี 1955-1960 ความสำเร็จในยุคนั้นแฟนบอลทั่วยุโรปไม่ได้ให้ความสำคัญและความสนใจเท่าที่ ควรเนื่องจากในเวลานั้นมีทีมเข้าแข่งขันเพียง16 ทีมเท่านั้น ทีมที่เทียบชื่อชั้นกับเรอัล มาดริด ก็มีเพียงเอซี มิลานเท่านั้นส่วนทีมอื่นๆยังไม่มีส่วนร่วมเหมือนในปัจจุบัน สาเหตุหนึ่งที่แฟนบอลชาวยุโรปทราบดีคือ ฟุตบอลยูฟ่า แชมป์เOยนส์ ลีก หรือยูโรเOยนส์ คัพ ในเวลานั้น มีหนังสือพิมพ์ เล กิ๊ปเป็นผู้ก่อตั้ง และมีซานติอาโก้ เบอร์นาเบว เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ ประกอบกับการที่เป็นการแข่งขันรายการใหม่ในเวลานั้น จึงเป็นที่กังขาของแฟนบอล โดยเฉพาะแฟนบอลเอซี มิลานรุ่นเก่าที่ได้แชมป์มาด้วยความยากลำบาก แต่ตามหลังเรอัล มาดริดอยู่ถึง 2 สมัยด้วยกัน


หาก พูดถึงเรื่องการซื้อตัวผู้เล่นที่ทำให้บาร์เซโลน่าโกรธแค้นเป็นอย่างมากคง หนีไม่พ้นกรณีของอัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ส่วนกรณีที่ทำให้เรอัล มาดริดไม่พอใจคงจะหนีไม่พ้นกรณีของ โยฮัน ครัฟฟ์ เรอัล มาดริดไม่พอใจเป็นอย่างมากด้วยเหตุที่ว่าเรอัลกำลังติดต่อกับโยฮัน ครัฟฟ์อยู่ในปี1973 หลังจากที่ครัฟฟ์พาอาแจ็กซ์ทุบเรอัล มาดริดในเกมฟุตบอลยุโรป แต่บาร์เซโลน่าก็มาตัดหน้าคว้าตัวตำนานนักเตะเทวดารายนี้ไป สาเหตุสำคัญคือบาร์เซโลน่าไม่ได้ใช้เงินของสโมสรในการคว้าตัวครัฟฟ์ แต่เป็นเพราะการช่วยเหลือของบังก้า กาตาลาน่า(สถาบันการเงินในแคว้นกาตาลุนย่า) นั่นทำให้เรอัล มาดริดรู้สึกว่าเสียผลประโยชน์อย่างไม่เป็นธรรม


อย่างไรก็ตามสาวกบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ก็ต่างพยายามหลบหนีความจริงที่ว่าสโมสรทั้งสองต่างพึ่งพากำลังนักเตะต่าง ชาติในการกวาดต้อนความสำเร็จเข้าสู่สโมสร นับแต่อดีตเป็นต้นมาทั้งสองสโมสรคู่อริแข่งกันชิงดีชิงเด่นด้านความสำเร็จ ของสโมสรเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึก การเสริมทัพอย่างบ้าเลือดได้นำไปสู่การฉกนักเตะข้ามค่ายของทั้งสองสโมสร


นัก เตะรายแรกที่ย้ายข้ามถิ่นคือ ลูเซียโน่ ลิส ราก้า ย้ายจากเรอัล มาดริด มาสู่บาร์เซโลน่าในปี 1905 แน่นอนที่สุดว่าบาร์เซโลน่าเป็นฝ่ายเริ่มการเจรจาคว้าตัวข้ามค่ายก่อนเป็น ฝ่ายแรก หลังจากนั้นก็เป็นการย้ายแบบฝุ่นตลบกันเป็นต้นมา แต่การฉกครั้งสำคัญนั้นคงหนีไม่พ้นอัลเฟรโด้ ดิ สเตฟาโน่ ส่วนรายอื่นๆที่โด่งดังนั้นมีความเป็นมาคร่าวๆดังต่อไปนี้


