ไว้คราวหน้า X
ไว้คราวหน้า X
ไม่ต้องแสดงข้อความนี้อีกเลย
ไปหน้าที่ 1, 2, 3
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
ฝากรูป
ผู้ตั้ง
ข้อความ
ออฟไลน์
อบรมขอไลเซนส์
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 25 Nov 2008
ตอบ: 25642
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:19
คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?


เงินโอนคนขยัน - Negative Income Tax (NIT)

สุทิน คลังแสง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และประธานคณะทำงานด้านการขจัดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ กล่าวถึงแนวคิดนโยบายด้านสวัสดิการสังคมของของพรรคเพื่อไทย ในหัวข้อ 8 ปีสวัสดิการสังคมไทยภายใต้ระบอบประยุทธ์ กับอนาคตรัฐสวัสดิการอนาคตประชาธิปไตยไทย ร่วมกับ เครือข่ายภาคประชาชน ประธานคณะก้าวหน้า และตัวแทนจากพรรคไทยสร้างไทย ว่ามาวันนี้เพื่อเสนอแนวคิดการทำ ‘สวัสดิการโดยรัฐ’ ผ่านนโยบาย ‘เงินโอน คนขยัน’ หรือ Nagative Income Tax (NIT) ซึ่งเป็นนโยบายที่ทางพรรคเห็นว่าสามารถทำได้จริง

สุทิน กล่าวว่า ภายใต้ข้อจำกัดภาวะวิกฤตการเงินการคลังที่รัฐบาลปัจจุบันได้ก่อหนี้ไว้มหาศาล และนโยบายที่พรรคพลังประชารัฐใช้หาเสียงไว้ทำไม่ได้ สุดท้ายผลงาน 8 ปีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จึงได้สร้างสถิติประชาชนมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน 2,700 บาทต่อเดือนถึง 4.8 ล้านคน

สร้างกลุ่มคน ‘เกือบจน’ ถึง 5.1 ล้านคน และยังมีแรงงานนอกระบบอีกกว่า 20 ล้านคน ซึ่งทั้งหมดไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างทั่วถึง อีกประการ แนวคิดเงินโอนคนขยัน หรือ NIT เกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงว่า ประเทศไทยเก็บภาษีได้ 14% ต่อ GDP และงบประมาณก็อยู่ที่ 18% ต่างจากประเทศแถบสแกนดิเนเวียเก็บภาษีได้มากกว่า 50% ของ GDP ประเทศแถบนั้นจึงมีงบสวัสดิการแบบ UBI (universal basic income) ได้ ชัดเจนว่าพื้นฐานต่างจากประเทศไทยวันนี้มาก

เงินโอนคนขยัน หรือ Negative Income Tax (NIT) จะจัดสรรความช่วยเหลือทางการเงินไปที่กลุ่มที่มีความจำเป็นมากที่สุด โดยใช้เส้นความยากจนและค่าแรงขั้นต่ำเป็นฐานการคำนวน โดยมีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

หมายความว่า เริ่มด้วยการมุ่งเพิ่มเงินให้กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน จนกระทั่งกลุ่มนี้มีรายได้เท่ากับค่าแรงขั้นต่ำก่อน และการได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ จะเป็นไปในลักษณะหากหารายได้ได้มาก ก็มีโอกาสได้รับเงินสมทบมากขึ้น ซึ่งส่งผลถึงรัฐ จะสามารถใช้จ่ายงบสนับสนุนเป็นไปในขนาดที่เหมาะสม และในขึ้นตอนการดำเนินการนั้น วิธีการนี้ก็สามารถโยกงบประมาณที่รัฐบาลปัจจุบันใช้กับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 4 หมื่นล้านต่อปีมาใช้ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องกู้เพิ่ม และเพียงพอต่อการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ถือเป็น ‘สวัสดิการโดยรัฐ’ โดยแท้จริง