แบ รนด์ ชูสเตอร์ ต้นฉบับขบถลูกหนังเป็นที่รู้จักกันในเยอรมันเป็นอย่างดี โดยจุดพลิกผันในชีวิตของเขาคือการเลือกภรรยาที่ชื่อว่า “กาบี” มาเป็นคู่ชีวิต คนเยอรมันส่วนใหญ่รู้จักสตรีรายนี้ในทางเสื่อมเสียและตราหน้าว่าเป็น “ช้างตัวเมียเท้าหน้า” เนื่องจากกาบีมักจูงจมูกชูสเตอร์ไปซะทุกเรื่อง เมื่อบาร์เซโลน่าซื้อตัวชูสเตอร์มาในปี 1980 จาก เอฟซี โคโลญจน์ ซึ่งชูสเตอร์ก็โชว์ฟอร์มได้สมราคาค่าตัวแต่ คุณนายกาบีมักทำตัวมีปัญหากับฝ่ายบริหารของบาร์เซโลน่าเสมอ และพยายามบงการชูสเตอร์มาโดยตลอด จนเป็นเหตุไปสู่การย้ายทีมไปค้าแข้งกับเรอัล มาดริดเป็นเวลา 2 ปี


ไม เคิล เลาดรู๊ป อดีตดาวเตะหน้าหยกชาวเดนมาร์กได้ค้าแข้งกับบาร์เซโลน่าเป็นเวลา 5 ปีด้วยกันโดยมีความสามารถสุดยอดเรื่องการผ่านบอล และยังเป็นกุญแจสำคัญช่วยให้ฟุตบอลในยุคเอล ดรีมทีมโด่งดังไปทั่วโลก แต่แล้วเมื่อความขัดแย้งกับตัวทำเกมทีมชาติเดนมาร์กกับโยฮัน ครัฟฟ์ กุนซือเทวดาต้องมาถึงจุดแตกหัก ทำให้เรอัล มาดริดจัดการคว้าตัวไมเคิล เลาดรู๊ปไปครอบครองจนนำไปสู่จุดจบของเอล ดรีมทีมของโยฮัน ครัฟฟ์
หลุยส์ เอนริเก้ มิดฟิลด์จุดเดือดต่ำย้ายจากสปอร์ติ้ง กิฆอน มาค้าแข้งกับยักษ์เมืองหลวงอย่างเรอัล มาดริดเป็นเวลา 5 ฤดูกาลเช่นกัน อย่างไรก็ตามในช่วงนั้นเป็นยุคของเอล ดรีมทีมจึงทำให้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เขาจึงกลายเป็นแพะรับบาปของบอร์ดบริหารเรอัล มาดริดในเวลานั้นด้วยการละเลยการต่อสัญญา จึงทำให้หลุยส์ เอนริเก้ แก้เผ็ดด้วยการย้ายข้ามฝั่งไปอยู่กับบาร์เซโลน่า แม้ว่าในช่วงแรกจะถูกเหยียดหยามจากแฟนบอลและผู้เล่นของเจ้าบุญทุ่มว่าฝีเท้า ไม่ถึงขั้น แต่กองกลางชาวอัสตูเรียนก็ใช้เวลาไม่นานในการพิสูจน์ตนเองจนเป็นที่รักของ แฟนบอลบาร์เซโลน่าและเป็นที่เกลียดชังของแฟนบอลเรอัล มาดริดในเวลาไม่นาน เมื่อกองกลางหมายเลข 21 เดินทางไปที่ซานติอาโก้ เบอร์นาเบว จึงมักถูกร้องเพลงถากถางว่า “หลุยส์ เอนริเก้ ลูกอีตัว” กองกลางดีเดือดจึงมักให้สัมภาษณ์เสมอว่าเขารู้สึกขยะแขยงตนเองเมื่อได้สวมยู นิฟอร์มเรอัลทุกครั้งเมื่อลงสนาม


หลุยส์ ฟิโก้ ปีกพรสวรรค์ชาวโปรตุกีส ผู้ได้กลายเป็นแบบอย่างกับเยาวชนในโปรตุเกสหลายคนจนเป็นแรงบันดาลในของเด็ก เหล่านั้น ฟิโก้ก็มีความฝันเหมือนเด็กทั่วไปเมื่อสมัยค้าแข้งกับสปอร์ติ้ง ลิสบอน เขาอยากจะมีชื่อเสียง อยากมีเงิน ด้วยความโลภในวัยเด็กจึงทำให้เขาเซ็นสัญญากับยูเวนตุส และ ปาร์มา ในเวลาเดียวกัน จึงทำให้เขาต้องรับโทษห้ามลงแข่งขันในอิตาลีเป็นเวลา 2 ปีเต็ม อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ต่างๆก็คลี่คลายเมื่อยักษ์ใหญ่แห่งสเปน บาร์เซโลน่า อาสาพาตัวปีกดาวรุ่งมาชุบเลี้ยงกับทีมภายใต้การทำทีมของโยฮัน ครัฟฟ์ในเวลานั้น พร้อมให้โอกาสลบชื่อเสียงเหม็นโฉ่ในวงการฟุตบอลด้วยการเปิดทางให้สำแดง ฝีเท้า หลังจาก 5 ฤดูกาลที่บาร์เซโลน่า ฟิโก้จึงได้ก่อเรื่องเหม็นโฉ่อีกครั้งด้วยการทรยศบาร์เซโลน่าทีมที่ครั้ง หนึ่งเคยให้ที่ซุกหัวนอนด้วยการไปซบอกเรอัล มาดริด ด้วยเหตุผลเรื่องเงิน จึงทำให้ชาวเบลากราน่าจงเกลียดจงชังปีกทรยศรายนี้เป็นพิเศษ โดยเฉพาะ “จิมมี่ จัมพ์” แฟนบอลชาวกาตาลันที่ประกาศศักดาไปทั่วโลกด้วยการปาธงบาร์เซโลน่าในฟิโก้ใน ระหว่างการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2004 ระหว่างกรีซ พบกับโปรตุเกส นอกจากนี้ยังเป็นที่จดจำของชาวเบลากราน่าในชื่อว่า “เปเซเตโร่” หรือแปลเป็นไทยว่า “โสเภณีหน้าเงิน”


หลัง จากการคว้าตัวหลุยส์ ฟิโก้ผ่านไป ทำให้เกิดความเกลียดชังเป็นอย่างมากระหว่างบาร์เซโลน่า และ เรอัล มาดริด ทั้งสองสโมสรจึงทำสัญญาใจในยุคของโจน ลาปอร์ต้า และ ฟลอเรนติโน่ เปเรซ ว่าจะไม่มีการซื้อขายผู้เล่นจนทำให้บาดหมางใจกันอีกต่อไป(หมายถึงการซื้อผู้ เล่นย้ายทีมระหว่างทั้ง 2 ทีมโดยตรง) อย่างไรก็ตามสัญญาใจนี้ก็เริ่มสั่นคลอนเมื่อบาร์เซโลน่าบีบให้เรอัล มาดริดต้องขายซามูเอล เอโต้ เพชฌฆาตชาวแคเมอรูน แม้ว่าจะไม่ผิดสัญญาใจ แต่ก็ทำให้เสียความรู้สึกและผิดมารยาทเช่นกัน


อย่าง ไรก็ตามเรอัล มาดริด ก็เอาคืนด้วยการเซ็นคว้าตัวฮาเวียร์ ซาวิโอล่า กองหน้าร่างเล็กชาวอาร์เจนตินาโดยกองหน้าทีมชาติอาร์เจนตินาได้ให้สัมภาษณ์ ว่าเขาต้องการย้ายเพราะเหตุผลเรื่องฟุตบอลไม่เกี่ยวกับเรื่องเงินแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ฟุตบอลในสเปนได้ให้ความเห็นในแนวเดียวกันที่ว่า ซาวิโอล่าถูกหลอกให้ย้ายไปเรอัล มาดริด เพื่อไปเป็นเพียงสัญลักษณ์ในการสร้างเครื่องหมายการ “แอนตี้บาร์เซโลนิสต้า” จึงไม่เป็นที่ต้องสงสัยเลยว่าเหตุใดซาวิโอล่าจึงไม่ได้ลงเล่น อย่างที่เขาอ้างว่าย้ายไปเพื่อเหตุผลทางฟุตบอล สิ่งสำคัญคือต้องติดตามดูปฏิกิริยาแฟนบอลในคัมป์ นูว่า ความสัมพันธ์ระหว่างซาวิโอล่า และ ชาวเบลากราน่า จะยังดีเหมือนเดิมหรือไม่


อดีต นักเตะของบาร์เซโลน่าที่เป็นแอนตี้ มาดริดนิสต้า ที่เคยสร้างวีรกรรมไว้ที่ซานติอาโก้ เบอร์นาเบวคงหนีไม่พ้น จิโอวานนี่ ในฤดูกาล 1997-98 เมื่อกองกลางทีมชาติบราซิลซัดประตูชัยแล้วไปฉลองการดีใจด้วยการแจกนิ้ว สัญลักษณ์ให้กับแฟนบอลชุดขาว นอกจากนี้มาร์ค ฟาน บอมเมล ที่ย้ายไปอยู่กับบาเยิร์น มิวนิคก็ชูนิ้วสัญลักษณ์ใส่แฟนบอลเรอัล มาดริดเช่นกันหลังจากเจาะตาข่ายได้ในปี 2006

ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ เอล กลาสิโก้ มีนักเตะที่ย้ายจากเรอัล มาดริดไปบาร์เซโลน่าทั้งแบบโดยตรงและผ่านทีมอื่น มีทั้งสิ้น 15 รายด้วยกัน ส่วนผู้เล่นของบาร์เซโลน่าที่ย้ายไปเรอัล มาดริดแบบโดยตรงและผ่านทีมอื่นมีทั้งสิ้น 22 ราย


แหล่ง เงินหลักของเรอัล มาดริดนับแต่อดีตจนถึงเมื่อไม่นานมีนี้มักจากรัฐบาลและสภาเมืองมาดริด ในยุคของฟลอเรนติโน่ที่สภาเมืองมาดริดอาสาปลดหนี้ด้วยการรับซื้อสนามซ้อมของ เรอัล มาดริดด้วยเงินกว่า 300 ล้านยูโร แม้ว่าราคาตลาดในถิ่นดินแถบนั้นเพียง 200 กว่าล้านยูโรเท่านั้น จึงทำให้เรอัล มาดริดปลดหนี้ได้อย่างไม่ยากเย็น ส่วนทางฝั่งบาร์เซโลน่าได้แหล่งเงินหลักมาจากโซซีโอส หรือ สมาชิกอย่างเป็นทางการของสโมสรที่พร้อมจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนทีม ด้วยเหตุที่ว่าบาร์เซโลน่ามีแฟนบอลอย่างเป็นทางการมากที่สุดในโลกจึงสามารถ เป็นสโมสรยักษ์ใหญ่ได้อย่างไม่ยากเย็น


รอัล มาดริดภายใต้การนำของฟลอเรนติโน่ เปเรซ มักพูดเสมอว่าหลายแคว้นของสเปนมักมีแฟนบอลเรอัล มาดริดกระจายไปทั่ว และนั่นก็เป็นเรื่องจริงแต่ไม่ทั้งหมด เนื่องจากในยุคราว 1960-1970 ชาวมาดริดได้อพยพจากมาดริดกระจายไปหางานทำตามแคว้นต่างๆด้วยสาเหตุเศรษฐกิจ ตกต่ำทั่วแผ่นดินสเปนภายใต้การนำของนายพลฟรังโก้ ชาวมาดริดก็ได้อพยพมาที่กาตาลุนย่าเช่นกัน


หาก ได้นั่งแท็กซี่ในกาตาลุนย่า คนขับแท็กซี่มักจะเชียร์เรอัล มาดริด ออกหน้าออกตาก็ไม่ต้องน่าแปลกใจสำหรับแฟนบอลบาร์เซโลน่า เพราะพวกนั้นคือแฟนบอลเรอัล มาดริด และ เอสปันญ่อล ที่ย้ายมาจากมาดริดเมื่อหลายปีมาแล้ว แฟนบอลเอสปันญ่อลคือชนชั้นล่างในแคว้นกาตาลุนย่า และได้รับการขนานนามว่าเรอัล มาดริดน้อยๆนั่นเอง  
 



ในใจก่อนกดคิดว่าต้องรู้เรื่องแน่ๆ = =*
0
0

เข้าร่วม: 28 Feb 2015
ตอบ: 305
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 4:57 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
ShinChin Fc พิมพ์ว่า:
อ่านจบเฉย เพลินดี ฆ่าเวลา อู้งานมานั่งอ่าน

#จบข่าว  


จบข่าวนี่เรื่องงานรึป่าวครับ
0
0
chewbacca photo: chewbacca tumblr_lolr8f9EN01qzf32ko1_500.gif
เข้าร่วม: 14 Mar 2015
ตอบ: 1817
ที่อยู่: Santiago Bernabéu Stadium
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 5:01 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
หลายรอบล่ะ
0
0
เข้าร่วม: 04 Jul 2009
ตอบ: 6153
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 5:13 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
เป็นสโมสรที่ไร้เกียรติ ไร้มารยาท และไร้ความเป็นสุภาพบุรุษยิ่งนัก ขนาดประวัตศาสตร์ยังแสนโสมม
0
0
เชียร์บุรีรัมย์แต่เกลียดอีป้าต่าย

เข้าร่วม: 05 Dec 2008
ตอบ: 2013
ที่อยู่: Shinjuku
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 5:17 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
ดีมาก เมื่อวานเหมือนอ่านกระทู้ที่บอกว่าเซอร์เอล๊กชอบบาร์ซ่ามากกว่ามาดริดแล้วได้อข้อมูลเยอะดีแต่ยังค้างๆคาๆ มากระทู้นี้จัดเต็มเลย
http://www.soccersuck.com/boards/topic/1269359
0
0


เข้าร่วม: 22 Jan 2015
ตอบ: 895
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 5:40 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
เกิน 7 บรรทัด