ประเด็นสำคัญที่สุดของนโยบายนี้ คือ การสร้างแรงจูงใจให้คนอยากทำงานและพัฒนาตัวเองไปด้วย นโยบายนี้จึงต้องมาพร้อมกับนโยบายอื่น ที่จะปลดล็อกศักยภาพของประชาชน และใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการพัฒนาทั้งคนและเศรษฐกิจในระยะยาว

“พรรคเพื่อไทย ต่อสู้กับ ‘ความจน’ เพื่อประชาชนมาอย่างยาวนาน นโยบายของพรรคไทยรักไทยและพลังประชาชนจนมาถึงเพื่อไทยพิสูจน์แล้วว่าได้ช่วยลดความยากจนลงได้อย่างต่อเนื่อง เพราะเราเริ่มคิดจากนโยบายที่ทำได้จริง ‘เงินโอนคนขยัน หรือ Negative Income Tax (NIT)‘ จะทำให้ผู้มีรายได้น้อยเกินกว่าจะดำรงชีพได้ จะได้รับเงินภาษีแทนการจ่ายเงินภาษี จนกระทั่งมีรายได้สูงพอเสียภาษีได้

แนวคิดนี้มีใช้จริงแล้ว มีข้อมูลศึกษาชัดเจน ชี้ชัดว่าในสหรัฐอเมริกาจำนวนคนจนลดไปถึง 28 ล้านคน และที่รัฐจ่ายเพื่อช่วยเหลือนั้น กลับมาใช้ในเศรษฐกิจได้มากกว่าวิธีการอื่น นี่คือสิ่งที่พรรคเพื่อไทยกำลังศึกษาเพื่อแก้ความยากจนอีกก้าวหนึ่งให้กับพี่น้องคนไทย” สุทิน กล่าว

#VoiceOnline
0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
โหวตเป็นกระทู้แนะนำ
ออฟไลน์
(ทัณฑ์บนครั้งที่ 1)

ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 7633
ที่อยู่: Stamford Bridge
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:44
Top Comment [RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
เรื่อง Negative Income Tax(NIT) นี่เคยได้ยินมาซักพักแล้ว หลายปีแล้วหละ แนวคิดนี้ถูกเสนอโดย Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชาวเมกา ซึ่งกระทรวงการคลังก็เคยพยายามดันเรื่องนี้อยู่

หลักคิดสำคัญของ NIT หรือเงินโอนคนขยัน คือ การช่วยเหลือคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์หรือคนที่ยากจน โดยเค้าจะมีเกณฑ์อยู่ว่า รายได้ต่อปี ไม่ถึงกี่บาทๆ ก็เข้าเกณฑ์ ทำนองนี้ โดยการช่วยเหลือไม่ได้แจกเงินอย่างเดียว จะหลักคิดคือ "การเอาเงินมาเป็นแรงจูงใจ" ถ้าคุณยิ่งทำงาน สร้างรายได้เพิ่ม คุณก็จะได้เงินโอนเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป

อธิบายอีก คือมันจะหลาย Phase อะครับ สมมติ Phase1 คุณมีรายได้ 1-30,000 บาทต่อปี จะได้เงินโอนช่วยเหลือจากรัฐ 6,000 บาท ต่อมารัฐจะทำโครงการช่วยเหลือ สร้างอาชีพหรือพัฒนาทักษะควบคู่ไปด้วย แล้วคุณทำงานจนสร้างรายได้เพิ่มได้เป็น 30,001-80,000 บาทต่อปี ก็จะเข้า Phase2 อาจจะได้เงินเพิ่มจาก 6พัน เป็น 8 พัน อะไรทำนองนั้นเพื่อจูงใจให้คนอยากมีรายได้เพิ่มขึ้น จนเมื่อถึงจุดหนึ่ง เข้า Phaseสุดท้าย คือ คุณมีรายได้ที่รัฐมองว่ามากพอที่จะเลี้ยงชีพ ไม่จนละ(สมมติ รายได้ขั้นต่ำต่อเดือน9,000บาท ต่อปีก็คือมีรายได้ 100,800บาท) รัฐก็เลิกจ่ายเงินอุดหนุน คือคุณยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้แล้ว

ข้อดีของวิธีนี้คือ เป็นการจ่ายเงินแบบเจาะจงรายคน โดยของไทยเรามี big data จากแอพเป๋าตัง หรือไทยชนะอยู่แล้ว มันก็พอจะใช้ได้ และงบก็โยกจากบัตรคนจนที่แจกเฉยๆ มาใช้วิธีนี้แทน ซึ่งวิธีนี้เค้าเรียกว่า Cash Condition Transfer(CCT) จ่ายเงินช่วยบางกลุ่ม จะต่างจากรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าแบบของพรรคก้าวไกลที่เป็นแนวแจกแบบถ้วนหน้า Universal Basic Income(UBI) ซึ่งในอนาคตก็อาจจะทำแบบนั้นถ้าทำได้ แต่ตอนนี้ที่เพื่อไทยเสนอแบบ CCT เพราะถ้าดูจากอัตราการเก็บภาษีของไทยที่ได้แค่ 15-16 กว่า% ของGDP มันน้อยกว่าสแกดิเนเวียที่ทำแบบ UBI ที่เก็บภาษีได้ถึงมากกว่า 50% ครับ

ส่วนข้อเสีย คือ 1.อาจจะเจอพวกสวมรอย คนปลอมทิพย์ มันเป็นจุดอ่อนของนโยบายแบบนี้อยู่ละ เหมือนตอนบัตรคนจนที่มันก็มีไอ้พวกที่สวมรอยจากช่องโหว่ ก็ต้องหาทางอุดกันดีๆ แต่ถ้ารัฐทำนโยบายช่วยพัฒนาทักษะลงไปดูละเอียดเลยก็อาจจะเช็คได้ 2.บางคนก็จะโจมตีว่านโยบายประชานิยมนี่แหละ แจกเงินอีกละ ก็ว่ากันไป

ส่วนตัวผมว่ามันก็ลองทำได้ครับ อาจจะเวิร์คหรือไม่เวิร์คก็ได้ แต่มันก็น่าจะดีกว่าแจกเงินเฉยๆแบบบัตรคนจนปะ ยิ่งแจกยิ่งจน งง ถ้าทำแล้วเวิร์คจริง คนจนกลายเป็นคนชั้นกลางล่างก็ทำให้เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เพิ่ม ก็มีรายได้เพิ่มไปทำรัฐสวัสดิการในอนาคต
แก้ไขล่าสุดโดย N'Square เมื่อ Sun Jun 26, 2022 23:03, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Mar 2020
ตอบ: 6042
ที่อยู่: บ้าน
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:27
Top Comment [RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
ยังไม่ได้ไปศึกษา case study นะครับ แต่ถ้าเป็นแบบที่อ่านก็น่าสนใจเลย เพราะรัฐแค่โยกเงินสนับสนุนคนจนหรือผู้มีรายได้น้อยออกมาเป็น incentive scheme เหมือนจ่ายโบนัส ใครขยันรัฐก็จะช่วยโยกเงินภาษีลงไปเพิ่ม จนมีรายได้พอให้รัฐเก็บภาษีได้ เพื่อเอาเงินไปช่วยคนอื่นต่อ