0
0

เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 4407
ที่อยู่: ง่ายกินง่าย
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 5:46 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
สาระดี
1
0
"Soccerศาสตร์ ความรู้คู่ฟุตบอล" https://www.facebook.com/Soccerknowledge
เข้าร่วม: 15 Oct 2013
ตอบ: 26579
ที่อยู่: Barca | Bayern | City
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 5:52 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
เอาที่เชิดชูไว้ซะหรู กับชัยชนะที่ได้มาอย่าง...
0
0
เข้าร่วม: 30 Sep 2013
ตอบ: 136
ที่อยู่: หน้าตู้กับข้าว
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 8:10 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
ขอบคุณเจ้าของกระทู้ที่หามาให้อ่าน ถึงแม้ก็พอรู้อยู่บ้าง ทำให้รู้ว่าประวัติศาสตร์ฟุตบอลในอดีตเป็นอย่างไร จะเห็นว่า ฟุตบอลในสมัยก่อน จะเกี่ยวข้องกับการเมืองอย่าไม่มีข้อโต้แย้ง(เมืองไทยตอนนี้ก็เป็นเช่นนั้น แต่ละทีมล้วนเกิดจากนักการเมืองหรืออดีตนักการเมือง) ความขัดแย้งระหว่างสองทีมที่แทบจะเรียกได้ว่าใช้ฟุตบอลเป็นข้ออ้าง เพราะหวังผลทางการเมืองทั้งนั้น นั่นถึงแม้ผมเป็นแฟนมาดริดก็ยังยืนหยัดสนับสนุนทีมแม้อดีตจะเคยทำอะไร
ทุกวันนี้ฟุตบอลสเปน ก็ยังพูดได้ไม่เต็มปากว่าไม่มีการเมือง แค่ทำไม่ได้โจ่งแจ้งแบบในยุคเผด็จการทหารฟรังโก้เท่านั้นเอง การพัฒนาการปกครองจึงพัฒนาฟุตบอลสองทีมนี้ไปด้วย ก็หวังว่าท่านที่อ่านจะเข้าใจถึงจุดนี้ ไม่ใช่แค่อ่านแล้วเห็นความเลวร้ายของอดีตแล้วพาลเกลียดปัจจุบัน เพราะผมไม่ได้ภูมิใจที่เราได้แชมป์ในวันนี้ แต่ผมภูมิใจในเส้นทางที่ทำให้เราเป็นแชมป์จนวันนี้
0
0

เข้าร่วม: 12 Aug 2015
ตอบ: 765
ที่อยู่: พาลี่
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 9:37 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
อ่านจบแล้ว มันส์มาก
0
0

เข้าร่วม: 13 Jun 2007
ตอบ: 7890
ที่อยู่: บ้านนอก
โพสเมื่อ: Fri Sep 04, 2015 11:24 pm
[RE: ที่มาของ El Classico]
ผมอ่านจนจบนะ ชอบๆ เรื่องราวที่มันมีที่มาที่ไปแบบนี้ มีประวัติศาสตร์ที่บ่งบอกความเป็นมาชัดเจน สรุปสมัยก่อนมาดริดเตะบอลยูโรเปี้ยนและเป็นแชมป์ที่มีตัวเองเป็นสปอนเซอรืหลักกลายๆสินะ แทนที่จะได้แชมป์มาแบบเต็มภาคภูมิ มันเลยเหมือนมีบางสิ่งมาทำให้รู้สึกว่าด้อยค่าลงไป แต่มองในแง่ดีคือเค้าคือผู้ก่อตั้งถ้วยยุโรปใบใหญ่ใบนี้นั่นเอง

ส่วนแฟนบอลที่เชียร์มาดริดในปัจจุบันผมว่ามันคงไม่เกี่ยวเรื่องการเมืองแต่อย่างใด แต่เกิดจากชอบในสไตล์หรือชอบในนักเตะบางคน หรืออาจมีเหตุผลแฝงบ้างคือบาซ่าจะเก่งเวอร์เกินเลยอยากให้มีทีมมาจัดการบ้างอ่านะ แต่สิ่งที่ผมคิดคือเราเป็นแฟนบอลปัจจุบันก็ควรใช้เหตุผลปัจจุบันมาตัดสินกันดีกว่าแต่อย่าโยงเอาเรื่องเก่ามาเป็นประเด็นเลย ดูบอลจะไม่สนุกปล่าวๆ

ปล.ผมไม่ได้เป้นแฟนทั้ง 2 ทีมนะแต่รู้สึกว่าการมีอยู่ของทั้ง 2 ทีมทำให้บอลสเปนมันสนุกจริงๆ
0
0