จริงๆคอนเซปท์แบบเงินต่อเงินก็เป็นเศรษฐศาสตร์พื้นฐานอยู่แล้ว (เหมือนที่กรุงไทยเคยทำเพลง เงินกำลังจะหมุนไป ให้ชุมชนนนนน~) เพราะถ้าปชช.มีกำลังซื้อ ศก.มันก็เดินต่อได้ด้วยตัวมันเอง ไม่ต้องคอยมากู้แล้วก็ inject cash กลับไปในระบบไม่รู้จบแบบทุกวันนี้
"Your energy introduces you before you even speak."
"Be the same person privately, publicly, personally."
"Science explain people, but could not understand them."
“Keep a little fire burning, however small, however hidden.”
"Nullum magnum ingenium sine mixtura dementiæ fuit”
ออฟไลน์
โค้ช A-License
Status: ไม่ได้มากมายเลย !!
: 1 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 13 Mar 2018
ตอบ: 38491
ที่อยู่: เกาะแคนดี้
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:23
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
อ่านแล้วงงๆแหะ ไม่เห็นมีบอกว่าจะเอาเงินจากตรงไหนไปใช้แจก ?
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
แข้งเจลีก
Status: ManUTD จั้บบบ
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 30 Apr 2009
ตอบ: 4943
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:23
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
ถ้าเอานโยบายนี้
งั้นไอ้ประยุทธ์ มันคงรวยเป็นอับดัน1 ของประเทศไทยไปแล้ว

0
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
อบรมขอไลเซนส์
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 25 Nov 2008
ตอบ: 25642
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:26
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
แฟล็ปแจ็ค ยอดนักผจญภัย พิมพ์ว่า:
อ่านแล้วงงๆแหะ ไม่เห็นมีบอกว่าจะเอาเงินจากตรงไหนไปใช้แจก ?  


วิธีการนี้ก็สามารถโยกงบประมาณที่รัฐบาลปัจจุบันใช้กับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 4 หมื่นล้านต่อปีมาใช้ได้ทันที ไม่จำเป็นต้องกู้เพิ่ม
2
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Mar 2020
ตอบ: 6042
ที่อยู่: บ้าน
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:27
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
ยังไม่ได้ไปศึกษา case study นะครับ แต่ถ้าเป็นแบบที่อ่านก็น่าสนใจเลย เพราะรัฐแค่โยกเงินสนับสนุนคนจนหรือผู้มีรายได้น้อยออกมาเป็น incentive scheme เหมือนจ่ายโบนัส ใครขยันรัฐก็จะช่วยโยกเงินภาษีลงไปเพิ่ม จนมีรายได้พอให้รัฐเก็บภาษีได้ เพื่อเอาเงินไปช่วยคนอื่นต่อ

จริงๆคอนเซปท์แบบเงินต่อเงินก็เป็นเศรษฐศาสตร์พื้นฐานอยู่แล้ว (เหมือนที่กรุงไทยเคยทำเพลง เงินกำลังจะหมุนไป ให้ชุมชนนนนน~) เพราะถ้าปชช.มีกำลังซื้อ ศก.มันก็เดินต่อได้ด้วยตัวมันเอง ไม่ต้องคอยมากู้แล้วก็ inject cash กลับไปในระบบไม่รู้จบแบบทุกวันนี้
"Your energy introduces you before you even speak."
"Be the same person privately, publicly, personally."
"Science explain people, but could not understand them."
“Keep a little fire burning, however small, however hidden.”
"Nullum magnum ingenium sine mixtura dementiæ fuit”
ออฟไลน์
ผู้เยี่ยมชม
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 26 Oct 2021
ตอบ: 1086
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:27
ถูกแบนแล้ว
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
เข้าใจยากไปอ่ะ นโยบายงี้ไม่ติดตลาดหรอก
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
คอมเมนเตเตอร์
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Aug 2014
ตอบ: 24752
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:27
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
ไม่มีไอเดียที่ดีกว่านี้เหรอ
แจกเงินอีกแล้ว ทำไมไม่หาทางสร้างงานสร้างรายได้ที่มันยั่งยืนกว่านี้
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออนไลน์
นักบอลถ้วย ก.
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 11 Feb 2017
ตอบ: 2009
ที่อยู่: 58/1 หมู่ 10
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:28
คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?
เค้าว่า นโยบายที่เข้าใจยาก การทุจริตยิ่งง่าย
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน

ออฟไลน์
ปลายอาชีพค้าแข้ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 15 Mar 2020
ตอบ: 6042
ที่อยู่: บ้าน
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:30
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
อาร์ท ฟรีคิก พิมพ์ว่า:
ไม่มีไอเดียที่ดีกว่านี้เหรอ
แจกเงินอีกแล้ว ทำไมไม่หาทางสร้างงานสร้างรายได้ที่มันยั่งยืนกว่านี้  


อันนี้ไม่ได้แจกเงินโต้งๆครับ คือต้องทำก่อน ยิ่งทำรัฐยิ่งช่วย (จะใช้อะไรเป็น indicators ยังไม่ได้บอกไว้) คือถ้านั่งรอเฉยๆ ไม่พยายามพัฒนาตัวเอง รัฐก็จะไม่ช่วยมากไปกว่าบัตรสวัสดิการเดิมครับ)
"Your energy introduces you before you even speak."
"Be the same person privately, publicly, personally."
"Science explain people, but could not understand them."
“Keep a little fire burning, however small, however hidden.”
"Nullum magnum ingenium sine mixtura dementiæ fuit”
ออฟไลน์
แข้งดัทช์ลีก
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 31 Aug 2009
ตอบ: 5567
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:39
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
ทำไม่ได้หรอกครับ คนที่รายได้น้อยคือพวกที่ไม่เข้าอยู่ในระบบเลย
สมมติคนเก็บของเก่า จะไปรู้ได้ยังไงว่าเขาจะไม่รายได้เพิ่มแล้วจ่ายเบี้ยสวัสดิการยังไง ก็ในเมื่อรายได้เขาไม่อยู่ในระบบอยู่แล้ว
เดี๋ยวก็จะมีแก้อีกว่า ก็ต้องการให้คนเข้ามาอยู่ในระบบไง จะได้รับสวัสดิการ - มันก็ยุ่งยากไปอีก กว่าจะเข้าระบบได้ เงินไปไหนแล้วไม่รู้

หาทางให้เศรษฐกิจมันโต จะได้มีเงินมาช่วยสวัสดิการฟรีดีกว่า เรียนฟรี รักษาฟรี ป่วยหนักรักษาได้ พวกนี้
เรื่องนี้ไม่ค่อยจะมีใครหาเสียงนะ จะหาทางให้ประเทศเศรษฐกิจโตขึ้นเนี่ย หาเสียงจะไปทางบอกว่าประชาชนจะได้อะไรเพิ่มมากกว่า
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
ดาวเตะกัลโช่
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 19 Feb 2011
ตอบ: 10842
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:43
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
เข้าใจยาก อยากเห็นนโยบายปูไปรัฐสวัสดิการมากกว่า ให้ทุกคนได้ประโยชน์ทั่วถึงไม่ต้องมีคนขยัน คนจน คนยากไร้อะไรเยอะเเยะ
ทำให้เห็นว่าเงินภาษีที่เสียไปได้อะไรตอบเเทนกลับมา เเละทำไมคุณถึงควรเข้าระบบ เริ่มจากสวัสดิการเล็กๆเล็กๆก่อน ยังไม่ต้องถึงขนาดประเทศที่พัฒนา
แก้ไขล่าสุดโดย loppy123 เมื่อ Sun Jun 26, 2022 22:44, ทั้งหมด 1 ครั้ง
1
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
- DCU -
ออฟไลน์
ซุปตาร์โอลิมปิก
Status: sutatS
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 19 May 2011
ตอบ: 13107
ที่อยู่: บนโลกจ้า
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:44
คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?
ยังไงก็ไม่สนใจ สิ่งที่ผมสนใจคือคนไทยทุกคนต้องเข้าระบบ 100% เอาให้โหดเหมือนอเมริกา หลังจากนั้นจะจัดสรรยังไงค่อยว่ากันอีกที

ไม่ได้เหยียดนะ แต่ถ้าพูดตรงๆ ไปดูเงินภาษีที่บริจาคเข้าพรรคเถอะ คะแนนเสียงได้อันดับ 1 แต่เงินตรงนี้ไม่มีเลย บ่งบอกอะไรหลายอย่าง
โพสต์บนแอป Soccersuck บน Android
7
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ออฟไลน์
กำเนิดดาวรุ่ง
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 12 Oct 2013
ตอบ: 313
ที่อยู่:
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:44
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
คิดว่า keyword คือคำว่า negative income tax คือปกติ เราทำงานได้ เงินเดือน เราจ่ายภาษี แบบนี้เรียก positive income tax ก็คือ รายได้ ของเราสูงเกิน มาตราฐานของเสียภาษี เราก็ต้องจ่ายภาษี สำหรับรายได้ที่เกินมา

แต่ negative คือตรงกันข้าม ใครรายได้น้อย จนไม่ต้องเสียภาษี เดิมในไทยก็จะได้สิทธิไม่ต้องเสียภาษีแต่ยังได้สวัสดิการของรัฐ คราวนี้ก็อาจจะได้เงินช่วยเหลือ ได้เงินคืนเพิ่มเติม แล้วระหว่างนี้เราก็ฝึกงานให้เขา จนเขามีรายได้สูงเกิน ภาษี เราก็ค่อยเขาคืน อันนี้แนวคิดในอุดมคตินะครับ

จริงๆผมว่าระบบภาษีมันก็หลักง่ายๆ เก็บคนรวยเยอะมาช่วยเหลือคนจนเหละครับ แต่มันจะช่วยมาก ช่วยน้อย ก็แล้วแต่การบริหารของประเทศไป
ประเด็นภาษีของไทย คือ
1.เก็บน้อย
2.เก็บแล้วเอาไปใช้ไม่ถูกจุดประสงค์
3.เมื่อคนรวยเสียเยอะ ก็ไม่เห็นได้อะไร -> คนรวยก็ไม่อยากเสีย
4.สรุปเงินเหลือน้อย เอาไปจัดสรรอะไรไม่ได้ ได้รับบริการของรัฐช้าลง ก็เป็นปัญหาวนลูปไป

ของไทยเราก็กลางๆ มีดีที่สิทธิประกันสุขภาพรักษาฟรี แต่ลองถามชนชั้นกลางที่ไปรอหมอ ในรพรัฐสิครับ ผมคิดว่า คงบ่นกันระนาว แต่ทำยังไงได้ก็มันฟรี มันก็ดีระดับนึง แต่ไม่ใช่ดีที่สุด

ส่วนภาษีที่ไปให้ ทหาร ซื้อของเล่น ก็ถามใจท่านๆดู เวลาอ่านแล้วรู้สึกอยากเสียภาษีไหม ก็คงจะคิดกันออก

ปัญหาของอนาคตของคนไทยต่อไป คือผู้สูงอายุเยอะขึ้น ค่าใช้จ่ายเยอะขึ้นในการดูแล ผมคิดว่าอันนี้ละครับ ปัญหาใหญ่ ประชากรหดตัว งานของคนไทย ไม่สร้างอาชีพให้เกิดรายได้สูงๆอย่างทั่วถึง ก็เป็นปัญหาของการจัดสรร ทรัพยากรภาษีละครับผม

ส่วนประเทศอื่น ขอยกตัวอย่างประเทศอื่นเช่น เยอรมัน เป็นประเทศที่เก็บโหดมาก เก็บเกือบๆ 30-40% ของรายได้ต่อปีของคุณ และมีภาษีเบี้ยไบรายทางเยอะ เช่น สิ่งแวดล้อม แต่รัฐนำมาใช้ไม่ทุจริต คนก็รู้สึก เออ ที่เสียไปยังได้ใช้บ้าง ก็จะยอมเสียกันมากขึ้น หรือมีสิทธิเรียกร้องเจ้าหน้าที่รัฐได้ ถ้าทำให้ไม่พอใจ แล้วกฏหมายคือเข้มมากๆ จนท.รัฐทำผิดก็โทษรุนแรงมาก มันก็จะอยู๋ในระบบของเขาได้ ระบบของเขามันก็เลยดีกว่า
ออฟไลน์
(ทัณฑ์บนครั้งที่ 1)

ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 7633
ที่อยู่: Stamford Bridge
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:44
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
เรื่อง Negative Income Tax(NIT) นี่เคยได้ยินมาซักพักแล้ว หลายปีแล้วหละ แนวคิดนี้ถูกเสนอโดย Milton Friedman นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลชาวเมกา ซึ่งกระทรวงการคลังก็เคยพยายามดันเรื่องนี้อยู่

หลักคิดสำคัญของ NIT หรือเงินโอนคนขยัน คือ การช่วยเหลือคนที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์หรือคนที่ยากจน โดยเค้าจะมีเกณฑ์อยู่ว่า รายได้ต่อปี ไม่ถึงกี่บาทๆ ก็เข้าเกณฑ์ ทำนองนี้ โดยการช่วยเหลือไม่ได้แจกเงินอย่างเดียว จะหลักคิดคือ "การเอาเงินมาเป็นแรงจูงใจ" ถ้าคุณยิ่งทำงาน สร้างรายได้เพิ่ม คุณก็จะได้เงินโอนเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป

อธิบายอีก คือมันจะหลาย Phase อะครับ สมมติ Phase1 คุณมีรายได้ 1-30,000 บาทต่อปี จะได้เงินโอนช่วยเหลือจากรัฐ 6,000 บาท ต่อมารัฐจะทำโครงการช่วยเหลือ สร้างอาชีพหรือพัฒนาทักษะควบคู่ไปด้วย แล้วคุณทำงานจนสร้างรายได้เพิ่มได้เป็น 30,001-80,000 บาทต่อปี ก็จะเข้า Phase2 อาจจะได้เงินเพิ่มจาก 6พัน เป็น 8 พัน อะไรทำนองนั้นเพื่อจูงใจให้คนอยากมีรายได้เพิ่มขึ้น จนเมื่อถึงจุดหนึ่ง เข้า Phaseสุดท้าย คือ คุณมีรายได้ที่รัฐมองว่ามากพอที่จะเลี้ยงชีพ ไม่จนละ(สมมติ รายได้ขั้นต่ำต่อเดือน9,000บาท ต่อปีก็คือมีรายได้ 100,800บาท) รัฐก็เลิกจ่ายเงินอุดหนุน คือคุณยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้แล้ว

ข้อดีของวิธีนี้คือ เป็นการจ่ายเงินแบบเจาะจงรายคน โดยของไทยเรามี big data จากแอพเป๋าตัง หรือไทยชนะอยู่แล้ว มันก็พอจะใช้ได้ และงบก็โยกจากบัตรคนจนที่แจกเฉยๆ มาใช้วิธีนี้แทน ซึ่งวิธีนี้เค้าเรียกว่า Cash Condition Transfer(CCT) จ่ายเงินช่วยบางกลุ่ม จะต่างจากรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าแบบของพรรคก้าวไกลที่เป็นแนวแจกแบบถ้วนหน้า Universal Basic Income(UBI) ซึ่งในอนาคตก็อาจจะทำแบบนั้นถ้าทำได้ แต่ตอนนี้ที่เพื่อไทยเสนอแบบ CCT เพราะถ้าดูจากอัตราการเก็บภาษีของไทยที่ได้แค่ 15-16 กว่า% ของGDP มันน้อยกว่าสแกดิเนเวียที่ทำแบบ UBI ที่เก็บภาษีได้ถึงมากกว่า 50% ครับ

ส่วนข้อเสีย คือ 1.อาจจะเจอพวกสวมรอย คนปลอมทิพย์ มันเป็นจุดอ่อนของนโยบายแบบนี้อยู่ละ เหมือนตอนบัตรคนจนที่มันก็มีไอ้พวกที่สวมรอยจากช่องโหว่ ก็ต้องหาทางอุดกันดีๆ แต่ถ้ารัฐทำนโยบายช่วยพัฒนาทักษะลงไปดูละเอียดเลยก็อาจจะเช็คได้ 2.บางคนก็จะโจมตีว่านโยบายประชานิยมนี่แหละ แจกเงินอีกละ ก็ว่ากันไป

ส่วนตัวผมว่ามันก็ลองทำได้ครับ อาจจะเวิร์คหรือไม่เวิร์คก็ได้ แต่มันก็น่าจะดีกว่าแจกเงินเฉยๆแบบบัตรคนจนปะ ยิ่งแจกยิ่งจน งง ถ้าทำแล้วเวิร์คจริง คนจนกลายเป็นคนชั้นกลางล่างก็ทำให้เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้เพิ่ม ก็มีรายได้เพิ่มไปทำรัฐสวัสดิการในอนาคต
แก้ไขล่าสุดโดย N'Square เมื่อ Sun Jun 26, 2022 23:03, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ออฟไลน์
(ทัณฑ์บนครั้งที่ 1)

ซุปตาร์ยูโร
Status:
: 0 ใบ : 0 ใบ
เข้าร่วม: 22 Oct 2012
ตอบ: 7633
ที่อยู่: Stamford Bridge
โพสเมื่อ: Sun Jun 26, 2022 22:47
[RE: คิดยังไงกับเงินโอนคนขยันของเพื่อไทย?]
loppy123 พิมพ์ว่า:
เข้าใจยาก อยากเห็นนโยบายปูไปรัฐสวัสดิการมากกว่า ให้ทุกคนได้ประโยชน์ทั่วถึงไม่ต้องมีคนขยัน คนจน คนยากไร้อะไรเยอะเเยะ
ทำให้เห็นว่าเงินภาษีที่เสียไปได้อะไรตอบเเทนกลับมา เเละทำไมคุณถึงควรเข้าระบบ เริ่มจากสวัสดิการเล็กๆเล็กๆก่อน ยังไม่ต้องถึงขนาดประเทศที่พัฒนา  

ทำความเข้าใจบ้างหน่อยเถอะครับ
วิธีการนี้เค้าเจาะจงเป็นกลุ่มๆที่จำเป็น(คนยากจน)ก่อน หรือ CCT ที่เค้าเสนอให้ทำวิธีนี้เพราะอะไร? เพราะประเทศไทยเก็บเงินภาษีได้ 10 กว่า% ของ GDP เอง ในขณะที่นโยบายแบบรัฐสวัสดิการแบบประเทศแถบสแกนดิเนเวีย เค้าเก็บภาษีกันโหดมาก 50%+ ของ GDP เพราะงั้นหมายความว่าไง? ไทยตอนนี้ คุณจะเอาเงินที่ไหนไปทำรัฐสวัสดิการ คืออุดมคติผมโอเคนะจะทำรัฐสวัสดิการ แต่การนำไปสู่หล่ะจะทำยังไง

พรรคเพื่อไทยก็เสนอแนวทางหนึ่งที่เป็นสวัสดิการเช่นกัน แต่ที่เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่เริ่มทำได้เลย และถ้านโยบายนี้สำเร็จเราก็จะได้คนที่หายจนเข้าสู่ระบบการเก็บภาษีมากขึ้นและอาจนะไปสู่รัฐสวัสดิการในอนาคตให้เกิดขึ้นจริงได้ครับ
6
0
หากโดน 40 เรื้อน จะถูกแบน
ไปหน้าที่ 1, 2, 3
ไปที่หน้า
GO
ตั้งกระทู้ใหม่
กรุณาระบุเหตุผลที่จะแจ้งความ
ผู้ต้องหา:
ข้อความ:
Submit
Cancel
กรุณาเลือก Forum และ ประเภทกระทู้
Forum:

ประเภท:
Submit
Cancel